Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536
วิบากกรรมของเชอราตันในไทย             
 


   
search resources

Hotels & Lodgings




ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านเชนเชอราตันในเมืองไทย ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนได้รับผลกระทบกระเทือนโดยตรงกับภาวะผันผวนทางการเมือง และเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่สงคราวอ่าวเปอร์เซียในปี 2533 การปฏิวัติของ รสช.ในปี 2534 และพฤษภาทมิฬในปี 2535

ทั้งนี้เพราะว่าโครงการโรงแรมระดับห้าดาวของเจ้าของคนไทยที่ทำสัญญาให้เชนเชอราตันบริหารนั้นต้องเลื่อนกำหนดเปิดช้าออกไปนานนับ 2-3 ปี หรือบางรายก็หลุดขาดจากกันไปก็มี

ล่าสุด สุเมธ ศรีศุภผล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการประจำภาคพื้นอินโดจีนเชนเชอราตัน ต้องโบกมืออำลาเมื่อต้นเมษายนปีนี้เอง เพราะทนแรงกดดันทั้งจากข้างบนและข้างล่างไม่ไหว ทางฝ่ายเจ้านายโดยตรง ซึ่งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกงก็ต้องการให้คู่สัญญาปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ ขณะที่ฝ่ายเจ้าของโครงการก็ชะลอโครงการเนื่องจากไม่อยากเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจซบเซา

"ทางผมก็อะลุ้มอล่วยให้กับทางเจ้าของโครงการต่าง ๆ ตลอดมา และยังมีค่าใช้จ่ายในด้านการประสานงานอื่นๆ ตั้งแต่ค่ารับรอง ทั้งๆ ที่โครงการไม่มีความคืบหน้า ทำให้ผมต้องถูกติติงจากผู้บริหารระดับสูง เพราะงานไม่ได้ออกมาตามคาดหมาย นอกจากนี้ชื่อของเชอราตันยังถูกนำไปกล่าวอ้างในแผนงานของโครงการต่าง ๆ ด้วย ขณะเดียวกันผมก็ได้ปกป้องเจ้าของโครงการด้วย มันเป็นความผิดพลาดของผมเองที่ไม่เข้มงวดตามระบบการคัดเลือก เพราะเชื่อว่าแต่ละกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาเป็นคู่สัญญาต่างก็มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และไม่ตรวจสอบว่าแต่ละกลุ่มเขาต้องการทำโครงการโรงแรมจริงๆ หรือเพียงต้องการเอาชื่อเชอราตันไปเพื่อผลประโยชน์อะไรบางอย่างเท่านั้น" สุเมธระบายความอึดอัดใจให้ฟัง

โครงการโรงแรมที่เชนเชอราตันเซ็นสัญญาเข้าบริหารแล้วประสบปัญญาอุปสรรคถึงขั้นต้อง ยกเลิกสัญญากันก็มี กรณีโรงแรมระดับห้าดาวชื่อ "เชียงใหม่ เชอราตัน" ของจรัส จรัสโสภณวงศ์ บริษัทโกลเด้นแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนห้วยแก้ว ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามกำหนดการส่งมอบโรงแรมให้เชอราตันบริหารเมื่อปลายปี 2535 แต่โครงการดังกล่าวได้หยุดชะงักการก่อสร้างตั้งแต่ ปี 2533 ช่วงเกิดสงครามอ่าวเปอร์เซียและเรื่องก็ยังคาราคาซังแบบไม่มีอะไรคืบหน้า และไม่มีลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่าจะยกเลิกหรือยืนยันให้เชอราตันบริหารต่อไป

ขณะที่เมื่อปี 2535 การยกเลิกสัญญาระหว่างเชอราตันกับโครงการ ริเวอร์แคว รีสอร์ท ที่กาญจนบุรี ซึ่งเจ้าของโครงการคือบริษัทการ์เด้น รีสอร์ตของทรงศักดิ์ จันทรประเสริฐ และล่าสุดเมื่อต้นปีนี้ได้มีการยกเลิกสัญญาการบริหารกับ โครงการสีมาธานีเชอราตัน ซึ่งเป็นพันเอกสมชาย หิรัญกิจ อดีตผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มีสาเหตุที่มาจากความขัดแย้งในแนวความคิดการบริหาร และ ความพร้อมด้านบริการ

"ทำไมเจ้าของโรงแรมต้องมากล่าวหาหลังจากที่เราเข้าไปวางระบบต่าง ๆ ในโรงแรมเสร็จแล้ว ทำไมไม่ท้วงติงตั้งแต่ต้น ธุรกิจโรงแรมไม่ใช่ชอปปิ้งเซนเตอร์ที่มีคนมารอก่อนเปิดบริการ แต่โรงแรมต้องใช้ระยะเวลากว่าจะเก็บเกี่ยวกำไรได้" อดีตผู้ประสานงานอย่างสุเมธเล่าแบบเจ็บปวดใจ

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่คาดว่าจะไม่มีปัญหาแต่ช้าหน่อยก็คือ โครงการ "เชอราตัน บ้านฉาง" ซึ่งอยู่ใกล้สนามบินอู่ตะเภา หลังจากจัดงานแถลงข่าวใหญ่โตมีพิธีเซ็นสัญญาระหว่างเชนเชอราตันกับกลุ่มบ้านฉาง ซึ่งมีประยูร จินดาประดิษฐ์ ประธานบริษัทและไพโรจน์ เปี่ยมพงศ์สานต์ ตั้งแต่ปี 2532

จากปี 2532 ล่วงเลยมาจนกระทั่งปี 2536 โครงการนี้ก็ยังไม่ได้เริ่มลงมือเพราะติดขัดปัญหาทางเทคนิคบางประการของกลุ่มบ้านฉางเอง

"เราติดตามโครงการนี้มาโดยตลอด ล่าสุดทางกลุ่มบ้านฉางก็ชี้แจงว่า อาจจะเริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนกรกฎาคมปีนี้" สุเมธอดีต ผอ.ฝ่ายพัฒนาโครงการฯ ของเชอราตันเคยให้สัมภาษณ์อย่างเหนื่อยล้า

ส่วนโครงการที่ราบรื่นก็มีที่โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า บีชของไทยวาที่เพิ่งทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่องต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดย พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา อดีต รมว.กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ตัดริบบิ้นเปิดงานยิ่งใหญ่สนั่นเมืองภูเก็ตด้วยพลุอันตระการตายามค่ำคืนวันที่ 8 พ.ค. ซึ่งตรงกับวันเกิดของ "เหลียนฟ่ง" มารดาของมหาเศรษฐีหนุ่มหัวก้าวหน้าอย่าง "โฮ กวง ปิง"

โครงการในอนาคตที่เชนเชอราตันได้เซ็นสัญญาเข้าบริหารอย่าง โครงการปาล์มฮิลล์กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ ขนาด 220 ห้องสร้างที่ชะอำเจ้าของโครงการคือ พงษ์พันธุ์สัมภวคุปต์ ซึ่งเซ็นสัญญาเมื่อปี 2534 แต่เพิ่งจะลงมือก่อสร้างในเดือนเมษายนปีนี้คาดว่าอาจจะต้องเลื่อนไปเป็นปี 2539 แทนที่จะเปิดปี 2537

ส่วนโครงการสุขุมวิท เชอราตัน ทาวเวอร์ ซึ่งจะสร้างบนทำเลทองสุขุมวิท 12-14 ทางเจ้าของโครงการคือ สุรเดช นฤหล้า เจ้าของถุงยางอนามัยคิงเท็ค ได้ทำสัญญาให้เชอราตันบริหารในปี 2538 แน่นอน

ดังนั้นโดยสรุป โครงการที่แน่นอนแล้วว่าจะส่งมอบให้เชอราตันบริหารในอนาคตจะเหลือเพียง 3 แห่งดังนี้ หนึ่ง-โรงแรมเชอราตัน บ้างฉาง ที่จังหวัดระยอง ซึ่งจะเปิดในปีหน้า 2537 สอง-โรงแรมเชอราตัน ปาล์ม ฮิลล์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ ซึ่งคาดว่าจะเปิดปี 2539 และสาม-โครงการสุขุมวิท เชอราตัน ทาวเวอร์ กรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่สุขุมวิท 12-14 ซึ่งคาดว่าจะเข้าบริหารได้ในปี 2538

ถึงแม้จะประสบปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากภายนอกมากเพียงใด แต่ภาพพจน์ และชื่อเสียงของมืออาชีพระดับโลกอย่างเชอราตันที่สร้างไว้ในประเทศไทยก็ยังคงเป็นที่น่าเชื่อถือ นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ตะวันนา รามาดา และต่อมาคือโรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตันที่กรุงเทพกลับประสบความสำเร็จอย่างดี ตั้งแต่เริ่มเปิดกิจการโรงแรมในปี 2528 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ถึงขั้นเป็นพันธมิตรธุรกิจร่วมกันตั้งบริษัทเชอราตัน รอยัล ออคิดถือหุ้น 51:49 ระหว่างโรงแรมรอยัล ออคิด (ประเทศไทย) กับ บริษัทไอทีที เชอราตัน คอร์ปอเรชั่น

สูตรแห่งความสำเร็จในการเลือกพันธมิตรธุรกิจนั้นจึงขึ้นอยู่กับ PERFERMANCE เจ้าของโครงการและมืออาชีพที่บริหารโครงการ ผนวกกับเป้าหมายที่ร่วมกันสร้างอย่างจริงใจและจริงจัง บนรากฐานแห่งเกียรติยศชื่อเสียงที่ไว้ใจซึ่งกันและกัน

ในกรณีของโรงแรมหรูหรา "เชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า บีช" ขนาด 370 ห้อง ซึ่งเจ้าของบริษัทไทยวา รีสาร์ท ดีเวลลอปเม้นท์ในเครือกลุ่มยักษ์ใหญ่ไทยวา ได้พัฒนาขุมเหมืองร้างเมืองมหัศจรรย์บนเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่ เนรมิตโรงแรมดุสิตลากูน่า โรงแรมแปซิฟิค ไอส์แลนด์ รีสอร์ท และโรงแรมเชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า บีซ

ตามแผนการ โครงการโรงแรมเชอราตันนี้จะต้องเปิดไล่เลี่ยกับโรงแรมแปซิฟิค ไอส์แลนด์ในปี 2534 แต่ก็ต้องมาชะลอตัวโครงการนี้ออกไป 2 ปีกว่า เนื่องจากภาวะผันผวนทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมาเปิดโรงแรมเต็มตัวในปี 2536 นี้เอง

คนของเชอราตันที่ส่งมาบริหารโรงแรมยักษ์ใหญ่แห่งภูเก็ตนี้คือ จอห์น เค คอสเตอร์ ผู้จัดการทั่วไปซึ่งทำงานกับเครือเชราตันมา 11 ปี เคยบริหารงานในตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกห้องพักและสำรองห้องพักของโรงแรมเครือเชอราตัน 5 แห่ง คือ ฮ่องกง กรุงเทพ สิงคโปร์ อัคแลนด์และซิดนีย์ โดยก่อนรับตำแหน่งที่ภูเก็ตเคยเป็นผู้จัดการของ SHERATON HONG KONG HOTEL & TOWER

เครือข่ายของเชอราตันในแถบภูมิภาคพื้นเอเชียมีโรงแรมระดับห้าดาวกระจายปทั่ว 12 ประเทศที่มีจำนวนโรงแรมถึง 31 แห่ง ภายใต้ศูนย์บัญชาการใหญ่อยู่ที่ฮ่องกง ช่วยให้การบริหารการตลาด และการขายห้องพักสามารถที่จะใช้เครือข่ายเหล่านี้บริการแก่ลูกค้าได้ทั่วโลก

ส่วนเครือข่ายภูมิภาคพื้นแปซิฟิค สำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียดูแลกิจการโรงแรม 13 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ 9 แห่งอยู่ที่ออสเตรเลีย และที่เหลือสองแห่งอยู่ที่นิวซีแลนด์และอีกแห่งอยู่ที่เกาะฟิจิ

ทั้งสองส่วนนี้ขึ้นอยู่กับ PRESIDENT ของ ITT SHERATON ASIA PACIFIC CORP. คือ ROBORT F.COTTER และได้ส่งผู้บริหารแอนโทนี ซอมอรา ผอ.ฝ่ายปฏิบัติการประจำภาคพื้นแปซิฟิคไปเข้าร่วมงานพิธีเปิดโรงแรมเชอราตันแกรนด์ ลากูน่า บีชที่ภูเก็ตด้วยและบนเวทีภาคค่ำเขาได้วาดลวดลายการเต้นชนิดที่หนุ่ม ๆ ต้องอายทีเดียว 11 แห่ง

ภารกิจของ ROBORT F. COTTER ในฐานะแม่ทัพบริหารเครือโรงแรมเชอราตันคือการบุกขยายเชนบริหารโรงแรมไปอย่างรุกไปข้างหน้า ตามแผนการระยะปี 2536-2539 โรงแรมยักษ์ใหญ่ที่จะเปิดใหม่ในแถบภูมิภาคเอเชียนี้

แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลก การบริหารการตลาดที่จะสร้างกิจกรรมและรายได้ให้เกิดขึ้นย่อมเป็นภารกิจที่หนักและเหนื่อยอีกนานกว่า เศรษฐกิจและฟื้นตัว โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่หลายโครงการที่ติดต่อไว้หรือเซ็นสัญญาแล้วต้องหลุดไป เพราะคู่สัญญาหรือเจ้าของโครงการทำท่าจะไม่อยากเสี่ยงลงทุนนับร้อยๆ ล้านกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา แล้วพยายามเตะถ่วงเรื่อง ไว้ให้เนิ่นนานโดยไม่มีทีท่าชัดเจน !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us