ประวัติพงส์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2470 เป็นบุตรคนโตของพจน์
สารสินอดีตนายกรัฐมนตรี (ปัจจุบันอายุ 85 ปี แต่ยังแข็งแรงตีกอล์ฟวันละ 9
หลุมได้ทุกวัน) กับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน ความเป็นลูกคนโตที่แม่รักจึงได้รับการตั้งชื่อตามมารดาว่า
"พงส์สิริ" เพื่อนเก่าสมัยเรียนวชิราวุธจึงติดปากเรียกว่า "พงส์-หริ"
แต่ต่อมาในยุคสมัยจอมพลแปลก พิบูล สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีที่ห้ามมิให้ชื่อเป็นหญิงชื่อ
"พงส์สิริ" จึงถูกตัดทอนให้สั้นลงเป็น "พงส์"
พงส์มีน้องร่วมสายเลือดเดียวกันอีก 5 คนคือพล.ต.อ.เภาสารสิน อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
บัณฑิต บุณยะปานะหรือปุ๋ยซึ่งใช้นามสกุลของป้าที่ขอไปเลี้ยงเพราะไม่มีลูก
ปัจจุบันเป็นอธิบดีกรมสรรพากร พิมพ์สิริ สารสินหรือ "แป๋ว" (ภรรยาพ.อ.จินดา
ณ สงขลาอดีจเลขาธิการ กพ.) อาสา สารสินหรือปุ๊ก (สามีม.ร.ว.กิตติคุณ กิติยากร)
อาสาเคยเป็นอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศและปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทผาแดงอินดัสทรี
น้องคนสุดท้องคือพลตรี สุพัฒร์ สารสินหรือ "เปี๊ยก" (สมีสุมพร
ยิบอินซอย) ปัจจุบันสบายที่สุดประจำกองบัญชาการทหารบก สุพัตรจบปริญญาตรีจากสหรัฐและเข้าเทียบเป็นนายทหารทำหน้าที่แปลข่าว
ภายหลังจอมพลประภาสก็เอามาใช้เป็นทส.จนกระทั่งได้ยศเป็นพันเอก และกลับเข้ามารับราชการต่อในสมัย
พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอกเป็นใหญ่ ควบ ผบ.ทบ.และผบ.สูงสุดสุพัตร์ได้รับตำแหน่งล่าสุดเป็นพลตรีประจำกองบัญชาการ
ชีวิตส่วนตัวพงส์สมรสกับมาลินี วรรณพฤกษ์เมื่อ 15 สิงหาคม 2496 มีบุตร
3 คนโตได้แก่พาสินีแต่งกับดร.สุเมธ ลิ่มอติบูลย์ คนต่อ ๆ มาคือวัลลิยา สารสินและพรวุฒิ
สารสิน
การศึกษาขั้นต้นพงส์เรียนอนุบาลที่ รร.สุรศักดิ์ ต่อที่วชิราวุธวิทยาลัยจนจบม.
6 แล้วเรียนเตรียมจุฬาฯแต่ไม่จบ เดินทางไปเรียนต่อเมืองนอกตามประสงค์ของบิดา
จบกระทั่งจบปริญญาตรีทางบัญชีจากมหาวิทยาลัยบอสตัน กลับมาทำงานครั้งแรกที่แบกง์ชาติได้ครึ่งปี
ก็ลาออกไปอยู่กรมประมวลข่าวกลางปี 2495-2500 จึงลาออกมาอยู่บริษัทไทยน้ำทิพย์เริ่มในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ
ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จดัการ
ความที่เป็นทายาทคนโตทำให้พงส์ต้องกระโดดลงไปเล่นการเมืองควบคู่ไปกับดูแลธุรกิจของตระกูลสารสินนับ
101 บริษัทตั้งแต่บริษัทไทยน้ำทิพย์ผู้ผลิตน้ำอัดลม "โค้ก" ซึ่งทำให้สปอร์ตสคลับมีเพียง
"โค้ก" บริการเท่านั้น ไม่อาจมี "เป๊ปซี่" ได้
นอกจากนี้พงส์ยังเป็นกรรมการบริษัท ตรีเพชรอีซูซุยางบริดจ์สโตน บริษัทฝาจีบ
โรงงานทำขวดแก้ว แบงกืไทยพาณิชย์ แบงก์กสิกรไทย ไปจนถึงน้ำเหล้าตั้งแต่บริษัทธารา
ไก่แดงแสงโสมไปจถึงเหล้าตราหงส์ทอง และแม่โขง รวมทั้งปัจจุบันยังเป็นกรรมการบริษัทฮอนด้าคาร์
เส้นทางการเมืองของพงส์เริ่มตอนที่มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2516 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสนามม้า
พอมีกฎหมายพรรคการเมืองจึงร่วมกับมรว.คึกฤทธิ์ ปราโมชตั้งพรรคกิจสังคม
ในระยะแรกพงส์ยังมีบทบาทอยู่เบื้อหงลังในฐานะกรรมการบริหารและเหรัญญิกพรรค
ขณะที่บทบาทของบุญชู โรจนเสถียรโดดเด่นในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี
2518 และรองนายกรัฐมนตรีในปี 2523-4
ถึงกระนั้นการสั่งสมบารมีของพงส์ในพรรคกิจสังคมได้ทำต่อเนื่องมาจนกระทั่งพงส์ได้เป็นเลขาธิการพรรคสืบต่อจากโกศล
ไกรฤกษ์ในการเลือกตั้งกรรมการบริหารเมื่อ 7 มีนาคม 2527
"วันแรกที่นายพงส์ สารสินถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคกิจสังคม นายชวย
หลีกภัยได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ โดยทำนายไว้ว่า กิจสังคมต่อไปจะเป็นธุรกิจการเมือง
หนึ่งในข้อความใบปลิวที่ออกมาโจมตีพงส์ หลังการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในชุดเปรม
5 เมื่อปี 2529
ในปี 2523 นโยบายการขึ้นภาษีน้ำอัดลมของบุญชูสมัยเป็นรองนายกฯ สร้างความไม่พอใจแก่พงส์อย่างมากเพราะปี
2524 ไทยน้ำทิพย์ต้องจดทุนถึง 182 ล้านบาท ปลดคนงานออก 500 คน พงส์ได้ผลักดันให้รัฐบาลออกกฎหมายลดภาษีได้ในเวลาต่อมา
และกลายเป็นความบาดหมางอันสำคัญระหว่างคนทั้งสอง และก่อให้เกิดความแตกแยกในพรรคกิจสังคมช่วงนั้นมี
ส.ส.7 คนยื่นใบลาออก เพราะไม่พอใจการกระทำของพงส์ ซึ่งก็มีประมวล สภาวสุ
(ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี) คนหนึ่งด้วย
ปัจจุบันภาพพจน์ของพงส์ในตำแหน่งการเมืองอยู่ฐานะรองหัวหน้าพรรค ซึ่งไม่มีบทบาทมากนัก
หลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีจากชาติชาย 1 เป็นชาติชาย 2 พงส์ได้ลาออกพร้อมหัวหน้าพรรคคือพล.อ.อ.สิทธิ
เศวตศิลาซึ่งโดยส่วนตัวรู้จักกับพงส์ตั้งแต่อยู่สหรัฐ และได้ชวนพงส์มาทำงานที่กรมประมวลข่าวกลางจนถึงสมัยพลสฤษดิ์ปฏิวัติจึงลาออกเป็น
2500 และมาทำที่บริษัทไทยน้ำทิพย์
จากน้ำอัดลมก็ไทยน้ำทิพย์ภายใต้การบริหารของพงส์ก็เข้าสู่เครื่องดื่มชูกำลัง
"มาราธอน" ซึ่งอออกมาชิงส่วนแบ่งตลาดลิโพวิตันดีของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์
ต่อจากนั้นพงส์ก็ร่วมกับทุนญี่ปุ่นตั้งบริษัทฝาจีบ
พงส์หันเข้าสู่ธุรกิจน้ำเมา โดยได้รับการชักชวนจากอีสต์เอเชยติ๊กกับแบงก์กสิกรไทยทำเหล้า
แต่เมื่อไม่ได้รับใบอนุญาตก็เลิกไป ต่อมาก็ร่วมกับประสิทธิ์ ณรงค์เดชทำเหล้าแสงโสมจนกระทั่งเถลิง
เหล่าจินดามาซื้อแล้วชวนเข้าหุ้นด้วย ตั้งบริษัทสุราทิพย์ผลิตเหล้าแสงโสมกับหงส์ทอง
ต่อสู้ขับเคี่ยวกับบริษัทสุรามหาราษฎร เจ้าของ "แม่โขง" มาตลอด
6 ปี กว่าจะยุติสงครามน้ำเมาเมื่อ 7 มีนาคม 2527
นอกจากกิจการดังกล่าว พงส์ได้เข้าไปร่วมกับการจัดตั้งบริษัทไทยแลนด์แทนทาลั่ม
อินดัสตรีเมื่อปี 2522 ด้วย แต่ต่อมาได้เกิดเหตุเผาประท้วงการตั้งโรงงานแทนทาลั่มที่ภูเก็ต
พงส์ได้ก้าวเข้าธุรกิจธนาคารโดยเป็นกรรมการแบงก์ไทยพาณิชย์ ในอดีตบิดาคือพจน์
สารสินเป็นประธานกรรมการบริหารแบงก์ไทยทนุมานาน และปู่หรือเจ้าคุณสารสินก็เคยเป็นประธานแบงก์ไทยพาณิชย์คนแรก
ตำแหน่งทางธุรกิจที่สำคัญที่พงส์เคยเป็นอีกอย่างหนึ่งคือนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย
(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสภาอุตสาหกรรมไทย) ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นก็ใช้วิธีการแจก
"โผ" รายชื่อกรรมการให้สมาชิก ปรากฏว่าในโผมีชื่อ 28 คน และนอกโผมีคนเสนอชื่อ
7 คน ผลแพ้ชนะออกมาว่าคนนอกโผหลุดเข้าไปกรรมการคนเดียว อีก 24 คนเป็นไปตามโผ
และด้วยวิธีการเดียวกันนี้ พงส์ก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานราชกรีฑาสมโมสรณ์พร้อมทีมงานชุดเดิมทั้งหมด
นับเป็นสมัยที่ 13
ถึงเวลานี้ ชื่อของพงส์ สารสิน" ได้ถูกเติมบทบาทในฐานะนักธุรกิจการเมืองแท้จริง