Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533
การต่อสู้ของราชาเครื่องจักรกล             
โดย ศิริเพ็ญ กระตุฤกษ์
 


   
search resources

Metal and Steel
เมโทรแมชีนเนอรี่ (เอ็มเอ็มซี)
ทองไทร บูรพชัยศรี




"คนเราต้องใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งสองสิ่ง คือ ความทุกข์กับความสุข ถ้าใช้ความทุกข์เสียก่อนและความสุขให้ภายหลังเหมือนการเรียนรู้ยากเสียก่อนและเรียนความง่ายภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าทุกข์มาพอควรแล้ว จะเพิ่มหรือลดก็รับได้" ปรัชญาชีวิตของทองไทร บูรพชัยศรีที่ได้จากการต่อสู้มรสุมทางธุรกิจถึง 6 ตลบจากสิ้นเนื้อประดาตัวจนกลายเป็นเจ้าของธุรกิจหลายพันล้านบาท ถึงแม้ว่าวันนี้ เขาจะกอบกู้สถานการณ์ของเมโทรแมชีนเนอรี่ จนเป็นผลสำเร็จ แต่ความพอใจไม่ได้อยู่ตรงจุดนี้เพราะก้าวต่อไปที่เขาฝันอยากจะเป็น คือการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ไม่ใช่เป็นเพียงเทรดดิ้งคัมปานีอย่าง ที่ผ่าน ๆ มา

ทองไทร บุรพชัยศรี ผู้กุมบังเหียนของเมโทรแมนชีนเนอรี่ (เอ็มเอ็มซี.) ได้ใช้เวลาในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งร้ายแรงที่สุดในชีวิตธุรกิจของเขาถึง 4 ปีเต็ม จนทำให้เมโทรแมชีนเนอรี่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านการขายเครื่องจักรกลหนักของประเทศไทยอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบันด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่สูงถึง 40%

เมโทรแมนชีนเนอรี่เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดเมื่อรัฐบาลไทยประกาศลดค่าเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐลงจาก 23 บาทเป็น 27 บาทในปลายปี 2527 สินค้าส่วนใหญ่ของบริษัทฯซึ่งซื้อด้วยเงินดอลลาร์เป็นหลักถูกกระทบกระเทือนอย่างหนัก กำไรสะสมตลอดระยะเวลา 8 ปีของการดำเนินงานกว่า 200 ล้านบาทหายไปในพริบตาเหลือแต่เงินทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาทนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้สิ้นปี 2527 เมโทรแมชีนเนอรี่ประสบกับตัวเลขการขาดทุนในงบการเงินเป็นครั้งแรกถึง 178.3 ล้านบาทและยังมีผลขาดทุนต่อเนื่องถึงปี 2528 อีก 2 ล้านบาท

รวมยอดขาดทุนสะสมสิ้นปี 2528 สูงถึงเกือบ 180 ล้านบาทขณะที่บริษัทมีเงินทุนเพียง 200 ล้านบาทนับว่าหมิ่นเหม่ต่อความมั่นคงมาก

ก่อนหน้านี้เมโทรแมชีนเนอรี่เคยเผชิญกับปัญหาเรื่องน้ำมันขึ้นราคาในปี 2522 และการลดค่าเงินบาทครั้งแรกในปี 2524 มาแล้ว

"สถานการณ์น้ำมันช่วงนั้นมีผลกระทบกับบริษัทฯเพียงแต่ยอดขายตกต่ำ และไม่มีกำไร เพราะลูกค้าที่จ่ายเงินปกติไม่สามารถจ่ายได้ เพราะต้นทุนสูงหนี้สินที่ติดกับแบงก์ยง ยังพูดให้แบงก์เข้าใจได้ ยังไม่อันตราย ส่วนการลดค่าเงินบาทในครั้งแรกก็ยังไม่มีผลกระทบมากนัเพียงแต่ยอดขายลดลงจาก 991 ล้านบาทในปี 2524 เหลือ 853 ล้านบาทในปี 2525 และกำไรลดลงจาก 13 ล้านบาทเหลือ 8.4 ล้านบาทเป็นการขาดทุนกำไรเท่านั้น แต่การปรับค่าเงินบาทครั้งหลังสุดนี่มันหมดเลย เศรษฐกิจหยุดยอดขายตกต่ำ ค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ แบงก์ก็เริ่มบีบลูกหนี้ก็ไม่ยอมจ่ายเงิน ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องเงินหมุนเวียนไม่มีเลยเป็นสิ่งที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนั้น" ทองไทรอธิบายถึงวิฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งอธิบายเพิ่มเติมว่า "ในขณะนั้น (ก่อนหน้าปี 2527ป เอ็มเอ็มซี. มีหนี้ทีกู้มา เพื่อซื้อสินค้าอยู่ประมาณ 1,200 ล้านบาทขณะที่มีเงินกองทุน (จากเงินทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาทบวกกับกำไรสะสมอีก 200 ล้านบาท) จำนวน 400 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อเงินกองทุนเท่ากับ 3:1 แต่หลังจากรัฐบาลประกาศ ลดค่าเงินบาททำให้เงินกำไรสะสมหายไป 200 ล้านบาทอัตราส่วนหนี้สินต่อเงินกองทุนจึงกลายเป็น 6:1 เมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันกาเรงินในต่างประเทศที่เป็นเจ้าหนี้เริ่มองแล้วว่าเอ็มเอ็มซี. กำลังจะแย่ก็จะขอถอนเงินคืน ทำให้สถานการณ์ช่วงนั้นยิ่งแย่หนักเข้าไปอีก"

การแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินขณะนั้นคือ การขายทรัพย์สินที่เกินความจำเป็นหรือไม่ก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนเช่นพวกที่ดินยานพาหนะ ว่ากันว่าช่วงนั้นทองไทรขายที่ดินออกไปมากพอสมควร (ประมาณร้อนกว่าล้าน) เพื่อนำเงินมาเป็นทุนหมุนเวียน นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายของบริษัทลงด้วยการลดคนงานอกจำนวนหนึ่งประมาณ 150 คนจากทั้งหมดที่มีอยู่ประมาณ 750 คนคนโดยการหาอสาสาสมัครซึ่งบริษัทจะจะจ่ายเงินสะสมให้จำนวนหนึ่งพร้อมกับจ่ายเงินชดเชยให้อีก 6 เดือนให้ความหวังในการรับกลับเข้าทำงานใหม่เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น พร้อมกันนี้ก็ได้ประกาศลดเบี้ยเลี้ยงพนักงานเดินทางลงถึง 40% เป็นการลดค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ลง

"ผมใช้เวลาพิจารณาเรื่องการปลดคนออกอยู่ถึง 6 เดือน ซึ่งสภาพจิตใจตอนนั้นมันแย่พอสมควรเพราะในสภาพที่เศรษฐกิจตกต่ำทุกคนก็ต้องการทำานแต่ต้องถูกปลดออก ผมทำอยู่ 6 เดือนก็หยุดปลดซึ่งจริง ๆ แล้วจะต้องปลดออกถึง 300 คน ผมลงไปอธิบายให้พนักงานทุกแผนกฟังว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นพยายามให้กำลังใจโดยให้สัตยาบันกับพนักงานทุกคนว่าถ้าบริษัทฯฟื้นกลับขึ้นมา เราจะคืนสิ่งที่หายไปกลับคืนให้" ทองไทรพูดถึงการแก้ปัญหาในช่วงนั้นด้วยสีหน้าที่บ่งบอกถึงความไม่สบายใจนัก

และบทเรียนจากการลดค่าเงินบาทในครั้งนี้ทำให้ทองไทรต้องหันมาพึ่งพิงแหล่งเงินกู้ภายในประเทศมากขึ้น

"การทำสัญญาซื้อขายสินค้าจากแคตเตอร์พิลล่าร์นั้นทางเอ็มเอ็มซี. ต้องจ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาร์และจ่ายสด ไม่ว่าสินค้าจะสั่งมาจากอเมริกาซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางถึงประเทศไทย 40 วันหรือสั่งจากญี่ปุ่นซึ่งใช้เวลาเดินทาง 25 วันก็ตาม นับจากวันที่สินค้าออกจากโรงงาน 17 วันทางเมโทรต้องจ่ายเงินให้กับทางแคตเตอร์พิลล่าร์ทันที นั่นคือข้อตกลงของทั้งสองฝ่ายที่มีมานานแล้ว เพราะฉะนั้นในส่วนหนี้สินของเอ็มเอ็มซี.ที่มีต่อบริษัทแคตเตอร์พิลล่าร์จึงไม่มกนักนอจกาในบางกรณีที่สินค้าเข้ามามากหรือเป็นกรณีพิเศษ ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากแคตเตอร์พิลล่าร์ในเรื่องเครดิตเป็นครั้งเป็นคราวไป" อนุกูล ศาสตวรรณ ผู้จัดการทั่วไปอธิบายให้ฟังถึงสถานะการเป็นคู่ค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์

ดังนั้นความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินจึงไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญากับแคตเตอร์พิลล่าร์โดยตรง แต่เกิดจากสัญญาเงินกู้ระหว่างเอ็มเอ็มซี.กับธนาคารเจ้าหนี้ในต่างประเทศเป็นหลัก

หลังจากการประกาศลดค่าเงินบาทผ่านพ้นไปเพียงปีเศษ สภาพคล่องทางการเงินก็เริ่มดีขึ้นเมื่อยอดขายกระเตื้องขึ้นเนื่องจากนโยบายในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลมีมากขึ้น งบประมาณที่ใช้ก็มากขึ้นอย่างเช่นการสร้างถนน หรือการเกิดครงการอีสเทิร์น ซีบอร์ด ซึ่งทั้งหมดล้วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเมโทรแมชีนเนอรี่ทั้งสิ้น

จากยอดขายในปี 2529 จำนวน 740 ล้านบาทบริษัทฯมีกำไร 7 ล้านบาทต่อมาในปี 2530 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1,003 ล้านบาทในขณะที่กำไรเพิ่มขึ้นเป็น 58 ล้านบาท ในปี 2531 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 1,588 ล้านบาทมีกำไร 96 ล้านบาท และเมื่อปีที่แล้วยอดขายได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,598 ล้านบาททำให้บริษัทฯมีกำไรสุทธิถึง 136 ล้านบาทซึ่งเมื่อรวมกับกำไรสะสมในปีที่ผ่านมารวมเป็นเงินจำนวน 296 ล้านบาท

และในปี 2533 นี้จากการประมาณการของฝ่ายการบริหารของเมโทรแมชีนเนอรี่คาดว่ายอดขายจะสูงถึง 4,000 ล้านบาทและจะมีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 270 ล้านบาท

จากยอดการขายโดยรวมทั้งหมดใน 100 ส่วนของเมโทรเมนชีนเนอรี่สามารถแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ดังนี้คือยอดขายส่วนหนึ่งที่มาจากเครื่องจักรซึ่งได้แก่ รถแทรกเตอร์, รถขุด, รถตัก, รถเกรด ฯลฯ จะอยู่ในราว 65% ในขณะที่ยอดขายจากเครื่องยนต์เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล. เครื่องยนต์เรือ, เครื่องยนต์แก๊สธรรมชาติจะประมาณ 13% ที่เหลือจะเป็นยอดขายจากอะไหล่ประมาณ 20% และบริการอีก 2%

เพียงชั่วเวลา 4 ปีจากปี 2528 บริษัทเมโทรแมชีนเนอรี่สามารถพลิกฟื้นจากการขาดทุนต่อเนื่องแทบล้มทั้งยืนมาเป็นกำไรและมีกำไรสะสมสูงถึงเกือบ 300 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2532 และคงจะเพิ่งสูงขึ้นไปกว่า 500 ล้านบาทในสิ้นปีนี้

การพลิกฟื้นของเมโทรแมชีนเนอรี่หากพิจารณาจากพื้นฐานของธุรกิจแล้วปัจจัยหลักทีเอื้อำนวยให้คือสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาประเทศซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลหนักเป็นหลัก

โดยปกติแล้วตลาดสินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์ในประเทศไทยจะถูกกำหนดโดยตลาดของภาคเอกชนจากยอดขายที่สูงถึง 95-96% ส่วนยอดขายที่เหลือจะเป็นตลาดของหน่วยงานราชการเพียง 4-5% ด้วยเหตุผลทางด้านราคาซึ่งสินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์จะสูงกว่าของคู่แข่งในตลาดประมาณ 8-10% และบางประเภทอาจสูงกว่า 20% ดังนั้นเครื่องจักรของแคตฯมักจะเสียเปรียบในการประมูลงานของหน่วยงานราชการเสมอด้วยสเป็กสินค้าที่เหมือนกันแต่ผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ทีได้ไป

มีบ้างเหมือนกันที่เอ็มเอ็มซี.สามารถประมูลในลักษณะเป็นร้อยคันมูลค่ากว่าร้อยล้านบาทจากหน่วยงานราชการได้ อย่างเช่น ในปี 2524 และปี 2526 ทำให้จำนวนยอดขายเครื่องจักรกลหนักของบริษัทฯสูงขึ้นกว่ายอดขายตามปกติ เช่นเดียวกับในปีนี้ที่ทางเอ็มเอ็มซี.สามารถประมูลงานของหน่วยงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ได้จำนวน 100 คันมูลค่าประมาณ 200 ล้านบาทซึ่งจะมีการส่งมอบสินค้ากันในปีหน้าและจะส่งผลถึงยอดขายในปีเดียวกันด้วย

ในตลาดปกติคำว่าล็อตใหญ่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ตลาดคือ หนึ่งตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่อย่างเช่นโรงปูนกลุ่มนี้จะซื้อครั้งหนึ่งมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท และสองตลาดภาคเอกชนธรรมดาการซื้อล้อตละ 20 ล้านบาทก็ถือว่าเป็นล็อตใหญ่ แต่มีลูกค้าใหญ่บางรายที่ซื้อไปทำสนามกอล์ฟมีมูลค่าถึง 40 ล้านาบาท หรืออย่างเช่นการซื้อไปทำสวนป่าซึ่งมีมูลค่าถึง 50 ล้านบาท

ดังนั้นการได้มาซึ่งงานประมูลของหน่วยงานราชการในลักษณะล็อตใหญ่ที่มีมูลค่าหลายร้อยล้านบาทจึงเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาและนาน ๆ จะมีสักครั้งหนึ่ง

อนุกูล ศาตวรรณ ผู้จัดการทั่วไปเอ็มเอ็มซี.อธิบายถึงการได้มาของงานล็อตใหญ่จากหน่วยงานราชการว่า "นั่นหมายถึงการยอมขาดทุนของบริษัทแม่แคตเตอร์พิลล่าร์ในล็อตนั้นเพื่อให้ราคาสามารถสู้กับคู่แข่งในการประมูลครั้งนั้นได้ ขณะที่การของเมโทรแมชีนเนอรี่จะเท่ากับศูนย์ เรียกได้ว่าเป็นการต่อสู้ของบริษัทแม่เพื่อช่วงชิงตลาดในเมืองไทยโดยการร้องขอจากเมโทร เนื่องจากเห็นว่าลูกค้ารายนี้ชื่อเสียงดีจะเป็นตัวอย่างของหน่วยงานภาคเอกชนได้ดี"

การที่บริษัทแม่แคตเตอร์พิลล่าร์ยอมขาดทุนหรือยอมสู้ให้กับเมโทรแมชีนเนอรี่นั่นหมายความถึงการหวังผลทางธุรกิจในวันข้างหน้า ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ตลาดระยะยาวไปประเทศไทยเป็นของแคตฯ และในส่วนของเมโทรเองก็หวังที่จะได้ขายอะไหล่ในอีก 2 ปีข้างหน้าเมื่อเครื่องจักรถึงคราวต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ ซึ่งในส่วนนี้ก็หวังไว้เพียง 70% เท่านั้นเนื่องจากหน่วยงานราชการบางหน่วยเปิดให้มีการประมูลอะไหล่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดการต่อสู้กันขึ้นระหว่างอะไหล่แท้ของแคตฯกับอะไหล่เทียมจากออสเตรีเลียหรืออิตาลีซึ่งทำขึ้นมาให้ใช้กับเครื่องของแคตฯไดและมีราคาถูกกว่า ถึงแม้ว่าเครื่องจักรจะเป็นของแคตฯก็ตามแต่ขึ้นอยู่กับว่าหน่วยงานนั้นจะลเอกใช้อะไหล่ของใคร ดังนั้นโอกาสที่เมโทรจะพลาดการขายอะไหล่ในอีก 2 ปีข้างหน้าก็มีทางเป็นไปได้ ซึ่งก็เท่ากับว่าที่เมโทรร่วมกับแคตฯทำมาทั้งเป็นอันว่าหมดกันไป

อีกสิ่งหนึ่งที่เมโทรได้คือการใช้เป็นตัวอย่างและหลักฐานอ้างอิงสำหรับการขายให้กับหน่วยงานภาคเอกชนต่อไป

ดังนั้นการต่อสู้ของเอ็มเอ็มซี. ในตลาดที่ผ่านมาจึงค่อนข้างจะเข้มข้นเพราะจะต้องเจอกับคู่แข่งในตลาดอีก 6 รายคือ KOMU ที่มีบางกอกมอเตอร์เวิร์คเป็น ตัวแทนจำหน่ายและมีส่วนแบ่งตลาดรองลงมาคือ 25% ที่เหลือมียี่ห้อ KOBELCO ของอริยะอีควิปเม้นท์. HITASHI ของแพนซัพพลาย. SUMITOMO ของกรุงไทยแทรดเตอร์, KATO ของพรชัยอีควิปเม้นท์และ DAEWOO ของค่ายเมโทรเอ็นยิเนียริง ซึ่งทุกค่ายมักจะใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมือน ๆ กันคือการวิ่งเข้าหากลูกค้าโดยตรง

แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เอ็มเอ็มซี.ถือเป็นจุดยืนที่สำคัญในการขายและทำให้สินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์กลายเป็นผู้นำในตลาดคือการให้บริการหลังการขายรวมถึงความพร้อมในเรื่องของอะไหล่

การที่เอ็มเอ็มซี. กระจายสาขาที่เรียกว่าศูนย์ฯออกไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศถึง 24 แห่งในปัจจุบันเพื่อเป้นการรองรับการให้บริการแก่ลูกค้าของแคตฯอย่างทั่วถึงซึ่งศูนย์ฯแต่ละแห่งจะทำหน้าที่ตั้งแต่การขาย การบริการ หลังการขายรวมถึงเป็นคลังอะไหล่ ในตัวซึ่งจะมีอะไหล่บริการอยู่ ประมาณ 3-5 พันรายการต่อหนึ่งศูนย์ฯในขณะที่คลังอะไหล่ของบริษัทฯในกรุงเทพมีถึง 4 หมื่นรายการมูลค่ากว่า 350 ล้านบาทและในกรณีที่หาอะไหล่ชิ้นนั้นไม่ได้ในประเทศไทยก็ยังมีคลังอะไหล่ใหญ่ที่สิงคโปร์เพื่อป้อนให้กับ 14 ประเทศทั่วเอเยนอีกว่า 1 แสนรายการและจะจัดส่งให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

ความพร้อมในจุดนี้คือความแข็งแกร่งที่สนับสนุนการขายของแคตเตอร์พิลล่าร์ให้เหนือกว่าคู่แข่ง

เมื่อการจัดระบบการบริหารภายในบริษัทนเป็นไปอย่างเหมาะสมประกอบกับสภาพเศรษฐกิจเอื้ออำนวย รวมทั้งชื่อเสียงในสินค้าของแคตเตอร์พิลล่าร์เป็นที่รู้จักดีในตลาดเมืองไทย ทำให้วิกฤตการณ์ของเมโทรแมชีนเนอรี่ในครั้งนั้นผ่านพ้นมาได้เป็นอย่างดี

ทองไทร บูรพชัยศรี เกิดจากครอบครัวคนจีนโนทะเลที่อพยพมาตั้งรากรากทำมาหากินในประเทศไทย เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2477 ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 5 คน

ทองไทรจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรีใช้เวลาเรียนอยู่ 3 ปีครึ่ง หลังจากนั้นได้เรียนหนังสือจีนควบคู่กันไปด้วยจนจบหลักสูตรมัธยมศึกษาระหว่างปี 2485-2492

เนื่องจากเกิดในครอบครัวที่ยากจนค่อนข้างมากในระหว่างที่เรียนก็ต้องช่วยพ่อแม่ขายของและเลี้ยงดูน้อง ๆ เพราะเป็นพี่ชายคนโต จากปัญหาความยากจนบวกกับความทะเยอทะยานที่จะต่อสู้ชีวิต รวมทั้งมีความคิดที่จะยกระดับฐานะของตนเองให้ได้ จึงตัดสินใจเดินทางเกาะท้ายรถบรรทุกเข้าผจญภัยในเมืองหลวงเมื่ออายุ 16 ปี โดยขออาศัยอยู่กับครูที่เคยสอนด้วยการทำงานบ้านเป็นการตอบแทน

และชีวิตธุรกิจก็เริ่มต้นตั้งแต่นั้นมาจากปี 2493 เป็นช่างเรียนพิมพ์วรจักรการพิมพ์ ได้รับค่าจ้างวันละ 1 บาททำอยู่ 1 ปีก็ไปเป็นลูกจ้างโรงงานทำน็อตสกรูที่ตลาดน้อยเพียงปีเดียวก็หันไปเป็นช่างซ่อมรถที่ยานนาวา เนื่องจากดูแล้วว่าอาชีพทำน็อตสกูรไม่มีความก้าวหน้า

ในปี 2498-2503 ได้เปลี่ยนอาชีพไปเป็นช่างซ่อมเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เวิ้งนาคารเขษมรวมเวลาประมาณ 5 ปีจนสามารถเป็นช่างมือหนึ่งในการทำหม้อแปลงจาก 220 โวลท์เป็น 110 โวลท์ หลังจากนั้นไปเป็นพนักงานขายเครื่องสำอางที่บางลำภูอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงตัดสินใจอำลาชีวิตลูกจ้างเข้าสู่การเป็นเจ้าของกิจการอย่างเต็มตัว

ในช่วงนี้เองที่ชีวิตการต่อสู้ได้เริ่มต้นอย่างแท้จริงเริ่มด้วยการรวบรวมเงินที่เก็บหอมรอบริบไว้ทั้งหมดมาร่วมทุนกบเพื่อนอีกสองคนซื้อรถบรรทุกเล็กมารับซื้อผลไม้ ส่งน้ำอัดลมและสินค้าอื่นๆ เป็นเวลา 2 ปีจึงขายรถบรรทุกหันมาลงทุนซื้อเครื่องกลึงและเตาหลอมที่บางขุนเทียนเป็นเวลาเกือบ 2 ปีและเริ่มใช้ชีวิตการทำงานหนักวันละ 20 ชั่วโมงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เนื่องจากขาดประสบการณ์และเทคนิคในการประกอบสินค้าทำให้สินค้าขายไม่ได้ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักและเป็นหนี้ สิ้นเนื้อประดาตัวเป็นครั้งแรกในชีวิตเป็นเงินในสมัยนั้นถึง 40,000 บาทหลังจากขายทรัพย์สินหมดแล้วในขณะที่ชีวิตเริ่มเข้าวัย 26 ปี

ในปี 2506 สามารถกู้ยืมเงินมาลงทุนซื้อสามล้อเครื่องมูลค่า 50,000 บาท โดยใช้วิธีกู้เงิน 40,000 บาทและขึ้นแชร์อีก 10 มือๆ ละ 1,000 บาทมาทำธุรกิจให้เช่ารถสามล้อเครื่องโดยใช้สถานที่ที่ยศเสเป็นแหล่งดำเนินการ และใช้เวลาหาเงินพิเศษขับรถสามล้อเครื่องในเวลากลางคืนหรือวันที่ไม่มีคนเช่ารถจากความพยามดังกล่าวทำให้เรียนรู้ทำมาหากินการก้ไขปัญหา การซ่อมรถและอื่น ๆ ธุรกิจดำเนินไปด้วยดีจนสามารถขยายรถให้เช่าได้ประมาณ 100 คันชีวิตธุรกิจในช่วงนั้นดูเหมือนเริ่มจะมีอนาคตที่ดีขึ้น

สถานการณ์แปรผันเป็นครั้งที่สอง เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์สั่งยกเลิกสามล้อเครื่องทำให้ราคารถที่มีอยู่กลายเป็นเศษเหล็ก ผลคือขาดทุนย่อยยับเป็นครั้งที่สอง แต่ด้วยความวิริยะอุตสหะบวกกับความตั้งใจในการที่จะเอาชนะโชคชะตาให้ได้ทองไทรใช้เวลาในช่วงที่ไม่รู้จะทำอะไรนั้นตระเวนออกต่างจังหวัดเพื่อหาลู่ทางทำธุรกิจใหม่ วันหนึ่งผ่านไปที่แปดริ้ว ฉะเชิงเทราเห็นเรือหางยาวกำลังฮิตมากจอดรอเครื่องยนต์เก่าจากญี่ปุ่นซึ่งช่วงนั้นไม่มีของขาย

ทองไทรจึงได้จังหวะวิ่งเต้นกู้หนี้ยืมสินอีกครั้งหนึ่งได้เงินมา 70,000 บาทร่วมกับเพื่อนอีก 3 คนรวมเงินลงทุน 280,000 บาทตั้งบริษัทไทยแลนด์มอเตอร์เวอร์ค ขึ้นโดยสั่งเครื่องยนต์ใช้แล้วจากญี่ปุ่นเข้ามาขายยี่ห้อแรกคืออีซูซุทำอยู่ 2 ปีธุรกิจไปได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากแหล่งสินค้ามีน้อยและผู้ขายมีมากจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพจากการขายเครื่องยนต์ใช้แล้วมาเป็นขายรถบรรทุกใช้แล้วจากญีปุ่นซึ่งประสบความสำเร็จได้ด้วยดี

แต่ดูเหมือนโชคจะไม่ช่วยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจรเป็นนายนกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่งห้ามนำเข้ารถบรรทุกใช้แล้วจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ

หลังจากที่เตะฝุ่นอยู่พักหนึ่งทองไทรเกิดความคิดที่จะไปหาช่องทางการทำมาหากินจากต่างประเทศดูบ้าง จึงเดินทางไปญี่ปุ่น และที่นี่เองที่ทองไทรได้พบว่าการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรกลมาพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเครื่องทุ่นแรงจำนวนมาก เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ต้องพัฒนาอีกมาในเรื่องการทำถนน และอื่น ๆ จึงได้สั่งเครื่องจักรกลหนักใช้แล้วเข้ามาครั้งแรกในปี 2510 ปรากฏว่าในระยะแรกประสบกับการขาดทุนแบบยับเยิน เงินทุนหมุนเวียนเริ่มมีปัญหาแต่ก็กัดฟันสู้เพราะมีความเชื่อมั่นว่าตลาดนี้ในอนาคตจะดีมาก

จึงได้เปลี่ยนแผนมานำเข้ารถแทรคเตอร์ใช้แล้วที่มีสภาพดีเข้ามาจำหน่ายแทนที่จะมาซ่อมเองซึ่งก็เห็นผลทันตา จึงได้ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดเมโทรมอเตอร์เวอร์คขึ้นในปี 2512 หลังจากที่ทองไทรถอนตัวจากไทยแลนด์มอเตอร์เวอร์คแล้ว และเป็นครั้งแรกที่ได้รวบรวมกลุ่มพี่น้องเข้ามาบริหารงานหลังจากนั้น เมโทรมอเตอร์เวอร์กลายเป็นยักษ์ใหญ่ผู้บุกเบกรถแทรคเตอร์ใช้แล้วเป็นรายแรกและมีส่วนแบ่งการตลาดรถแทรคเตอร์ใช้แล้วมากที่สุดในระยะปี 2513-2519

ต้นปี 2519 ในระหว่างที่เมโทรมอเตอร์เวอร์คกำลังรุ่งโรจน์อยู่ในธุรกิจเครื่องจักรกลหนักใช้แล้วเป็นช่วงเดียวกับที่บริษัท แคตเตอร์พิลล่าร์ของสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะเปลี่ยนตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์แคตเตอร์พิลล่าร์ในประเทศไทยจากบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เอนยิเนียริ่ง (ไออีซี) ของตระกูลกาญจนจารีซึ่งเป็นผู้บุกเบิกตลาดของแคตเตอร์พิลล่าร์ในประเทศไทยมากกว่า 40 ปีแล้ว

เมื่อแคตเตอร์พิลล่าร์ประกาศคัดเลือกคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตัวแทน ทองไทรซึ่งเชื่อมั่นในประสบการณ์ในเรื่องรถเก่าที่ผ่านมาของตน รวมทั้งได้รู้ตลาดเครื่องจักในประเทศไทยเป็นอย่างดีและการได้รู้ได้เห็นตลาดของแคตฯในต่างประเทศว่าเขาเป็นอย่างไร ประกอบกับพิจารณาความสามารถองผู้บริหารที่อยู่ รวมถึงเงินลงทุนและการสนับสนุนของสถาบันการเงินจึงได้จดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ขึ้นโดยใช้ชื่อบริษัท เมโทรแมชีเนอรี่ จำกัดด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท และได้เสนอตัวขอเข้าเป็นตัวแทนในครั้งนั้นถึงกว่า 50 บริษัท

จากผลการคัดเลือกแบบละเอียดถี่ถ้วนของแคตเตอร์พิลล่าร์ โดยคัดจาก 50 รายเหลือ 20 ราย, 10 ราย, 5 ราย, 2 รายและในที่สุดบริษัท เมโทรแมชีนเนอรี่ จำกัดก็ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของแคตฯแต่ผู้เดียวในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2520 เป็นต้นมา

และหลังจากที่ได้เป็นตัวแทนของแคตฯเพียงหนึ่งเดือนผ่านมาเมโทรแมนชีนเนอรี่ก้ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 10 ล้านเป็น 200 ล้านบาท และมีการเพิ่มทุนอีกครั้งในปลายปี 2532 เป็น 300 ล้านบาท

"ธุรกิจของเราเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อใช้สร้างผลผลิตออกมา ไม่ใช่ซือ้ไปใช้โก้เก๋เหมือรถยนตืและธุรกิจนี้ก็เป็นแบบให้ก่อนผ่อนทีลหังคือลงทุนให้ลูกค้าก่อนซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้วงเงินมาก โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ซื้อมาจากเมืองนอกต้องใช้เงินสด ต้องอาศัยเครดิตจากแบงก์เพราะเราเป็นบริษัทเทรดดิ้งที่ซื้อมาขายไป เมื่อซื้อมาแล้วก็ให้ลูกค้า ผ่อนซึ่งจำเป็นที่จะต้องกู้เงินแบงก์มาลงทุนให้กับลูกค้า แล้วเก็บดอกเบี้ยจากลูกค้าเป็นเงินผ่อนจ่ายแบงกืหมุนเวียนอยู่อย่างนี้" ทองไทร อธิบายถึงธุรกิจที่เขาทำอยู่

ดังนั้นธุรกิจของทองไทรจึงต้องเกี่ยวพันกับเงินตราทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะเงินสกุลดอลลาร์อย่างหลักเลี่ยงไม่ได้

ถึงแม้ว่าสินค้าที่สั่งซื้อเข้ามาจะมาจากหลายประเทศก็ตามแต่การชำระเงินยังคงใช้เฉพาะเงินดอลลาร์เท่านั้น

เมโทรแมนชีนเนอรี่กู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศตั้งแต่เริ่มเป็นตัวแทนของแคตฯและกู้มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันอัตราส่วนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศอยู่ระหว่าง 50:50

ซึ่งทองไทรอธิบายว่าอัตราส่วนการกู้ในประเทศกับต่างประเทศขึ้นอยู่กับโอกาสและจังหวะของภาวะเงินบาทเป็นอย่างไร ถ้าภาวะเงินบาทค่อนข้างอ่อนมาก ๆก็จะใช้เงินบาทในนี้แต่ถ้าเงินบาทแข็งและค่อนข้างมั่นคงก็จะใช้เงินตราต่างประเทศแทน เวลานี้ (ประมาณสิ้นกันยายน) เฉพาะเมโทรแมนชีนเนอรี่มีหนี้อยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท ในขณะที่มีลูกหนี้การค้าอยู่ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท

"โดยปกติแล้วลูกค้าของเอ็มเอ็มซี.จะเป็นลูกค้าเงินผ่อนถึง 90% อีก 10% ที่เหลือเป็นลูกค้าที่ซื้อเงินสด และในจำนวนลูกค้าทั้งหมด 70% เป็นลูกค้าที่อยู่ในวงการก่อสร้างส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าอื่น ๆ ระบบการผ่อนนั้นลูกค้าสามารถผ่อนโดยตรงกับเอ็มเอ็มซี.หรือผ่อนกับสถาบันการเงินก็ได้โดยบริษัทฯเป็นผู้ค้ำประกันให้ และมีระยะเวลาการผ่อนเฉลี่ย 18-24 เดือน" เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของเอ็มเอ็มซี.ชี้แจงเพิ่มเติม

เมื่อพิจารณาจากงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2532 ปรากฏว่ามียอดหนี้รวม 1948 ล้านแบ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากเงินกู้ยืมระยะสั้นและเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและหนี้สินหมุนเวียนอื่นจำนวน 1,580 ล้านบาทในขณะที่เงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 368 ล้านบาทซึ่งผ่านสถาบันการเงิน 5 แห่งคือธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ, ธนาคารซิคิวริตี้ แปซิฟิค เอเชี่ยน. CANAGDIAN IMPERIAL BANK OF COMMERCE, FIRST PACIFIC BANK และ CREDIT LYONNAIS โดยกู้ผ่านธนาคารสาขาที่ฮ่องกงและสิงคโปร์ ในอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

เมื่อธุรกิจที่ทำอยู่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากธนาคารในวงเงินที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับธุรกิจการค้าเครื่องจักรกลหนักจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ในการเก็บสต็อกสินค้า รวมถึงอะไหล่ค่อนข้างมาก จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทองไทรตองหาซื้อที่ดินเก็บไว้ และจากผลพวงนี้เองที่ทำให้ทองไทรมีทรัพย์สินที่เป็นส่วนของที่ดินค่อนข้างมาก

จากคำบอกเล่าของทองไทรเกี่ยวกับที่ดินที่มีอยู่เวลานี้มีในเขตกรุงเทพฯที่ถนนบางนาตนราดกม. 3 จำนวน 17 ไร่, บางนาตราดกม. 7 จำนวน 17 ไร่,อุดมสุข 18 ไร่และที่สำนักงานใหญ่ขอเมโทรแมชีนเนอรี่อีก16 ไร่ ส่วนในต่างจังหวัดมีอยู่ด้วยกันหลายแห่งคือที่ภูเก็ต, สุราษฎร์ฯ, หาดใหญ่, เชียงใหม่, ขอนแก่น, อุบลฯ, โคราช, จันทบุรี, ชลบุรี, อุดรนและพิษณุโลก ซึ่งที่ดินเหล่านี้เป็นที่ดินที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาส่วนมากจะไว้เครื่องจักรของบริษัทฯ

นอกจากนี้มีที่ดนิบางแห่งที่ได้เริ่มโครงการไปบ้างแล้งและบางส่วนก็มีโครงการที่จะทำอต่อไปอย่างเช่นคอนโดมิเนียมที่หาดจอมเทียนสูง 42 ชั้น มี ห้องพักจำนวน 600 ห้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท,ที่ดินที่มาบตาพุดติดริมถนนสาย 36 จำนวน 370 ไร่ได้วางแผนที่จะสร้างเป็นโรงงานสร้างตู้คอนเทนเนอร์โดยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท, ที่ดินแถนบ้านค่ายห้างจากตัวเมืองระยอง 30 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 2,100 ไร่เตรียมสนามกอล์ฟ และที่ดินบริเวณห่างจากแหลมฉบัง 7 กิโลเมตรจำนวน 300 ไร่ซึ่งใช้เป็นโกดังเก็บสินค้า

ที่ดินอีกแห่งหนึ่งบนถนนบางนาตราดกม. 20 ในเนื้อที่ทั้งหมด 180 ไร่ซึ่งปัจจุบันได้ลงทุนสร้างเป็นโรงงานถึง 4 โรงในเนื้อที่ 50 ไร่ โดยใช้เงินลงทุนเฉพาะโครงสร้างประมาณ 100 ล้านบาท และเริ่มสร้างมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ได้เริ่มประกอบรถเครน และเป็นโรงงานซ่อมเครื่องจักรไปแล้วหนึ่งโรง อีกหนึ่งโรงจะทำเป็นโรงงานชุบโครเมียม และอีกสองโรงที่เหลือเพื่อเตรียมรับกับโครงการที่จะขยายต่อไปในอนาคต

ที่ผ่านมามีคนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าการบริหารงานของเมโทรแมชีนเนอรี่อยู่ในมือของตระกูลบูรพชัยศรีซึ่งนำโดยทองไทร บูรพชัยศรีพี่ชายคนโต ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากรายชื่อผู้ถือหุ้นก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะหุ้นเกือบ 100% เป็นของคนตระกูลนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วทองไทรยืนยันว่าพี่น้องหรือครอบครัว เข้ามามีส่วนในการบริหารงานในยุคเริ่มแรกเท่านั้น ต่อเมื่อกิจการขยายตัวออกไปบริษัทฯก็หันมาใช้มืออาชีพในการบริหงานทั้งหมด

"พี่นอ้งหรือครอบครัวที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารงานของบริษัทฯมีเพียงคนเดียวคือไพรัช บูรพชัยศรี ในตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการใหญ่นอกนั้นเป็นมืออาชีพที่ส่วนหนึ่งไต่เต้าขึ้นมาจากการเป็นพนักงานของบริษัทและอีกส่วนหนึ่งได้มาจากคนข้างนอก ผมให้ความสำคัญกับมืออาชีพมาก คนที่จะขึ้นมาที่นี่ต้องไต่เต้าขึ้นค้นมา การบิหารแบบคอรบครัวมักจะเกิดการแย่งชิงสมบัตกันเมื่อเราเป็นอะไรไปไมเหมือนกับมืออาชีพซึ่งเขายังต้องดำเนินงานต่อไปใหดี้ถึงแม้ไม่มรีเรา ถ้าเขาทำไม่ดีชามข้าวเขาก็ต้องหายไปเหมือนกัน"

ที่จริงทองไทรมีน้องชายอีกคนหนึ่งคือเอกชัย บูรพชัยศรี ซึ่งช่วยกิจการของเมโทรแมชีนเนอรี่มากตั้งแต่สมัยเริ่มแรกในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป แต่ต่อมาในปี 2527 ได้ขอแยกตัวออกมาตั้งบริษัทของตัวเองโดยใช้ชื่อเมโทรเอ็นยิเนียริงขายเครื่องจักรกลเก่าของญี่ปุ่นพร้อมทั้งผลิตภัณฑ์รถอัด DYNAPAC โดยที่กิจการของทั้งสองบริษัทไม่เกี่ยวข้องกัน

การเป็นนักคิด นักปฏิบัติ นักติดตามผล พร้อมมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาทำให้ทองไทรกลายเป็นนักบริหารที่หลายต่อหลายคนยอมรับในฝีไม้ลายมือ

กับบริษัทในเครือข่ายมากกว่า 30 บริษัทในปัจจุบัน ทองไทรมองว่าเขาจำเป็นที่จะต้องทดสอบธุรกิจที่เขาจะลงทุนทำต่อไปด้วยการตั้งบริษัทใหม่ขั้นมาแล้วมอบหมายให้แต่ละคนรับผิดชอบ เพื่อจะดูว่ากิจการนั้นเป็นอย่างไร มีผลกำไรหรือขาดทุนมีค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง ซึ่งวิธีนี้จะชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัดและถ้าหากกิจการไหนไปได้ดีก็จะมีการรวมธุรกิจขึ้นเป็นการเริ่มจากเล็กมาหาใหญ่ แต่มีบางบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อที่ดินทำโครงการหนึ่งแล้วก็จบกันไป

เช่นเดียวกับการนำกิจการในเครือข่ายที่มีอยู่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนนั้น เขากลับมองตรงข้าม เพราะไม่แน่ใจในสถานการณ์ปัจจุบันว่าคนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มีความเข้าใจวิธีการลงทุนอย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงปัจจุบนนั้นเป็นเรื่องของการลงุทนจริงหรอืไม่ และไม่มั่นใจนักว่ามือาชีพของบริษัทฯจะบริหารงานได้ดีพอหรือไม่เพราะถ้าบริหารไม่ดีเท่ากับเป็นการโยนความรับผิดชอบให้กับประชาชน เขาจึงยังไม่คิดเรื่องนี้มากนัก

และสำหรับเมโทรแมชีนเนอรี่ซึ่งขายผลิตภัณฑ์ของแคตฯดูเหมือนจะเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจเรียได้ว่าเป็นข้อบังคับของแคตฯในทุกประเทศเลยก้ได้เพราะด้วยเหตุผลที่ว่าการเป็นบริษัทมหาชนทำให้การบริหารงานค่อนข้างช้าต้องเป็นไปตามขั้นตอน และอีกประการหนึ่งเป็นการป้องกันเจ้าของกิจการฉวยโอกาสนำหุ้นไปขายให้กับหุ้นอื่นเมื่อหุ้นมีราคาดี เป็นการสร้างความไม่มันใจให้กับตลาดของแคตฯในอนาคต

แต่กับการขยายเครือข่ายของบริษัททองไทรได้กำเนิดทิศทางไว้อย่างแน่วแน่นั่นก็คือธุรกิจที่ทำต้องเป็นธุรกิจที่ต่อเนื่องและโยงสายใยถึงกันและกันต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนปาระเทศ และต้องเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับเหล็กที่ยิ่งทุบยิ่งแกร่งด้วย

บริษัท เมโทรแทรคเตอร์ จำกัดที่เปรียบเสมือนดีพาร์ทเมนท์สโตร์เครื่องจักรกลและรถเกาใช้แล้วก็เป็นกิจการหนึ่งที่ทำควบคู้ไปด้วยกันหลังจากทีเมโทรแมชีนเนอรี่ ได้ผลิตภัณฑ์ของแคตฯมาแล้วโดยข้อตกลนั้นเมโทรแมชีนเนอรี่จะต้องขายสินค้าขอแงคตฯเพียงยี่ห้อเดียวยกเว้นในกรณีที่สินค้าบางอย่างที่ทางแคตฯไม่ได้ทำขึ้นมาขาย ทางบริษัทฯก็สามารถนำมาขายได้ ดังนั้นทางออกของทองไทรสำหรับตลาดเครื่องจักรกลเก่าใช้แล้วคือการตั้งบริษัทเมโทรแทรคเตอร์ขึ้นในปี 2523 โดยยุบห้างหุ้นส่วนจำกัดเมโทรมอเตอร์เวิร์คเดิมลง

"มีตลาดของผู้ใช้อยู่ส่วนหนึ่งที่ยังต้องการเครื่องจักรเก่ามาใช้งาน ส่วนมากเป็นการใช้งานระยะสั้นๆ หรือเป็นพวกที่มีทุนค่อนข้างยาก เพราะเครื่องจักรเก่ามีอายุการใช้งานมาแล้วถัวเฉลี่ยประมาณ 10 ปีดังนั้นราคาจะต่างจากเครื่องจักรใหม่ประมาณ 50% แต่สามารถใช้งานได้ต่อไปอีก 10-20 ปีขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษา ส่วนการคาดการณ์ความต้องการในปีหนึ่งๆ นั้นค่อนข้างยาก บริษัทฯจะประเมินสถานการณ์จากงานพัฒนาของภาครัฐบาลเป็นหลัก โดยดูว่างบประมาณในปีนั้นเกี่ยวกับแหล่งน้ำหรือเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม อัตราส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ระหว่างใหม่และเก่าจะเท่ากับ 50:50 แต่ถ้าเป็นการสร้างท่าเรือ สร้างถนนใหญ่ ๆ หรือสร้างเขื่อนกั้นน้ำขนาดใหญ่อัตราส่วนเครื่องจักรใหม่และเก่าจะเป็น 70:30 เพราะเป็นการทำงานแบบต่อเนื่องและเป็นการลงทุนระยะยาว ในส่วนของเครื่องจักรเก่าเราก็มาคำนวณอีกทีหนึ่งว่าเราจะขอส่วนแบ่งตลาดเท่าไหร่ เพียงแค่ 10% ปีหนึ่งก็ขายได้หลายร้อยคันแล้ว "ทองไทรอธิบายถึงช่องว่างของตลาดเครื่องจักรกลเก่าใช้แล้ว

"เมื่อก่อนเราขายเครื่องจักรใช้แล้วทุกยี่ห้อแต่พอมาตอนหลังที่เอ็มเอ็มซี.เป็นดีลเลอร์ให้กับแคตนทางเราก็พยายามลดสินค้ายี่ห้ออื่นลง และพยายามทำตลาดเครื่องจักรเก่าใช้แล้วของตนให้มากขึ้น ส่วนสินค้ายี่ห้ออื่นที่มีอยู่เราก็พยายามระบายออกไปไม่สั่งเข้ามาเพิ่ม" ผู้บริหารของเอ็มเอ็มวี.คนหนึ่งชี้แจงเพิ่มเติมถึงการเปลี่ยนแปลงของเมโทรแทรคเตอร์ในปัจจุบัน

ในปี 2527 ก็เกิดบริษัทเครือข่ายขึ้นอีกแห่งโดยใช้ชื่อว่าบริษัท บูรพาอิควิปเม้นท์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์ของ SNAP-ON และเครื่องโม่หิน NORDBERG ซึ่งในปีที่ผ่านมาสมารถทำยอดขายได้ประมาณ 35 ล้านบาท

บริษัท เมโทรจอมเทียน คอนโดเทล จำกัด ที่ตั้งขึ้นในปี 2531 ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งในเครือธุรกิจของทองไทรที่เข้าไปจับธุรกิจด้านเรียลเอสเตทเป็นโครงการแรกที่หาดจอมเทียน

และในปี 2533 นี้นับเป็นปีที่ทองไทรวางเครือข่ายธุรกิจออกไปมากที่สุด จะสังเกตได้จากการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นเพื่อรองรับการรขยายตัวสำหรับธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาถึง 5 บริษัท

บริษัท ไทยเครนออเปอเรชั่น จำกัดมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาทตั้งขึ้นเพื่อขายรถเครนเก่าใช้แล้ว

บริษัท โคลัมเบีย โครม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับชาวแคนาดาในอัตราส่วน 70:30 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 1 ล้านบาท ตั้งข้นเพื่อเป็นโรงงานชุมโครเมียมเครื่องจักร ซึ่งจะตั้งในโรงงานที่ถนนบางนาตราดกม.20 ที่ได้จัดสร้างไว้แล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจเรจาตกลงในรายละเอียดกับทางแคนาดา

บริษัท เมโทรเครน จำกัดจัดตั้งขึ้นเพื่อนำเข้าและขายรถเครนใหม่ มีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

บริษัท เอ็ม.ที.เอส.เครน จำกัด มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทเป็นบริษัทให้เช่ารถเครนโดยการว่าทุนกับบริษัท SORYU ของญี่ปุ่นและบริษัท TATHONG ของสิงคโปร์ซึ่งทั้งสองบริษัทนั้นประกอบธุรกิจให้เขารถเครนภายในประเทศของตนมานานมากแล้ว และในปัจจุบันบริษัทเอ็ม.ที.เอส.เครนมีรถเครนให้เช่าแล้วถึง 100 คันโดยใช้เงินลงทุนในการซื้อรถมาให้เช่าถึง 400 ล้านบาท

อีกบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างเมโทรแมชีนเนอรี่กับ FURNESS WITHY TERMINAL LTD. ของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นบริษัทเอชนที่ทำธุรกิจรับจ้างบริหารกิจการท่าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่เป็อันดับ 4 ของโลก โดยใช้ชื่อว่า FERNESS MATRO TERMINALLTD. เพื่อยื่นข้อเสนอเข้าประมูลประกอบการท่าคอนเทนเนอร์หมายเลข 3 และ 4 ที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ซึ่งจะมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทภายหลังจากที่ได้รับคัดเลือกจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) แล้ว

แต่จากผลการพิจารณาของบอร์ดกทท.ล่าสุดที่ออกมาปรากฏว่ากลุ่มบริษัทเมโทรแมชีนเนอรี่ไม่ได้รับการคัดเลือกด้วยเหตุผลที่ว่า กลุ่มเมโทรฯมีข้อเสนออยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องได้รับการส่งเสริมการลงุทนจากคณกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วยหากไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว จะไม่สามารถประกอบการท่าเรือและแบ่งผลประโยชน์ให้กทท.ตามที่เสนอได้ ซึ่งคณะกรรมการของกททมีมติเป็นเอกฉันท์ว่าข้อเสนอของกลุ่มเมโทรฯ ไม่สามารถยอมรับได้

และกลุ่มที่ได้รับการคัดเลือกเข้าประกอบการท่าคอนเทนเนอร์หมายเลข 3 คือกลุ่มไทยเครนด้วยข้อเสนอส่วนแบ่งที่ให้กับกทท.31% และท่าคอนเทนเนอร์หมายเลข 4 เป็นของกลุ่มโหวงฮกซึ่งเสนอส่วนแบ่งให้กทม.มาเป็นอันดับหนึ่งคือ 32.5%

เหตุผลสำคัญที่ทำให้ทองไทรขยายบาทบาททางธุรกิจในปีนี้ค่อนข้างมากเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย (ก่อนหน้าที่จะเกิดกรณีอิรักคูเวต) เติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งมีส่วนเกี่ยพันกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทของทองไทรอย่างมาก จากยอดขายที่ขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจและภาวะการลงทุนของประเทศ หากพิจารณาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นกว่า 50% ของเมโทรแมนชีนเนอรี่ในปีนี้ก็น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดี

แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ในตะวันออกกลางขึ้น และส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลพวงจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย

หลายคนเชื่อว่าวิกฤตการณ์ในครั้งนี้จะสงผลกระทบถึงระบบเศรษฐกิจในปีหน้าด้วย นั่นหมายถึงการเตรียมตัวเพื่อรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งในความคิดของทองไทรเขามองว่าสถานการณ์ในปีหน้าจะไม่วิกฤตเท่าไหร่นัก แต่การเติบโตคงจะไม่เร็วอย่างที่ผ่านมา เพราะการพัฒนาของประเทศยังคงมีต่อเนื่องไป คงที่ลงทุนไปแล้วก็ต้องทำต่อเนื่อง ผู้ที่จะลงทุนใหม่เท่านั้นจะหยุดไปแต่ก็ยอมรับว่าตลาดเครื่องจักรโดยรวมอาจจะลดลงประมาณ 20% ในขณะที่ความต้องการไม่ลด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังเงินถ้าเงินไม่มีการใช้เครื่องจักรมีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น งานช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร หรืออาจจะใช้เครื่องเก่าช่วยไปแทนที่จะซื้อเครื่องใหม่

ในส่วนของยอดขายของเมโทรแมชีนเนอรี่ในปีหน้าอาจจะลดลงเหลือ 3,00 กว่าล้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายสินเชื่อของแบงก์และนโยบายรัฐบาลว่าจะปล่อย สินเชื่อได้มากแค่ไหน

"เนื่องจากสินค้าที่บริษัทขายเป็นเครื่องจักรกลหนักในการพัฒนาประเทศและมีราคาแพง ซึ่งต้องอาศัยทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงและกำลังเงินสูงในการซื้อขายสินค้า ฉะนั้นปัญหาที่บริษัทฯต้องเผชิญจึงมีอยู่ด้วยกัน 3 กรณีคือ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นตักวำหนดปัจจัยของค่าใช้จ่ายของผู้ดำเนินงาน ต้นทุนการเงินคือความคล่องตัวของเงิน อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยของการซื้อขาย ค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งปัจจุบันปัญหาทั้ง 3 กรณีนี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขายสินค้า ดังนั้นนโยบายของบริษัทที่จะต้องพิจารณาคือการเพิ่มยอดขายสินค้าหลักอย่างมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม พิจารณาสินเชื่อและคุณภาพของการชำระหนี้ของลูกค้า เลือกขายสินค้าที่เหมาะสมกับงาน กำลังเงินและประหยัดให้ลูกค้า เน้นนโยบายการขายอะหล่และบริการแทนในกรณีที่ลูกค้าขาดทุนทรัพย์ในการซื้อสินค้าใหม่ เก็บสินค้าที่ราคาแพง ขายยากไว้ให้เช่าและประหยัดค่าใช้จ่าย ในปีหน้าจะไม่มีการรับพนักงานเพิ่ม ทุกคนต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ต้นทุนต่ำ" ทองไทรกล่าวถึงปัญหาที่บริษัทฯจะต้องเผชิ่ญและแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

ก่อนหน้านี้จะเกิดวิกฤตการร์ในอ่าวเปอร์เซียซึ่งส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจอยู่ในปัจจุบัน ธุรกิจหนึ่งที่เป็นความฝันของทองไทรคือการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และอุตสาหกรรมที่สนใจอยากจะทำก็คือการผลิตรถจักรยาน เขามองว่าในชีวิตประจำวันจำเป็นต้องใช้ และตลาดในประเทศก็ยังมีความต้อกงารอีกมากพอไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาตลาอต่างประเทศมากนัก โครงการนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ในภาวะดอกเบี้ยอย่างในปัจจุบันนี้ ทองไทรยืนยันอย่างหนักแน่นเลยว่ายังลงทุนไม่ได้

กับแนวความคิดดังกล่าวข้างต้นอาจจะเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจที่เคยเป็นแต่เพียงเทรดดิ้งเฟิร์มถึงจุดหักเหเข้าสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิต และการต่อสู้ในวัย 56 ปีของทองไทรก็ยังคงต้องเหนื่อยหนักต่อไปอีก ตราบใดที่ฝันของเขายังไม่เป็นจริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us