Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน21 พฤษภาคม 2553
ศก.เจ๊ง9หมื่นล้าน นักเที่ยว18ชาติเผ่น             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Economics




แบงก์ชาติชี้ 19 พ.ค.ทมิฬ สร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจไทยเลวร้ายสุดๆ คาดเบื้องต้นทุบจีดีพี 0.9% หรือประมาณ 9 หมื่นล้าน ต่างชาติห้ามเที่ยวไทย 18 ประเทศแล้ว มาม่า-ปลากระป๋องขาดตลาด คนแห่ซื้อตุนรับเคอร์ฟิว “พรทิวา” แจกถุงยังชีพ 4 พันถุง เยียวยาเหยื่อม็อบแดง

นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการประเมินความเสียหายของระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่เกิดขึ้นจาก ความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง และการจลาจลเผาบ้านเมืองว่า สถานการณ์ล่าสุดที่มีการจลาจลเผาบ้านเมือง ห้างสรรพสินค้า ธนาคารพาณิชย์ได้ทำให้ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยมากกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ในกรณีฐานที่ 0.9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หรือประมาณ 90,000 ล้านบาท และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลว่า จะมากกว่าการประมาณการกรณีเลวร้ายที่ ธปท.ประเมินไว้ก่อนหน้าหรือไม่

“ที่จะเห็นชัดเจนต่อจากนี้คือ ตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจในเดือนเม.ย. และพ.ค. ซึ่งเป็น 2 เดือนแรกงของไตรมาสที่ 2 ทำให้ไตรมาสนี้จะลดต่ำลงจากการขยายตัวในไตรมาสแรกอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ตัวเลขความเสียหายและสถานการณ์ยังคงไม่นิ่ง ทั้งในด้านการท่องเที่ยว การใช้จ่าย ค้าปลีกค้าส่ง และผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และการเลื่อนหรือหยุดการลงทุนของนักลงทุนไทยและต่างประเทศ ดังนั้น ธปท.คงต้องรอตัวเลขที่ชัดเจนอีกระยะจึงจะประเมินความเสียหายเป็นตัวเลขได้”

หลังจากนี้ ธปท.จะมีการพูดคุยและสำรวจผู้ประกอบการทั้งหมด ทั้งที่ถูกระทบโดยตรง และโดยอ้อมว่า ผลกระทบทั้งหมดที่ได้รับเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันต้องพูดคุยกับสถาบันการเงิน และนักลงทุนต่างประเทศให้เห็นถึงความคิดความเห็น และความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยด้วย เพราะในการประเมินด้านวิชาการจะต้องรอบคอบ และมองข้อมูลทั้งด้านลบและด้านบวกให้ชัดเจน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการประเมินความเสียหายของปัจจัยการเมืองต่อเศรษฐกิจไทย ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อล่าสุด วันที่ 29 เม.ย.นั้น ธปท.ได้พิจารณาไว้เป็น 3 กรณีคือ ความเสียหายในกรณีฐาน หรือความเสียหายที่เหตุการณ์ไม่รุนแรงไปกว่าช่วงที่มีการประเมินมากนัก ความเสียหายจากปัจจัยการเมืองจะอยู่ที่ 0.9% ของจีดีพี

และในกรณีที่เหตุการณ์ดีขึ้นกว่าในช่วงการประมาณการ ความเสียหายจะลดลงเหลือประมาณ 0.3- 0.5% ของจีดีพี
แต่หากสถานการณ์การเมืองเลวร้ายลงมากจากที่ประมาณการ ธปท.ได้ประเมินความเสียกรณีเลวร้ายไว้ที่ 1.4 -1.6% ของจีดีพี หรือประมาณ 140,000-160,000 ล้านบาท.

***ททท.ปรับแผนโรดโชว์-ยกเลิกงาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดถึงวันที่ 21 พ.ค.นี้ ต่างประเทศได้ยกระดับการเตือนคนของประเทศตัวเองมาประเทศไทย ขึ้นเป็นระดับสูงสุด คือ ระดับ 5 ห้ามเดินทางมาไทยหากไม่จำเป็น รวมเป็น 18 ประเทศแล้ว ซึ่ง 4 ประเทศใหม่ล่าสุดคือ สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย บราซิล

นายประกิตติ์ พิริยะเกียรติ รองผู้ว่าด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.ต้องปรับแผนการตลาดเดินสายโรดโชว์ต่างประเทศใหม่ หลังจากที่สถานการณ์เปลี่ยนไป ซึ่งจะมีทั้งการเลื่อนออกไป หรือการร่นเวลาจัดเร็วขึ้น ล่าสุดตัดสินใจเลื่อนการจัดงาน ไทยแลนด์ ทราเวล มาร์ท พลัส 2010 หรือ ทีทีเอ็ม จากเดิมวันที่ 2-4 มิ.ย. ที่เมืองทองธานี ออกไปไม่มีกำหนด อย่างไรก็ตามงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทย ยังจัดเหมือนเดิมแต่เลื่อนออกไปและลดเหลือ 5 วันคือ 9-13 พ.ค.นี้ จากเดิมจัด 10 วัน คือ 4 – 13 พ.ค. ที่เมืองทองธานี

ในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ ททท.จะประชุมร่วมกับภาคเอกชนในวงการท่องเที่ยว เพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวในปัจจุบัน และทิศทางอนาคต

***มาม่า-ปุ้มปุ้ยขาดตลาดรับเคอร์ฟิว

นายเพชร พะเนียงเวทย์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า เปิดเผยว่า จากการภาครัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว หรือห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถานในระยะเวลาที่กำหนดตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ที่ผ่านมา และล่าสุดเมื่อวานนี้ ( 20 พฤษภาคม ) ประกาศเพิ่มเป็นอีก 3 วัน หรือระหว่างวันที่ 20 - 22 พ.ค. โดยห้ามออกนอกบ้านตั้งแต่เวลา 21.00 น. - 05.00 น. พบว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าในช่องทางร้านสะดวกซื้อ ลดลงจากชั้นวางสินค้าเป็นจำนวนมาก ทั้งบรรจุภัณฑ์ชนิดซองราคา 6 บาท และบรรจุภัณฑ์ชนิดถ้วย 12 บาท คาดว่าเกิดจากการที่ผู้บริโภคตื่นตระหนกกับสถานการณ์จึงแห่ซื้อสินค้า กักตุนไว้ภายในบ้าน

“ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 -19 พฤษภาคม ที่ผ่านมานี้ เกิดการก่อการร้ายในพื้นที่เรดโซน อาทิ บ่อนไก่ ราชปรารภ ศาลาแดง ฯลฯ ผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็เกิดการกักตุนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาแล้ว ในระดับหนึ่ง ทำให้สินค้าขาดแคลนในจุดบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย”

ขณะที่บริษัทสหพัฒน์ พยายามกระจายสินค้าในช่องทางจำหน่ายตามปกติ โดยเฉพาะในช่องทางร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เพราะเป็นช่องทางที่ใกล้บ้านสอดคล้องกับสถานการณ์ในเวลานี้ที่ห้ามผู้บริโภค ออกนอกเคหะสถาน ส่วนช่องทางอื่นๆ อาทิ โมเดิร์นเทรด ซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้า และร้านโชวห่วย ส่วนใหญ่จะปิดดำเนินการทำให้บริษัทไม่ได้เข้าไปส่งสินค้าเพิ่มเติม โดยจะเน้นเจาะพื้นที่ที่สามารถเข้าไปจัดจำหน่ายสินค้าได้เท่านั้น ส่วนยอดขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่าในตลาดต่างจังหวัดไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ อย่างใด

นายไกรเสริม โตทับเที่ยง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องปุ้มปุ้ยปลายิ้ม เปิดเผยว่า ปัจจุบัน พบว่า ร้านค้าปลีกสั่งซื้อปลากระป๋องปุ้มปุ้ย และปลากระป๋องปรุงรสเพิ่มขึ้นเพราะเป็นอาหารที่สะดวกและเป็นทางเลือกของผู้ บริโภคอีกทางหนึ่ง ดังนั้นผู้บริโภคจึงซื้อสินค้ากักตุน และเมื่อภาครัฐประกาศเคอร์ฟิว คาดว่าประชาชนจะกักตุนสินค้าหรือกลุ่มอาหารกระป๋องสำเร็จรูปไว้ภายในบ้าน เพิ่มขึ้น

นายทวี ปิยะวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.เอฟ.พี. เทรดดิ้ง จำกัด ผู้ผลิตและทำตลาดอาหารแปรรูปจากเนื้อปลาแช่แข็งแบรนด์พีเอฟพี กล่าวว่า กลุ่มอาหารแปรรูปแช่แข็ง แม้ว่าจะเป็นสินค้าอีกกลุ่มที่สะดวกและเอื้อให้ผู้บริโภคซื้อกักตุนในช่วง เวลาที่สถานการณ์ไม่ปกติ แต่พบว่า ช่องทางจำหน่ายโดยเฉพาะคีออสในห้างสรรพสินค้าต้องปิดดำเนินการ ส่วนช่องทางตลาดสด บริษัทก็ไม่สามารถกระจายสินค้าได้ ดังนั้นจึงคาดว่ายอดขายของพีเอฟพีตกลง 2-3% ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ระยะ 1 สัปดาห์

***พาณิชย์แจกถุงยังชีพ

นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม โดยประสานงานไปยังผู้ผลิตสินค้า เพื่อจัดถุงยังชีพบรรจุข้าวสาร บะหมี่ นม น้ำพริกกระปุก และน้ำดื่ม จำนวน 4,000 ชุด และได้ทำการแจกจ่ายให้กับประชาชนในบริเวณที่ได้รับความเดือดร้อน เช่น ชุมชนเคหะบ่อนไก่ ชุมชนพัฒนาบ่อนไก่ชุมชนดินแดง และชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน ไปแล้ว โดยมีประชาชนที่ได้รับการช่วยเหลือในเบื้องต้น เกือบ 3,500 ครัวเรือน หรือเกือบ 30,000 คน

ส่วนการช่วยเหลือระยะต่อไป สัปดาห์หน้า จะจัดส่งรถโมบายธงฟ้า เพื่อจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพจากผู้ผลิต ผู้ประกอบการโดยตรง ไปจำหน่ายให้กับผู้ใช้แรงงาน ข้าราชการ และประชาชน ในราคาถูกลด 10-30% รวมถึงสินค้าธงฟ้าราคาพิเศษจริงๆ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือประชาชนที่อยู่อาศัยในแหล่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบไม่ ต่ำกว่า 5,000 ครัวเรือน เช่น ชุมชนย่านพระราม 4 ปทุมวัน ราชปรารภ และสามเหลี่ยมดินแดง

สำหรับแผนการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมจะ จัดโครงการธงฟ้าโดยนำสินค้าจากผู้ประกอบการในย่านประตูน้ำ อินทรา ราชประสงค์ ไปจัดจำหน่ายให้กับประชาชน เพื่อให้มีช่องทางในการระบายสินค้า โดยจะเริ่มงานแรกที่จ.มุกดาหาร วันที่ 1-7 มิ.ย.นี้

ทั้งนี้ กระทรวงฯ เตรียมเสนอของบประมาณ จำนวน 300 ล้านบาท จากนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยจากเหตุชุมนุมทาง การเมือง เพื่อนำมาใช้ในการจัดงานธงฟ้า ซึ่งจะจัดให้มากขึ้นและถี่ขึ้น

ในส่วนของการสร้างความเชื่อมั่นด้านการส่งออก กระทรวงฯ จะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าต่างประเทศ โดยจะเดินหน้าการจัดงานไทยแลนด์ เบสต์ เฟรนด์ ตั้งเป้าหมายเชิญลูกค้าเเข้ามา 200 ราย ซึ่งถือเป็นงานแรกที่จะฟื้นฟูความเชื่อมั่น ส่วนงานแสดงสินค้าอาหารนานาชาติ (ไทยเฟกซ์) จะจัดตามแผนเดิม คือ ช่วงปลายเดือน มิ.ย.นี้.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us