Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553
พลังแห่ง Social Media อีกพลวัตแห่งพลเมือง             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

Facebook Homepage

   
search resources

News & Media
Web Sites
Facebook




กว่า 1 เดือนที่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดง ดูเหมือนจะมีข่าวความเคลื่อนไหวทางการเมืองมากมายให้คนไทยตื่นตัวติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่เว้นแต่ละวัน แต่สำหรับชาวเฟซบุ๊ก (Facebook) และทวีตเปิล (Tweetple) ดูเหมือนข่าวสารจะทะลักล้นจนต้องตามติดกันแบบวินาทีต่อวินาที

นอกจากข่าวเหตุการณ์ที่ฉับไวราวกับ real-time ก็ยังมีคลิปวิดีโออีกนับร้อย ภาพอีกนับพันซึ่งถูกอัพโหลดจากบุคคลต่างๆ ในเวลาเพียงไม่ถึงชั่วโมง ที่ท้ายสุดจะถูก share หรือ retweet ไปมาจนเกือบทุกคนในเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่เข้าร่วมกลุ่มเดียวกัน จะได้รับชมกันถ้วนหน้า

ภาพข่าวและคลิปวิดีโอที่มักถูกอัพขึ้นเฟซบุ๊กและทวีตภพ (tweeter) เป็นประจำ คือ ภาพกองทัพประชาชนในชุดหลากสีที่มายืนโบกธงชาติ ขณะที่ปากก็ร้องเพลง "รักเธอ ประเทศไทย", "รักกันไว้เถิด" ตามมาด้วย "สยามานุสสติ" กระทั่งเวลา 18.00 น.จึงร้องเพลงชาติ ก่อนจะปิดท้ายการชุมนุมเย็นนั้นด้วยเพลงส่งท้าย "สดุดีมหาราชา" และ "สรรเสริญพระบารมี"

ไม่เกิน 19.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมสลายตัวหมด ราวกับจรยุทธ์ไร้ร่องรอย เพื่อรอที่จะมารวมตัวใหม่ในเวลาเดิมของวันรุ่งขึ้น ณ สถานที่ตามแต่แกนนำกำหนด

คาดว่า ภาพเช่นนี้จะเกิดขึ้นทุกวันจนกว่าม็อบเสื้อแดงจะเลิกชุมนุม ...ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพฯ ภาพเช่นนี้ยังกระจายไปตามหัวเมืองในอีกหลายจังหวัด

ไม่พักต้องรอให้กลับถึงบ้าน ผู้ร่วมชุมนุมเปลี่ยนเป็น "นักข่าวพลเมือง" อัพภาพบรรยากาศขึ้นเฟซบุ๊กและทวีตภพ เพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้ร่วมติดตาม ด้วยความรวดเร็วของ เทคโนโลยี ชาวเฟซบุ๊กและทวีตเปิลที่นั่งอยู่บ้านจะรู้สึกมีส่วนร่วมราวกับอยู่ในเหตุการณ์เอง

ภาพป้ายข้อความขำๆ ที่เป็นความสร้างสรรค์ของผู้ร่วมชุมนุมหลายภาพถูกนำมาเผยแพร่ ถูกคอมเมนต์และส่งต่อจนกระจายไปวงกว้างทั่วทั้งสังคมออนไลน์ จากนั้นคำเหล่านั้นก็กลายเป็นวลีฮิตในเฟซบุ๊กบ้างทวีตภพบ้าง

กลับกัน หลายป้ายในที่ชุมนุมก็มาจากคอมเมนต์ขำๆ เช่น ยุบสภาปรึกษากูหรือยัง, อย่ายุบนะเฮีย เดี๋ยว-กลับมา, หลงแดงเสียเวลา หลงยุบสภาเสียอนาคต เป็นต้น

ขณะที่ฟากฝั่งของคนเสื้อแดงก็มีการส่งภาพและคลิปสดจากเวทีไปยังเครือข่าย ชาวสีแดงที่อยู่นอกม็อบและผู้คนทั่วไปในสังคมออนไลน์ให้ได้ชมบรรยากาศด้วย เช่นกัน โดยเฉพาะในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งภาพและคลิปจากคนเสื้อแดงกระจาย อยู่ในโลกเฟซบุ๊กอย่างมากมาย

จาก Facebaker.com ระบุว่า ณ วันที่ 27 เมษายน 2553 มีคนไทยใช้เฟซบุ๊กร่วม 3.2 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นจากวันที่ 1 มีนาคม ร่วม 8 แสนคนเลยทีเดียว ส่วนข้อมูลจาก Thailand Trending ชี้ว่า มีคนใช้ทวีตเตอร์วันละราว 104,000 คน เพิ่มจาก 73,000 คนต่อวัน ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์

อันที่จริง คนไทยเริ่มติดตามเทคโนโลยีที่เรียกว่า Social Media มาสักระยะ แต่มักถูกใช้เพื่อความบันเทิง (เล่นเกม) ระบายอารมณ์ และเพื่อสื่อสารแบรนด์เป็นหลัก

ต้องยอมรับว่า นักการเมืองคนแรกๆ ที่เห็นศักยภาพในการนำทวีตเตอร์มาใช้สื่อสารทางการเมือง หนีไม่พ้น user ที่ใช้ชื่อว่า @thaksinvoice หรือ @thaksinlive ในวันนี้

ทักษิณมีส่วนสร้างความตื่นตัวในการใช้เฟซบุ๊กและทวีตภพของชาวไทย แต่ดูเหมือนความตื่นตูมครั้งใหญ่ เกิดขึ้นไม่นานหลังจากมีการชุมนุมในกรุงเทพฯ ของคนเสื้อแดง

จากเดิมที่คนไทยเคยใช้เฟซบุ๊กหรือทวีตภพเพียงเพื่อสื่อให้ชาวโลกรู้ว่า ตัวเองตื่นหรือยังทำอะไร กินอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกอย่างไร อกหักรักคุด ถ่ายไม่ออก นอนไม่หลับ น้ำหนักขึ้น เหงาเศร้า ฯลฯ หลังจากมีม็อบเสื้อแดงจะเห็นว่า การสื่อสารบนสื่อนี้ดูจะมีสาระมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ

ในโลกเฟซบุ๊ค นอกจากการโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นและการคอมเมนต์สนับสนุนหรือต่อต้าน ความเห็นของเจ้าของข้อความ การตั้งกลุ่มถือเป็นการแสดงจุดยืนทางการเมืองและแสวงหามวลชนที่มีจุดยืน เดียวกัน ส่วนการเข้าร่วมกลุ่มและทำกิจกรรมในกลุ่มที่มีความคิดตรงกันก็เป็นการ แสดงออกชัดเจนที่ชาวเฟซบุ๊กหลายคนใช้แสดงจุดยืนทางการเมืองของตน

ถ้าลองสังเกตจากเทียบเชิญ (group invitation) จากกลุ่มต่างๆ ในเฟซบุ๊ก ที่ส่งมา พบว่ามีมากขึ้นกว่าก่อนการชุมนุมหลายเท่าตัว หากไปดูใน info ของเพื่อน คนไทยจะเห็นว่าหลายคนเป็นสมาชิกเพจและกลุ่มทางการเมืองไม่ต่ำกว่าหลักสิบ

แม้จะไม่มีใครเคยทำการสำรวจว่า นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีการชุมนุมของ คนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ (12 มีนาคม 2553) ได้เกิดกลุ่ม (group) และเพจ (Page) เกี่ยวกับการเมืองในเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นกี่ร้อยกี่พันกลุ่ม

เมื่อ ผู้จัดการ 360 ํ ลองพิมพ์ keyword ยอดฮิตในยามนี้ เพื่อค้นหาจำนวนเพจ/กลุ่ม พบว่า มีความน่าสนใจอยู่หลายประการ (ทดลอง ณ วันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา)

เริ่มต้นจากข้อเรียกร้องของกลุ่ม นปช.ในเรื่องยุบสภา ...เมื่อใช้คำว่า "ยุบสภา" ค้นหา พบว่ามีมากกว่า 10 เพจ (page) และเกือบ 150 กลุ่ม (group) ในเฟซบุ๊ก โดยมีทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านการยุบสภา ซึ่งสมาชิกในแต่ละเพจ/กลุ่มก็มีตั้งแต่หลักหน่วยจนถึงหลักแสนคนเลยทีเดียว

1 ในหลากหลายกลุ่มที่ใช้คำนี้ กลุ่มที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน และดูจะเป็นกลุ่มที่มีความเคลื่อนไหวขับเคลื่อนทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กมาก ที่สุดกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ กลุ่ม "มั่นใจว่าคนไทยเกิน 1 ล้าน ต่อต้านการยุบสภา" มีสมาชิกเกือบ 455,000 คน

นอกจากยอดสมาชิกเกือบครึ่งล้าน ซึ่งถือว่าสูงจนยากที่จะหากลุ่ม/เพจของไทยเทียบได้ ความน่าสนใจของกลุ่มนี้อยู่ที่ "ผู้สร้าง (creator)" และ "ผู้ดูแล (admin)" ซึ่งเป็นเพียงนิสิตนักศึกษา โดยบางคนอายุยังไม่ถึง 20 ปีด้วยซ้ำ

กลุ่มนี้สร้างขึ้นเมื่อราวปลายเดือนมีนาคม เพื่อประกาศเจตนารมณ์และแสดงจุดยืนว่าการยุบสภาไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่แท้จริง จากที่เคยเป็นเพียงผู้ติดตามข่าวสารการชุมนุมของคนกลุ่มต่างๆ เพราะอยากรู้ว่าประเทศไทยจะเป็นยังไงต่อไป

แต่ครั้งนี้เยาวชนกลุ่มนี้ผันตัวเองมาเป็น "สื่อกลาง" ทำหน้าที่กระจายข้อมูลประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และเข้าร่วมกิจกรรม ขับเคลื่อนทางการเมืองร่วมกับกลุ่มในเฟซบุ๊กที่มีจุดยืนเดียวกัน โดยเฉพาะกิจกรรมการชุมนุมทุกเย็นของ "กลุ่มคนเสื้อหลากสี"ที่มาจากหลากหลายกลุ่มในเฟซบุ๊ก

"รู้สึกดีใจมากที่มีคนออกมาเรียกร้องเพื่อประเทศไทย อันเป็นที่รักของคนไทยเยอะขนาดนี้ ไม่คิดว่าการสร้างกรุ๊ปใน Social Network ที่กะจะแสดงเจตนารมณ์ของเราเฉยๆ จะรวมใจ คนไทยที่อยู่ทุกแห่งได้ขนาดนี้ ภูมิใจที่มีคนไทยเรือนแสนไม่นิ่งดูดายกับเหตุการณ์ตรงหน้า" แอดมินวัยเพียง 19 ปีให้ความเห็น

สื่อมวลชนหลายแขนงมักนำจำนวนสมาชิกเฟซบุ๊กกลุ่มนี้เปรียบเทียบกับกลุ่ม "รวมพลัง 1 ล้านคน สนับสนุนให้ยุบสภา" ของฝั่ง นปช. ซึ่งสร้างขึ้นมาไล่เลี่ยกัน ทว่า กลุ่มหลังยังมีสมาชิก ไม่ถึง 15,000 ด้วยซ้ำ

ทั้งนี้ คำที่ดูจะได้รับความนิยมมากกว่า "ยุบสภา" เห็นจะเป็นคำว่า "ทักษิณ" หรือ "Thaksin" ซึ่งทั้งกลุ่มรักและเกลียดทักษิณมีรวมกันเกือบ 250 เพจ/กลุ่ม ส่วนคำว่า "เสื้อแดง" มีคน นิยมใช้ทั้งสนับสนุนและต่อต้านอยู่เกือบ 200 เพจ/กลุ่ม ขณะที่คำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ดูเหมือนจะเป็นที่โหยหาของผู้ชุมนุมทุก กลุ่มเสื้อ แต่กลับถูกหยิบยกขึ้นใช้เพียง 102 เพจ/กลุ่ม

สำหรับฝั่งรัฐบาล คำว่า "อภิสิทธิ์" หรือ "Abhisit" มีคนนิยมนำไปสร้างชื่อกลุ่ม/เพจน้อยกว่าทักษิณ คือมีเพียง 50 กว่า เมื่อรวมกับคำว่า "นายก" ที่หมายถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ เป็นจำนวน เกิน 100 เล็กน้อย แต่ทว่าจำนวนสมาชิกหรือแฟนเพจมีไม่น้อยหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มให้กำลังใจนายกฯ

นอกจากการหยั่งเสียงเรื่องยุบสภาผ่านชาวเฟซบุ๊ก สื่อ มวลชนยังมักนำจำนวนแฟนเพจของกลุ่มทักษิณและอภิสิทธิ์มาเปรียบเทียบกัน ประหนึ่งโพลสำรวจคะแนนนิยมของทั้งคู่

เพจ "Thaksinlivedotcom" มีแฟนเพจราว 26,00 คน ขณะที่เพจ "Abhisit Vejajiva" เพจส่วนตัวของนายกฯ อภิสิทธิ์ มีมากกว่า 248,000 คน ส่วนกลุ่มสนับสนุนในเพจ "We Love Thaksin" มีเกือบ 5 พันคน ส่วนเพจ "I Support PM Abhisit" มีเกือบ 7 หมื่นคน

ขณะที่กลุ่ม "อยากเหยียบ "ก้น" (อภิสิทธิ์) ให้จมดิน" มี แฟนเพจไม่ถึง 50 คน แต่กลุ่ม "เชื่ออย่างเต็มหัวใจว่าคนไทยเกิน 25 ล้านอยากถีบยอดหน้าทักษิณ" มีมากกว่า 2 หมื่นคน

ช่วงเวลาที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อสีโน้นสีนี้ "เสื้อ" จึงกลายเป็นอีกคำฮิตที่สุด ยามนี้ โดยมีแทรกอยู่ในชื่อเพจ/กลุ่มมากถึง 400 แห่ง เช่น กลุ่มสนับสนุน หรือต่อต้านเสื้อแดง กลุ่มเสื้อชมพู กลุ่มเสื้อขาว กลุ่มไม่มีสีเสื้อ กลุ่ม เสื้อหลากสี กลุ่มคนเสื้อแพง กลุ่มคนเสื้อขาด กลุ่มคนเสื้อคับ กลุ่มคนเสื้อฟรี ฯลฯ

ยังมีอีกหลายกลุ่มเสื้อที่ตั้งขึ้นเพื่อเสียดสี และสร้างรอยยิ้มไปพร้อมกัน เช่น "เสื้อลายดอก (ไม่ชุมนุม เน้นเล่นน้ำ และชมนม)", "คนไม่ใส่ เสื้อนอนอยู่บ้าน", "มวลชนคนใส่เสื้อในและชุดชั้นในทุกประเภท ไม่ต่อต้านใครทั้งนั้น" และ "อย่าเอาสีเสื้อไปโยงกับการเมืองได้มั้ย ในตู้เสื้อผ้าไม่เหลืออะไรให้ใส่แล้ว" ซึ่งมาพร้อมคำอธิบายเชิงประชดประชันทำนองว่า ...รำคาญมากมาย จะออกจากบ้านทีไร ต้องเลือกเป็นชั่วโมง สีนั้นก็ไม่ดี สีนี้เดี๋ยวโดนตีน หรือจะให้แก้ผ้า!?! เป็นต้น

เหนือความขัดแย้งทางการเมือง คำหนึ่งที่มักปรากฏในชื่อกลุ่ม/เพจของชาวเฟซบุ๊ก คนไทย คือ คำว่า "ในหลวง", "พระเจ้าอยู่หัว", "(พระมหา) กษัตริย์", และ "King of Thailand" ซึ่งมีรวมกันกว่า 200 เพจ/กลุ่ม ยังไม่นับรวมกลุ่มที่ใช้ชื่ออื่น เช่น "รูปที่มีทุกบ้าน" , "พ่อ", องค์ราชัน ฯลฯ โดย (เกือบ) ทุกกลุ่ม/เพจล้วนสร้างขึ้นเพื่อแสดงความจงรักภักดี และแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องในหลวง ตลอดจนเพื่อเรียกร้องคนไทยทุกคนทุกกลุ่ม รักและหันหน้าเข้าหากันเพื่อ "พ่อหลวง"

ทั้งนี้ ดูเหมือนว่าทุกครั้งที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรงของ "การเมืองบนท้องถนน" ปฏิกิริยาของ "พลเรือนหน้าจอ" ก็จะเริ่มขับเคลื่อนทางการเมืองผ่านสังคมออนไลน์อย่างดุเดือดและฉับพลัน โดยมีทั้งแนวร่วมและแนวต้านต่อเหตุการณ์นั้น

โดยผ่านการแสดงความคิดเห็นและส่งต่อข้อมูลข่าวสารผ่านเฟซบุ๊กของตัวเอง หรือเฟซบุ๊กของเพื่อนและกลุ่มที่เป็นสมาชิก ตลอดจนเข้าไปวิจารณ์และระบายออกซึ่งความเห็นหรืออารมณ์ รวมถึงการสร้างกลุ่ม/เพจใหม่ๆ เพื่อแสดงจุดยืนและแสวงหามวลชนที่มีความคิด ต่อเหตุการณ์นั้นๆ ในแบบเดียวกัน

เช่น กลุ่ม "มั่นใจคนไทยเกิน 20 ล้านต้องการยุบ นปช." ที่มีแรงบันดาลใจมาจากคำพูดของหมอเหวงที่บอกว่า "ผมมั่นใจว่าคนไทย 20 ล้านคนที่อยู่ข้างหลังผม ต้องการยุบสภา" เพื่อเป็นการโต้ตอบและแสดงจุดยืนที่ไม่ต้องการให้เสียงของตนเองถูกกลุ่ม นปช.นำไปเหมา รวมกดดันรัฐบาล

หรือกลุ่ม "สดุดีวีรชนทหารกล้า" ที่สร้างขึ้นหลังเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน และกลุ่ม "เกลียดตำรวจ" ที่สร้างขึ้นความอัดอั้นตันใจจากหลายเหตุการณ์ในการควบคุมม็อบเสื้อแดงของตำรวจ รวมทั้งเพจ/กลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อให้กำลังใจบุคคลที่มีส่วนทำหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับม็อบเสื้อแดงครั้งนี้ เช่น "พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด" และ "ให้กำลังใจ 'อี้' แทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้ทำหน้าที่สื่อและพิธีกรอย่างมีจรรยาบรรณในอาชีพ" ที่เกิดขึ้นทันทีที่ทั้ง 2 คนถูก นปช.โจมตีตลอดจนคุกคามทางวาจา เป็นต้น

สำหรับทวีตภพ เรื่องที่มีการพูดถึงเป็นอันดับ 1 ของวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน เวลา 17.00 น. จากเว็บไซต์ Thailand Trending http://www.lab.in.th/lab/thaitrend/) คือ #RedTweet หรือกลุ่มทวีตเตอร์ของคนเสื้อแดง ซึ่งมีคนพูดถึงเกือบ 1,400 ครั้ง รองลงมา คือ #WeLoveThai ซึ่งเคยเป็นอันดับ 1 ก่อนที่การชุมนุมคนเสื้อแดงจะดุเดือด มีคนพูดถึงร่วมพันครั้ง

ส่วนคำที่คนไทยพูดถึงมากที่สุด คือ "เสื้อแดง" ด้วยจำนวนร่วมหมื่นครั้งต่อวัน รองมา คือ "ทักษิณ" เกือบ 5 พันครั้ง โดยมีคำว่า "ชุมนุม" ตามมาติดๆ ด้วยจำนวน 4 พันครั้ง

ขณะที่ผู้ใช้ หรือ @user ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด 5 อันดับแรก ล้วนเป็นคนข่าวและสถานีข่าว เพราะในยามนี้ทวีตเปิลคนไทยส่วนใหญ่ต้องการติดตามข่าวสารการชุมนุมของคนเสื้อแดงอย่างใกล้ชิด บวกกับข้อความสั้นๆ ของทวีตเตอร์จึงทำให้สามารถสื่อสารและติดตามกันได้อย่างรวดเร็ว

ในยามที่การเมืองร้อนแรง นอกจากเฟซบุ๊กจะกลายเป็นสื่อที่ชาวสังคมออนไลน์ใช้เกาะกระแสข่าวสารข้อมูล ในโลกไซเบอร์นี้ยังเป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้หลายคนได้แสดงออกซึ่งความสร้างสรรค์ เพื่อระบายความเคร่งเครียดเบื่อหน่าย และเพื่อสร้างเสียงเฮฮาสนุกสนานให้กับเพื่อนในกลุ่ม

ผ่านทางคอมเมนต์สนุกๆ ภาพถ่ายขำๆ รวมทั้งการโยนประเด็นคำถามกวนๆ ให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความเห็น ตลอดจนการตั้งชื่อกลุ่มตลกโปกฮาเพื่อเรียกเสียงหัวเราะ

ขณะที่กลุ่ม "คนไทยเกิน 60 ล้านคนไม่มั่นใจว่าพี่แม้วอยู่ไหน" เรียกเสียงฮาจากชาวเฟซบุ๊กด้วยภาพตัดต่อของทักษิณผ่านการใช้ความสร้างสรรค์ และจินตนาการไม่รู้จบ เพื่อตอบ คำถามว่าทักษิณอยู่ไหน หรืออยากให้ทักษิณไปอยู่ที่ไหน เช่น อยู่บนดาวอังคาร, เป็นผู้สมัคร The Star 6, ไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มเสื้อหลากสี เป็นตัวละครในโปสเตอร์หนังหลายเรื่อง เป็นต้น

แรงบันดาลใจในการสร้างกลุ่มนี้เกิดจากภาพตัดต่อที่ผู้ดูแลเฟซบุ๊กและทวี ตเตอร์ของทักษิณพยายามส่งยืนยันว่าทักษิณยังมีชีวิตอยู่และปกติดี แต่ความพยายามดังกล่าวกลับเป็นเรื่องขบขันจนถูกชาวเฟซบุ๊กและทวีตเปิล ล้อเลียนว่าเป็นเกมจับผิดภาพ และพฤติกรรมหลอกลวงดังกล่าวก็ถูกขยายวงการเลียนแบบออกไปอย่างกว้างขวาง ในหมู่สมาชิกของกลุ่มนี้

เพียง 2 วัน นับจากวันแรกที่สร้างเพจนี้ เมื่อวันที่ 26 เมษายน (หลังวันที่ภาพตัดต่อทักษิณถูกเผยแพร่ 1 วัน) ภาพสนุกๆ จากสมาชิกเฟซบุ๊กก็อัพเข้ามาที่กลุ่มนี้ไม่ต่ำกว่า 700 ภาพ ...หลายภาพเห็นแล้วก็ขำจนลืมเครียด พลันทำให้นึกได้ว่าคนไทยจะทะเลาะกันหรือมานั่งสาปแช่ง กันทำไม

ความคิดเห็นดังกล่าวตรงตามเจตนารมณ์ของ "แอน" ผู้สร้างกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเว็บ f0nt.com

...ณ วันนี้ บ้านเมืองเรามีคนตีกัน มีคนฆ่ากันและแช่งชักหักกระดูกให้อีกฝ่ายตายโหง เราทุกคนถูกดึงเข้าไปในเกม และเป็นส่วนหนึ่งของเกมทั้งเต็มและไม่เต็มใจ อีกสิบปีข้างหน้า ถ้าใครผ่านมาอ่านข้อความนี้ก็ให้รู้ว่าประเทศไทยเคย "เสียเอกราชทางอารมณ์" ตอนนี้ที่ผมนั่งพิมพ์อยู่ เรายังอยู่ในวิกฤติ และยังตกลงกันเพื่อหาทาง ออกไม่ได้ แต่เรื่องหนักๆ ที่ว่ามานั่นยังไม่ใช่ประเด็น

ประเด็นก็คือฝ่ายหนึ่งเขาลือกันจริงจัง บอกว่าพี่แม้วไม่สบายหนักมาก อีกฝ่ายก็บอกว่าจะบ้าเหรอ เชื่อไปได้ยังไงข่าวลือ พี่แม้วยังสบายดี! ผมเชื่อฝ่ายหลัง เพราะตัวเองไม่ได้เป็นคนเชื่อข่าวลืออะไรอยู่แล้ว โดยเฉพาะในสถานการณ์บ้านเมืองอย่างนี้ ไม่สนแหละว่าผมจะรักหรือจะชังพี่แม้วแค่ไหน คือเราต้องแยกให้ออกว่าคนเรามีทั้งดีและไม่ดี ไม่ว่าคุณจะเชียร์มวยฝั่งไหนก็ตาม...

ด้วยความเร็วและแรงในการสื่อสารผ่าน Social Network บวกกับความถี่ในการตอกย้ำความคิดเห็นและจุดยืนทางการเมืองที่มีต่อเหตุการณ์ บ่อยครั้ง ประกอบกับความอึดอัดคับข้องใจต่อเหตุการณ์รุนแรงต่างๆ กลายเป็นอารมณ์ร่วมที่รุนแรงที่ถูกสั่งสมรอวันแสดงออกเป็นพลังขับเคลื่อน

จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อหมอตุลย์ สิทธิสมวงศ์ "เป่านกหวีด" จึงมีชาวเฟซบุ๊กตบเท้าร่วมใจเปลี่ยนสถานะจาก "พลเรือนหน้าจอ" มาเป็น "พลเมืองบนท้องถนน" เพื่อแสดงจุดยืน และพลังเสียงของตนภายใต้ชื่อ "กลุ่มคนเสื้อหลากสี"

ที่น่ายินดีคือ กลุ่มเสื้อหลากสีหลายคนยอมรับว่า ก่อนนี้ไม่ค่อยได้สนใจการเมืองนัก แต่หลังจากติดตามข่าวสารม็อบเสื้อแดง และแสดงออกการเมืองผ่านเฟซบุ๊กเป็นประจำ จึงตัดสินใจออกมาเคลื่อนไหวผ่านการชุมนุมเพื่อแสดงจุดยืนของตน

เช่นเดียวกับแอดมินของกลุ่ม "เชื่อมั่นว่าคนไทยเกิน 1 ล้านต้องการให้สลายการชุมนุม" ที่ต้องการออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับม็อบเสื้อแดงและสนับสนุนให้รัฐบาลสลายการชุมนุม และ "พายุ" ช่างผมหนุ่มวัย 27 ปี ผู้สร้างกลุ่ม "ร่วมปกป้องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของปวงชนชาวไทยดุจชีวาจะหาไม่" ที่มาชุมนุมเพราะอยากเห็นประเทศสงบสุขและเพื่อร่วมแสดงพลังปกป้องสถาบันสูงสุดที่เขารักยิ่ง

แม้ว่าปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในเฟซบุ๊กและทวีตภพที่ส่งแรงสะเทือนมาสู่สังคมครั้งนี้ อาจจะมีความน่าชื่นใจอยู่หลายประการ แต่ขณะเดียวกันก็มีสิ่งอันพึงระวังอย่างมาก

เพราะด้วยรูปแบบใหม่ในการสื่อสารด้านการข่าวของคนไทย ตัวกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารในสังคมเฟซบุ๊กและทวีตภพ เหลือเพียงสติปัญญาและวิจารณญาณของผู้ส่งกับผู้รับเท่านั้น ขณะเดียวกัน อีกสิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ การส่งข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กและทวีตภพอาจจะถูกส่งต่อและใช้ซ้ำไปซ้ำมาในทั้งในโลกออนไลน์และสื่อมวลชน ดังนั้นเมื่อข้อมูลเป็นยา ผู้รับก็ย่อมได้รับยา แต่ถ้าข้อมูลเป็นพิษก็จะมีผู้รับจำนวนมากจะถูกพิษไปด้วย

โดยเฉพาะอารมณ์เกลียดชัง ถ้าหากมีการส่งต่อและขยายตัวมากขึ้น ก็ย่อมจะนำไปสู่การสั่งสมและก่อตัวของความก้าวร้าวรุนแรงที่รอวันจะก้าวออก จาก "หน้าจอ" มาอยู่บน "ท้องถนน" เมื่อไรก็ได้ เช่นกัน

อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็นับได้ว่าเป็นพัฒนาการของการสื่อสาร ทางการเมืองของไทย เพราะเมื่อย้อนกลับไปเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2514 ครั้งนั้นประชาชนได้รับข่าวสารจากรัฐเพียงด้านเดียว ขณะที่ "พฤษภาทมิฬ" ประชาชนสื่อสารสองทางผ่านทางโทรศัพท์มือถือ มาถึงวันนี้ จะเห็นว่าโลกเฟซบุ๊กและทวีตภพทำให้ประชาชนเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ข้อมูล ข่าวสารเอง และยังสามารถสื่อสารตอบโต้ทางการเมืองได้เสมือนจริง ทว่า พัฒนาการของเครื่องมือสื่อสารทางการเมืองหาได้การันตีว่าสังคมไทยจะก้าวไป สู่สังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงไม่

เพราะตราบใดที่คนไทยใช้สื่ออย่างไร้ซึ่งสติปัญญาและสันติธรรม ไม่ว่าจะมีจำนวนกลุ่ม/เพจในเฟซบุ๊กมากแค่ไหน แต่ถ้ายังเป็นเพียงพื้นที่ที่เปิดกว้างเฉพาะคนที่มีความเห็นเดียวกันหรือเปิดให้คนที่คิดต่างเข้าร่วมแสดงความเห็น แต่ก็ไม่ได้เปิดใจฟัง คอยแต่จะนำข้อมูลหรือความเห็นมาหักล้างกัน ...เช่นนั้นก็คงไม่สามารถพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยได้อยู่ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us