Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 ตุลาคม 2546
ชี้อสังหาฯ ยังไกลฟองสบู่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ศุภาลัย, บมจ.
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
ธนาคารออมสิน
แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.
การเคหะแห่งชาติ
โฮมเพลส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
อนันต์ อัศวโภคิน
ประทีป ตั้งมติธรรม
ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข
วรรณา ตัณฑเกษม
ขรรค์ ประจวบเหมาะ
กนก เดชาวาศน์
Real Estate




"อนันต์-แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" ชี้มาร์จิ้นของผู้ประกอบการที่สูงถึง 35%เป็นเครื่อง ชี้ว่าตลาดอสังหาฯยังไม่เข้าสู่ภาวะฟองสบู่ โดยปี 47-48 จะขยายตัวต่อเนื่อง การเกิดฟองสบู่รอบใหม่หรือไม่ขึ้นกับการแทรกแซงของภาครัฐ ขณะเดียวกันก็จะมีผู้ประกอบการจัดสรรใหม่กระโดดเข้ามาสู่ธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น ด้านผู้ประกอบการคอนโดฯครวญกฎหมายสิ่งแวดล้อมยังมีความเหลื่อมล้ำสูง ส่วนเอ็ม.ดี. ธอส.คาดดอกเบี้ยยังยืนระดับเดิมอีก 18 เดือน

นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง "5 ซีอีโอ จับกระแสอสังหาริมทรัพย์บูมรอบใหม่" ที่โรงแรมเมอร์ชานท์คอร์ท วานนี้(9ต.ค.)ถึงภาวะของธุรกิจอสังหาริมทรพย์ ว่าสิ่งที่จะบ่งบอกว่าตลาดจะโอเวอร์ซัปพลายหรือไม่ส่วนหนึ่งพิจารณาได้จากความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบการ โดย ขณะนี้ผู้ประกอบธุรกิจมีมาร์จิ้นสูงถึง 35% ซึ่งในช่วงที่ตลาดไม่ดีนั้นผู้ประกอบการมีมาร์จิ้นแค่ระดับ 15%เท่านั้น

โดยมองว่าเมื่อไหร่ที่บริษัทพัฒนาที่ดินเริ่มมีมาร์จิ้นแค่ 18-20% นั่นถึงจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเมื่ออสังหาฯบูมรอบใหม่ก็มักจะมีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามา เชื่อว่า ในปีหน้าจะมีผู้ประกอบการเพิ่มจำนวนขึ้นมากกว่าปีนี้เป็นเท่าตัว จากในอดีตหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจก็ได้ทำให้เหลือ ผู้ประกอบการแค่ 200 ราย แต่ขณะนี้เชื่อว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่าพันรายแล้ว

"ภาวะฟองสบู่จะเกิดขึ้นหรือไม่ปัจจัยหนึ่งจึงขึ้นกับภาครัฐด้วยว่าจะเข้าแทรกแซงหรือไม่ โดยภาครัฐจะต้องทำหน้าที่เก็บข้อมูลการซื้อขาย ทุกๆเดือนเพื่อส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ประกอบการ ระมัดระวังในการสร้างซัปพลายเพิ่มขึ้นมาในตลาด การแทรกแซงที่รัฐอาจจะกระทำได้หลายรูปแบบ อาทิ การใช้กฎหมายผังเมืองควบคุม หรือใช้กฎระเบียบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ. จัดสรรฯ หรือพ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมถ้าต้องการคอนโทรลก็ให้ยืดระยะเวลาในการขออนุญาตออกไปจากปกติใช้เวลา 6 เดือนก็อาจเลื่อนเป็น 1 ปี เป็นต้น เพราะถ้าไม่ควบคุมเหตุการณ์เดิมๆ ก็จะกลับมาให้เห็นอีก"

นายอนันต์ยังกล่าวด้วยว่าในปี 47-48 ทำเล ที่จะมีความคึกคักในแง่การพัฒนาที่อยู่อาศัย คือ พื้นที่ซีกตะวันออก แถบถนนสุวินทวงศ์ รัตนโกสินทร์สมโภช เรื่อยมาจนถึงบางนา-ตราด เนื่องเพราะมีการย้ายแหล่งงานจำนวนมหาศาลตามการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิ

"ตอนนี้ที่ดินแถวสุวินทวงศ์ได้ปรับตัวขึ้นมาพอสมควร แต่บางนา-ตราดการทำโครงการต้องระวังเพราะดินเป็นเลนหมด มิฉะนั้นบ้านอาจ ทรุดได้ ส่วนโลเกชั่นอื่นๆตามเส้นทางที่มีการเปิดใหม่ อย่างพระราม 5 หรือเส้นทางด้านตะวันตกของกรุงเทพฯก็คึกคักไม่แพ้กัน ศรีนครินทร์ก็จะหาที่ดินยากขึ้นเรื่อยๆ"

ประทีปชี้ไม่ควรวางแผนยาว

ด้านนายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยคือพระเอกตัวจริงที่ทำให้อสังหาริมทรัพย์บูม เพราะหมายถึงกำลังซื้อที่เพิ่ม ขึ้น แต่การทำโครงการไม่ควรวางแผนระยะยาวมาก เช่น เรื่องเมืองใหม่ซึ่งเป็นอีกนโยบายของนายกฯทักษิณ ชินวัตรที่คิดจะลดความแออัดของ กรุงเทพฯพร้อมทั้งต้องการจัดสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่

ในอนาคตความต้องการซื้อบ้านของคนกรุงเทพฯอาจเปลี่ยนแปลงไป ถ้าลดความแออัด 5% ก็เท่ากับว่าจะมีคนย้ายออก 5.8 แสนคน หรือ คิดเป็น 1 ต่อ 10 บ้าน 1 พันหลังก็จะว่าง 100 หลัง เพราะฉะนั้นถ้าใครคิดจะซื้อที่ดินเก็งกำไรก็ ต้องใช้วิจารณญาณเพราะทุกอย่างยังไม่นิ่ง ส่วน ตัวเลขทาวน์เฮาส์ที่ลดลงเนื่องจากมีกฎเกณฑ์ที่ทำให้ครงการทาวน์เฮาส์ทำได้ยากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งในเรื่องของผังเมือง และกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง

กฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อม

"คอนโดฯ 80 ยูนิตขึ้นไปต้องจัดทำรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ขณะที่บ้านจัดสรรต้อง 500 หน่วยขึ้นไปถึงจะทำ ส่วนห้างสรรพสินค้า 2-3 แสนตร.ม.กลับไม่ต้องยื่นสิ่งแวดล้อมทั้งที่ปล่อยปริมาณของเสียมากกว่าเยอะ ตรงนี้คือความเหลื่อมล้ำ"เช่นเดียวกับนางวรรณา ตัณฑเกษม นายกสมาคมอาคารชุดไทยที่ให้ความ เห็นในเรื่องเดียวกันว่าอสังหาฯกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นทำให้มีผู‰ประกอบการเข้ามาในธุรกิจนี้มาก และเชื่อว่าปีหน้าจะยังคงดีอยู่แต่ก็มีปัจจัยที่น่าเป็น ห่วงคือเรื่องการควบคุมสิ่งแวดล้อม บริษัทที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวด ล้อมมีจำนวนน้อยเกินไป ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง จึงควรเพิ่มจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนมากขึ้น

รวมทั้งโครงการที่ดำเนินการโดยการเคหะแห่งชาติ และธนาคารออมสิน ซึ่งหากออกมามากเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องเอ็นพีเอ ในระดับล่างต่อไปได้ ดังนั้นรัฐจะต้องดำเนินการเรื่องดังกล่าวอย่างรอบคอบ

ชี้ดีมานด์คอนโด 1.5-2 หมื่นยูนิตต่อปี

นายทิฆัมพร เปล่งศรีสุข กรรมการผู้จัดการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นต์จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในปีนี้เริ่มมีผู้ประกอบการราย ใหม่เข้ามาในธุรกิจอาคารชุดมากขึ้น และเชื่อว่าใน ปีหน้าและปี 2549 จะมีมากกว่าปีนี้ประมาณ 2-3 เท่าตัว เนื่องจากความต้องการซื้อของลูกค้ามีเป็นจำนวนมาก แต่สินค้าในตลาดมีน้อยกว่าความต้องการ โดยในปี 2546 คาดว่าจะมีอาคาร ชุดจดทะเบียนซึ่งรวมถึฝงโครงการของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ด้วยแล้วจะมีเพียง 4,700 ยูนิต โดยใน 8 เดือนแรกของปี 2546 มียอดจดทะเบียนอาคารชุดเพียง 2,700 ยูนิตเป็นของเอกชน 1,600 ยูนิตที่เหลือเป็นของกคช.ทั้งนี้โดยเฉลี่ยความต้องการคอนโดมิเนียมจะอยู่ที่ระดับ 1.5-2 หมื่นยูนิตต่อปี

"ในปีหน้าคาดว่ายอดจดทะเบียนอาคารชุดจะมีเพียง 4,000 ยูนิตเท่านั้นแม้ว่าในปีนี้จะเริ่มทยอยเปิดโครงการเยอะคือประมาณ 24-25 โครงการ จากผู้ประกอบการ 13-14 ราย แต่ต้อง ใช้ระยะเวลาก่อสร้างอย่างน้อย 1 ปี จึงจะแล้วเสร็จ และในปี 2547-48 ตลาดคอนโดยจะยังคงดีอยู่แต่มีปัจจัยเสี่ยงด้านขนาดของโครงการและเวลาการก่อสร้าง โดยจะต้องทำให้เสร็จใน 1 ปี เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และตัวเลขการ จดทะเบียนของอาคารชุดจะเริ่มมีมากขึ้นในปี 2548"

ชี้ดอกเบี้ยยังยืนระดับเดิม 18 เดือน

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ณ สิ้นปี 2545 มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงเหลือ 7.63 แสนล้านบาท ส่วนปี 2546 คาดว่าจะมีสินเชื่อที่อยู่อาศัยคึงเหลือ 8.5-9 แสนล้านบาท โดยในช่วง 6 เดือนแรกมีสินเชื่อคงเหลืออยู่ที่ 8.12 แสนล้านบาทเพิ่มจากปี 2545 ประมาณ 1 แสนล้านบาท ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยใหม่ทั้งระบบในปี 2545 จำนวน 1.64 แสนล้านบาท ส่วนปี 2546 6 เดือน มีการปล่อยไปแล้วประมาณ 1.1 แสนล้านบาทคาดว่าทั้งปีจะอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงที่ต่ำสุดที่ 0% แต่โดยภาพรวมจะอยู่ที่ 2.49-3% คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงอยู่ในระดับต่ำไปอีกอย่างน้อย 18 เดือน เนื่องจากสภาพ คล่องในตลาดยังคงสูงที่ 7 แสนล้านบาท ทั้งนี้หากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านปรับขึ้น 1% จะทำให้ผู้ซื้อบ้านต้องรับภาระผ่อนเพิ่มขึ้น 5-7%

สำหรับในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ไปแล้ว135,000 ราย วงเงิน 51,000 ล้านบาท โดยเป้าทั้งปี 62,000 ล้านบาท แต่คาดว่าน่าจะปล่อยได้สูงถึง 70,000 ล้านบาท จากจำนวน 150,000 ราย ด้านนโยบายในปี 2547 ธอส.ตั้งโจทย์ว่าทำอย่างไรให้คนไทยมีบ้านมากที่สุดโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง โดย จะดำเนินการใน 3 ส่วนคือ โครงการเช่าซื้อ เพื่อ ช่วยให้ลูกค้าที่ไม่สามารถผ่อนกับแบงก์ได้มาเช่าซื้อกับแบงก์ได้ 3-5 ปี

คาดว่าจะเปิดให้บริการในต้นปี 2547 โครง การสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญา โดยจะฟิกซ์ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี หลังจากนั้นจะให้ลูกค้าเลือกว่าจะฟิกซ์ดอกเบี้ยต่อไปอีก 3 หรือ 5 ปี รวมทั้งจะเร่งผลักดันสินทรัพย์ที่เป็น NPA ของแบงก์ที่มีอยู่ออกมาขายให้มากขึ้น

ตลาดวงจรอสังหาฯจะมี 4 ยุค คือ ยุคเฟื่อง,ฝ่อ,ฟุบ และฟื้น ซึ่งวิกฤตที่เกิดขึ้นในปี 2540 เกิดจากผู้ประกอบการกู้เงินดอลลาร์มาก แบงก์แข่งขันปล่อยกู้สินเชื่อมาก และมีนักธุรกิจด้านอื่นเข้ามาทำตลาดนี้กันมาก ซึ่งในขณะนี้หลายฝ่ายกลัวว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นมานั้นยังไม่เกิด ขึ้นในตอนนี้ เพราะขณะนี้อสังหาฯเริ่มอยู่ในยุคฟื้นตัว ซึ่งโดยทั่วไปแต่ละยุคนั้นจะใช้ระยะเวลา 3-4 ปี และวงจรทั้ง 4 ยุคที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในช่วง 10-12 ปี

คาดปี 47 ตลาดอสังหาโต 20%

นายกนก เดชาวาศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮมเพลส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ยอดจดทะเบียนที่อยู่อาศัยในช่วง 7 เดือนแรก ของปีนี้มีจำนวน 2.26 หมื่นยูนิต โตขึ้น 6.88% เมื่อเทียบกับปี 2545 โดยในจำนวนนี้เป็นบ้านเดี่ยว 1.6 หมื่นยูนิต เพิ่มขึ้น 13% ส่วนทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมลดลง โดยบ้านเดี่ยวเข้ามาแย่งแชร์ตลาดที่อยู่อาศัยเป็น 52% จากในปี 2545 ที่มีแชร์ตลาด 49% ทั้งนี้บ้านเดี่ยวในโครงการจัดสรรโตขึ้น 45% ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้

ส่วนโครงสร้างของซัปพลายในตลาดนั้น เป็นบ้านที่เป็น NPA จากแบงก์ มูลค่า 7.5 แสน ล้านบาท จากบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการ เงิน (บบส.) 5 แสนล้านบาท บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) 5.3 แสนล้านบาท จากกรมบังคับคดี 6 แสนล้านบาท และของบริษัทเงินทุน 2 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2547 ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะโตไม่ต่ำกว่า 20% ซึ่งมองว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้าน ทั้งนี้การที่จะทำให้ธุรกิจนี้โตหรือบูมนั้น จะต้องหาวิธีการว่าทำอย่างไรเพื่อให้ต้นทุนต่ำที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us