Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2528
แมนกรุพอาณาจักรที่สร้างกันขึ้นมาด้วยทุน 2 หมื่นบาท             
 


   
search resources

Printing & Publishing
แมนกรุ๊ป
สุทัศน์ สุกลรัตนเมธี




แมนกรุพเป็นอาณาจักรทางธุรกิจที่ยังไม่ถึงกับใหญ่โตมากนัก แต่ถ้ามองย้อนหลังกลับไปเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้วในช่วงที่แมนกรุพกำลังตั้งไข่ อาณาจักรในปัจจุบันก็คงจะเป็นสิ่งที่สัมผัสได้เพียงความฝัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตัวสุทัศน์ ศุกลรัตนเมธี ในฐานะเจ้าของและกรรมการผู้จัดการของแมนกรุพแล้ว เขารู้สึกอยู่เสมอว่าอาณาจักรแห่งนี้มันโตขึ้นรวดเร็ว จนบางครั้งเขาเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

เขายอมรับว่าเป็นการสร้างตัวขึ้นมาอย่างสนุกสนานมากและไม่เคยเบื่อที่จะแสวงหาลู่ทางธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

สุทัศน์ก่อตั้งแมนกรุพขึ้นมาในช่วงปลายปี 2520 โดยเริ่มจากการจัดทำหนังสือแมนซึ่งสุทัศน์ได้หัวหนังสือมาจากบุรินทร์ วงศ์สงวน

สุทัศน์เคยทำหนังสือมาก่อนหลายเล่ม และเล่มล่าสุดก่อนจะเป็นแมนกรุพก็คือหนังสือแมน โดยทำร่วมกับไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม และนักเขียนรุ่นใหม่อีกหลายคน

หนังสือแมนต้องหยุดตีพิมพ์ไปเมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 อีกเกือบปีต่อมาสุทัศน์จึงได้หัวจากบุรินทร์มาลงทุนทำเอง

บุรินทร์เห็นว่าสุทัศน์เป็นคนเอาจริงเอาจังกับงานและกำลังต้องการเริ่มต้นจึงมอบหนังสือแมนให้พร้อมกับเงินลงทุนอีก 20,000 บาท เป็นทุน และให้ใช้สำนักงานที่อาคารบีอาร์ของบุรินทร์โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า

“ผมเริ่มมาแค่นั้น ออฟฟิศก็แค่ 50-60 ตารางเมตร” สุทัศน์เล่าให้ “ผู้จัดการ” ฟัง

แมนกรุพของสุทัศน์จึงเริ่มขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงที่ลงไปและเงินของบุรินทร์ วงศ์สงวน กับสำนักงานไม่ต้องเสียค่าเช่าเท่านั้นจริงๆ

หนังสือแมนเป็นหนังสือที่มีตลาดของมันเองอยู่แล้วก่อนปิด เมื่อบวกกับแรงทุ่มเทของสุทัศน์และทีมงาน และโชคดีที่คู่แข่งก็มีเพียงหนังสือหนุ่มสาวฉบับเดียว แมนจึงเป็นที่ฮือฮาของบรรดานักอ่านในเวลาอันรวดเร็ว สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำให้กับสุทัศน์จนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง

สุทัศน์นั้นโดยท่วงทำนองภายนอกอาจจะบอกได้ว่า เขาเป็นคนนุ่มนวลสุภาพและออกจะเป็นคนที่เรียบร้อยมาก

แต่ถ้าศึกษากันนานๆ แล้วก็จะพบว่า เขาเป็นคนที่กระตือรือร้นอย่างรุนแรงทีเดียว โดยเฉพาะเกี่ยวกับการตัดสินใจขยายตัวทางธุรกิจ

เพราะฉะนั้นเมื่อหนังสือแมนเริ่มให้ผลกำไร สุทัศน์ก็ตัดสินใจนำกำไรนั้นไปออกหนังสืออีก 2 เล่ม เป็นหนังสือสำหรับเด็กแนวเดียวกับชัยพฤกษ์ของเครือไทยวัฒนาพานิช เล่มหนึ่งชื่อ โลกของเด็ก มี ส.สุวรรณ เป็นผู้คุมทีมจัดทำส่วนอีกเล่มเป็นหนังสือบันเทิงชื่อ ดารารีวิว ควบคุมโดยน้ำมนต์ อยู่สกุล บรรณาธิการหนังสือ วัยหวาน ในปัจจุบัน

หนังสือทั้ง 2 เล่มนี้สุทัศน์ร่วมลงทุนคนละครึ่งกับบุรินทร์ วงศ์สงวน

ประมาณ 7-8 เดือนให้หลัง หนังสือทั้ง 2 เล่มก็ต้องปิดตัวเอง เพราะผู้ลงทุนทนขาดทุนต่อไปไม่ไหว สุทัศน์ยอมรับว่า เป็นการเจ็บครั้งแรกในชีวิตและต้องจดจำไปนานจนแม้ทุกวันนี้ทุกครั้งที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนใดๆ เขาก็ต้องนึกถึงบทเรียนครั้งนี้อยู่เสมอ

“ก็หมดไปคนละ 3-4 แสนบาท” สุทัศน์หมายถึงราคาของบทเรียนที่เขาลงทุนซื้อหามาร่วมกับบุรินทร์ ซึ่งหลังจากครั้งนี้แล้วก็ดูเหมือนว่าบุรินทร์จะเริ่มวางมือจากวงการหนังสือไปตามลำดับ

สุทัศน์ยอมรับตรงๆ กับ “ผู้จัดการ” ว่า คราวนั้นแมนกรุพ ยอมแยกไปพักใหญ่ๆ เหมือนกัน

แต่เขาก็คงข่มความทะเยอทะยานในจิตใจเบื้องลึกไม่ได้อยู่ดี

ในช่วงปลายปี 2522 สุทัศน์ตัดสินใจออกหนังสืออีกเล่มชื่อ ไฮ-ไฟ สเตอริโอ และเป็นหนังสือที่สุทัศน์เชื่อมั่นมากว่าจะต้องประสบความสำเร็จ

ไฮ-ไฟ สเตอริโอ มีที่มาจากคอลัมน์เครื่องเสียงในหนังสือแมน ซึ่งเขียนโดย ประพันธ์ ฟักเทศ วิศวกรทางด้านอิเล็กทรอนิกส์จากจุฬาฯ ทำงานอยู่ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เป็นอาชีพหลัก แต่เผอิญเป็นเพื่อนรุ่นพี่ร่วมสถาบันเดียวกัน สุทัศน์จึงผลักดันให้เขียนคอลัมน์เครื่องเสียงในหนังสือ แมน

และกลายเป็นคอลัมน์ยอดนิยมในเวลาอันรวดเร็ว มีผู้อ่านและตัวแทนจำหน่ายเครื่องเสียงให้ความสนใจสูงมาก

“แรกๆ ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีคนชอบมากแค่ไหน จึงไม่กล้าออกเป็นหนังสือทันที เพราะบทเรียนเก่ามีมาแล้ว ผมจึงออกเป็นฉบับพิเศษในหนังสือแมนก่อน ก็ปรากฏว่าโฆษณาเข้ามามาก และคนอ่านให้การต้อนรับดี ก็เลยตัดสินใจออกเป็นรายสองเดือน และตอนนี้ปรับขึ้นมาเป็น 3 เดือน 2 เล่ม” สุทัศน์บอกรายละเอียดเกี่ยวกับเบื้องหลัง

ไฮ-ไฟ สเตอริโอ เป็นหนังสือที่สุทัศน์บอกว่ายอดขายและโฆษณาขึ้นสูงมาก และขึ้นอย่างรวดเร็ว สุทัศน์ไม่ปิดบังว่า ขณะนี้รายได้ จาก ไฮ-ไฟ สเตอริโอ นั้นได้แซงหน้าหนังสือแมนไปแล้วเรียบร้อย

หลังจากออก ไฮ-ไฟ สเตอริโอ ได้ไม่นานสุทัศน์ก็แยกคอลัมน์วิดีโอในหนังสือเล่มนี้ออกมาเป็นอีกเล่มต่างหาก คือหนังสือ วิดีโอรีวิว

กลางปี 2523 ก็ออกหนังสือในเครือแมนกรุพฉบับที่ 4 ชื่อ คอมพิวเตอร์รีวิว

“เบื้องหลังการออกหนังสือ วิดีโอ และ คอมพิวเตอร์ ก็คือการมองว่า 2 ตลาดนี้กำลังโตมีคนตื่นตัวสนใจมาก” สุทัศน์พูดกับ “ผู้จัดการ”

มีสัจธรรมข้อหนึ่งบอกไว้ว่า วิถีทางของคนเรานั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อโอกาสมาถึง โดยเฉพาะเมื่อมองแล้วว่าทางสายใหม่อาจจะให้อะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าเก่า

วิถีชีวิตของสุทัศน์และวิถีทางของแมนกรุพก็คงจะเป็นไปในทำนองนั้นด้วย

ย้อนกลับไปในปี 2524 หลังจากทำหนังสือ ไฮ-ไฟ สเตอริโอ มาครบสองปี ด้วยความตั้งใจแท้จริงที่จะสร้างภาพพจน์และพลังให้กับหนังสือ สุทัศน์ตัดสินใจจัดงานนิทรรศการแสดงเครื่องเสียงขึ้นที่โรงแรมอิมพีเรียล

“ผมได้รับแรงผลักดันจากคุณปราจิณ เอี่ยมลำเนา (เจ้าของหนังสือรถยนต์ชื่อกรังด์ปรีซ์) ซึ่งเคยจัดนิทรรศการมอเตอร์โชว์มา 2-3 ครั้ง เขาก็บอกว่าผมควรทำเพื่อเป็นการโปรโมตหนังสือและสร้างอำนาจต่อรองกับเจ้าของสินค้าและก็เท่ากับตอบแทนลูกค้าด้วย ผมก็ตัดสินใจจัดโดยที่ไม่มีประสบการณ์เลย โนว์ฮาวต่างๆ ก็เพียงได้รับการถ่ายทอดจากคุณปราจิณ...” สุทัศน์กล่าวให้ฟัง

งานไฮ-ไฟ โชว์ ครั้งแรกก็เลยออกมาอย่างไม่ค่อยประทับใจทุกฝ่ายเท่าไร

“ขาดทุนนิดหน่อย มีตัวแทนจำหน่ายเครื่องเสียงมาออกร้าน 18 ราย เราก็ใช้ห้องนอนของโรงแรมเป็นห้องๆ แทนบูท” สุทัศน์เสริม

แต่กระนั้นสุทัศน์ก็คงจะเริ่มมองเห็นลู่ทางธุรกิจบางอย่างแล้ว จึงได้จัดไฮ-ไฟ โชว์ ครั้งที่ 2 ขึ้นในปีถัดมา คราวนี้สถานที่ย้ายมาที่โรงแรมรามาการ์เด้น และครั้งนี้นอกจากจะมีการแสดงเครื่องเสียงตามปกติ ก็ยังรวมผลิตภัณฑ์ไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมเข้าไปด้วย

ผลออกมาดีกว่าครั้งแรก แม้จะยังขาดทุนอยู่บ้าง และถ้ามองกันว่าแมนกรุพเริ่มจะมีประสบการณ์ด้านการจัดนิทรรศการเพิ่มขึ้น ก็คงต้องถือว่ามีกำไร เพียงแต่กำหนดค่าออกมาเป็นตัวเงินไม่ได้เท่านั้น

ปี 2526 สุทัศน์ตัดสินใจให้แมนกรุพจัดนิทรรศการอีก คราวนี้เป็นการรวบรวมผลิตภัณฑ์ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาเกือบครบทุกประเภท ใช้เนื้อที่กว้างขวางขึ้นเป็น 3,500 ตารางเมตร มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 50 บริษัท และเปลี่ยนชื่อนิทรรศการเสียใหม่เป็น “BES 83 หรือ BANGKOK HI-FI & ELECTRONICS SHOW”

คราวนี้โชคเป็นของแมนกรุพ เพราะเป็นครั้งแรกที่จัดแล้วมีกำไรตอบแทนกลับมา

“จากงานนี้เองที่ผมเริ่มรู้แล้วว่าแมนกรุพกำลังจะเดินไปในทางสายใหม่ทางไหน” สุทัศน์สรุปให้ฟัง

เป็นเรื่องแน่นอนที่ธุรกิจหนังสือในเครือแมนกรุพนั้นจะต้องทำกันต่อไป เพราะมีหนังสือหลายเล่มที่จะสามารถเกื้อกูลซึ่งกันและกันกับงานจัดนิทรรศการได้ และแน่เสียยิ่งกว่าแน่ที่แมนกรุพจำเป็นต้องจัดสรรกำลังคนแยกมาส่วนหนึ่งต่างหาก โดยให้มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะงานด้านการจัดนิทรรศการ

สุทัศน์เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันแมนกรุพมีพนักงานทั้งสิ้น 52 คน ต้องทำงานควบทั้งทางด้านหนังสือและจัดนิทรรศการไปพร้อมๆ กัน

“ถ้าต้องการจะเอาดีทางด้านจัดนิทรรศการจริงๆ ก็คงต้องแยกงาน 2 ส่วนนี้ออกจากกัน คงมีเพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น ฝ่ายหาลูกค้ากับฝ่ายศิลป์ทางด้านครีเอทีฟที่อาจจะใช้ร่วมกันได้...”

การขยายตัวทางด้านการจัดนิทรรศการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากไฮ-ไฟ โชว์ ครั้งที่ 1 และ 2 มาเป็นครั้งที่ 3 คือ BES'83 ตามด้วย BES'84 เมื่อวันที่ 1-5 ธันวาคม 2527 ที่บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซา และงานคอมพิวเตอร์ไทย '85 ที่เพิ่งจบสิ้นไปสดๆ ร้อนๆ ตอนต้นเดือนมีนาคม 2528 นี้ ซึ่งจัดที่เซ็นทรัลพลาซาอีกเหมือนกัน ได้ทำให้แมนกรุพเร่งรีบจัดตั้งฝ่ายนิทรรศการขึ้นมาทันที

ฝ่ายนี้สุทัศน์เปิดเผยว่าจะมีการแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เกี่ยวกับงานวิจัย มีหน้าที่เสาะแสวงหาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและสภาวะการตลาดและงานวิจัยอื่นๆ ที่เป็นงานด้านวิชาการของการจัดนิทรรศการ อีก 2 ส่วนก็จะเป็นฝ่ายประสานงานต่างประเทศและฝ่ายการตลาด

การตั้งฝ่ายประสานงานต่างประเทศนั้นแมนกรุพจำเป็นต้องมีไว้ เพราะแมนกรุพมองว่าในอนาคตจะต้องพยายามขยายธุรกิจออกไปในโลกกว้าง จะไม่จำกัดตัวเองอยู่เฉพาะการจัดนิทรรศการระดับภายในประเทศเท่านั้น

“ตอนนี้เราก็พยายามหาทางเป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท CAHNERS EXPOSITION GROUP และบริษัท LEED INTERNATIONAL อยู่ พวกนี้ที่จริงเขาก็พยายามจะเข้ามาเอง แต่ยังไม่สบโอกาสเหมาะเท่านั้น เราก็คิดว่าไหนๆ เขาจะต้องเข้ามาแน่แล้วก็ให้เราเป็นตัวแทนของเขาจะไม่ดีกว่าหรือ” สุทัศน์กล่าว

บริษัท CAHNERS EXPOSITION GROUP และบริษัท LEED INTERNATIONAL นี้ จัดว่าเป็นผู้จัดนิทรรศการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ทั้ง 2 บริษัทมีบริษัทแม่เดียวกัน เพียงแต่สำนักงานใหญ่ของ CAHNERS อยู่ที่ชิคาโก และในย่านเอเชียมีศูนย์อยู่ที่ฮ่องกง ส่วน LEED มีสำนักงานใหญ่ที่อังกฤษ

แมนกรุพเริ่มเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับทั้ง 2 บริษัทนี้บ้างแล้ว

สุทัศน์เล่าให้ฟังว่า นอกจากการจัดตั้งฝ่ายและแบ่งส่วนงานใหญ่ๆ ดังกล่าวแล้ว งานด้านอื่นๆ ที่มีผู้ชำนาญการเฉพาะด้านดำเนินการได้ดีอยู่แล้ว เขาจะใช้วิธีตกลงให้ความร่วมมือกันหรือว่าจ้างกันอีกทอดหนึ่ง อย่างเช่นงานที่เกี่ยวกับการสร้างบูท แมนกรุพจะต้องใช้บริการจากบริษัทปิโก้ประเทศไทย ซึ่งมีชื่อเสียง ทั่วโลกให้การยอมรับด้านความเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว และงานที่เกี่ยวข้องทางด้านการโปรโมชั่นแมนกรุพจะร่วมมือกับบริษัทซีพีแอนด์เอส ทุกงานไป

“จากประสบการณ์วิธีนี้จะลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายได้ดีที่สุด” สุทัศน์ยืนยัน

แมนกรุพมีงานในช่วงปี 2528 ที่จะต้องดำเนินแน่นอนแล้ว 5 งานในขณะนี้ คืองานลิกไนต์ไทย 85 เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับการทำเหมืองถ่านหิน จัดร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตระหว่างวันที่ 18-21 พฤศจิกายน ที่เซ็นทรัลพลาซา ต่อมาได้แก่งาน BES'85 ซึ่งจัดติดต่อกันทุกปี และครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 5 แล้ว

มีงานระดับนานาชาติอีก 2 งานคือ เอ็กซโป '85 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 พฤษภาคม ที่ประเทศบรูไน โดยบริษัทรับจัดนิทรรศการของสิงคโปร์เป็นเจ้าของงาน และเมนกรุพได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย หรือพูดง่ายๆ ก็คือหาลูกค้าไปออกงานนั่นเอง

งานระดับนานาชาติอีกงานหนึ่งได้แก่นิทรรศการอาหารแช่แข็งนานาชาติ (INTER NATIONAL FROZIN FOOD EXHIBITION AND CONFERENCD จัดโดยบริษัทไอทีเอฟของอังกฤษ แมนกรุพเป็นตัวแทนในประเทศไทยอีกเหมือนกัน

นิทรรศการอาหารแช่แข็งนานาชาติจะจัดขึ้นที่บางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์เซ็นทรัลพลาซา ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายนศกนี้

ส่วนงานสุดท้ายเป็นงานซีเกมส์แฟร์ จัดระหว่างการแข่งขันกีฬาซีเกมส์บริเวณสนามศุภชลาศัยและสนามกีฬาหัวหมาก

“เป็นงานแฟร์ครั้งแรกของเรา ก็เรียกว่างานช้างทีเดียว เราประมูลได้มาก็จะมีการออกร้านและขายอาหาร ความจริงแมนกรุพไม่มีนโยบายจัดงานแฟร์ เราเน้นไปที่นิทรรศการมากกว่า...” สุทัศน์ชี้แจง

กิจกรรมด้านการจัดนิทรรศการของแมนกรุพพอสรุปได้ว่ามีอัตราการขยายตัวที่รวดเร็วมาก

แมนกรุพในวันนี้ตั้งเป้าหมายไว้อย่างค่อนข้างจะมั่นใจว่า นอกจากงาน BES ซึ่งเป็นงานที่จะต้องจัดกันปีละหนึ่งครั้งแล้ว ก็จะพยายามเป็นผู้จัดงานคอมพิวเตอร์ไทยต่อไปเรื่อยๆ ทุกปีให้ได้ นอกจากนั้นก็จะให้ความสนใจสินค้าในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย

และนี่ก็คือภาพของแมนกรุพในปัจจุบัน ที่กำลังจะก้าวเข้าไปในวงการจัดนิทรรศการในอนาคต โดยเริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาด้วยเงินทุน 20,000 บาท จริงๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us