Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2543
จากสบู่ในรั้ววัง สู่คอนซูมเมอร์โปรดักส์ครบวงจร             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 

   
related stories

Open Office กับ Unilever
Path to Growth อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของ ยูนิลีเวอร์

   
search resources

ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง, บจก.




หนทางความสำเร็จของยูนิลีเวอร์ในประเทศไทย เป็นกรณี ที่น่าสนใจ เพราะบริษัทการค้าแห่งนี้ ได้เข้ามา มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในประเทศไทยมายาวนานถึง 92 ปี และผ่านยุคสมัยต่างๆ ในสยามประเทศ นับรวมได้ถึง 5 รัชสมัย

นับย้อนกลับไปในปี 2451 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาล ที่ 5 ห้างลีเวอร์ บราเธอร์ส ลิมิเต็ด ในอังกฤษได้รับหนังสือแต่งตั้งให้เป็นช่างทำสบู่ในพระองค์ สินค้าของลีเวอร์ บราเธอร์ จึงจำกัดวงอยู่เฉพาะผู้คนในรั้วในวังเท่านั้น

การเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยของ ยูนิลีเวอร์ เริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังในปี 2475 เมื่อมีการเปิดกิจการในชื่อ บริษัท สยาม อินดัสทรีส์ จำกัด เพื่อผลิต สบู่หอมลักส์ และสบู่ซักฟอกซันไลต์ มาร์การีน และ น้ำมันพืช เพื่อจำหน่ายให้แก่สาธารณชนทั่วไป

ต่อมาในปี 2497 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ลีเวอร์บราเธอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด โดยทำการผลิตสบู่ และสบู่ซักฟอกเป็นหลัก ก่อน ที่เทคโนโลยีการผลิตผงซักฟอกจะได้รับการพัฒนา และในปี 2505 ผงซักฟอกสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ "บรีส" ก็ได้รับการแนะนำ และวางจำหน่าย ในตลาดประเทศไทย พร้อมกับการสร้างโรงงานผลิตในประเทศไทย ซึ่งทำให้มีต้นทุนต่ำ และสามารถแข่งขันกับ ผู้ผลิตรายอื่นได้

แม้ว่าในขณะที่ "บรีส" ออกวางจำหน่ายในประเทศไทยนั้น ชื่อของ "แฟ้บ" จากค่ายคอลเกตปาล์มโอลีฟ จะกลายเป็นชื่อเรียกขานผงซักฟอกทั่วไป (Generic Name) ไปก่อนแล้ว แต่ด้วยการสร้างจุดแตกต่างของสินค้า และการวางคอนเซ็ปต์ว่าด้วยการเป็นผงซักฟอก ที่สามารถ "ดมความสะอาด" ได้ ในระยะเวลาไม่นาน "บรีส" ก็สามารถก้าวขึ้นมาครองส่วนแบ่งการตลาด

ในปี 2513 ลีเวอร์ บราเธอร์ส เริ่มการผลิตแชมพูสระผมชนิดน้ำ "ซันซิล" ออกจำหน่ายในประเทศไทย และ อีก 2 ปีถัดมา คือ ในปี 2515 การผลิตยาสีฟันก็เริ่มขึ้น และพัฒนาขึ้นเป็นยาสีฟัน "ใกล้ชิด" ซึ่งออกจำหน่ายสู่ตลาดในปี 2519 และ "เปปโซเดนท์" ในปี 2527

ความสำเร็จของลีเวอร์ บราเธอร์ส ในประเทศไทยในห้วงเวลาดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ ที่น่าศึกษาไม่น้อย จากยอดขาย ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละช่วงปีได้พิสูจน์ถึงความสามารถในเชิงการตลาดเป็นอย่างดี โดยตัวเลขยอดขายในปี 2516 ที่มีอยู่ประมาณ 480 ล้านบาท ได้พุ่งทะยานขึ้นสู่ระดับ 2,400 ล้านบาท ในปี 2526 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 500% ในช่วงระยะเวลา 10 ปี

เป็นเรื่อง ที่ยากจะปฏิเสธว่า องค์ประกอบของความสำเร็จ ที่เกิดขึ้น ในด้านหนึ่งนอกจากจะเป็นผลมาจากยุทธศาสตร์โดยรวมจากบริษัทแม่ในต่างแดนแล้ว ผู้บริหารชาวไทย ที่ชื่อ "วิโรจน์ ภู่ตระกูล" ก็เป็นจักรกลสำคัญ ที่นำพาความยิ่งใหญ่มาสู่องค์กรแห่งนี้ ก่อน ที่ชื่อของเขาจะได้รับการจารึกในฐานะตำนานอีกบทหนึ่งของ มืออาชีพในประเทศไทย

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในอุตสาหกรรมเครื่องอุปโภค ลีเวอร์ บราเธอร์ส พยายามขยายธุรกิจด้านอาหารในประเทศไทย ตามทิศทางของบริษัทแม่ ที่ประสบความสำเร็จมาก่อนหน้า แต่สินค้าประเภทโจ๊กกึ่งสำเร็จรูป และน้ำมันพืชในนาม "รอยโก้" และ "โลตัส" ที่ลีเวอร์ บราเธอร์ส พยายามทำตลาดในช่วงระหว่างปี 2525-2530 กลับพบกับความล้มเหลว ก่อน ที่จะมาประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจอาหารในประเทศไทย เมื่อเริ่มวางจำหน่ายไอศกรีมวอลล์ ในปี 2532

ในห้วงเวลานั้น โฟรโมสต์ ถือเป็นผู้ครองตลาดไอศกรีมรายใหญ่ แต่เพียงระยะเวลา 3 ปี ไอศกรีมวอลล์ ก็สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้ถึง 15% พร้อมกับการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่เปลี่ยนไป ก่อน ที่ "ไอศกรีมวอลล์" จะอยู่ในฐานะผู้นำตลาดลำดับต้นๆ ในปัจจุบัน โดยมี "ไอศกรีมเนสท์เล่" เป็นคู่แข่งขันสำคัญในขณะนี้

ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างภาพลักษณ์ของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วม รับผิดชอบต่อสังคม ในปี 2537 ลีเวอร์ บราเธอร์ ได้เริ่มโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครองราชย์ครบ 50 ปี พร้อมกับ ได้รับรางวัลการตลาด เพื่อสิ่งแวดล้อมประจำปี 2537 และได้รับรางวัลดังกล่าวอีกครั้งในปี 2538 ควบคู่กับการเริ่มโครงการ "สวนร่มไม้ยูนิลีเวอร์"

ในปี 2538 นี้เอง ที่ "วิโรจน์ ภู่ตระกูล" ในวัย 61 ปีเกษียณอายุการทำงานในฐานะประธานกรรมการบริษัท ลีเวอร์ บราเธอร์ส องค์กร ที่เขาได้สั่งสมประสบการณ์ และบารมีมานานกว่า 36 ปี หลังจาก ที่เคยเกษียณอายุมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อตอนอายุ 55 ปีแต่ได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปตามสัญญาคราวละ 2 ปี ในช่วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนผ่านให้ผู้บริหารต่างชาติเข้ามากำกับดูแลองค์กรแห่งนี้โดยตรง

ปี 2540 ชื่อของ ลีเวอร์ บราเธอร์ส ในประเทศไทยเหลือเพียงตำนาน เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด และเข้าสู่ยุคของการมี ผู้บริหารต่างชาติเข้ามากำหนดทิศทาง และยุทธศาสตร์อย่างเบ็ดเสร็จ พร้อมกับเป้าหมาย ที่จะเป็นผู้ครองตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศไทยอย่างครบวงจร

ปัจจุบัน ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ มี เธโอ คุน เดอร์ส ผู้บริหารชาวเนเธอร์แลนด์วัย 48 ปีเป็นประธานบริษัท ซึ่งแม้ว่า คุนเดอร์ส จะร่วมงานกับ ยูนิลีเวอร์ ครั้งแรกเมื่อ 12 ปีที่แล้วเท่านั้น แต่ก็มิได้หมายความว่าประสบการณ์ของเขาจะย่อหย่อนหรือสามารถดูเบาได้เลย

เขาเกิดในอัมสเตอร์ดัมเมื่อปี 2495 โดยหลังจากจบการศึกษาด้านการตลาด เขาได้ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์ในบริษัทชั้นนำหลายแห่ง ก่อน ที่จะใช้เวลานานถึง 10 ปี ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท เอโฮลด์ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เมื่อเขามาร่วมงานกับ ยูนิลีเวอร์ ในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขาย และการตลาด ประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2531 เขาแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านการขาย และการตลาดของเขา จนเป็นที่ประจักษ์ ก่อน ที่จะย้ายไปประจำการที่ประเทศอังกฤษในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดภาคพื้นยุโรป และได้เลื่อนเป็นผู้จัดการฝ่ายวางแผนธุรกิจภาคพื้นยุโรป ประจำสำนักงานใหญ่

ในปี 2539 ประสบการณ์ และความเข้าใจด้านการตลาด และการขาย ส่งผลให้เขาก้าวขึ้นสู่การเป็นประธานบริษัท ลีเวอร์ เนเธอร์แลนด์ พร้อมกับดำรงตำแหน่ง หัวหน้าส่วนพัฒนาลูกค้า ภาคพื้นยุโรป และเป็นประธานร่วมในคณะกรรมการ ECR ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อนจะมารับตำแหน่งหัวเรือใหญ่ในประเทศไทย

ภายใต้ตำแหน่งประธานบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ เขาเชื่อว่ายังมีความท้าทาย และมีพื้นที่ให้เติบโตอีกมาก

หากแต่ว่า ด้วยวิกฤติ ที่ถาโถมเข้าใส่บรรดาผู้ประกอบการชาวไทยนั้น การแข่งขันของ เธโอ คุนเดอร์ส และยูนิลีเวอร์ บนเวทีแห่งนี้อาจเหลือเพียงบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศไม่กี่รายเท่านั้น ที่อยู่ในฐานะคู่ต่อกร ที่เหมาะควรต่อกันเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us