Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 ตุลาคม 2546
ทักษิณภูมิใจไทยเจ้าแรกลงนามFTAจีน-อินเดีย             
 


   
search resources

ทักษิณ ชินวัตร
อฏัล พิหารี วาชเปยี




ทักษิณยิ้มรื่น ผู้นำอินเดียร่วมลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี ทำให้ไทยเป็นประเทศแรกที่ลงนาม ในข้อตกลงดังกล่าวกับอินเดียและจีน ซึ่งมีประชากรรวมกันถึง 2,300 ล้านคน ตั้งเป้ามูลค่าการค้าระหว่างไทย-อินเดีย และจีนเพิ่มเกือบเท่าตัวหรือประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันตกลงเปิดน่าน ฟ้ากับอินเดียมากขึ้น ด้านนายกรัฐมนตรีอินเดียกล่าวสุนทรพจน์ในรัฐสภาไทย เชิญชวนไทยร่วมเป็นหุ้นส่วนการค้า การลงทุน

เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (9 ต.ค.) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้การต้อนรับ และหารือข้อราชการกับนายอฏัล พิหารี วาชเปยี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 10-12 ต.ค. ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการหารือพ.ต.ท. ทักษิณ แถลงว่า ได้มีการลงนามในข้อตกลงเรื่องเขตการค้าเสรีไทย -อินเดีย (FTA) โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมีนาคม 2547 สิ่งที่ต้องการบอกกับคนไทยคือ อินเดียมีประชากร 1,000 ล้านคน มีเศรษฐี 50 ล้านคน มากพอกับคนไทยทั้งประเทศ และยังมีคนชั้นกลางอีก ซึ่งจะเป็นตลาดใหญ่ของไทย โดยก่อนหน้านี้ไทยได้เปิดเขตการค้าเสรีกับจีน ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นขอให้ทุกฝ่ายเตรียมการ เพราะได้มีการเปิดตลาดสินค้าไทย ที่มีจำนวนประชากรรวมกันถึง 2,300 ล้านคน

"เราเป็นประเทศแรกในโลกที่เซ็นสัญญาเขตการค้าเสรีกับ 2 ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก รายละเอียดต่าง ๆ คงจะต้องมีการเจรจากัน แต่คาดว่าส่วนที่เป็นของไทยแท้ จะอยู่ประมาณ 40% ซึ่งการเจรจารายละเอียด คาดว่าจะเรียบร้อยภายในปีนี้ เพื่อที่ในเดือนมีนาคมปีหน้า จะได้มีผลในการปฏิบัติเลย และคาดว่าจะสมบูรณ์ครบทุกรายการในปี 2553" พ.ต.ท. ทักษิณ กล่าว

สำหรับการหารือยังมีข้อตกลงเรื่องการเปิดน่านฟ้าทางการบิน ระหว่างไทย-อินเดีย โดยทางอินเดียจะเปิดเพิ่มให้อีก 4 เมือง คือ นิวเดลี กัลกัตตา มุมไบ และ เจนไน จะให้สายการบินของบริษัท การบินไทย บินได้ทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน และในอนาคต จะเปิดเพิ่มอีก 18 เมือง ขณะที่ไทยจะให้เครื่องบินของอินเดียบินมาที่กรุงเทพฯ ทุกวัน วันละ 1 เที่ยวบิน และจะเปิดให้บินไปต่างจังหวัดด้วย เช่น เชียงใหม่ และภูเก็ต ซึ่งต่อไปนักท่องเที่ยวจะมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามข้อตกลงอีกหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการเกษตร ไบโอเทคโนโลยี ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ การจัดทำวีซ่า โดยผู้ที่ถือหนังสือเดินทางราชการและทูต ไม่ต้องมีวีซ่า และต่อไปจะนำไปสู่การทำวีซ่าให้กับนักธุรกิจ ซึ่งจะได้เดินทางไปทำธุรกิจสะดวกขึ้น และมีการหารือเรื่องความร่วมมือทางด้านความมั่นคง ยาเสพติด การก่อการร้าย การลาดตระเวนทางเรือเพื่อป้องกันโจรสลัด และยาเสพติด

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้ามูลค่าการค้าระหว่าง ไทย-อินเดีย และ ไทย-จีนว่า ภายในปี 2547 จะมีมูลค่าทางการค้าประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจากปีนี้ ที่มีมูลค่าการค้าประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเขตการค้าเสรีกับญี่ปุ่น และสหรัฐฯ นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าไม่น่าจะเกินปีหน้า โดยในปีนี้จะมีความชัดเจนทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งในการประชุมอาเซียน ได้มีการพูดนอกรอบระหว่างไทย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา จะเปิดเสรีทางคาร์โกต่อกันระหว่าง 5 ประเทศ โดยจะมีอินเดียเข้ามาร่วมด้วยทันที ส่วนญี่ปุ่นก็สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการศึกษา ซึ่งจะทำให้สินค้าส่งออกของเรามีทางเลือกในการส่งทางแอร์คาร์โก เมื่อมีมากแอร์คาร์โกก็จะถูกลง ทำให้การส่งออกดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าถ้าเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ เราจะพร้อมด้านคาร์โก

เย็นวันเดียวกันนายอฏัล พิหารี วาชเปยี ได้เดินทางไปยังรัฐสภา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภา พร้อม ส.ส. และส.ว. ร่วมให้การต้อนรับ หลังจากนั้นจึงเชิญเข้าห้องประชุมรัฐสภา เพื่อกล่าวสุนทรพจน์

นายอฏัล พิหารี วาชเปยี กล่าวสุนทรพจน์โดยสรุปว่า รู้สึกเป็นเกียรติที่มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ต่อรัฐสภาไทย ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดีย ซึ่งมีหลายอย่างที่คล้ายคลึงกัน การที่ประเทศทั้งสองขยายความเป็นหุ้นส่วนแบบทวิภาคีออกไป เป็นเรื่องที่มีเหตุผลที่ชัดเจนเพราะประเทศอินเดีย มีประชากร 1,000 ล้านคน ถือเป็นตลาดขนาดใหญ่และหลากหลาย ซึ่งอินเดียมีโครงการปฏิรูปเศรษฐกิจอันจะทำให้ทั้งคนอินเดียและคนชาติอื่นมีบทบาท และช่องทางอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

นายอฏัล พิหารี วาชเปยี กล่าวว่า อินเดียมีจุดแข็งที่จะเป็นฐานที่มั่นคงในการพัฒนาความสัมพันธ์ด้านความร่วมมือเช่นด้านอุตสาหกรรมสารสนเทศ ที่มีความชำนาญด้านอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งไปกันได้ดีกับความชำนาญด้านอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ของไทย และยังสามารถร่วมมือกับไทยใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีด้านอวกาศให้เป็นประโยชน์ใน การพัฒนาประเทศ และก่อนหน้านี้ทั้งสองประเทศได้ ลงนามในข้อตกลงหลายฉบับ เชื่อว่าจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศในทางลึก ซึ่งจะเป็นตัวเสริมกรอบความร่วมมือของประเทศทั้งสองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

"ทั้งสองประเทศเป็นสังคมเปิด จึงเสี่ยงต่อการถูกโจมตีจากกลุ่มพลังที่คอยหาโอกาสจากสังคมอิสระแบบเรา ผู้ก่อการร้ายไม่ได้จำกัดอยู่ในดินแดนใด แต่ถือเป็นปัญหาของโลก โดยประเทศอินเดียได้เผชิญปัญหานี้มาสองทศวรรษแล้ว"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก นายอฏัล พิหารี วาชเปยี กล่าวสุนทรพจน์จบ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าไปจับมือ และได้ร่วมถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่บริเวณหน้าห้องประชุมรัฐสภา โดยในช่วงค่ำ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จัดเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติที่ทำเนียบรัฐบาล

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us