Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533
เส้นทางโอลิมเปียแอนด์ยอร์กในมือตระกูลรีชแมนด์             
 


   
search resources

โอลิมเปีย แอนด์ ยอร์ก - โอแอนด์วาย
Real Estate
อัลเบิร์ต รีชแมนน์




ปลายเดือนพฤษภาคมปีนี้ อัลเบิร์ต รีชแมนน์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทโอลิมเปีย แอนด์ยอร์ก ได้รับเกียรติครั้งยิ่งใหญ่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ระดับโลก เมื่อประธานาธิบดีมิคาฮิลกอร์บาชอฟแห่งสหภาพโซเยนตอนุมัติแผนการก่อสร้างอาหาคารสำนักงาน,บ้านเรือนและโรงแรมในกรุงมอสโก ตามข้อเสนอของโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์ก มูลค่าโครงการนี้สูงถึง 256 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในเมืองหลวงแห่งนี้ด้วย

แต่นี่ก็หาใช่ธุรกิจทั้งหมดของรีชแมนน์ในดินแดนหลังม่านเหล็ก เพราะรีชแมนน์ยังเป็นเจ้าของบริษัทการค้า "อะไซมุท" ที่มีสาขาอยู่ใบูดาเปาท์, บราทิสลาวาและมอสโก ถือหุ้นอยู่ในห้างสรรพสินค้า "สกาลา" ซึ่งเป็นแชนห้างขนาดใหญ่ที่สุดในฮังการีที่มีสาขาอยู่ 500 แห่งกับพนักงานอีกหลายพันคน

ตัวอัลเบิร์ตเองยังเป็นประธานสภาการค้าแคนาดา-สหภาพโซเวียตอีกด้วย และเข้าร่วมในแผนการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจเพื่อนำผู้ประกอบการรุ่นใหม่จากยุโรปตะวันออกไปฝึกอบรมทางะรำกจิที่แคนาดา ขณะที่พี่น้องตระกูลรีชแมนน์อีก 2 คนคือราล์ฟและพอลซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ต่างร่วมมือกันพลักดันธุรกิจให้รุกคืบเติบโตอย่างไม่ถูกจำกัดโดยพรมแดนทางการเมืองเช่นแต่ก่อนอีก

ทุกวันนี้รีชแมนน์ได้ชื่อว่าเป็นตระกูลนักธุรกิจทางด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีสินทรัพย์ถึง 8,000 ล้านดอลลาร์ จนติดอันดับตระกูลที่ร่ำรวยหนึ่งในสิบของโลกด้วย

รากเหง้าของรีชแมนน์นั้นมาจากครอบครัวชาวยิวที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดาตั้งแต่ปี 1954 ครั้นกลางทศวรรษ 1960 ก็เริ่มชิมลางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วยการเข้าซื้ออาคารราคารถูกหลายแห่งในโตรอนโตจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังจะล้มละลาย แต่รีชแมนน์เริ่มีชื่อเสียงในธุรกิจแนงนี้จากการสร้างคอมเพล็กซ์ขนาดพื้นที่ 5 ล้านตารางฟุตชื่อ "เฟิร์สท์ แคนาเดียน เพลส" ในโตรอนโตเมื่อปี 1975 ทั้งที่ในช่วงนั้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อสูงมาก

ปลายทศวรรษ 1970 รีชแมนน์ขยายธุรกิจเข้าไปในนิวยอร์ก โดยชื่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ "ยูริส" เป็นมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์ ซึ่งต่อมาราคาได้ขยับขึ้นถึง 10 เท่าในช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากนั้นรีชแมนน์ก็กว้านซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้อีกหลายแห่ง โดยเลือกโครงการที่ให้ผลตอบแทนสุงหรือเป็นโครการที่สามารถพัฒนาเพื่อขายต่อได้

แต่โครงการที่สร้างชื่อเสียงให้กับรีชแมนน์อย่างมากก็คือ "เวิร์ลด์ ไฟแนนเชียล เซ็นเตอร์" ในนิวยอร์กที่แล้วเสร็จเมื่อปี 1986 จนทุกวันนี้โอลิมเปียแอนด์ ยอร์กได้กลายเป็นบริษัทเจ้าที่ดินรายใหญ่ที่สุดในนิวยอร์ก มีพื้นที่อาคารสำนักงานในมือราว 24 ล้านตารางฟุต

นอกจากนั้น รีชแมนน์ยังได้จับโครงการ "แบตเตอรี ปาร์ค ซิตี้" ในย่านธุรกิจทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ และใช้วิธีขายโครงการโดยมีทั้งรูปแบบการขายขาดและให้เช่า เพื่อระดมทุนสำหรับทำโครงการต่อไป นักวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องต่างเชื่อว่ารีชแมนน์จะใชิ้วธีการเดียวกันนี้ในการขายโครงการ "คานารี วอร์ฟ" อันเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป และเป็นโครงการที่กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้างในปัจจุบัน

ความโดดเด่นของรีชแมนน์นั้นอยู่ที่ความริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านแนวคิดและการออกแบบประกอบกับ ประสบการณ์ในการซื้อที่ดินราคาถูกและมีระบบการจัดการด้านการเงินอย่างดี ที่สำคัญรีชแมนน์ได้สร้างภาพพจน์ของการให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว และมีความสามารถในการดำเนินธุรกิจแขนงนี้อย่างชนิดที่คู่แข่งคาดไม่ถึงทีเดียว

ที่รีชแมนน์เลือกใช้ยุทธศาสตร์นี้ด้ก็เพราะว่ามีสายป่านเงินทุนที่ยาวมากพอ อีกทั้งสถานภาพของการที่ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน ได้ช่วยลดภาระความกังวลใจในเรื่องการจัดสรรเงินปันผลระยะสั้นให้กับนักลงทุน และยังเก็บงำข้อมูลเกี่ยวกับรายได้และการดำเนินธุรกิจของตนให้เป็นความลับได้อีกด้วย

ด้วยยุทธศาสตร์การให้ความสำคัญกับการลงทุนในระยะยาว กับความเป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถคาดการณ์ในเรื่องเวลาได้นี่เองที่ทำให้รีชแมนน์รุกคืบสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษในปี 1979 โดยเริ่มจากการซื้อ "อิงลิช พร็อพเพอร์ตี้ คอมปะนี" เป็นมูลค่า 58 ล้านปอนด์ และขายออกไปในอีก 6 ปีถัดมาโดยได้ราคาสูงกว่าเดิมถึง 2 เท่า และในปี 1987 ก็ได้ซื้อโครงการ "คานารี วอร์ฟ" จากนายธนาคารอเมริกัน จี.แวร์ แทรดเวลสเตด

โครงการ "คานารี วอร์ฟ" นี้เป็นคอมเพล็กซ์ขนาด 10 ล้านตารางฟุต ประกอบด้วยสำนักงาน, ร้านค้าปลีกและสถานพักผ่อนหย่อนใจโดยออกแบบด้วยระบบไฮ-เทค ตั้งอยู่ริมฝังแม่น้ำเทมส์ ในด๊อคแลนด์ ห่างากลอนดอนไปทางตะวันออกราว 6 กิโลเมตร มีมูลค่าโครงการสูงถึง 6,392 ล้านดอลลาร์ และมุ่งหมายให้เป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ในลอนดอน โดยหวังลูกค้าชั้นดีอย่างเช่นบริษัทการเงินต่าง ๆ ขณะนี้อเมริกา เอ็กซ์เพรส, เครดิต สวิสเฟิร์ส บอสตันและเท็กซาโก ได้ตอบตกลงที่จะเข้าจับจองพื้นที่สำนักงานในโครงการนี้แล้ว

แต่ปัจจัย 2 ประการที่ทำให้นักวิเคราะห์ไม่มั่นใจในโครงการ "คานารี วอร์ฟ" ก็คือตลาดสำนักงานในลอนดอนขณะนี้กำลังตกอยู่ในภาวะซัพพลายล้นและระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งในด๊อคแลนด์ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ยิ่งกว่านั้นรีชแมนน์ได้ริเริ่มจับโครงการคานารีวอร์ฟนี้ตั้งแต่ปี 1987 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดภาวะตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินในด๊อคแลนด์ถีบทะยานขึ้นอย่างไม่คาดคิด และโครงการดังกล่าวก็ได้เลื่อนกำหนดวันแล้วเสร็จโครงการมา 6 เดือนแล้ว นี่ยังไม่นับรวมปัจจัยปลีกย่อยอย่างการขาดแคลนเหล็กเส้นด้วย

นอกจากโครงการ "คานารี วอร์ฟ" แล้ว รีชแมนน์ยังเข้าซื้อกิจการราว 1 ใน 3 ของ "สโตนโฮป พร็อพเพอร์ตี้" เป็นมูลค่า 137 ล้านปอนด์เมื่อราว 2 ปีก่อน และซื้อหุ้นราว 8.25% ใน "โรสเฮาก์" จากก๊อดเฟรย์ แบรดแมน ซึ่งล้วนเป็นฐานอันสำคัญต่อการจับโรงการคอมเพล็กซ์ "รอดเกท" บริเวณสถานีรถไฟ "ลิเวอร์พลู สตรีท" และโครงการอื่น ๆ ที่จะขึ้นในทศวรรษ 1990

ส่วนธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ในมือรีชแมนน์นั้นมีมูลค่าตกราว 9,000 ล้านดอลลาร์ แคนาดา โดยเป็นผู้ถือหุ้น 74% ใน "กัลฟ์แคนาดา รีซอร์ส" และเป็นเจ้าของหุ้นอีก 82% ในกิจการผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ "อาบิทิบิ ไพร้ส์"

ครั้นปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา รีชแมนน์ก็ประกาศว่าทิศทางของโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์กในอนาคตนั้นจะมุ่งไปที่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพยบ์เป็นหลัก และกำลังเตรียมขายกิจการผลิตก๊าซและน้ำมัน "คอนซูเมอร์ส แก๊ส" ให้กับ "บริติช แก๊ส" เป็นมูลค่า 1,100 ล้านดอลลาร์ วนกิจการผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ "อาบิทิบิ ไพร้ส์" ในแคนาดาอาจถูกผวนกรวมกับธุรกิจด้านป่าไม้ในเครือและโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์กจะขายหุ้นในธุรกิจส่วนนี้ออกไปบางส่วนจากที่ถือครองอยู่ 83% ในปัจจุบัน

นอกจากั้น รีชแมนนน์ยังเล็งขายหุ้นในธุรกิจส่วนนี้ออกไปบางส่วน ซึ่งคาดกันว่าจะมีมูลค่าสูงระหว่าง 200-800 ล้านดอลลาร์ โดยโครงการที่เข้าข่ายถูกโละออกไปก็มีโครงการอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพาณิชย์ในนิวยอร์ก บอสตัน ซานฟราน ซิสโกและเมืองใหญ่อื่นๆ อีกหลายแห่ง ในขณะที่กรรมการผู้จดัการใหญ่ของโอลิมเปียแอนด์ ยอร์ก สหรัฐฯ ปฏิเสธข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า บริษัทกำลังประสบปัญหาการขาดเงินสดหมุนเวียน

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริาทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับแนวหน้าของโลกอย่างโอลิมเปีย แอนด์ ยอร์กนี้เป็นหนึ่งในภาพสะท้อนถึงภาวะตกต่ำของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในทั่วโลกได้อย่างดี ทั้งสอดรับกับการที่อาคารสำนักงานนับร้อยแห่งในตลดาอังกฤษและสหรัฐฯต่างถูกปล่อยทิ้งร้าง โครงการใหม่หยุดชะงักลงอย่างทั่วหน้า ธุรกิจเช่าสำนักงานซบเซา อัตราการค้างชำระค่าเช่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

"การพัททลายลงของการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นครอบคลุมธุรกิจแขนงนี้โดยรวมและเกิดขึ้นในทุกตลาด แต่เราก็ยังไม่ตกต่ำลงถึงระดับที่แย่ที่สุด" นักวิเคราะห์ในธุรกิจวาณิชธนกิจรายหนึ่งให้ความเห็น และผู้เชี่ยวชาญบางรายยังคาดอีกว่า กว่าที่โครงการต่าง ๆ ในสหรัฐฯจะอิ่มตัวได้จะต้องใช้เวลาอีกถึง 8 ปีทีเดียว นี่อาจหมายความว่าทศวรรษ 1980 อันรุ่งโรจน์สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จบสิ้นลงแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us