|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไม่พลิกความคาดหมาย สำหรับการเข้าเดินรถ และบริหารสถานีรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ของ คีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของฉายา “มังกรพลัดถิ่น”ที่สามารถคว้างานเดินรถและบริหารสถานี BRT มาครองยาว 7 ปี โดยไร้เงาคู่แข่ง
แม้ว่ากรุงเทพมหานคร(กทม.)จะสั่งเลื่อนการทดสอบเดินรถเมล์ด่วนพิเศษBRT ออกไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง แต่กทม.ยังคงเดินหน้าหาเอกชนมารับหน้าที่ในการบริหารสถานีและเดินรถ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนจะเปิดใช้จริงในเดือนพ.ค.นี้ สำหรับเอกชนที่ได้งานบริหารสถานีและเดินรถนั้น คือ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BTSC ของมังกรพลัดถิ่นอย่างคีรี กาญจนพาสน์ ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าBTS ที่มีประสบการณ์ในการเดินรถมายาวนานกว่า10 ปี
อมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามสัญญาจ้างผู้เดินรถพร้อมจัดหารถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ และจ้างบริหารสถานีกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BTSC มูลค่าโครงการประมาณ 1,300 ล้านบาท แบ่งเป็นสัญญาเดินรถ 737 ล้านบาท และสัญญาบริหารสถานีประมาณ 700 ล้านบาท ระยะเวลาสัญญา 7 ปี
ส่วนกรณีที่มีผู้ยืนเสนอประกวดราคาเพียงรายเดียวและอาจขัดกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการพัสดุ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ระบุว่าต้องยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าวหากมีผู้ยืนประกวดราคาเพียงรายเดียว นั้น กทม.ให้เหตุผลว่า หากยกเลิกการประกวดราคาและจัดให้มีการเปิดประกวดราคาใหม่ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้โครงการเกิดความล่าช้า อีกทั้งคณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาผู้เดินรถไม่คันค้าน ดังนั้น กทม.สามารถดำเนินการประกวดราคาไปจนสิ้นสุดกระบวนการได้ เพราะระเบียบดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าจะต้องมีผู้เสนอราคากี่ราย
ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากทม. กล่าวว่า BTSC จะเป็นผู้บริหารสถานีตามโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT สายสาทร-ราชพฤกษ์ มูลค่า 1,999 ล้านบาท พร้อมทั้งติดตั้งระบบตั๋วโดยสารอัตโนมัติ การจัดหาผู้เดินรถ และการบริหารสถานี สาเหตุที่ BTSC ได้งานดังกล่าวเนื่องจากว่า BTSC มีประสบการณ์และชำนาญในการบริหารจัดการสถานีรถไฟฟ้าBTSวมาแล้ว จึงไม่น่ามีปัญหา
สำหรับความคืบหน้าของงานก่อสร้าง ขณะนี้เหลือเพียงจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีBTSที่ช่องนนทรีและBRT สถานีสาทรเท่านั้น ซึ่งคาดว่างานก่อสร้างจุดดังกล่าวจะแล้วเสร็จ 100% ภายในเดือน ส.ค.นี้ ส่วนการทดสอบระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ไอทีเอส) แม้ว่าจะไม่สมบูรณ์ 100% แต่มั่นใจว่าจะไม่กระทบกับความปลอดภัยของประชาชนที่ใช้บริการในวันที่ 15 พ.ค.นี้อย่างแน่นอน สำหรับคุณสมบัติรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ เป็นรถตอนเดียวยาว 12 เมตร เครื่องยนต์ เอ็นจีวี มาตรฐานไอเสียไม่ต่ำกว่ามาตรฐานยูโร ทรี พื้นเป็นแบบไฮฟลอร์ บรรทุกผู้โดยสารสูงสุด 80 คน/คัน ประตูด้านขวาและซ้ายด้านละ 1 ประตู ความกว้าง 1.5 เมตร ถังบรรจุก๊าซขนาด 900 ลิตร นอกจากนี้ภายในตัวรถติดตั้งระบบจีพีเอส และกล้องCCTV และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางร่างกาย
ขณะที่สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการสายปฏิบัติการ BTSC กล่าวว่า BTSC มีความพร้อมในการเดินรถเต็มที่ แบ่งเป็น 2 สัญญา คือสัญญาเดินรถและสัญญาบริหารสถานี วงเงินค้าจ้าง1,300 ล้านบาท ระยะสัญญา 7 ปี สำหรับตัวรถนั้นจะเช่ารถจากประเทศจีน เพราะพิจารณาแล้วว่าบริษัทในประเทศจีน มีความสามารถที่จะจัดหารถให้ตรงตามคุณสมบัติของ กทม.
|
|
|
|
|