Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2528
ซูเปอร์ดอลลาร์โฉมหน้าเศรษฐกิจใหม่ของอเมริกา ที่แอบแฝงมากับค่าเงินใหม่นี้             
 


   
search resources

Economics




ในขณะที่ค่าเงินบาทของไทยเราตกลงเรื่อยๆ นับแต่การประกาศลดค่าเงินบาทโดยกระทรวงการคลังเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำเอาคนไทยต้องหน้าแห้งยิ่งไปกว่าที่เป็นอยู่แล้ว เพราะต้องสั่งซื้อสินค้าเข้าประเทศด้วยราคาที่สูงขึ้น ทั้งประเภทสิ่งจำเป็นและไม่จำเป็น และแทนที่จะขายสินค้าได้ราคาสูงขึ้น กลับถูกผู้ซื้อนอกประเทศบีบให้ลดราคาลงมากว่าเก่า โดยไม่อาจจะโต้แย้งได้ ค่าเงินบาทจากเดิมประมาณ 23 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์พุ่งสูงขึ้นเป็นอัตรา 27 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์ภายในเวลาชั่วคืนเดียว และนับแต่ปี 1985 นี้เป็นต้นมาค่าเงินดอลลาร์ก็มีทีท่าว่าจะเขยิบสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมีการคาดคะเนว่า จะถึงอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 30 บาทต่อหนึ่งเหรียญในระยะเวลาอันใกล้นี้

ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ค่าเงินตกลง เยอรมนีก็ดี อิตาลี หรือฝรั่งเศส ต่างก็ได้รับผลกระทบนี้ทั้งสิ้นจนกระทั่ง

ในขณะนี้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษที่เคยประมาณสองดอลลาร์ต่อหนึ่งปอนด์ ก็เกือบจะตกลงมาเป็นหนึ่งปอนด์ต่อหนึ่งดอลลาร์แล้ว

ญี่ปุ่นที่มีฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ค่าเงินเยนเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐ ก็ลดลงหลายต่อหลายครั้งในระยะนี้

การที่ค่าเงินดอลลาร์ขึ้นเรื่อยๆ จะมีผลดีหรือผลเสียต่อสหรัฐฯ

จริงอยู่ที่ว่า การที่ค่าเงินดอลลาร์ถีบตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนอเมริกันมีอำนาจการซื้อเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ครอบครัวนักทำบัญชีครอบครัวหนึ่ง เดิมทีการจะจับจ่ายซื้อของต้องใช้ไปในเรื่องการซื้อหาสิ่งที่จำเป็นเป็นหลัก แต่ในระยะปีที่แล้วนี้ ทั้งคู่ต่างก็ใช้เงินกวาดซื้อสิ่งที่เราเรียกว่า สินค้าประเภทฟุ่มเฟือย อันได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป จักรยานสองล้อ เครื่องกระเบื้อง เป็นอาทิ นอกจากนี้ทั้งคู่ยังถือโอกาสหยุดงานกลางช่วงฤดูหนาว หนีอากาศหนาวเย็นในประเทศ มุ่งหน้าไปยังเม็กซิโก การจับจ่ายชนิดที่เรียกว่าซื้อดะจ่ายแหลกนี้ ใช่ว่าจะทำให้การหมุนเวียนเงินตราในประเทศดีขึ้นก็หาไม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เขาซื้อหากันนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของที่ผลิตจากต่างประเทศทั้งสิ้น หรือการไปเที่ยวก็เลือกที่จะไปเที่ยวเมืองนอก เพราะนอกจากจะรู้สึกว่าโก้กว่าแล้วยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเที่ยวในประเทศเสียด้วยซ้ำ

สินค้าที่ทะลักเข้าไปในสหรัฐฯ นั้นมาจากทุกมุมเมืองทั่วโลก ถ้าไม่ใช่ของทำจากแถบยุโรปก็จะส่งมาจากพี่ยุ่นเป็นหลัก กระทั่งประเทศเล็กประเทศน้อย เช่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน ก็พยายามหาลู่ทางส่งสินค้าของตนเข้าไปขายแข่งกับผู้อื่น

สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการที่ค่าเงินดอลลาร์ถีบตัวสูงขึ้น อันเป็นผลให้ของนอกถูกกว่า และน่าซื้อกว่า ในขณะเดียวกันสินค้าเมดอินยูเอสเอก็กลับแพงขึ้นในสายตาคนต่างชาติ

ค่าเงินดอลลาร์ที่สูงขึ้นนับแต่กลางปี 1980 นั้นได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นอัตราสูงสุดนับแต่ปี 1931 เป็นต้นมา เมื่อเทียบตามดัชนีรัฐแล้วสูงขึ้นถึง 53 เปอร์เซ็นต์

นักเศรษฐศาสตร์มีชื่อรายหนึ่งของสหรัฐกล่าวว่า การที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มสูงโด่งในระยะวลาสี่ปีกว่าๆ ที่ผ่านมานี้ เป็นการก่อให้เกิดอาการช็อกได้พอๆ กับการขึ้นราคาน้ำมันในช่วงกลางปี 1970

อีกรายหนึ่งให้ความเห็นว่า การขึ้นค่าเงินนี้มีผลให้โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงมากยิ่งกว่าน้ำมันขึ้นราคาครั้งนั้น ราคาน้ำมันมีผลกระเทือนต่อทุกคนเท่าเทียมกัน (เว้นแต่ผู้ขายน้ำมันหรือขายแก๊ส)

แต่การที่ดอลลาร์สูงขึ้น ทำให้มีผลเปลี่ยนแปลงต่อบางประเทศหรือบางหน่วยเท่านั้น

สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง การเปลี่ยนค่าทำให้เกิดการช็อกกันเป็นแถบๆ ทีเดียว

เมื่อค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้น คู่แข่งจากต่างประเทศก็เกิดการได้เปรียบขึ้นมา เดิมทีคนอเมริกันจำนวนมากเคยต่อต้านสินค้าต่างด้าว แต่ในปัจจุบันท่าทีนั้นได้เปลี่ยนแปรไป ในบางท้องที่ กระทั่งการจะหาซื้อของทำในประเทศก็ดูจะเป็นเรื่องยากเย็น

เมื่อก่อนนี้ผู้บริโภคชาวอเมริกันระแวดระวังในอันที่จะใช้แต่ของทำในประเทศ เลือกแต่ยี่ห้อที่ตนเชื่อถือ แต่เมื่อหาซื้อได้ยากเย็นยิ่งขึ้นก็เริ่มแปรพักตร์ไปใช้ของสั่งเข้าแทน

ค่าเงินที่แข็งปั๋งทำให้การค้าของสหรัฐฯ เปลี่ยนไปทั้งในแง่ของผู้ผลิตและผู้บริโภค ถึงแม้ว่าภาวะนี้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงโดยได้ดูดกลืนเอาอุปสงค์ส่วนเกินไว้ แต่ก็ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกได้มากขึ้น เพราะมีการแข่งขันจากตัวสินค้าจากเมืองนอกที่มีราคาถูกกว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ ภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ต้องพยายามหาทางปรับปรุงตนเอง โดยลดต้นทุนการผลิต สกัดกั้นการขึ้นค่าแรง หาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับปรุงการผลิตและการตลาด แต่ก็ยังไม่ทันการนัก แม้ว่าชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะยินดีกับค่าเงินในกระเป๋าที่เพิ่มขึ้นนี้ ค่าเงินที่สูงขึ้นกลับมีผลกระเทือนต่อภาคอุตสาหกรรม ทั้งตัวผู้ส่งออก ผู้ผลิต ภาคการเกษตร และเหมืองแร่ ต่างอยู่ในภาวะย่ำแย่ ในขณะที่มูลค่าหุ้นเพิ่มสูงขึ้น กำไรสุทธิของตนกลับหดลงไปอีก

องค์การเกี่ยวกับการค้าระดับเบิ้มๆ ของสหรัฐฯ เองคือ คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ โดยตัวผู้อำนวยการคือ พอลลา สเตอร์น ได้แสดงความกังวลว่า ค่าที่แปรเปลี่ยนไปจนยากที่จะย้อนกลับมาสู่ภาวะที่เคยอยู่ต่ำๆ ผู้ส่งออกหลายต่อหลายรายต้องเสียตลาดของตนในต่างประเทศ และการจะชิงกลับมาได้อีกนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งนัก ในขณะเดียวกันคู่แข่งต่างด้าวก็สามารถเข้ามาครองตลาดในสหรัฐฯ ได้

แย่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ วงการค้าอเมริกันต้องเริ่มซื้อหาส่วนประกอบต่างๆ จากเมืองนอก หรือบางครั้งถึงกับต้องย้ายไปปักหลักแหล่งในต่างประเทศเพื่อจะได้จ่ายค่าจ้างน้อยลง รวมทั้งการใช้ต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกกว่า ทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศต้องถอยห่างออกไปจากงานเหล่านั้น

การที่ต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นในระยะเวลา 5 ปีนี้ ทำให้ผู้ผลิตต่างชาติเกิดการได้เปรียบทางการค้า โดยประกันพวกเขาในการที่จะเพิ่มยอดขายและขยายขอบข่ายการตลาด และนอกจากนี้ยังได้ดึงเอาประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี เช่น บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการไฟฟ้าของเยอรมนีตะวันตก คือบริษัทซีเมนส์ได้ทำสัญญากับบริษัทไอทีอี ที่จะผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าในสหรัฐฯ ในระยะใกล้ๆ นี้

แรงกระตุ้นจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ตัวเลขการนำเข้าสูงขึ้นมาก การทะลักเข้ามานี้ทำให้เกิดการขาดดุลเป็นจำนวนถึง 123 พันล้านเหรียญสหรัฐ (123,000,000,000) ในปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนนี้สูงกว่างบประมาณของหลวงทั้งสิ้นในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

นายมัลคอม บอลริจ เลขาธิการการค้าของสหรัฐฯ ทำนายว่า ตัวเลขการขาดดุลนี้จะเพิ่มขึ้นอีกจนถึง 150 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ หลังจากการปรับอัตราเงินเฟ้อแล้ว มูลค่าการสั่งสินค้าเข้าในปัจจุบันเป็นจำนวนเกือบร้อยละ 15 ของตลาดในประเทศ เพิ่มขึ้นจากปี 1983 ถึงร้อยละ 12.7 ในขณะที่เมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาเป็นเพียงร้อยละ 6.3

ในภาคธุรกิจบางภาค การสั่งเข้าสูงมากคือ ในปี 1984 การสั่งสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 25.9 เพิ่มจากปี 1980 ถึงร้อยละ 16.2 ในปี 1984 มีการสั่งอะลูมิเนียมเพิ่มร้อยละ 112 ประเภทของเล่นและตุ๊กตาร้อยละ 132 จักรยานร้อยละ 67 หรือกระทั่งในภาคเทคโนโลยีระดับสูง เช่น วงการคอมพิวเตอร์ ก็มิได้ยกเว้น ในปี 1984 มีการสั่งเข้าถึง 341.2 พันล้าน สูงกว่าในปี 1983 ถึง 26.4

สิ่งที่ทำให้ปัญหาของดอลลาร์เพิ่มรุนแรงขึ้น เพราะปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ นั้นต้องพึ่งการค้าจากต่างประเทศมากกว่าช่วงระยะเวลา 10 ปี 20 ปีที่ผ่านมา

ในช่วง 1960 สหรัฐฯ นำสินค้าเข้าเพียงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจทั้งประเทศในราวๆ ช่วงกลางปี 1970 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 แต่ทุกวันนี้เพิ่มเป็นตัวเลขถึงร้อยละ 12

นอกจากนี้อเมริกาเองก็ไม่ได้นำหน้าใครๆ ในด้านเทคโนโลยีอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นหรือยุโรป อย่างที่เคยเป็นมาในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และยังจะต้องต่อสู้กับคู่แข่งใหม่ๆ เช่น บราซิล ไต้หวัน เกาหลี ทั้งในการค้าสินค้าประเภทเหล็กกล้า เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการบินหรือกระทั่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

ในดินแดนแถบอิลลินอยส์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญๆ เกี่ยวกับการผลิตเครื่องจักรกลที่ใช้ในการเกษตร และศูนย์กลางโรงงานเล็กๆ ที่ผลิตวัตถุดิบป้อนโรงงานใหญ่อีกทอดหนึ่ง ฐานทางเศรษฐกิจของที่นี่ขึ้นอยู่กับการเกษตร และนับเป็นเวลาเนิ่นนานเต็มทีแล้วที่คนแถบนี้คิดว่าตนจะไม่ต้องพบสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ความเป็นจริงของปัจจุบันที่พวกเขาต้องเผชิญก็คือ ภาวะการว่างงานถึงร้อยละ 15 และสาเหตุใหญ่ก็มาจากค่าดอลลาร์ที่ทะยานสูงขึ้นนั่นเอง

แม้ว่าตัวอย่างคู่สามีภรรยาที่จับจ่ายอย่างฟุ่มเฟือยดังที่ยกตัวอย่างมาแล้วข้างต้น จะเป็นตัวแทนของผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ในการได้มีโอกาสเลือกซื้อของใช้ราคาถูก แต่ค่าดอลลาร์ที่แข็งก็ก่อให้เกิดปัญหาแก่ทั้งภาคอุตสาหกรรมและหน่วยแรงงาน ในแถบเมืองแควดซิตีส์ ในอิลลินอยส์ เหยื่อรายใหญ่ก็คือพวกท้องไร่ท้องนาที่ขายผลผลิตจากท้องไร่ของตนได้ยากเย็นขึ้น เพราะค่าเงินสูงขึ้นทำให้การส่งออกลดลง และราคาที่ดินที่ต่ำลงทำให้ชาวไร่นาเหล่านี้ต้องเป็นหนี้เป็นสินพะรุงพะรัง

ผลกระทบอีกส่วนก็คือ ผู้ผลิตเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการเกษตร ไม่มียกเว้นแม้แต่พี่เบิ้มอย่าง เดียร์แอนด์คอมปานี และบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล ฮาร์เวสเตอร์ ซึ่งต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการปลดพนักงานของตนออก อีกรายคือ บริษัท แคทเตอร์ฟิลล่าร์ แทรคเตอร์ ที่รู้จักกันดีในบ้านเราก็ได้ออกแถลงว่า โรงงานของตนในสหรัฐฯ อยู่ในภาวะเสียเปรียบ จำต้องย้ายไปทำการผลิตในสกอตแลนด์และฝรั่งเศสแทน และในระยะเวลา 2 ปีข้างหน้านี้จะต้องปลดคนงานออก 600 คน โดยทั้งนี้และทั้งนั้น ผู้บริหารของแคทเตอร์ฟิลล่าร์ กล่าวโทษค่าเงินดอลลาร์ว่าเป็นสาเหตุที่ตนจำต้องตัดสินใจทำเช่นนั้นเพื่อความอยู่รอด

นับตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมาจนถึงวันนี้ บริษัทเดียร์และบริษัทแคทเตอร์ฟิลล่าร์ ได้ทำการปลดคนงานออกไปแล้วกว่า 12,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้งานนั้นอีก จากกิจการที่เดิมเคยส่งอุปกรณ์เกี่ยวกับการก่อสร้างไปขายเมืองนอกก็ได้เริ่มทำการปลดคนงานออกแทน

เมื่อยักษ์ใหญ่คลอนแคลน พวกรากฝอยก็ต้องกระเทือนเป็นธรรมดา บริษัทแซร์ซึ่งเดิมทีผลิตวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานของแคทเตอร์ฟิลล่าร์เริ่มรู้สึกว่าตนต้องเดือดร้อนแน่ แซร์ต้องเสียตลาดนี้ไปให้กับบริษัทจากเยอรมนีตะวันตก เพราะเสนอราคาขายได้ถูกกว่าถึงร้อยละ 20 เท่าที่เจ้าหน้าที่ระดับบริหารของแซร์จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ก็คือ พยายามทำการลดต้นทุนลงแต่จะดึงลูกค้ากลับมาได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับฝีมือและดวงต่อไป

ไม่เพียงแต่การขึ้นค่าของดอลลาร์เท่านั้นที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของสหรัฐฯ ต้องพ่ายแพ้คู่ต่อสู้ต่างด้าว แต่ผลกระทบจากค่าเงินที่สูงขึ้นทำให้มีการแข่งขันจากการนำสินค้าเข้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้คู่แข่งหน้าใหม่ๆ ได้เปรียบ

เมื่อสัก 20 ปีก่อน กีตาร์จะต้องทำในสหรัฐฯ จึงจะเป็นของดี ที่ชาวอเมริกันยอมซื้อใช้ แต่แล้วญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าแทรกแซงตลาด ทุกวันนี้กีตาร์จากญี่ปุ่นเริ่มรุดหน้านำสหรัฐฯ ไปหลายช่วง หรือกระทั่งของเล็กของน้อย เช่น ตุ๊กตา เกมส์เด็กเล่น ล้วนแล้วแต่เป็นของที่ผลิตจากยุโรปหรือไม่ก็จากแถบใกล้ๆ บ้านเรา คือแถวๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น

เมื่อพยายามจะมองไปในแง่ดี หลายคนบอกว่า กระแสคลื่นการสั่งสินค้าเข้าคงจะไม่อยู่ในระดับนี้ไปเรื่อยๆ หรอกน่า เศรษฐกิจของประเทศคงจะเริ่มเฉื่อยชาลง และเศรษฐกิจของยุโรปและเอเชียจะเริ่มเฟื่องฟูขึ้น ความกระหายที่จะบริโภคสินค้าต่างประเทศของชาวอเมริกันก็จะน้อยลงไป ในขณะที่ความต้องการสินค้าเมดอินยูเอสเอของชาวต่างชาติจะเพิ่มมากขึ้น

แทบจะไม่มีใครคะเนว่า เงินสหรัฐฯ จะตกลงเร็วนัก มีผู้ทำนายว่า ค่าเงินยังคงสูงอยู่และนักการค้าก็มองออกว่า นี่เป็นช่วงที่ดีสำหรับการลงทุน มีผู้คนเพียงไม่ถึงร้อยละ 5 ที่คิดว่าเงินดอลลาร์จะตกลงไปในปีหน้า อย่างน้อยที่สุดในตอนนี้คู่แข่งหน้าแปลกๆ จากต่าชาติก็ยังคงยืนหยัดที่จะลงประลองในสนามแข่งแห่งนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us