Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536
เหมืองบ้านปู "ขายเพื่อโต"             
 


   
search resources

เหมืองบ้านปู
ชนินท์ ว่องกุศลกิจ
Mining




"เราขายลานนาลิกไนตโนธุรกิจสายอื่น" นั่นคือเบื้องหลังที่บริษัท เหมืองบ้านปู จำกัดตัดสินใจขายหุ้นออกไปตามเจตนารมย์ที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกล่าว

ดังที่ชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการผู้จัดการเหมืองบ้านปูได้กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า จะต้องมีการจัดประเภทธุรกิจที่ชัดเจนมากขึ้น บริษัทหรือธุรกิจไหนที่เล็กเกินไปหรือซ้ำซ้อนกันไม่ว่าเป็นในเชิงของธุรกิจหรือการบริหารจะถูกตัดออกไป เพื่อให้บริหารได้ง่าย และคล่องตัวมากยิ่งขึ้น บริษัทหรือธุรกิจไหนที่เล็กเกินไปหรือซ้ำซ้อนกันไม่ว่าจะเป็นไปเชิงของธุรกิจหรือการบริหารจะถูกตัดออกไป เพื่อให้บริหารได้ง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น

โดยตัวบริษัท ลานนาลิกไนต์ จำกัด ทำธุรกิจเหมืองลิกไนต์เช่นเดียวกับเหมืองบ้านปู ซึ่งรับช่วงต่อจากการพลังงานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2529 เป็นเวลา 20 มีปริมาณถ่านหินสำรองประมาณ 17 ล้านตัว และมีส่วนครองตลาดอยู่ราว 35 % ของตลาดถ่านหินทั่วประเทศขณะที่เหมืองบ้านปูครองอยู่ถึง 50 % และถือหุ้นในลานนาลิกไนต์อยู่ 73 % จากการเพิ่มทุน 2 ครั้งเป็นเงิน 330 ล้านบาทในปี 2535

ลานนาลิกไนต์จึงตกอยู่ในเงื่อนไขที่เหมืองบ้านปูจะขายหุ้นออกไป..!

ขณะเดียวกัน ก็สอดคล้องกับความต้องการของผู้ถือหุ้นอื่นในลานนาลิกไนต์ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มปูนซีเมนต์นครหลวง กลุ่มเอเชียลิกไนต์ที่มีนโยบายให้ลานนาลิกไนต์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

19 พฤษภาคมที่ผ่านมานี้ที่ประชุมคณะกรรมการเหมืองบ้านปูจึงมีมติให้ขายหุ้นลานนาลิกไนต์ออกไป 5.4 ล้านหุ้นหรือ 61 % ของทุนจดทะเบียนของบริษัทในราคาหุ้นละ 72.8 บาท (จากราคาพาร์ หุ้นละ 10 บาท) คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 393.12 ล้านบาท ให้แก่ธนาคารนครหลวงไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและบริษัทในเครือ รวมไปถึงนักลงทุนรายย่อยเพื่อให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยของลานนาลิกไนต์เป็นไปตามเงื่อนไขเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

เมื่อขายหุ้นส่วนนี้ออกไปจากจำนวน 8.83 ล้านหุ้นที่ถืออยู่ เหมืองบ้านปูจะเหลือหุ้นในลานนาลิกไนต์เพียง 3.03 ล้านหุ้น หรือ 12.9 % และเมื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็จะมีหุ้นน้อยกว่า 10 % ตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะสัดส่วนหุ้นจะถูกลงลงโดยปริยายเมื่อลานนาลิกไนต์จะต้องเพิ่มทุนเมื่อเข้าตลาดฯ

งานนี้ทำให้เหมืองบ้านปูมีกำไรหลังหักภาษี 133 ล้านบาท และจะใช้เงินส่วนนี้ไปลงทุนเพิ่มและจะใช้เงินส่วนนี้ไปลงทุนเพิ่ม และชำระหนี้โครงการเหมืองลิกไนต์ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

ที่สำคัญ เมื่อรวมกับการเพิ่มทุนเมื่อ 2 ครั้งก่อนแล้ว ทำให้เหลือยอดหนี้ที่ค้างจากการลงทุนเพียง 1,800 ล้านบาท จาก 3,300 ล้านบาท

ทำให้เป้าหมายที่จะตัดธุรกิจเล็กและซับซ้อนออกไป เพื่อสู่ธุรกิจอื่นที่มีอนาคตกว่าเป็นไปได้ง่ายขึ้น..!

โดยเหมืองบ้านปูได้ร่วมทุนกับบริษัท นอร์ดิก เพาเวอร์ อินเวสต์ เอบี จำกัด บริษัทที่มี ประสบการณ์ในการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคแก่อุตสาหกรรมกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียตั้ง "บริษัท ไทย โคเจเนเรชั่น จำกัด" ขึ้นมาทำธุรกิจด้านพลังไอน้ำ ด้วยสัดส่วน 51 : 49 ก่อนตัดสินใจขายหุ้นลานนาลิกไนต์ออกไป

แล้วผันของชนินท์แห่งเหมืองบ้านปูก็เป็นจริง เมื่อ บริษัท ไทยโคเจเนเรชั่นชนะงานประมูลสร้างหน่วยสาธารณูปโภคของบริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (ทีโอซี) ซึ่งดูแลโรงงานโอเลฟินส์แห่งที่ 2 อยู่…!

เงื่อนไขที่ทำให้ไทยโคเจเนชั่นเข้าวินในงานสร้างสาธาณูปโภค เพื่อส่งไอน้ำและน้ำจืดให้แก่ ทีโอซี เพราะดีกว่าเอกชนรายอื่น ให้ผลตอบแทนการลงทุน 16 % ในระยะเวลาการลงทุน 20 ปี

"ที่สำคัญ คือ มีความพร้อมที่จะสร้างให้เสร็จตามกำหนด คือมิถุนายนปีหน้าที่ ทีโอซี จะเริ่มเดินเครื่อง" พละ สุขเวส กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอซี กล่าว โดยมีการค้ำประกันตามสัญญา 640 ล้านบาท

หน่วยสาธารณูปโภคนี้จะสร้างในพื้นที่ 24 ไร่ ที่ติดกับโรงโอเลฟินส์ เพื่อจัดส่งไอน้ำจำนวน 250 ตันต่อชั่วโมง น้ำจืด 600 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงและน้ำกลั่น 80 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงแก่โรง โอเลฟินส์ คิดเป็นมูลค่าทั้งโครงการ 750 ล้านบาทตามราคากลางที่ทีโอซีกำหนดไว้ โดยเซ็นสัญญา รับผิดชอบโครงการนี้ไปแล้วอย่างเงียบ ๆ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้

ทั้งนี้ ทางบริษัท นอร์ดิกฯ จะเป็นคนดูแลและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ ส่วนเรื่องบุคลากรนั้นทางเหมืองบ้านปูจะเป็นคนจัดการ ซึ่งขณะนี้ทางทีโอซีกำลังดูอยู่เช่นกันว่าจะช่วยประสานกับไทยโคเจเนเรชั่นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการอย่างไรเพราะเหมืองบ้านปู ยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน

นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่เหมืองบ้านปูจะขยายตัวไปสู่ธุรกิจสายอื่น โดยเฉพาะในเรื่องของสาธารณูปโภคอย่างไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนและบริการแก่อุตสาหกรรมกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้น

อีกหนึ่งปี ก็จะพิสูจน์ให้เห็นว่า เหมืองบ้านปูจะเลือกโตในสายนี้ได้ดังที่หวังหรือไม่…?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us