|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในปี 2551 สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจของโลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยในระยะต้นปี สภาพเศรษฐกิจโลกเผชิญกับปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ราคาเหล็ก ราคาอาหาร ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ได้อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ รวมทั้งสกุลเงินของภูมิภาค จากนั้นเศรษฐกิจโลกก็ได้เผชิญกับปัญหาการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสถาบันการเงิน ธนาคารชั้นนำในสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง จนนำไปสู่การเกิดวิกฤตการณ์การเงินอยู่ในสหรัฐอเมริกา และขยายไปทั่วโลก วิกฤตการณ์ครั้งนี้ถือว่ารุนแรง ส่งไปทั่วโลก มีการถดถอยของเศรษฐกิจ และการว่างงานในหลายประเทศ ความต้องการสินค้าและบริการของโลก ทั้งของประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาลดลงอย่างรวมเร็ว ราคาน้ำมัน ราคาอาหาร ก็ได้ลดลง และค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ก็มีการผันผวนอย่างต่อเนื่อง
ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศ ได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน พร้อมกันนั้น ก็ได้ออกมาตรการเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม เช่น ยกระดับการค้ำประกันเงินฝาก การลดอัตราดอกเบี้ยและภาษี เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย เพื่อให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สำหรับ สปป.ลาว ถึงแม้ว่าตลาดการเงินภายในประเทศจะเชื่อมโยงกับตลาดต่างประเทศไม่มาก แต่เศรษฐกิจของ สปป.ลาวได้มีความร่วมมือกับนานาประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจของโลกครั้งนี้ ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ถึงอย่างไรก็ตาม เนื่องจากความมีเสถียรภาพทางด้านการเมือง-สังคมที่มั่นคง รัฐบาลมีมาตรการป้องกันผลกระทบของวิกฤตการณ์ที่สอดคล้องและทันการ รวมถึงการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และมาตรการของรัฐบาลที่ดี ทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น เศรษฐกิจของ สปป.ลาวได้ขยายตัวในระดับร้อยละ 7.9 เศรษฐกิจมหภาคมีเสถียรภาพที่มั่นคง สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับการลงทุน และพัฒนาประเทศชาติ
จากการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม และบรรดามาตรการที่จะบรรเทาผลกระทบวิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกของรัฐบาล ธนาคารแห่ง สปป.ลาวดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในการควบคุมปริมาณเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ เป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาเสถียรภาพการเงินแห่งชาติ รายละเอียดมีดังนี้
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ธนาคารแห่ง สปป.ลาว ได้ลดลง 3 ครั้ง จากร้อยละ 12 ต่อปี มาอยู่ในระดับร้อยละ 7 ต่อปี
2. คงอัตราเงินฝากบังคับร้อยละ 5 สำหรับเงินกีบ และร้อยละ 10 สำหรับเงินตราต่างประเทศ และอนุญาตให้ใช้พันธบัตรเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 2
3. พัฒนาการดำเนินนโยบายการเงินผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations)
4. เพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศให้สามารถครอบคลุมการนำเข้าได้มากกว่า 5 เดือน
5. ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ โดยธนาคารแห่ง สปป.ลาว กำหนดอัตราเงินกีบต่อเงินดอลลาร์ สรอ.แต่ละวัน บรรดาธนาคารพาณิชย์ และบรรดาร้านแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศสามารถกำหนดอัตราซื้อ-ขายของตน บวกลบร้อยละ 0.25 ของอัตราอ้างอิงที่ธนาคารแห่ง สปป.ลาว กำหนด ส่วนต่างระหว่างอัตราซื้อและอัตราขาย สำหรับเงินกีบ/บาท และเงินกีบ/ยูโร ไม่เกินร้อยละ 0.5 สำหรับสกุลอื่นๆ ไม่เกินร้อยละ 2
6. ใช้นโยบายผ่อนคลายระเบียบการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ธนาคาร และร้านแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศได้สะดวกสบายมากขึ้น
7. ปรับปรุงการทำงานของหน่วยงานที่ทำนโยบายการเงินและการคลังให้สอดคล้องกัน ทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
จากการปฏิบัตินโยบายดังกล่าวในหนึ่งปีที่ผ่านมา เห็นว่าธนาคารแห่ง สปป.ลาวสามารถปฏิบัติภาระบทบาทหน้าที่ของตนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการสามารถรักษาเสถียรภาพการเงินแห่งชาติได้อย่างมั่นคง อัตราเงินเฟ้อไม่เกินร้อยละ 10 และต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (เงินเฟ้อเฉลี่ยปี 2551 อยู่ระดับร้อยละ 7.6) อัตราแลกเปลี่ยนไม่ผันผวน เงินกีบแข็งค่าขึ้น สังคมมีความเชื่อมั่นต่อเงินกีบ และหันมาใช้เงินกีบอย่างเพิ่มขึ้นมาก ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสามารถครอบคลุมการนำเข้าได้ 5.9 เดือน ระบบธนาคารมีการขยายตัว การบริการด้านการธนาคารได้รับการปรับปรุงพัฒนาสู่ความทันสมัยในปี 2551 ระบบธนาคารสามารถระดมทุนได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.95 เทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 19.78 ของจีดีพี ยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 82 จากปี 2550 คิดเป็นร้อยละ 12.38 ของจีดีพี ยอดสินเชื่อธนาคาร เทียบกับเงินฝากคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 58.25 โดยสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปล่อยให้กลุ่มธุรกิจเป้าหมาย ได้แก่ การผลิตอาหาร การผลิตสินค้าเพื่อใช้ทั้งภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก รวมถึงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การสร้างงาน เพิ่มรายได้ และแก้ไขความยากจนของประชาชนให้บรรลุเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้
ถึงอย่างไรก็ตาม สภาพเศรษฐกิจของโลกในปี 2552 ยังไม่มีความแน่นอนที่จะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินที่ผ่านมารุนแรงมาก ซึ่งคงจะใช้เวลานาน และส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ ดังนั้นจึงต้องการให้ทุกคนร่วมกันใช้ความรู้ความสามารถ เพื่อให้วิกฤติการณ์ครั้งนี้เป็นโอกาสสำหรับการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ แห่งชาติ โดยเฉพาะการปรับปรุงระบบธนาคารของ สปป.ลาว ให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง เพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ รักษาเสถียรภาพการเงินให้มั่นคง คุ้มครองอัตราแลกเปลี่ยนให้ไม่ผันผวน ทำให้มีทุนสำรองระหว่างประเทศให้มีปริมาณครอบคลุมการนำเข้าได้มากกว่า 5 เดือน ระบบธนาคารต้องเข้มแข็ง เพื่อเป็นการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการลดความยากจนให้บรรลุเป้าหมายที่ประเทศได้กำหนดไว้ต่อไป
ที่มา: รายงานภาวะเศรษฐกิจ สปป.ลาว ปี 2551 โดยธนาคารแห่ง สปป.ลาว (ถอดความโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
http://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/AsianEconomies/Laos/EconData_Laos/DocLib_EcoLao/governor.pdf)
|
|
|
|
|