Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2528
ความเห็น "ผู้จัดการ" คณะรัฐมนตรีในฝัน             
 

   
related stories

เป็นนายกฯ เหมาะที่สุด

   
search resources

เกษม จาติกวณิช
ชวลิต ยงใจยุทธ
อำนวย วีรวรรณ
จรัส ชูโต
Political and Government




ปฏิกิริยาจากท่านผู้อ่าน

“ผู้จัดการ” ดีใจเป็นอย่างมากที่ได้รับทั้งจดหมายและโทรศัพท์เข้ามาแสดงความเห็นเรื่อง เกษม จาติกวณิช ที่เราว่า “เขาเหมาะเป็นนายกฯ ที่สุด” รวมทั้งคณะรัฐมนตรีในฝันที่เราได้ตีพิมพ์ออกไปเมื่อเดือนที่แล้ว

มีจดหมายเข้ามาหาเรา 82 ฉบับ และโทรศัพท์อีกประมาณ 40 กว่าราย ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับ CHOICE ของเรา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เกษม จาติกวณิช” ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้น ยกเว้นเพียง 2 ท่านเท่านั้นที่บอกมาว่า “เป็นใครก็ได้แต่ขอให้เปลี่ยนเสียทีเถอะ”

ทุกท่านที่ออกความเห็นมาเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศไทยควรจะถูกบริหารด้วยมืออาชีพมากกว่านักการเมือง หรือนักการทหาร

แต่กว่าครึ่งก็ยังสงสัยว่าจะไปได้แค่ไหน? ถ้าระบบราชการยังคงเป็นเช่นนี้

เกือบ 80% ที่ส่งจดหมายเข้ามามีความรู้สึกที่เลวร้ายกับระบบราชการและประมาณ 30% ประณามและกล่าวหาว่าข้าราชการไทย คืออุปสรรคสำคัญที่สุดที่ทำให้ประเทศชาติเลวร้ายลง

ผู้อ่านที่ส่งจดหมายเข้ามาเกือบ 40% ยอมรับว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้คิดถึง เกษม จาติกวณิช ว่าจะเป็นนายกฯ ได้ แต่พอมีคนเตือนความจำก็เห็นด้วย 100%

ส่วนคณะรัฐมนตรีในฝันนั้น บุคคลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ ดร.อำนวย วีรวรรณ (มีอยู่ 5 ท่านเสียดายว่าไม่น่าจะไปเป็นมือปืนรับจ้างของชาตรี โสภณพานิช-“เสียศักดิ์ศรีหมด-ภาพพจน์ธนาคารกรุงเทพเลวเกินกว่าที่ ดร.อำนวย วีรวรรณ จะเข้าไปเป็นผู้นำ” ฯลฯ)

จรัส ชูโต ณรงค์ ศรีสอ้าน จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ที่ไม่ได้รับการยอมรับนั้นเป็นเพราะผู้อ่านที่ตอบกลับมาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จัก เช่น วิโรจน์ ภู่ตระกูล ดร.อาชว์ เตาลานนท์ ฯลฯ

มีอยู่ 5 ท่านถามมาว่า “บุญชู โรจนเสถียร หายไปไหน”

มีอยู่ท่านหนึ่งโทรศัพท์มา บุญชู โรจนเสถียร น่าจะถูกตั้งให้เป็นรองนายกฯ เฉพาะกิจ นั่นคือรับงานที่เป็นปัญหาเป็นชิ้นๆ ไปและนำไปแก้

โดยสรุปแล้วทุกคนยอมรับว่าถ้าประเทศเราให้นักบริการมืออาชีพได้บริหารแล้วอนาคตจะไปได้ไกลกว่านี้อีกมาก

หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าการจะมีคณะรัฐบาลเช่นนี้ได้ก็ต้องไม่มีระบบการเมืองเช่นที่เป็นไปแบบปัจจุบัน

มีอีกหลายคนก็ให้ความเห็นว่าประชาธิปไตยแบบเกาหลี ไต้หวัน และสิงคโปร์คือ สิ่งที่เหมาะสมกับบ้านเรา

ส่วน “ผู้จัดการ” มีความเห็นว่า เราจะพยายามเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นเรื่องท้าทายความคิดให้กับท่านผู้อ่านตลอดไป เท่าที่เราสามารถจะทำได้

และเราดีใจที่ข้อเสนอของเราได้รับการถกเถียงในหลายวงการ

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายพาณิชย์และการคลัง

ดร.อำนวย วีรวรรณ

ถ้าพูดถึงบุคลากรที่มีคุณภาพซึ่งผ่านทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนมาอย่างโชกโชนแล้วก็คงจะหาคนแบบ อำนวย วีรวรรณ ได้ยาก

“ผู้จัดการ” เคยลงเรื่องของอำนวย วีรวรรณ มาแล้วครั้งหนึ่งในฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ.2526

อำนวย วีรวรรณ จัดได้ว่าเป็นนักบริหารมืออาชีพชั้นแนวหน้าคนหนึ่งของเมืองไทยที่มีอยู่ไม่กี่คนในทุกวันนี้

โดยการศึกษาแล้วเขาเรียนมาทางการบริหาร

โดยอาชีพการงานแล้วเขาเป็นคนหนึ่งในการสร้างระบบราชการต่างๆ ในด้านการคลังของประเทศมาเป็นเวลา 20 กว่าปี

บทบาทด้านหนึ่งในช่วงแรกของชีวิต คือความเป็นคนที่รับผิดชอบในการสร้างโครงสร้างของการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมโดยเป็นเลขาธิการ BOI คนแรก

จากการที่ได้เริ่มงานในกรมบัญชีกลางและกรมศุลกากร ในฐานะอธิบดีตลอดจนเป็นปลัดกระทรวงการคลัง และในที่สุดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำให้อำนวย วีรวรรณ เป็นคนที่เข้าถึงเส้นสนกลในของระบบการเงินการคลังได้ดีเยี่ยม ตลอดจนโครงสร้างของภาษีที่กำลังฆ่านักธุรกิจและคนระดับกลางอยู่ทุกวันนี้

ช่วงหลังของชีวิตเขาได้ข้ามรั้วมาอยู่อีกฝ่ายหนึ่งคือ ภาคเอกชน

ในบทบาทฐานะของประธานกลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน ทำให้อำนวยต้องมองออกไปนอกประเทศในเรื่องการค้าขาย

ขอบข่ายงานของสหยูเนี่ยนที่ค้าทั้งในและนอกประเทศ ทำให้อำนวย วีรวรรณ เข้าใจถึงโครงสร้าง ปัญหา และอุปสรรคในการค้าขายของธุรกิจ

และในบทบาทของประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงเทพ อำนวยก็มานั่งอีกฝั่งหนึ่งของวงการธุรกิจคือ เป็นผู้จัดสรรเงินและทุนให้กับธุรกิจและผู้ประกอบการ

จากบทบาทใหม่อันนี้ทำให้ อำนวย วีรวรรณ รู้ลึกลงไปถึงวงจรต่างๆ ที่ตัวเองอาจจะไม่เคยเรียนรู้เมื่อสมัยที่อยู่ภาครัฐบาล และสมัยที่อยู่ในฐานะพ่อค้าที่ต้องกู้เงิน

การเงินการคลังและการพาณิชยกรรมเป็นของที่อยู่ควบคู่กันไปตลอด เพราะมันเกี่ยวพันถึงการลงทุน การหมุนเวียนของเงินในวงจรธุรกิจการค้า การเก็บภาษีจากธุรกิจการค้ามาใช้จ่ายและการกู้เงินเพื่อพัฒนาปรับปรุงในการผลิตดีขึ้นเพื่อให้การค้าดีขึ้น เพื่อให้เก็บภาษีดีขึ้นและเพื่อให้ทุกอย่างดีขึ้น

ตำแหน่งนี้จึงเหมาะกับคนที่ชื่อ อำนวย วีรวรรณ อย่างที่สุด

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และคมนาคม

จรัส ชูโต

จรัส ชูโต ไม่เคยเกี่ยวข้องกับการเมืองมาแม้แต่น้อย แต่จรัส ชูโต มักจะถูกการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอในสมัยที่บริหารอยู่ที่เครือซิเมนต์ไทย

ในชีวิตของจรัส ชูโต เกี่ยวพันอยู่ 3 ประการคือ

1. การพัฒนาคน
2.
3. การผลิตที่มีประสิทธิภาพในต้นทุนที่ต่ำที่สุดแต่ได้คุณภาพที่สูงที่สุด
4.
5. การบริหารและขนส่งที่มีขอบข่ายกว้างขวางเพื่อสนับสนุนเอเย่นต์ของเครือซิเมนต์ไทย
6.
3 ข้อข้างต้นนี้เป็นเอกลักษณ์พิเศษของจรัส ชูโต ที่ทำให้เขาเด่นมากในเรื่องการบริหาร

สินค้าอุตสาหกรรมของไทยเราเป็นสินค้าที่ขาดในด้านคุณภาพอย่างมากๆ และนอกจากนั้นแล้วต้นทุนก็ยังสูง

ส่วนสินค้าทางเกษตรกรรมนั้นก็เช่นเดียวกับอุตสาหกรรม กล่าวคือผลผลิตต่อไร่ยังต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น และต้นทุนก็มักจะสูงกว่าคนอื่นมาก

ส่วนขอบข่ายของการคมนาคมนั้นยังไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการของประเทศชาติได้ในแง่ของการเป็น LOGISTIC SUPPORT ให้กับสังคมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรม

อีกประการหนึ่ง AGRO-INDUSTRY ของบ้านเรากำลังอยู่ในขั้นของการเริ่มต้น

ทั้ง 3 ประการนี้ต้องอาศัยคุณสมบัติพิเศษของจรัส ชูโต เข้ามาช่วยในการวางแผน จัดการ และประสานงานเพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างมากที่สุด

หรือพูดในลักษณะของรูปธรรมว่า เราต้องสามารถผลิตสินค้าอุตสาหกรรมในราคาต้นทุนที่ต่ำที่สุด ด้วยคุณภาพที่สูงที่สุด เพื่อสามารถไปแข่งขันในตลาดโลกได้

ส่วนสินค้าเกษตรกรรมนั้นก็ต้องมีผลผลิตต่อไร่ที่ดีกว่านี้ รวมทั้งการควบคุมคุณภาพและราคาที่ต้องยุติธรรมต่อชาวไร่ชาวนา

ทั้งหมดนี้เราต้องการคุณสมบัติของจรัส ชูโต มาช่วยดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวางแผนระยะยาวในอนาคต

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

พลโทชวลิต ยงใจยุทธ

ตำแหน่งนี้ถูกตั้งขึ้นมาโดยยอมรับสภาพข้อเท็จจริงว่าทหารจะต้องมีบทบาทอยู่ในประเทศนี้อย่างแน่นอน

บางคนอาจจะมองว่าตำแหน่งนี้ คือตำแหน่งที่จะทำให้ทหารไม่คิดขึ้นมาเป็นนายกฯ ถ้ามอบหมายงานด้านความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกประเทศให้ทั้งหมด

สำหรับเหตุผลและข้อเท็จจริงในการมีตำแหน่งนี้ขึ้นมานั้นเราได้ให้ไปแล้วใน “ผู้จัดการ” ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ เราก็จะไม่พูดต่อไปอีก เพียงแต่จะชี้ให้เห็นว่าลักษณะของทหารนั้นต่างกับตำรวจตรงที่ “ทหารนั้นนายหาเลี้ยงลูกน้อง แต่ตำรวจต้องให้ลูกน้องหาเลี้ยงนาย”

ฉะนั้นการเอาทหารมาคุมมหาดไทยนั้นเราเชื่อว่าการกดขี่ข่มเหงราษฎรจะน้อยลงมาก แต่ก็อาจจะต้องแลกกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานบางประการที่จะต้องหมดไป

ตำแหน่งนี้เรามอบให้กับพลโทชวลิต ยงใจยุทธ ด้วยเหตุผลที่ทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพในจำนวนที่น้อยมากที่มีความเข้าใจเศรษฐกิจการเมืองอย่างลึกซึ้ง

นอกจากนั้นแล้วพลโทชวลิตยังเป็นนายกฯ ทหารที่เชี่ยวชาญการวางแผนอย่างหาตัวจับได้ยาก

ในภาวะที่ประเทศชาติมีความผันผวนทางเศรษฐกิจมากๆ เช่นนี้ ปัญหาความเดือดร้อนจะมีอยู่สองลักษณะ

ลักษณะหนึ่งคือความเดือดร้อนเดี่ยวหรือเป็นความเดือดร้อนของการไม่พอใจในบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ยืนยาว แต่จะถูกสื่อมวลชนกระพือจนดูว่าเป็นความเดือดร้อนทุกย่อมหญ้า

อีกลักษณะหนึ่งคือความเดือดร้อนแท้ ที่เป็นโรคร้ายเกาะกินสังคมไทยมานานแล้ว เช่นความแตกต่างระหว่างรายได้ของคนไทย หรือปัญหาราคาพืชไร่ที่อยู่กับการกำหนดของพ่อค้าใหม่ที่จะต้องได้รับการหนุนหลังจากธนาคารพาณิชย์ของบรรดากลุ่มตระกูลต่างๆ หรือปัญหาของการแบกรับภาษีที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนรวย คนชั้นกลาง กับคนจน ที่คนชั้นกลางจะต้องแบกหนักที่สุด ฯลฯ

ทั้งสองปัญหานี้มักจะมีมาตรการต่างๆ ออกมาแก้อยู่เสมอและแต่ละมาตรการก็จะทำให้ปัญหา 2 ลักษณะ ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกันและเป็นเหตุให้ทหารเข้าใขอยู่เสมอว่ามีแต่ตัวเองเท่านั้นที่จะสามารถแก้ความเดือดร้อนได้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะมีมาตรการเก็บภาษีมรดกและภาษีที่ดินให้เป็นธรรม มาตรการนี้จะไม่มีผลทางตรงกับประชาชนทั่วไป แต่จะมีผลทางอ้อมกับสังคมไทยในระยะยาวในแง่ที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่เคยผูกขาดอะไรอยู่ในรุ่นนี้จะหมดโอกาสในรุ่นหน้า และจะมีคนรุ่นใหม่ที่ใช้ความสามารถสร้างตัวขึ้นมา และนี่คือการทำให้คนรวย รวยน้อยลงและทำให้คนชั้นกลางมากขึ้น

มาตรการที่ว่านี้จะกระทบกระเทือนกลุ่มผูกขาดและแหล่งผลประโยชน์มากพอที่จะทำให้อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศ

เราคิดว่าระดับสติปัญญาของพลโทชวลิต ยงใจยุทธ มีมากพอที่จะมองปัญหานี้ออกและสามารถทำความเข้าใจกับทหารที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของความเดือดร้อนเทียมอันนี้

พลโทชวลิต ยงใจยุทธ อาจเป็นทหารคนหนึ่งในไม่กี่คนที่รู้เรื่องระบบการเงินของประเทศอย่างมากทีเดียว

และที่สำคัญที่สุด พลโทชวลิตเป็นคนที่ฟังอย่างมากๆ และคู่สนทนาจะไม่มีวันรู้ว่าพลโทชวลิตคิดเช่นไร นอกจากนั้นแล้วเขาเป็นคนที่ทุกคนเข้าพบได้แต่ก็จะไม่มีใครรู้ว่าเขาคิดอะไรบ้าง

จุดเด่นพิเศษที่เขามีอยู่คือ ความเข้าใจในสังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสงครามลัทธิ

พลโทชวลิตจะเข้าใจฝ่ายซ้ายอย่างมากๆ จนเขาถูกสงสัยว่าเขามีเบื้องหน้าเบื้องหลังกับฝ่ายซ้าย ซึ่งข้อสงสัยนี้บางครั้งก็ทำให้อนาคตของพลโทชวลิต ยงใจยุทธ ดูไม่แน่นอนเท่าไรนัก

โดยสรุปแล้ว ถ้าพลโทชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกฯ ในช่วงการลดค่าเงินบาทครั้งนั้น เขาก็จะเห็นด้วยว่าควรลดแต่เขาก็คงจะไม่เห็นด้วยว่าจะต้องลดมากถึงเพียงนั้น เพราะพลโทชวลิตมีคุณสมบัติสุดท้ายที่ผู้นำคนอื่นในปัจจุบันแทบจะไม่มี คือ การที่ชอบฟังความเห็นหลายๆ คนและตัดสินใจโดยไม่ต้องเชื่อคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษหรือต้องอิงผู้หนึ่งผู้ใดในการตัดสินใจ

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายพิธีการ

พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา

ถ้าพูดถึงการติดต่อกับต่างประเทศในฐานะตัวแทนประเทศไทยของ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา แล้วเขาเป็นคนที่ต่างประเทศรู้จักและยอมรับอย่างมากๆ

ในภาระของนายกรัฐมนตรีที่เป็นนายกฯ ทำงานแล้ว งานพิธีการต่างๆ ควรจะต้องลดน้อยลงให้มากที่สุด

ในต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา เรามักจะเห็นจอร์จ บุช ทำหน้าที่ในพิธีการต่างๆ ในต่างประเทศแทนเรแกน

เรแกนจะปรากฏตัวในข่าวในเรื่องของการทำงานแทบจะตลอดเวลา

อาจจะมีประเทศไทยประเทศหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่นายกรัฐมนตรีของเราต้องทำหน้าที่ตั้งแต่เลี้ยงนักมวยไปจนถึงร้องเพลงการกุศล

การจัดการเวลาที่ผิดพลาด (MISMANAGEMENT OF TIME) ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากในวงการจัดการ

นายกรัฐมนตรีประเทศไทยมักจะใช้เวลาเพียง 20% ทำงาน อีก 20% เอาอกเอาใจกลุ่มพลังต่างๆ 25% หาคะแนนเสียงให้กับตัวเอง และอีก 35% ออกงานพิธีต่างๆ

ถ้าตัด 35% ไปให้รองนายกฯ ฝ่ายพิธีการและอีก 20% ที่ต้องเอาใจกลุ่มพลังต่างๆ นายกฯ บ้านเราก็จะมีเวลาทำงานถึง 75% ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ 25% ที่เหลือในการหาเสียงให้ตัวเองก็ตาม

พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา เป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในการรับหน้าที่นี้ เพราะบทบาทของรัฐมนตรีต่างประเทศที่ตัวเองเล่นมานาน และจากการที่เคยเป็นข้าราชการประจำมาตลอดทำให้ภาระของการออกงานในประเทศก็ดูสมศักดิ์ศรี

อีกประการหนึ่งโดยบุคลิกของ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา นั้นก็เป็นบุคลิกที่น่ารักและมีลักษณะของผู้ใหญ่ที่น่านับถือทั้งการพูดการจาและการมีมนุษยสัมพันธ์ l

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us