อาตี๋ชื่อ "เซ็กนัม แซ่โค้ว" จากซัวเถาเมื่อ 44 ปีที่แล้วได้กลายมาเป็น
"บุญนำ บุญนำทรัพย์" ผู้นำธุรกิจหมายเลขหนึ่งทางด้านแฟชั่นเสื้อผ้าไหมด้วยการย่างกรายสู่ยุทธจักรเสื้อผ้าสำเร็จรูประหว่างประเทศ
ฝึกปรือวิทยายุทธ์จากสนามค้าผ้าชื่อดังอย่างไต้หวัน ฮ่องกง และโดยเฉพาะกับญี่ปุ่นนั้น
บุญนำไม่เพียงแต่ซึมซับวัฒนธรรมจากการศึกษาเล่าเรียน แต่ยังรับอิทธิพลแนวคิดและวิธีการบริหารมาใช้ในธุรกิจของทีทีไอกรุ๊ป
เพื่อหลีกหนีภาพของความเป็นธุรกิจครอบครัวแบบเถ้าแก่คนจีน ด้วยปรัชญาความเชื่อว่า
"ระบบสตาฟฟ์และพันธมิตร" เป็นวิธีบริหารองค์กรและการค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
กระทั่งกลายเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์แฟชั่นชื่อดัง "ปีแอร์การ์แดง ไนกี้"
บุญนำนั้นจึงเหมือนกับ "LINE JAPANESE BUT NOT" เขาเพียงแต่เป็นอาเจ็กที่อยู่ในร่างทรงญี่ปุ่นเท่านั้น
ชื่อของเขาไม่เพียงโดดเด่นในอุตสาหกรรมสิ่งทอในด้านการ์เม้นท์หรือเสื้อผ้าสำเร็จรูปแต่ยังโลดแล่นไปมาบนยุทธจักรเรียลเอสเตทตลอดปีที่ผ่านมา
ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุนโครงการเดอะรอยัลกอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ หรือแหลมฉบังกอล์ฟแอนด์ครันทรีคลับ
ศรีราา หรือคอมเพล็กซ์ริมน้ำเจ้าพระยา (ดูเม็กซ์) หรือบิสสินเนสคอมเพล็กซ์
ถนนวิทยุ มันเหมือนภาพใหม่ในชีวิตธุรกิจของเขา แต่แท้จริงมันเป็นเพียงทางผ่าน
บุญนำ บุญนำทรัพย์ ชื่อซึ่งดูจะบอกถึงความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้น คงจะไม่หันเหไปทำธุรกิจอื่นอย่างจริงจังเหมือนธุรกิจเท็กซ์ไทล์ในขณะนี้เพราะเท็กซ์ไทล์ได้กลายเป็นชีวิตและวิญญาณของบุญนำไปแล้ว
ข้อบ่งชี้ความสำเร็จและความภาคภูมิใจของบุญนำก็คือ ธุรกิจสิ่งทอของทีทีไอกรุ๊ปของเขานั้นเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลิตแฟชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูปยี่ห้อชื่อดังมากมายในยุโรป
อาทิ ปิแอร์การ์แดง ทอมเทย์เลอร์ลีวายส์ ไนกี้ เบนเนตอง และพูมา
วันนี้ บุญนำได้ก้าวมาถึงเกือบถึงจุดสุดยอดของเส้นทางธุรกิจสายนี้แล้ว
แต่ถ้าเทียบกับนักธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอวัย 59 อย่างเขาแล้ว บุญนำมีเส้นทางพัฒนาธุรกิจต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
สมัยที่บุญนำยังเป็นอาตี๋ชื่อ "เซ็กนัม แซ่โค้ว" ที่ซัวเถา เมืองจีนนั้น
บุญนำโชคดีมีโอกาสเรียนหนังสือจีนจนถึงอายุ 15 เรียกว่าไม่น้อยทีเดียวสำหรับชาวจีนในสมัยนั้น
ตอนนั้น "คุณพ่อทำงานอยู่กับบริษัทเรือในสิงคโปร์เกี่ยวกับเอ็กซ์ปอร์ตอิมปอร์ตสิ่งทอ"
บุญนำย้อนเล่าถึงชีวิตวัยเยาว์ที่เริ่มเจริญรอยตามคุณพ่อด้วยการไปอยู่เซี่ยงไฮ้
ฝึกเรื่องค้า ๆ ขาย ๆ โดยอาศัยฐานของฮ้วยเซี้ยมผู้พ่อซึ่งกว้างขวางในธุรกิจเท็กซ์ไทล์
อยู่ได้ 5 ปี บุญนำก็ย้ายไปอยู่ฮ่องกงศูนย์กลางธุรกิจและเท็กซ์ไทล์ของโลก
ต่อมา เมื่อวิทย์ยุทธ์เริ่มแก่กล้าบุญนำย้ายไปเรียนภาษาและค้าขายเสื้อผ้าในญี่ปุ่น
ด้วยการตั้งบริษัท BUYING OFFICE ขึ้นมาจากความสัมพันธ์ที่เคยติดต่อซื้อด้ายไปขายยังเกาหลี
บุญนำอยู่ญี่ปุ่น 5 ปี พอทำไปได้ระยะหนึ่งเรื่องซื้อมาขายไปดูจะเป็นเรื่องไม่ท้าทายแล้ว
จึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมคิดทำเหมือนแค่ TRADING พร้อมกับไอเดียหนึ่งก็แว่บขึ้นในสมองว่า
น่าจะตั้งโรงงานเองจะดีกว่า
ด้วยประสบการณ์ค้าขายระหว่างประเทศ 15 ปีในชื่อประจำตัวว่า "ฮุย เซ็ก
นัม" หรือ "HUI CHECK NUM" เรียกว่าโชกโชนมากพอที่จะจับทิศทางและกลยุทธ์ของตลาดค้าผ้าได้ดี
จึงมุ่งห้าสู่จุดหมายปลายทาง คือ ประเทศไทยดังที่มีชาวจีนอพยพแบบเสื่อผืนหมอนใบมาตั้งรกรากและสร้างเนื้อสร้างตัวกันได้มากต่อมาก
บุญนำย่างสู่ผืนดินไทยในวัยที่ยังหนุ่มแน่นเต็มไปด้วยไฟสร้างสรรค์ หลังผ่านชีวิตมาแล้ว
29 ฤดูฝน ถือบัตรต่างด้าวเลขที่ 31/2507 มาเริ่มต้นทำงานร่มกับสุกรีแห่งทีบีไอกรุ๊ปในบริษัท
ไทยอเมริกันเท็กซ์ไทล์ จำกัด โดยรับผิดชอบในด้านตลาด
ทำได้ 4-5 ปี เมื่อคุ้นกับตลาดผ้าไทยพอสมควรแล้ว บุญนำได้เข้าซื้อโรงงานทอผ้าของบริษัทสยามรุ่งเรืองการทอ
จำกัด (ตั้งเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2512) ของสุรินทร์ ไชยะภินันท์ เพื่อนยี่ปั๊วค้าผ้าย่านสำเพ็ง
ซื้อแล้วก็ก่อตั้งใหม่เป็นบริษัท โรงงานผ้าไทย จำกัด (ทีทีไอ) โดยร่วมมือกับชาญวุฒิ
โพธิรัตนังกูรมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 20 ล้านบาท
เป็นที่ยอมรับว่า "ขณะนั้น คุณสุกรี (โพธิรัตนังกูร) ลูกพี่สนับสนุนมาก"
บุญนำกล่าวถึงอย่างชื่นชม
โรงงานผ้าไทยอยู่ที่บางเมฆขาว จ.สมุทรปราการ อาณาบริเวณ 29 ไร่ เริ่มแรกมีเครื่องจักรทอผ้า
150 เครื่อง ใช้ผลิตผ้าผืนขายทั้งตลาดภายในแต่ละต่างประเทศ
พูดถึงตลาดผ้าในประเทศ แหล่งที่ขึ้นชื่อที่สุดคือตลาดสำเพ็ง ที่นี่เป็นศูนย์รวมยี่ปั๊วคนจีนจากทุกสารทิศ
เดินเข้าไปก็เรียกว่าล้านแต่เป็นคนจีน ส่งภาษาจีนกันเซ็งแซ่ การลงบัญชีทุกอย่างก็สื่อด้วยภาษาจีนแท้
ๆ
ปีเดียวกับที่ซื้อโรงงานผ้าไทย บุญนำก็ร่วมกับสุกรี เจ้าพ่อสิ่งทอไทย อุดม
วรฤทธิชัย พี่ชายร่วมสายโลหิตแต่ใช้คนละนามสกุล ประกอบ ชื่นชูจิตต์ เพื่อนจากยี่ปั๊วผ้าที่ดีอีกรายหนึ่ง
และชาตรี โสภณพนิช ซึ่งมีบริษัท ชาตรีโสภณ จำกัด ร่วมตั้งบริษัทยี่ปั๊วแห่งแรกขึ้น
ใช้ชื่อว่า "หจก. ไท้ซิน"
ดูจะเป็นโชควาสนาของบุญนำ บังเอิญได้รู้จักและคุ้นเคยกับชาตรีเจ้าสัวแบงก์ใหญ่คือธนาคารกรุงเทพ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุญนำกับชาตรีนั้นเริ่มตั้งแต่สมัยที่อยู่ฮ่องกง ตอนนั้นบุญนำเพิ่งจะอายุ
19 ส่วนชาตรีเป็นรุ่นน้องอ่อนกว่า 3 ปี ชาตรีไปฝึกและทำงานกับคุณพ่อคือชินโสภณพนิช
ขณะที่บุญนำเล่าวาย่าของตนเคยทำงานกับชิน ช่วงหลังได้ให้ตนเป็นผู้แทนช่วยทำงานให้
จากความเป็นเพื่อนส่วนตัว ก็กลายมาเป็นเพื่อนร่วมธุรกิจ
ขณะเดียวกัน มลคล มังกรกนก เอเยนต์ผ้าในช่วงนั้นซึ่งรู้จักคุ้นเคยกันอยู่ล้วก็เริ่มเข้ามาร่วมงาด้วยจนกลายเป็นแกนหลักสำคัยที่สุดคนหนึ่งของทีทีไอกรุ๊ป
ล่วงเลยมาอีก 7 ปี ราวปี 2520 ทางสุกรีประกอบ และบริษัท ชาตรีโสภณ รวมทั้งตัวบุญนำลาออกและถอนหุ้น
โดยมีศิริวรรณ ภรรยาของบุญนำซึ่งเดิมถือหุ้นจาก 300,000 หุ้นมาเป็น 350,000
หุ้นหรือจาก 30% เพิ่มเป็น 35% และอุดม พี่ชายก็ถือหุ้นเพิ่ม พร้อมกับมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามา
ศิริวรรณเข้าร่วมหุ้นกับทีทีไอตั้งแต่ยังเป็นลูกค้าของบุญนำ และใช้นามสกุล
"จันทรานาคราช" ซึ่งตอนหลังได้แปรความสัมพันธ์จากคู่ค้ามาเป็นภรรยาคู่ชีวิตของบุญนำ
สำหรับบุญนำนั้น ด้วยประสบการณ์การค้าระหว่างประเทศทำให้เห็นจุดอ่อนของการแข่งขันเท็กซ์ไทล์ในตลาดโลกว่า
ปัญหากระทบมากที่สุดก็คือ เรื่องราคา โดยเฉพาะถ้าเป็นลักษณะ MASS PRODUCTS
ซึ่งนักเลงทุนนิยมลงทุนในช่วงที่ตลาดบูมพอเศรษฐกิจถดถอยก็จะเจอปัญหากันถ้วนหน้าใครสู้ราคาไม่ไหวก็ต้องเจ็บตัวไป
บุญนำจึงอาศัยเทคนิคเฉพาะตัวเพื่อหลีกปัญหาเรื่องราคา
นั่นเป็นเหตุผลทำให้บุญนำหันไปเน้นสิ่งทอด้านการ์เมนท์ โดยเฉพาะในลักษณะเป็นแฟชั่นหรือไฮแฟชั่น
ดังที่บุญนำกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เราไม่ผลิตสินค้าซ้อนกับคนอื่น
อะไรที่คนอื่นทำแล้ว เราไม่ทำ" โดยเฉพาะกับสุกรี ลูกพี่เก่า
นับเป็นความชาญฉลาดของบุญนำที่มองตลาดด้วยสายตายาวไกล
การตัดสินใจของบุญนำไม่เพียงเป็นการสร้างช่องทางตลาดใหม่เท่านั้น แต่ยังเลี่ยงการปะทะกับลูกพี่เก่าไม่กลายเป็นการวัดรอยเท้ารุ่นพี่
ซึ่งตามธรรมเนียมคนจีนนั้นรังเกียจนักหนา
เมื่อแยกออกมาตั้งโรงงานผ้าไทย บุญนำก็ร่วมบริหารกับทางสุรินทร์ โดยมีมงคลมาดูแลด้านการผลิต
ถึงปี 2517 ทีทีไอก็ขยายงานตั้งโรงงานแห่งใหม่เป็นทีทีไอ 2ใกล้ ๆ กับทีทีไอ-1
มีเครื่องจักรทอผ้ากว่า 700 เครื่อง
ปีรุ่งขึ้น ก็ขยายทั้งด้านเครื่องจักร เครื่องย้อมเส้นด้าย เพื่อผลิตผ้าสี
ผ้าแปนซี
พร้อมกันนั้น บุญนำกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มเดิมก็แตกหน่อออกไปตั้งบริษัทไทยรุ่งเท็กซ์ไทล์
จำกัดขึ้นที่บางนาตราด กม.21 เพื่อปั่นด้ายเองแล้วเอามาทอเป็นผ้าตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ซึ่งทำให้คุมคุณภาพได้มากขึ้น
ทีทีไอขยายงานค่อนข้างถี่ จึงต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็นลำดับกระทั่งปัจจุบันเพิ่มเป็น
500 ล้านบาท
เรียกว่าทีทีไอโปโลดโดยอาศัยเทคนิคการผลิตตามออร์เดอร์เน้นสินค้าคุณภาพสูง
ซึ่งแทบจะไม่มีคู่แข่ง โดยเฉพาะตลาดยุโรปซึ่งเป็นศูนย์แฟชั่นของโลก
ช่วงนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพมุ่งสู่ตลาดยุโรปโดยตรง
นอกจากนี้ยังตั้งบริษัทไทยแสตนดาร์ดอุตสาหกรรม จำกัด (ทีเอสไอ) ขึ้นมา
เพื่อทำธุรกิจย้อมผ้าขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้คุณภาพผ้าชิ้นนั้นได้ตามสเปกในระบบการผลิตเสื้อผ้า
5 ขั้นตอนใหญ่ คือ ปั่น ทอ ฟอก ย้อมและตัดเย็บ (เสื้อผ้าสำเร็จรูป)
กระทั่งปี 2527 ในยุคซึ่งตลาดเริ่มขยายตัวหนักขึ้น จึงตั้งบริษัท ที อาร์
ที การ์เม้นท์ (ทีอาร์ทีจี) เป็นศูนย์ผลิตแฟชั่นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกของทีทีไอกรุ๊ปโดยเฉพาะ
จากบริษัทในเครือ สังเกตได้วาการเริ่มต้นของทีทีไอกรุ๊ปนั้น เป็นการถือหุ้นร่วมกันหลายรายสัดส่วนถือหุ้นของบุญนำนั้นมีเพียงไม่กี่เปอร์เซ้นต์ตั้งแต่ต้นจนถึงขณะนี้
อาทิ ถือหุ้นในไทยรุ่งเท็กซ์ไทล์ 5.69% ในไทยแสตนดาร์ดอุตสาหกรรม 13.38%
หรือทีอาร์ทีจี 20% ไทล์ที่บุญนำและทีทีไอร่วมหุ้น) ต่างกับกลุ่มธุรกิจพ่อค้าคนจีนทั่วไปซึ่งมักจะถือหุ้นใหญ่เป็นส่วนมาก
ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลงทุนสิ่งทอเมื่อ 20 ปีก่อนนั้นเพิ่งจะเริ่มต้นไม่นาน
การลงทุนจึงเป็นเรื่องลำบากทั้งเรื่องคนและเรื่องทุนที่จะต้องระดมช่วยกันหลายราย
ประการสำคัญ บุญนำ ไม่อยากให้องค์กรเป็นธุรกิจครอบครัว แต่นิยมระบบสตาฟฟ์และพันธมิตร
และเชื่อว่านี่เป็นวิธีการบริหารที่ทำให้เขาก้าวหน้าขึ้นมาได้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าญี่ปุ่นเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลทางด้านความคิดและการบริหารของบุญนำอย่างแนบแน่น
ดังที่บุญนำให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า "FAMILY BUSINESS
ไม่โต ไม่กว้าง แล้วไม่รู้ว่าลูกจะสนใจทำหรือเปล่าส่วนลูกน้องก็ต้องคิดว่า
เจ้าของมีลูกก็ต้องให้ลูกบริหารซึ่งไม่ดี เพราะไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเป็นระบบสตาฟใครเก่งก็ขึ้นมาแทนได้
อย่างญี่ปุ่น ใครมีฝีมือก็จะได้รับการโปรโมทขึ้นไปเรื่อย ๆ และเขาจะช่วยเหลือในนามขององค์กรหรือบริษัท
ซึ่งต่อไปก็จะเป็นเรื่องของการตอบแทนทางธุรกิจ ไม่เป็นบุญคุณเหมือนกับการช่วยเหลือส่วนตัว"
ดังนั้น ยิ่งมีพันธมิตรมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะช่วยพัฒนาให้ธุรกิจขยายตัวได้ดี
เหมือนกับการบริหารธุรกิจของญี่ปุ่นซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก
การมีเพื่อนร่วมลงทุนหลายคนในสายตาของบุญนำจึงเท่ากับเป็นการสร้างพันธมิตรทางการค้า
สำหรับทีทีไอ ถือได้ว่าเป็นยุคแรของการลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอของบุญนำอาศัยความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อนเยอะ
จากรากฐานการค้าสิ่งทอในตลาดโลกและตลาดสำเพ็ง
ผู้บริหารยุคเริ่มต้นของทีทีไอถ้านับประสบการณ์ในตลาดค้าผ้าถึงวันนี้แล้ว
เรียกว่าไม่น้อยกว่า 20 ปี
การแบ่งสายงานรับผิดชอบของทีทีไอ แยกได้เป็นสองส่วน คือสำนักงานสำเพ็งจะมีเสถียรเบญญาพร
เพื่อนของบุญนำมาควบคุมการเงินซึ่งเสียชีวิตไปราว 6 ปีที่แล้ว ไพบูลย์ จรูญชัยคณากิจช่วยงานบัญชีทั้งหมดมา
20 ปีขึ้นมาแทนเสถียรโดยรับผิดชอบการเงินทั้งหมด
สำหรับไพบูลย์ พูดได้ว่าเป็นหัวเรือสำคัญของทีทีไอในสำนักงานสำเพ็ง เขาอยู่ที่นี่ตั้งแต่
20 ปีก่อน ยุคที่สำเพ็งยังเต็มไปด้วยพ่อค้าจีนรุ่นเก่าซึ่งจะไม่มีการใช้ภาษาไทยสื่อสาร
จนเดี๋ยวนี้กลายเป็นคนรุ่นลุกเข้าไปรับหน้าที่แทนเป็นส่วนใหญ่ จากภาษาจีนอันเป็นภาษาหลักก็เปลี่ยนมาสื่อสารด้วยภาษาไทยและเป็นหลัก
ตามด้วยภาษาอังกฤษถ้าส่งออกด้วย ดังทีไพบูลย์กล่าวว่า "ตอนนี้ ถ้าใช้ภาษาจีน
ก็หาคนรู้เรื่องยาก"
สภาพการค้าในตลาดก็เปลี่ยนโฉมแทบจะสิ้นเชิง จากเดิมคนที่คิดจะเปิดร้านขายผ้าใช้เครดิตก่อนได้
แต่ 5-6 ปีที่ผ่านมาเมื่อตลาดบูมการแข่งขันมากขึ้น ก็ต้องหันมาซื้อด้วยเงินสด
ตัวเลขยอดขายที่พูดกันหนึ่งล้านบาทในสมัยก่อนถือว่าเต็มที่แล้วนั้น เวลานี้ต้องพูดกันเป็นร้อยล้านบาทขึ้นไป
ไพบูลย์จึงเป็นลูกหม้อคนสำคัญของบุญนำที่สำเพ็ง โดยมีช่วง กลวรรณวิจิตรเป็นสมุห์บัญชีใหญ่จะคุมบัญชีของทีทีไอทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีสมชาย เหลืองตระกูลเป็นลูกหม้อรุ่นที่ 2 และถือเป็นผู้ช่วยคนสำคัญของไพบูลย์และคนอยู่นานที่พัฒนาตัวเองจากศูนย์
เป็นคนบังเอิญที่สมชายต้องมาเกณฑ์ทหารย่านจักรวรรดิ แต่ได้ใบดำ ช่วงเดินผ่านตลาดสำเพ็งก็เข้ามาสมัครงานที่ทีทีไอด้วยความรู้และวุฒิการศึกษาจากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
ด้วยความอัตคัตจึงไม่ได้เรียนต่อ
สมชายเข้ามาเป็นเด็กทำความสะอาดแต่อาศัยความตั้งใจ ขยันศึกษาด้วยตัวเองยาวนานถึง
16 ปีจนมาเป็นผู้ดูแลตลาดในประเทศและตางประเทศบางส่วนประสานระหว่างบุญนำ
เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อตกลงสัญญากับลูกค้ารวมถึงเรื่องการขนส่ง
ที่นี่จะมีพนักงานทั้งหมด 35 คน แต่ละคนจะมีอายุงานโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 5
ปีขึ้นไป
ส่วนที่โรงงาน อาศัยความกว้างขวางในตลาดค้าผ้าต่างประเทศ บุญนำเคยติดต่อการค้ากับไต้หวัน
มีเพื่อนแนะนำให้รู้จักลิน ม้อ เชียง ซึ่งมีประสบการณ์โรงงานทอผ้าชื่อดังอย่าง
"โรงงานเกียงอี้" และ "โรงงานจิมย่งทอผ้า" ในไต้หวันมานานสนใจงานทีทีไอซึ่งถือว่าเป็นงานท้าทาย
เมื่อมาดูลาดเลาครั้งแรกก็ตกลงอยู่เป็นผู้จัดการโรงงานทีทีไอ
ลิน ม้อ เชียงนับเป็นลูกหม้อเก้าที่บุญนำชื่นชมมาก "จะขอเปลี่ยนสัญชาติอยู่แล้วพูดไทยเก่ง
พูดได้ชัดกว่าผมอีก"
ผลิตแล้วก็ต้องแยกกันสร้างตลาด สำนักงาสำเพ็งจะดูแลตลาดภายในเป็นหลักส่วนตลาดต่างประเทศแทนที่จะอยู่ในสำนักงานสำเพ็งด้วยกัน
คนดูแลตลาดส่งออกจะมาประจำอยู่ที่โรงงาน โดยมีกำหนดเข้าติดต่อในตัวเมืองค่อนข้างแน่นอนในแต่ละสัปดาห์
ไม่รวมกรณีมีลูกค้าจากต่างประเทศเป็นกรณีพิเศษซึ่งต่างจากโรงงานสิ่งทอทั่วไป
เพราะคุณภาพคือหัวใจของการขาย ขณะที่สินค้าผ้ายุ่งยากละเอียดอ่อน การอยู่แห่งเดียวกับโรงงานจึงมีประโยชน์
ถ้าเกิดขัดข้องทางเทคนิคหรือมีปัญหาคุณภาพผ้า จะเห็นและแก้ไขได้ทัน
ผู้รับผิดชอบตลาดส่งออกในปัจจุบัน คือ ธวัชชัย ไชยะภินันท์ ลูกชายของสุรินทร์
ไชยะภินันท์ เพื่อนเก่าของบุญนำนั่นเอง
ธวัชชัยจบวิศวะจากจุฬาฯ มีดีกรีปริญญาโททางด้านบริหารอุตสหกรรม มาเริ่มต้นจากงานจัดซื้อเมื่อ
10 ปีก่อน จนก้าวขึ้นมาเป็นผู้ดูแลตลาดส่งออก
อีกคนหนึ่งเป็นกำลังสำคัญของทีทีไอคู่กับธวัชชัย ก็คือ กำจร ชื่นชูจิตต์
ลูกของประกอบเพื่อนเก่าอีกคนหนึ่งของบุญนำ คนซึ่งบุญนำบอกว่าเป็นมือขวามือซ้ายของตน
เรียกว่า บุญนำได้กระจายกำลังสำคัญในการต่อสู้บนเวทีการค้าดังที่บุญนำพูดกับ
"ผู้จัดการ" ว่า "ปล่อยให้ลูกน้องเขาทำกันเยอะ ๆ และไปกระจายงานไปกันเอง
เราไม่ต้องไปทำมาก ยิ่งรวมไว้ที่ตัวเองยิ่งมาก็ยิ่งปวดหัว"
บุญนำจึงเป็นคนดูแลนโยบายและตลาดโดยรวม เพราะมีความชัดเจนกว่าใคร และมงคลจะคุมด้านการผลิต
ตั้งแต่โครงการขยายงาน ปัญญาหาภายในโรงงาน ตลอดจนถึงระเบียบต่าง ๆ
จากระดับนี้ลงมาบุญนำจะตั้ง DIRECTOR ขึ้นมาบริหารในแต่ละส่วน และแต่ละคนก็จะเป็นกรรมการด้วย
บุญนำมั่นใจว่าการบริหารโดยสตาฟบริหารง่าย "อย่างญี่ปุ่นเขาจะไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกันของเขาต้องทำงานในบริษัทอย่างเดียว
ให้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และจะทำหลายบริษัทแบบคนจีนไม่ได้"
ไม่ว่าบุญนำจะคุ้นเคยผูกพันกับญี่ปุ่นอย่างไร แต่เขาก็เป็นคนจีนเต็มตัว
และมาทำธุรกิจในไทยแผ่นดินซึ่งเต็มไปด้วยสายเลือดจีนเขาจึงผสมผสานสไตล์การบริหารทั้งญี่ปุ่นและจีนเข้าด้วยกัน
นี่เป็นสิ่งที่บุญนำคิดว่าจะเอื้อประโยชน์สูงสุดในการทำธุรกิจ
แกนบริหารที่บุญนำจัดตั้งขึ้นมาแม้ว่าเป็นลูกของเพื่อน แต่ก็มิใช่ญาติพี่น้อง
จึงถือว่าเป็นการสร้างระบบบริหารโดยสตาฟฟ์ เพราะบุญนำเห็นว่าการบริหารแบบครอบครัวล้วนแต่มีปัญหาทั้งนั้น
แม้จะโตได้แต่ก็ไม่มั่นคง
แต่สตาฟเหล่านี้ของบุญนำจะต่างไปจากระบบคัดเลือกทั่วไป ความเป็นลูกของเพื่อน
ทำให้รู้จักพื้นฐานได้ดีกว่าคนทั่วไป
ทุกคนที่สนใจเข้ามาทำงาน ต่างก็ต้องโชว์ฝีมือทั้งนั้น เพราะแต่ละคนไม่เพียงแต่เป็นลูกจ้างเท่านั้น
แต่ยังเป็นกรรมการ เป็นเจ้าของต้องสร้างเครดิตแก่ตัวเองและต้องระวังที่จะมิให้พ่อต้องเสียชื่อ
ดูเหมือนว่าแต่ละคนต่างก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า มีอำนาจในการบริหารและตัดสินใจค่อนข้างมาก
งานที่ทำท้าทายความสามารถ จนพูดได้ว่าได้ใช้ศักยภาพในตัวอย่างเต็มที่
จากความรู้สึกอันนี้ บวกกับทีมงานซึ่งมีอายุไม่ต่างกัน จึงไม่มีช่องว่างระหว่างวัย
การช่วงชิงตำแหน่งจึงไม่มี ถ้าจะมีก็จะเกิดในสภาพที่ทำงานมานานจนอิ่มตัว
แล้วอยากออกไปตั้งบริษัทของตัวเองบ้าง ลักษณะนี้จะมีค่อนข้างมากในช่วง 10
ปีแรกของทีทีไอ
พอออกไปแล้ว ไม่ว่าจะไปตั้งบริษัทยี่ปั๊วขายผ้าหรือบริษัทสิ่งทอ บุญนำก็จะร่มลงทุนด้วยเล็ก
ๆ น้อย ๆ อาจจะ 5% หรือ 10% แล้วแต่กรณี
บุญนำให้เหตุผลว่า การที่เขาออกไปอย่างนี้เขาไปดี แต่ก่อนที่จะออกไปต้องคุยกันก่อนว่ามีปัญหาอึดอัดอะไรหรือไม่
แต่ถ้าอยากมีบริษัทเอง "อาเจ็กก็ไม่ขัดข้อง อย่าไปคิดว่าเขาจะมาแข่งกับเราแต่เราจะไปลงทุนด้วย
ก็เป็นเพื่อนกัน ติดต่อค้าขายได้ ซึ่งเขาอาจจะเป็นลูกค้าของเราอีก ก็ยิ่งดี"
ถ้าเทียบวัยในทีทีไอแล้วตั้งแต่ไดเร็กเตอร์ลงมาเรียกว่าเป็นคนรุ่นใหม่
จะมีก็แต่รุ่นเก่าระดับบุญนำเท่านั้นที่ทิ้งห่างอายุออกไป
ความต่างของวัยนี้ดูจะเป็นความโชคดีของบุญนำเพราะในช่วงที่บุญนำเริ่มเข้ามาสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอใหม่
ๆ นั้น พูดไดว่าบุญนำเป็นคนที่มีอายุน้อยกว่ารุ่นพี่คนอื่น ๆ ที่เข้ามาในตลาดสำเพ็งก่อน
ทำให้บุญนำมีโอกาสให้สตาฟจากบรรดาลูกของเพื่อนมาร่วมงานซึ่งเป็นคนรุ่นหนุ่มพร้อมด้วยประสบการณ์อย่างเหมาะเจาะ
รุ่นพี่ ๆ ในตลาดสำเพ็งจะถูกเรียกกันว่าอาแปะ ขณะที่บุญนำอ่อนวัยกว่าจึงเรียกกันว่าอาจเจ็กเมื่อมาบริหารทีทีไอ
บุญนำยังคงพอใจที่จะแทนตัวเองว่า "อาเจ็ก" ทำให้ดูเป็นกันเองเหมือนคนในครอบครัว
"อาเจ็ก" จึงเป็นคำติดปากสตาฟทีทีไอทุกคน และดูจะสนิทใจมากกว่า
"คุณบุญนำ" ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีใครเรียกกันเท่าไหร่
จุดเด่นสำคัญของความเป็นจีนที่บุญนำดึงมาใช้ก็คือ การเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามาถือหุ้นโดยเฉพาะระดับบริหารจะถือหุ้นทุกคน
มากน้อยแล้วแต่ความต้องการ ด้วยเหตุผลว่า สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ถ้าทำดีมีกำไรเขาก็ได้
"แต่ถ้าขาดทุนก็เงินของเขาด้วยเหมือนกัน แต่อาเจ็กมีบริษัทเอยะ ๆ บริษัทหนึ่งขาดทุน
อีกบริษัทกำไร อาเจ็กก็เฉลี่ย ๆ ไปได้ "บุญนำเล่าอย่างติดสำเนียงจีน
ด้วยหัวหน้าทีมและสต๊าฟเหล่านี้ ทีทีไอจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปี
2530 ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอให้เพิ่มแกนปั่นด้ายอีก 20,000 แกนเครื่องทอผ้า
300 เครื่อง เป็นโรงงาน "ทีทีไอ-3" เพื่อรองรับตลาดส่งออกซึ่งเป็นยุคที่อุตสาหกรรมสิ่งทอบูมมากและมองว่าตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นจะไปได้ดีจึงนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เพื่อระดมทุน
พอถึงปี 2531 ตอนนั้นทีทีไอมีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท ก็เตรียมจะเพิ่มทุนเป็น
400 ล้านบาท แต่มีปัญหาว่ากรรมการบางส่วนไม่ยอมมีมติเพิ่มทุน ทำให้ผูถ้อหุ้นโวยวายกัน
ทั้งทีได้กระจายหุ้นไปยังประชาชนครบ 300 รายตามเงื่อนไขแล้ว
เข้าใจว่าสุกรีซึ่งถือหุ้นอยู่ประมาณ 20% คงจะหวงสัดส่วนหุ้นเดิม
ต่อมา สุกรีได้ถอนหุ้นของตนออกไปแล้วชาตรีเข้ามาถือหุ้นแทน กระทั่งล่าสดได้เพิ่มทุนเป็น
500 ล้านบาท
การที่ชาตรีเข้ามาถือหุ้นในส่วนนี้ ดูจะทำให้การตัดสินใจคล่องตัวขึ้น เพราะชาตรีเป็นเพื่อนเก่าและเห็นว่าทีทีไอมีโอกาสขยายตัวอีกมาก
ความคิดสอดคล้องกัน
ประการสำคัญ ตลาดของทีทีไอเป็นตลาดคนละส่วนกับตลาดสิ่งทอทั่วไป เรียกว่าเมื่อเศรษฐกิจดี
ตลาดบูม ทีทีไอก็ยิ่งขายได้มาก แต่ถ้าตลาดสิ่งทอโดยรวมตก ทีทีไอก็ยังไปได้
"เรียกว่าถ้าจะมีปัญหาก็น้อยกว่าคนอื่น" บุญนำกล่าวถึงความต่างในการทำธุรกิจของตน
จนกลายเป็นคำถามสำหรับคนทั่วไป เมื่อพูดกันว่าสิ่งทอกำลังจะแย่ แต่ทำไมทีทีโอจึงโตวันโตคืน
มาถึงยุคที่สองของบุญนำ ซึ่งถือว่าเป็นโรงงานสิ่งทอรุ่นใหม่ ก็คือ ไทยรุ่งเท้กซ์ไทล์
หรือบางครั้งก็เรียกสั้น ๆ ว่าไทยรุ่งฯ ตั้งขึ้นมารองรับตลาดเสื้อผ้าแฟชั่น
รวมไปถึงการตั้ง "ไทยแสตนดาร์ดอุตสาหกรรม" ขึ้นมารับผิดชอบด้านย้อมผ้า
และที อาร์ ที การ์เม้นท์ เพื่อผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นตามออร์เดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะที อาร์ ที การ์เม้นท์น้องใหม่ของทีทีไอกรุ๊ปได้กลายเป็นแหล่งทำรายได้อย่างงดงาม
จะเห็นว่าเริ่มผลิตในปี 2529 มีเครื่องจักรเพียง 250 เครื่อง แต่ก็เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาสร้างระบบข้อมูลและออกแบบ
พอปลายปีผลิตเพิ่มเป็น 2 เท่า จากยอดขายประมาณ 50 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเป็น 137
ล้านบาทในปี 2530
ปีถัดมา ยอดขายพุ่งขึ้นเป็น 294 ล้านบาท
จากนั้นได้เข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ถึงปี 2532 มียอดรายได้จากส่งออกเสื้อผ้าประมาณ 498 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี
2531 ประมาณ 70 % โดยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 46 ล้านบาทเศษ
ที อาร์ ที การ์เม้นท์ จึงเพิ่มเครื่องจักรอีก 400 เครื่องในครึ่งหลังของปี
2532 ทำให้มีเครื่องจักรทั้งหมด 1,000 เครื่องอาศัยแรงงานราว 1,400 คนส่งผลให้ผลิตเสื้อผ้าได้
3 ล้านชิ้นต่อปีจากที่ผลิตได้ 1.63 ล้านชิ้นต่อปี
งานส่วนนี้ จะนำทีมบริหารโดยสุชาติ จันทรานาคราช น้องภรรยาของบุญนำ
สุชาติเคยทำงาอยู่ที่บริษัท ไทยเอโร่ จำกัด
เครื่องทีบีไอกรุ๊ป ซึ่งบุญนำได้ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2515 เมื่อทีทีไอมีบริษัทน้องใหม่เกิดขึ้น
บุญนำจึงชักชวนสุชาติมาบริหารงานให้ที.อาร์.ที.การ์เม้นท์
นอกจากนี้ สุชาติยังได้เพื่อนร่วมงานเดิมจากไทยเอโร่ คือ สมพ่วง เพาะผล
มาร่วมบริหารมีสง่า เยี่ยมพัฒน์ เป็นผู้จัดการโรงงาน และสุมณฑา โอภาศิริรัตน์
ดูแลทางด้านการเงิน ซึ่งแต่ละคนจะเป็นกรรมการบริหารของบริษัทด้วย
หลักในการทำตลาดก็เช่นเดียวกับทีทีไอ คือ จะผลิตเสื้อผ้าตามออร์เดอร์และดีไซน์ของลูกค้าโดยที.อาร์.ที.การ์เม้นท์จะจัดห้องโชว์ชนิดผ้าและแฟชั่นเสื้อผ้าหลากสไตล์ไว้
พร้อมห้องทำงานไว้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า
"จัดรวมไว้ที่เดียวกัน เวลาลูกค้ามาติดต่อมาทีเดียวก็ติดต่อธุระได้ทั้งหมด
ไม่ต้องเดินทางหลายทอด บางครั้งมาตอนเช้า ดีไซน์แบบ และตกลงกันเรียบร้อย
ตอนเย็นเขาเดินทางกลับได้สบายไม่ต้องเสียเวลา" บุญนำเลาถึงการบริการลูกค้าซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดอีกทางหนึ่ง
ในยุคที่ 2 นี้ บุญนำยังคงใช้วิธีการบริหารเหมือนยุคแรก ซึ่งไม่เพียงแต่ร่วมถือหุ้นบริษัเท่านั้นแต่ยังไปตั้งบริษัทส่วนตัวได้
เช่น ชาติจะมีบริษัท โกลด์ไมน์ การ์เม้นท์ จำกัด
บุญนำยังมีสไตล์บริหารน่าสนใจโดยผู้บริหารแต่ละคนจะไปเป็นกรรมการในอีกบริษัทหนึ่ง
เช่น ธวัชชัย ผู้คุมตลาดส่งออกของทีทีไอจะเป็นกรรมกรในที.อาร์.ที.การ์เม้นท์
เพื่อให้แต่ละคนเข้าใจงานซึ่งเกี่ยวข้องกันเรียกว่ามีตัวตายตัวแทน ดังที่บุญนำบอกว่า
"ถ้าคนหนึ่งไม่อยู่ อีกคนก็ทำแทนได้"
ดังนั้น โดยตัวบุญนำเองจะดูเฉพาะนโยบายหลัก ซึ่งอาจจะได้ดังใจบ้างไม่ได้บ้าง
ถ้าไม่ดีก็พูดด้วยเหตุผล อย่างที่ผู้ถือหุ้นของทีทีไอรายหนึ่งเล่าถึงคำแซวที่บุญนำมักจะพูดบ่อย
ๆ ว่า "อาเจ็กไม่อยากพูดมาก พูดมาก เดี๋ยวก็บอกว่า งั้นอาเจ็กไปทำเองก็แล้วกัน"
ด้วยระบบบริหารโดยสตาฟอยางนี้ "พอลูกค้ารู้ว่า อาเจ็กไม่ใช่คนที่เขาจะต้องติดต่อด้วย
ให้เขารู้ว่าใครรับผิดชอบเขาก็ต้องไปหาคนนั้น ไม่ต้องมาพบเอาเจ็กเพราะถ้าทุกคนต้องรออาเจ็ก
ก็ไม่ต้องมีทีมสตาฟ ทำอย่างนี้ เขาจะเจรจากันเอง อาเจ็กก็ไม่ต้องเหนื่อย"
บุญนำเลาอย่างอารมณ์ดี
บุญนำจะไม่ชมใครต่อหน้าเจาตัวแต่อาจจะไปชมให้คนอื่นฟังเพื่อเป็นตัวอย่าง
และยังพูดกันวาสตาหฟฟ์ของที่นี่นอกจากจะต้องมีฝัมือเท่าทันโต้ตอบได้ในที่ประชุมอย่างฉับพลันแลวยังต้องปรับตัวให้เข้าใจภาษาของบุญนำให้ดี
เนื่องจากบุญนำจะคุ้นภาษาอังกฤษ จีน และญี่ปุ่นมากกว่าภาษาไทย สไตล์การพูดของบุญนำจึงค่อนข้างเฉพาะตัว
"จะมีจีนคำ อังกฤษคำ คนที่มาใหม่ หรือยังไม่คุ้น แรก ๆ จะฟังไม่รู้เรื่อง
ถ้าฟังไม่รู้เรื่อง ก็เป็นอันทำอะไรไม่ได้" กรรมการในเครือทีทีไอกรุ๊ปเล่าถึงความเคยชินในการใช้ภาษาของบุญนำ"
เคยมีเหมือนกัน ฟังอาเจ็กพูดแล้วไม่เข้าใจ บอกให้ช่วยพูดช้า ๆ แต่อาเจ็กก็ไม่ว่าอะไร
คงรู้นะ"
นอกจากนี้ มีเรื่องตลกอันเป็นผลพวงจากบุคลิกส่วนตัวของบุญนำอีกอย่างหนึ่ง
คือ เป็นคนคล่องแคล่ว ดูกระฉับกระเฉง แม้ว่าอายุจะมากกว่าสตาฟฟ์รุ่นหนุ่ม
ๆ กว่า 10ปีขึ้นไปก็ยังดูแข็งแรง เป็นคนเดินเร็ว "เคยมีบางคน เดินดูโรงงานด้วยกัน
อาเจ็กเดินฉลุยแต่คนหนุ่ม ๆ บางคนเดินไม่ทัน หรือเหนื่อยเสียก่อน"
บุญนำเป็นคนรักษาสุขภาพ จะออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ
ว่าลงทุนน้อยประหยัดเวลา คนเดียวก็เล่นได้ ใครไปใครมาที่บ้านก็หาตัวเจอ หรือจะเล่นน้ำไปคุยงานไปด้วยก็ได้อีกเหมือนกัน
เนื่องจากบุญนำเป็นจริงจังกับงานดังที่เคยพูดกับหลายคนในทีทีไอว่า "ความสุขของ
อาเจ็กอยู่ที่การทำงาน" ในแต่ละสัปดาห์ เขาจึงต้องกำหนดไปออฟฟิศและโรงงานแต่ละแห่งให้ครบ
นัยว่าเพื่อให้กำลังใจแก่สตาฟฟ์ทุกแห่งอย่างเท่าเทียมกัน
พูดได้ว่าการที่บุญนำไปโลดในตลาแฟชั่นเสื้อผ้านั้นเพราะได้รับอิทธิพลจากญี่ปุ่นโดยตรง
บุญนำชอบใจวัฒนธรรมการบริโภคของญี่ปุ่นมาก เนื่องจากเป็นตลาดที่ไม่เกี่ยงราคาว่าจะแพงขอแต่ให้มีคุณภาพสูงเข้าไว้และเป็นไปจามสเป็กตามต้องการ
ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของบุญนำที่พยายามจะเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาในตลาดโดยเฉพาะตลาดยุโรป
ถือว่าเป็นศูนย์กลางและแหล่งอีกส่วนหนึ่งจะขายให้โรงงานการ์เม้นท์ ซึ่งจะเป็นผู้ส่องอกอีกต่อหนึ่ง
หรือบรรดาพ่อค้าซื้อไปแล้วส่งออก ถือเป็น INDIRECT EXPORT ประมาณ 40% ที่เหลือจะเป็นตลาดในประเทศ
ตลาดภายในจะขายผ่านตลาดสำเพ็ง คือ บรรดายี่ปั๊วในเครือทีทีไอ 12 ราย ก่อตั้งโดยบุญนำ
3 รายคือ หจก.ไท้ซินบริษัทไท้ซินจั่นจำกัดไทล์ ส่วนที่เหลืออีก 9 ราย บุญนำและศิริวรรณ
ภรรยาร่วมถือหุ้น ยังไม่รวมที่อยู่นอกเครืออีก 2 รายรวมจำนวนยี่ปั๊วที่ทีทีไอขายผ่านทั้งหมด
14 ราย
ในส่วนที่ขายผ่านตลาดสำเพ็งนี้ ส่วนหนึ่งผลิตเสื้อผ้าขายในประเทศ แต่จะมีบางส่วนส่งออกในตลาดอีกกลุ่มหนึ่งต่างหาก
การผลิตผ้าของทีทีไอจะทำตามออเดอร์เป็นหลัก ที่มีชื่อมากคือผ้าแฟนซี ผ้าลอยดอกซึ่งถือว่ายังไม่มีคู่แข่ง
และจะมีบางส่วนที่ทีทีไออาจจะออกแบบเองเพื่อรุกตลาดเมื่อเห็นว่าน่าสนใจ
สำหรับด้านแฟชั่นเสื้อผ้าภายใต้การผลิตของไทยรุ่งและที.อาร์.ที.การ์เม้นท์นั้นเป็นการผลิตเพื่อส่งออกในลิขสิทธิ์ชื่อดังตามที่กล่าวแล้วแยกเป็นตลาดยุโรปกว่า
80% นอกนั้นจะเป็นตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
โดยเฉพาะญี่ปุ่นเป็นตลาดบุกเบิกยากหากคุณภาพไม่สูง เนื่องจากญี่ปุ่นพิถีพิถันมากจะว่าจู้จี้ดังที่ผูส่งออกบางรายพูดก็ใช่แต่ถ้าทำให้ญี่ปุ่นยอมรับได้
จะเป็นตลาดที่มั่นคงและขยายไปอีกมาเพราะลักษณะการค้าของญี่ปุ่นจะออกมาในรูปแนะนำต่อ
ๆ กันมานั้น
บุญนำจึงค่อนข้างได้เปรียบสำหรับตลาดญี่ปุ่น เพราะคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อพัฒนาคุณภาพผ้าผืนและเสื้อผ้าได้ตามญี่ปุ่นได้เมื่อ
5 ปีก่อน ซึ่งยังไม่มีผู้ส่งออกสิ่งทอคนไทยทำได้สำเร็จ
ส่วนตลาดยุโรป ตลาดแฟชั่นซึ่งทีทีไอกรุ๊ปเข้าไปบุกเบิกมาแต่ต้นแยกเป็นตลาดเยอรมนี
70% อิตาลีประมาณ 20 ที่เหลือเป็นตลาดอังกฤษ
บุญนำกล่าวถึง แผนพัฒนาแฟชั่นเสื้อผ้ากับ "ผู้จัดการ" ว่า "ที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่เราส่งออกแต่เสื้อผ้าแฟชั่นผู้ชาย ตอนนี้กำลังเริ่มพัฒนาแฟชั่นของผู้หญิง"
"ถ้าเทียบความทันสมัยของแฟชั่นแล้ว ยุโรปจะไปเร็วกว่าไทยหนึ่งปี ญี่ปุ่นเร็วกว่าครึ่งปี
ไทยอยู่อันดับ 3" บุญนำจัดลำดับแฟชั่นตลาดโลก
เอกลักษณ์ของทีทีไอกรุ๊ปที่มีความหลากเรียกว่า ใครมีออเดอร์สินค้าที่มีคุณภาพ
ถ้าผลิตได้ก็จะผลิตทุกอย่าง ซึ่งเป็นจุดได้เปรียบในการสร้างไม่ต้องกังวลปัญหาเรื่องราคา
ผิดกับสินค้าที่เป็น MASS PRODUCTS
ตลอดเวลาของบุญนำจึงอยู่กับการพัฒนาคุณภาพเสื้อผ้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งเมื่อรับออเดอร์แต่ละรายการ
ก็ทำให้ได้ตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
บุญนำกล่าวว่า "แม้ตลาดสิ่งทอจะชะลอตัวไปบ้าง หรือตกต่ำ "กลุ่มเราก็มีปัญหาน้อย
เพราะเป็นตลาดคนละส่วนกัน" สำหรับตอนนี้ออเดอร์เต็มถึงปีหน้า
ความที่ทีทีไอกรุ๊ปบุกเบิกและสร้างสมชื่อเสียงด้านนี้มากกว่า 20 ปี สินค้าทุกรายการภายใต้ชื่อ
"ทีทีไอ" จึงเป็นที่ยอมรับอย่างมาก
เมื่อลูกค้าเลือกผู้ผลิตสินค้าได้มาตรฐานทีทีไอกรุ๊ปในฐานะผู้ผลิตและผู้ขายก็เลือกลูกค้าเช่นเดียวกัน
"ลูกค้าที่เราติดต่อค้าขายด้วย ต้องมีเครดิตดี อยู่ในวงการเราเช็กได้ว่าใครเป็นยังไงแต่ถ้าเป็นออเดอร์ของลูกค้าใหม่
จะต้องมีคนให้การรับรอง" บุญนำเล่าถึงวิธีการรับออเดอร์
การทำตลาดภายในก็เช่นเดียวกัน แต่อาจจะเข้มงวดน้อยกว่า ถ้าเป็นลูกค้าหน้าใหม่
อาจจะขายออเดอร์ให้ แต่จะต้องมัดจำอย่างน้อย 30%
บุญนำถือว่าสไตล์การค้าอย่างนี้เป็นหลักประกันได้ว่าต่างก็ซื่อตรงต่อกัน
และสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีในระยะยาว
นอกจาก แนวการบริหารและสร้างตลาดในสไตล์ของญี่ปุ่นแล้วบุญนำยังนิยมเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นมากที่สุด
"ด้านเทคนิค ชอบญี่ปุ่นมาก เข้าใจได้ง่ายไม่ต้องแปล" เนื่องจากเข้าใจความเป็นญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง
ในระยะหลังบุญนำจึงเน้นใช้เครื่องจักรจากญี่ปุ่น
แต่ถ้าเทียบความคงทนแล้วของยุโรปอย่างสวิสจะดีกว่า แต่บุญนำให้เหตุผลว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรทนทานจนเกินความจำเป็น
เพราะแฟชั่นเสื้อผ้าจะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเทคนิคญี่ปุ่นจึงเหมาะที่สุด
"เหมือนรถญี่ปุ่นอาจจะไม่ค่อนทนทานเหมือนรถยุโรป แต่มีหลายแบบ เวลาเสียก็หามที่ซ่อมได้ง่าย"
นี่เป็นอีกเหตุผลที่บุญนำหันมาใช้เครื่องจักรญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าสะดวกด้วยประการทั้งปวง
ขณะเดียวกัน บุญนำก็มีบริษัท OSAKANISHIN ในญี่ปุ่น เป็นบริษัทซื้อมาขายไปในช่วงแรก
ปัจจุบันจะช่วยดูการซัพพลายด้านเครื่องจักร
ไม่รวมบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างมารูเบนี่ โตโยเมนก้า มิตซุย หรือซีโตะ ซึ่งบุญนำติดต่อค้าขายมาตลอด
โดยเฉพาะในยุคล่าสุด การลงทุนในโครงการใหม่ ๆ เพื่อสร้างธุรกิจครบวงจรและคุมคุณภาพสินค้าได้ดียิ่งขึ้น
ล้วนแต่มีบริษัทยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นมาร่วมสร้างยุคที่ 3 ในอุตสาหกรรมสิ่งทอของบุญนำอย่างโดเด่นกว่าเดิม
ผ่านมาแล้ว 2 ยุค บุญนำกำลังอยู่ระหว่างสานต่อยุคที่ 3 โดยลงทุนใน 2 กลุ่มใหญ่
กลุ่มแรกคือการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ด้วยกำลังการผลิต 22 ตันต่อสันในนามของบริษัทใหม่
"บริษัท ไทยโพลิเมอร์เท้กซ์ไทล์ จำกัด" เมื่อปี 2532 ทุนจดทะเบียน
75 ล้านบาท โดยมารูเบนี่คอร์ปอเรชั่นแห่งญี่ปุ่นถือหุ้นใหญ่ 15% สมาน โอภาสวงศ์
10% ชาตรี โสภณพนิช 10% บุญนำ 10% ประภา วิริยประไพกิจ 5% สุชัย วีระเมธีกุลจากเอ็มไทยกรุ๊ป
5% ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทั้งในวงการและนอกวงการถือหุ้นกันอย่างกว้างขวาง
พร้อมกันนั้นก็ตั้ง "บริษัท ไทยทาเฟตตาเท็กซ์ไทล์ จำกัด" ทำธุรกิจทอผ้า
กำลังการผลิต 2 ล้านหลา โดยบุญนำถือหุ้นใหญ่ 10% จากทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมี "บริษัท ไทยฟิลาเม้นท์ฟินิชชิ่ง จำกัด" รับจ้างพิมพ์ย้อมผ้าและเส้นด้าย
เพื่อเสริมธุรกิจในเครือให้มั่งคงยิ่งขึ้น มีกำลังการผลิตได้ประมาณ 2 ล้านหลา
3 โครงการนี้ ใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2,000 ล้านบาท โรงงานอยู่ที่สำโรง
4
กลุ่มที่ 2 ประกอบ 2 บริษัทใหม่คือ "บริษัทไทยนำศิริการทอ จำกัด"
ตั้งเมื่อปี 2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 1.5-2.0 ล้านหลาโดยมีเทยิ่นโชจิไกชาจากญี่ปุ่น
บริษัทชาตรี โสภณกับชาญ โสภณพนิช และบุญนำถือหุ้นใหญ่ฝ่ายละ 15% สมานและประภาถือฝ่ายละ
5%
อีกรายหนึ่งคือ "บริษัท ไทยนำศิริพิมพ์ย้อมจำกัด" ตั้งปีเดียวกัน
มีเทยิ่นโชจิไกชาจาก
ญี่ปุ่นทางเท็กซ์ไทล์จากไต้หวัน (เพื่อนเก่าบุญนำ) ชาตรี และบุญนำถือหุ้นใหญ่
กลุ่มนี้ใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ตั้งโรงงานบริเวณบางปู จะผลิตได้ราว
2 ล้านหลา
การลงทุนใน 2 กลุ่มโครงการใหม่นี้ ถือว่าเป็นการหนุนทางด้านพิมพ์ย้อมให้มั่นคงยิ่งก่าเดิมและมีแหล่งซัพพลายวัตถุดิบแน่นอนขึ้น
ยุคที่ 3 ของบุญนำถือเป็นยุคกระจายพันธมิตรการค้าให้กว้างขวางกว่าเดิม
นอกเหนือจากเพื่อนผู้เกี่ยวข้องในวงการมากมายแล้ว ยังขยายวงไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่นอย่างเห็นได้ชัดอันเป้นผลมาจากการเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน
ศูนย์รวมนักธุรกิจจีนในไทยจากหลากวงการ
สำหรับสมานนั้น บุญนำรู้จักมาก่อนในวงการสิ่งทอ แต่ที่ประภามาร่วมลงทุนด้วยเป็นเพราะรู้จักกันจากการเข้าสมาคมฯ
ขณะเดียวกัน ส่งผลให้บุญนำกลายเป็นแกนหลักไปลงทุนตั้งโรงงานทอผ้าที่ซันตง
ประเทศจีน ร่วมกับเพื่อนร่วมสมาคมฯ คนอื่น โรงงานนี้มีแกนปั่นด้าย 20,000
แกน ใช้เทคนิคการผลิตจากญี่ปุ่นเหมือนกับที่ใช้ในไทย ซึ่งใช้ระบบไร้กระสวย
ทำให้ทอได้เร็วกว่าปกติ 2-3 เท่าเริ่มผลิตแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2533 จีนผลิตแล้วจะใช้ในประเทศครึ่งหนึ่ง
อีกประมาณครึ่งหนึ่งก็จะซื้อกลับมาใช้ในทีทีไอกรุ๊ป
อาณาจักรสิ่งทอของบุญนำจึงกระจายไปทั่วโลกแต่บุญนำเองบอกว่า ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะทำมาได้ถึงขนาดนี้
บุญนำในวันนี้จึงกลายเป็นที่ยอมรับค่อนข้างสูง อาศัยการสร้างความช่วยเหลือด้วยพันธมิตรทางการค้านักลงทุนด้านสิ่ทอรุ่นใหม่จำนวนมากเคยอยู่กับบุญนำมาก่อนจนได้ดิบได้ดีไป
"คุณบุญนำกลายเป็นคนที่มีพระเดชพระคุณกับวงการนี้มาก ที่เรียกกันว่ามีบารมี"
ผู้ส่งออกเท็กซ์ไทลน์นอกทีทีไอกรุ๊ปกล่าว
เมื่อก้าวมาถึงขั้นนี้ บุญนำเปิดเผย "ผู้จัดการ" ว่า "ส่วนตัวแล้ว
อาเจ็กคงพอแค่นี้ ถ้าจะให้ไปเป็นหลักในการลงทุนโครงการใหม่ ไม่เอาแล้วเพราะตั้งใจว่าปีหน้า
ถ้านับอายุจีนก็ 61 จะเริ่ม SEMI-RETIRE ตัวเอง ปีนี้ผมขาวไปเยอะ ขึ้นอยู่กับระดับบริหารรุ่นใหม่ในปัจจุบันวาเขาสนใจจะทำแค่ไหน"
แต่ที่เที่ยวไปลงทุนในธุรกิจเรียลเอสเตทด้วยการไปร่วมทุนในเอ็มไทยกรุ๊ปของสุชัย
เพื่อนเก่าหรือโครงการสนามกอล์ฟ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ "เอาเจ็กเพื่อนเยอะ
อย่างญี่ปุ่น ไตัหวันเขาสนใจเรื่องที่ดิน จนลงทุนก็ต้องชวนคนไทย รู้จักกันมาก่อนก็ลงกันไปลงกันมา"
ไม่เคยคิดที่จะเอาดีในธุรกิจที่ดิน
แม้ว่าโครงการใหญ่ ๆ อย่างเดอะรอยัลกอล์ฟแลนด์ที่บางนา-ตราด กม. 18 และคอมเพล็กซ์ริมน้ำเจ้าพระยาถือว่าทางโตโยเม้นก้าเป็นหลักด้านแหลมฉบังกอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ
ศรีราชาก็เป็นเพื่อนจากไต้หวัน หรือโครงการบิสสิเนสคอมเพล็กซ์ ถ.วิทยุ ซึ่งเอ็มไทยกรุ๊ปซือ้ทีดิ่นจากสแตนดาร์ดชาร์เตอร์แบงก์ของสุชัยเพื่อนกันนั้นบุญนำจะเป็นบุคคลสำคัยในการขจายก็ตาม
"อาศัยคุ้นเคยกันก็ชวนให้ซื้อ" บุญนำเล่าถึงที่มาของเสียงร่ำลือว่าตนเป็นผู้เจาะตลาดที่ดินเหล่านี้
บุญนำยอมรับว่า การทำธุรกิจที่ดินนั้นเอาเข้าจริงแล้วยาก เนื่องจากไม่มีความชำนาญ
ซึ่งในที่สุดแล้วรักษาและผูกพันอยู่กับสิ่งทอมากกว่า "พวกนี้เรารู้ดี
มีปัญหาอะไร แก้ไขได้หมด"
นี่เป็นเพียง 4 โครงการใหญ่ที่บุญนำเข้าไปถือหุ้น ไม่รวมโครงการอื่นอีกมาที่บุญนำเข้าไปถือหุ้นเล็ก
ๆ น้อย ๆ ประมาณ 5% จนเจ้าตัวเองก็จำไม่ได้
การเข้าไปในธุรกิจที่ดินถือว่าเป็นการหยิบฉวยโอกาส เมื่อน้ำขึ้นให้รีบตัก
เพราะมีกำรดีดังที่บุญนำบอกว่า "ที่ดิน ซื้อมาแค่ 2-3 เดือนกำไรเยอะแยะ
พอเศรษฐกิจตก ตอนนี้แย่หน่อยก็เก็บไว้ก่อน" ไม่เหมือนสิ่งทอซึ่งจะต้องค่อย
ๆ เก็บเกี่ยวกำไรอย่างสม่ำเสมอ "เราดูตลาดออกและคุมได้"
เมื่อบุญนำเข้าสู่ธุรกิจพัฒนาที่ดิน "ตอนนี้เลยเริ่มหัดเล่นกอล์ฟ
เมื่อโครงการเสร็จ จะได้ไปเยี่ยมโครงการต่าง ๆ และ JOINT กับเขาได้"
เมื่อก่อนไม่เคยคิดเล่นด้วยเหตุผลสั้น ๆ ว่า "WASTE TIME ใช้เวลามาก
อย่างน้อยครึ่งวัน ใครมาติดต่อที่บ้านก็ไม่เจออีก"
บุญนำยืนยันว่า ไม่เพียงแต่จะหยุดการเป็นแกนนำในการลงทุนใหม่เท่านั้น แต่จะไม่โยกไปสู่อุตสาหกรรมอื่น
เนื่องจากเห็นว่าการทำธุรกิจในแนวดิ่งให้มีจุดเด่นและเอกลักษณ็เป็นจุดขายของตนเองจะไปได้ดี
เหมือนที่ผ่านมาจนถึงวันนี้
วันซึ่งบุญนำภูมิใจในงานของตน และมีลูกสาวคนโตเพียงคนเดียวที่อยู่ในวงการเดียวกับพ่อคือ
พัชรวรรณ จบศิลปศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และไปเรียนภาษาที่ญี่ปุ่น
ตอนนี้ช่วยดูแลทางด้านเสื้อปีอาร์การ์แดงของผู้หญิง อยู่ในบริษัท บุญศิริฯ
ด้วยวัยเพียง 26 ปี
ลูกสาวคนที่ 2 คือ เพชรรัตน์กำลังศึกษาด้านเท้กซ์ไทล์อยู่ในสหรัฐ "คนที่
3 เรียงบัญชีอยู่เพนซิลวาเนีย คนที่ 4 เรียนอยู่คณะบัญชี จุฬา และคนที่ 5
ยังอยู่เซนต์โยเซฟ" บุญนำเอ่ยถึงลูกสาวทั้ง 5 อย่างมีความสุข "สนใจจะทำสิ่งทอหรือไม่ก็แล้วแต่"
อนาคตของทีทีไอกรุ๊ปจึงเป็นหน้าที่ของคนรุ่นใหม่ที่จะต้องพัฒนาสานต่อ
บุญนำมั่นใจว่าปรัชญาการบริหารระบบสตาฟแบบญี่ปุ่นจะเป็นกลไกสำคัญช่วยพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บุญนำผูกพันกับญี่ปุ่นมาก จนดูเหมือนจะเป็นญี่ปุ่น
ดังที่คนของทีทีไอกรุ๊ปบอกว่า "อาเจ็ก LIKES JAPANESE BUT NOT"