Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553
ก่อนจะสิ้นชื่อ... “นครหลวงไทย” ยังมีเวลาสร้างความทรงจำ             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
โฮมเพจ ธนาคารธนชาต

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารธนชาต, บมจ.
Banking




เป็นที่แน่นอนแล้วว่าภายหลังกระบวนการเข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยของธนาคารธนชาตแล้วเสร็จ ในปี 2554 เมื่อนั้น ตำนาน "นครหลวงไทย" คงถึงเวลาปิดหน้าสุดท้ายด้วยอายุขัย 70 ปี

นับจากวันนี้ กล่าวได้ว่า ธนาคารนครหลวงไทยยังพอมีเวลาหายใจต่ออีกราวปีกว่า

นั่นก็หมายความว่า ธนาคารแห่งนี้จะได้ฉลองครบรอบปีที่ 69 ในเดือนพฤษภาคมนี้ และอาจพอมีเวลาได้ฉลองครบรอบ 7 ทศวรรษ เป็นวาระสุดท้าย

ธนาคารนครหลวงไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2484 โดยคณะ บุคคลของรัฐบาลร่วมกับสมาชิกในราชวงศ์ ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1,000,000 บาท

ช่วงวิกฤติทางการเงินครั้งใหญ่ของประเทศไทยในปี 2540 ธนาคารนครหลวง ไทยก็สามารถรอดพ้นการสิ้นชื่อมาได้อย่าง หวุดหวิด เมื่อกระทรวงการคลังและธนาคาร แห่งประเทศไทยมีมติให้แก้ไขปัญหาในระบบธนาคารพาณิชย์ยุคนั้น ด้วยการยุบธนาคารศรีนครเข้ารวมกับธนาคารนคร หลวงไทย ชื่อ "นครหลวงไทย" จึงยังหยัดยืนมาจนวันนี้

แต่ธนาคารนครหลวงไทยก็ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ธนาคารธนชาตเข้ามาซื้อกิจการ

ธนาคารธนชาตเป็นธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นหลักอยู่ 2 กลุ่มคือ บมจ.ทุนธนชาต ที่มีกลุ่มบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่มเจ้าของธุรกิจมาบุญครองเป็นผู้ถือ หุ้นหลัก ส่วนสโกเทียแบงก์ถือหุ้นในธนาคาร ธนชาตร้อยละ 48.99 โดยเริ่มเข้ามาถือหุ้น ตั้งแต่ปี 2550

ในวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ธนชาต ได้ชำระค่าหุ้นของนครหลวงไทยจำนวน 1,005.3 ล้านหุ้น หรือ 47.58% ของทุนจดทะเบียน ในราคาหุ้นละ 32.50 บาท คิดเป็น 32,673.2 ล้านบาท ให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเมื่อรวมกับหุ้นที่ถืออยู่เดิมอีก 19.3% กลุ่ม ธนชาตจึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไปโดยปริยาย ด้วยสัดส่วน 66.8%

"การควบรวมกิจการระหว่างกันจะใช้วิธีการโอนสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารนครหลวงไทยมารวมกับธนาคารธนชาต เมื่อเรียบร้อยแล้วจะเลิกกิจการธนาคารนครหลวงไทยและเอาหุ้นออกมาจากตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังจากนั้นจะเหลือ ธนาคารธนชาตธนาคารเดียว" บันเทิง ตันติวิวิท ประธานกรรมการธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กล่าว

จากที่นครหลวงไทยเคยมีสินทรัพย์ มากเป็นอันดับที่ 7 โดยธนชาตรั้งเป็นอันดับ 8 ภายหลังการควบรวมครั้งนี้ ทำให้ธนาคาร ธนชาตจะมีขนาดสินทรัพย์ราว 8 แสนล้าน บาท กลายเป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ด้วยจำนวนสาขารวมกัน 671 สาขา แต่ก็ยังทิ้งห่างจากอันดับ 4 ที่มีสาขามากกว่า 800 สาขา

หลังการชำระเงินเพื่อซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้ง 2 ธนาคารได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารนคร หลวงไทยชั่วคราวขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยตัวแทนจากนครหลวงไทย 7 คนและผู้บริหารจากธนชาต 6 คน ได้แก่ ปิยะพงศ์ อาจมังกร, นพดล เรืองจินดา, อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล, กฤษยาณี รัตนชัยชาญ, สนอง คุ้มนุช และอรรถวุฒิ แดนทอง ทั้งนี้เพื่อให้นโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อนการควบรวมกิจการ

ระหว่างรอการควบรวมกิจการแล้วเสร็จ ณ วันนี้อาจกล่าวว่า "SCIB Show Still Must Go On" โดยคณะกรรมการชุดชั่วคราวได้มอบหมายให้ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่ควบคุม "โชว์" นี้ต่อไปจนครบวาระราวกลางปีหน้า

"สำหรับปีนี้ทั้ง 2 ธนาคารต่างก็มีแผนธุรกิจชัดเจนอยู่แล้วก็ต้องดำเนินการให้บรรลุตามนั้น แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลง ได้ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่เห็นว่าสมควรเปลี่ยน แปลง"

ชัยวัฒน์กล่าวทีเล่นทีจริงว่า การแถลงข่าวครั้งนี้หนาวที่สุดในชีวิต ไม่ใช่เพราะหนาวใจจากการควบรวมกิจการ แต่เป็นอากาศหนาวเย็นราว 4-8 องศาของ กรุงโซล โดยเขาบินตามผู้บริหารระดับสูงและทัพนักข่าวมาเกาหลีใต้ทันทีที่เสร็จสิ้น การแถลงข่าวการชำระเงินซื้อหุ้น

ผู้บริหารนครหลวงไทยให้เหตุผลในการนำทีมนักข่าวร่วมครึ่งร้อยชีวิตไปแถลงข่าวไกลถึงแดนกิมจิว่า เพื่อให้นักข่าว สัมผัสกับโปรแกรมทัวร์ที่ลูกค้าเงินฝาก ผู้โชคดีจะได้รับ ซึ่งเป็น 1 ในหลากหลายแคมเปญดูดเงินฝาก เผลอๆ อาจได้ลูกค้า สินเชื่อบุคคลเพิ่มด้วย เพราะโปรแกรมนี้แน่นไปด้วยแหล่งชอปปิ้งขึ้นชื่อของเกาหลี

นอกจากเหตุผลข้างต้น Press Tour ครั้งนี้น่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่ผู้บริหารของนครหลวงไทยชุดนี้จะได้สร้าง ความทรงจำอันดีในต่างแดนกับสื่อมวลชนด้วยงบประชาสัมพันธ์แบรนด์ที่ยังมีให้ ใช้ได้

วิรัตน์ ธนทรงพล ในฐานะผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม 3 แถลงถึงแนวทางการดำเนินงานของธนาคารในปีนี้ว่า ธนาคารมีเป้าหมายเชิงรุก ได้แก่ การเน้นเพิ่มลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งด้านสินเชื่อและเงินฝาก

"ธนาคารมีแผนที่จะลดค่าเฉลี่ยอายุลูกค้าให้ลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 36-45 ปี จากปัจจุบันที่อยู่ระดับประมาณ 45 ปี ซึ่งจะช่วยให้เกิดการซื้อผลิตภัณฑ์ระหว่างบริษัทในเครือมากขึ้น โดยปัจจุบันมีอัตรา Cross selling อยู่ที่ 1.45% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำกว่าธนาคารอื่น" ศักดิ์ชัย ภิญโญวิทยาวงศ์ กล่าวในฐานะผู้จัดการฝ่าย อาวุโส ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์รายย่อย

เพื่อฉลองครบรอบ 69 ปี ในเดือน พฤษภาคมนี้ ธนาคารมีโปรโมชั่นกระตุ้นเงินฝากด้วยการแจกเหรียญครูบาดวงดีให้กับลูกค้า (ในจำนวนจำกัด) ขณะที่เดือน มิถุนายนก็จะมีโครงการระดมเงินฝากผ่านการออกตั๋วแลกเงิน

กิจกรรมทางด้านการตลาดของธนาคารนครหลวงไทยจะยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทว่าแผนธุรกิจในครึ่งปีหลังธนาคารต้องรอปรับแผนให้สอดรับกับธนาคารธนชาต

สำหรับเป้าหมายด้านสินเชื่อ ชัยนันท์ ลภิธนานุวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์ลูกค้ารายย่อย ตั้งเป้าเติบโต 6% ในปีนี้ โดยเน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อยและกลุ่ม SMEs ขณะที่สินเชื่อบุคคลตั้งเป้าเติบโต 8%

"ผมถือว่า นครหลวงไทยเป็นแบงก์ "เก๋ากลาง" เพราะมีขนาดกลางและมีอายุถึง 69 ปี ส่วนธนชาตเป็นแบงก์ "เก่งเล็ก" เพราะมีขนาดเล็กอายุแค่ 8 ปี แต่เติบโตรวดเร็ว เมื่อ 2 แบงก์มารวมกัน ผมอยากนิยามว่าเป็นแบงก์ "เก่งใหญ่ใหม่" แม้จะยังไม่ล้มแชมป์อันดับ 4 แต่ก็ไม่ตกชั้นพรีเมียร์ลีก" ชัยวัฒน์กล่าวเป็นการสิ้นสุดการแถลงข่าวครั้งนั้น

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ชื่อ "นครหลวงไทย" ที่มีมาเกือบ 70 ปี ต้องหายไปจากหัวใจของคนไทยในเวลาอันรวดเร็ว ว่าที่จอมทัพคนสุดท้ายของธนาคารนครหลวงไทยจึงทุ่มงบประชาสัมพันธ์อีกไม่น้อยเป็นค่าแต่งบ้านใหม่ให้กับหมีแพนด้า สวนสัตว์ จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นค่าจัดสร้าง "พระเศรษฐี นวโกฏ ธนาคารนครหลวงไทย" กว่า 5 หมื่นองค์เพื่อให้ประชาชนเช่าบูชา เป็นการทิ้งทวน

งานนี้ก็คงจะพอหวังผลได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะทั้งแพนด้าและพระเศรษฐีนวโกฏิล้วนอยู่ในกระแสความสนใจของคนไทยส่วนใหญ่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us