Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553
สภาธุรกิจไทย-พม่า จังหวะการจัดตั้งที่ “เหมาะเจาะ”             
 

   
related stories

พม่า จุดเปลี่ยน “อาเซียน”
ความตื่นตัวของนักธุรกิจท้องถิ่น

   
search resources

Commercial and business
International
สภาธุรกิจไทย-พม่า
ธนิต โสรัตน์




ไทยกับพม่ามีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน แต่ด้วยความที่พม่าปิดประเทศทำให้ความคุ้นเคยของคนไทยส่วนใหญ่ต่อพม่าค่อยๆ เลือนหายไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสัมพันธ์ไทยกับพม่าในเชิงเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ต่อกันอย่างเหนียวแน่น อีกทั้งพม่าซึ่งได้ชื่อว่าเคยรบแพ้ชนะกับไทยมาหลายครั้ง กลับเป็นประเทศที่มีความรู้สึกดีๆ กับคนไทยมากกว่าเพื่อนบ้านฝั่งลาวและเขมร ซึ่งมีประวัติศาสตร์ในยุคหลังๆ สะกิดใจกันมากกว่าเสียอีก

การค้าระหว่างพม่ากับไทยมีมูลค่าเฉลี่ยปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 6-7 หมื่นล้านบาท มาอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่มีการตั้งหน่วยกลางเพื่อสานความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองฝ่ายอย่างจริงจัง แต่เมื่อสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แตกลูกเปิด สภาธุรกิจไทย-พม่า (Thai-Myanmar Business Council) ขึ้นเมื่อต้นปี 2553 นี้ ตัวเลขที่ว่านี้ก็ถูกวางแผนกระตุ้นการเติบโต เพิ่มเป็นกว่า 8 หมื่นล้านบาท

"พม่าเป็นประเทศที่ศักยภาพ มีการค้ากับไทยในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย ตัวเลขการค้าปี 2551 มูลค่า 7 หมื่นล้าน 80-90% เป็นการค้าชายแดน ปีหนึ่งมูลค่าการค้าเพิ่ม 10% อยู่แล้วแต่มีเมื่อมีหน่วยงานดูแล เราคาดว่ามูลค่าการค้าน่าจะเพิ่มได้ถึง 20% ในปีนี้" ธนิต โสรัตน์ ประธานสภาธุรกิจไทย-พม่าคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งพร้อมกับการเปิดตัวสภาธุรกิจไทย-พม่า กล่าวกับ ผู้จัดการ 360 ํ

เขาชี้ให้เห็นสภาพทางประชากรของกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อการค้าว่า หากพิจารณาความสำคัญจากประชากร พม่าเป็นประเทศที่มีประชากร 58 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจากอินโดนีเซียและไทย นับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน โดยทั่วไปคนพม่ามีทัศนคติที่ดีต่อคนไทย

"คนพม่าชอบคนไทย ชอบตั้งแต่เรื่องการเมืองถึงตัวชาวบ้าน แล้วเราก็มีแรงงานพม่าถึง 1.7 ล้านคนในประเทศ 10 ปีมีพม่าหมุนเวียน 10 กว่าล้านคน"

คนกลุ่มนี้ถือเป็นตลาดที่สำคัญของ สินค้าไทย เพราะเมื่ออยู่เมืองไทยก็เคยชินกับการใช้ของไทย สบู่ ผงซักฟอก แชมพู ไปจนถึงสินค้าบริโภคต่างๆ แม้แต่ของขบเคี้ยว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่สินค้าไทย จะเข้าไปครองตลาดในพม่ามากกว่า 60-70% ในปัจจุบัน

ที่ผ่านมาไทยและพม่าต่างปล่อยให้มูลค่าทางการค้าที่เกิดขึ้นเป็นไปโดย กลไกธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อผลักดันให้พม่ากลายเป็นอีกตลาดที่สำคัญมั่นคงของธุรกิจไทย จึงมีการดึงเอาผู้เชี่ยวชาญธุรกิจระหว่างสองประเทศนี้ก่อตั้งขึ้นเป็นสภา ธุรกิจไทย-พม่า

สภาธุรกิจไทย-พม่าเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 โดยมีอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีเปิด โดยก่อนหน้านั้นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งถือเป็นแม่งาน ได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้งสภาธุรกิจไทย-พม่าขึ้นด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบัน ได้แก่ สภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย

บทบาทของสภาธุรกิจไทย-พม่า จะเป็นหน่วยงานกลางเพื่อความร่วมมือ ระหว่างภาคเอกชนของไทยและพม่า ตั้งแต่เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างนัก ธุรกิจไทยและพม่า ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ อำนวยความสะดวกในการติดต่อธุรกิจระหว่างทั้งสองประเทศ เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความคิดและผลักดันไปจนสู่การดำเนิน งานอย่างเป็นรูปธรรมทางธุรกิจ พร้อมสนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก นักธุรกิจทั้งสองประเทศ เป็นหน่วยงานร่วมพิจารณาเสนอระเบียบการค้าต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ด้าน ทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งกระบวนการวิจัยพัฒนาด้านวิชาการเพื่อเผยแพร่ข้อมูลแก่กลุ่มสมาชิก

จากพันธกิจของสภาฯ ที่จัดตั้ง ขึ้นนี้ ไม่ใช่ฝ่ายไทยฝ่ายเดียวเท่านั้นที่มองประโยชน์จากการค้าที่เพิ่มขึ้นของ พม่า แต่พม่าก็เล็งเห็นประโยชน์จากความร่วมมืออย่างจริงจังนี้ด้วย

ปัจจุบันพม่าถือได้ว่าเป็นแหล่งทรัพยากรของไทย สินค้าธรรมชาติหลายชนิด ทั้ง น้ำมัน โครงการปั่นกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนในแม่น้ำสาละวิน ที่ป้อนกระแสไฟฟ้าถึงหนึ่งในสามของการใช้ไฟในไทย และใหญ่กว่าเขื่อนน้ำเทินของลาว ทุกอย่างล้วนเป็นส่วนของการเติบโตด้านรายได้ของพม่า การร่วมมือกับไทยจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-พม่าก็น่าจะมีผลประโยชน์ต่อการค้าพม่าได้ดีกว่าปล่อยให้เติบโตแบบไร้หลักการ

"เราคุยกันมาเกือบ 10 ปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่พม่าระวังเลยตั้งยาก จนได้โอกาส ไปเสนออีกครั้งในที่ประชุมตอนที่ท่านอลงกรณ์ (พลบุตร) ไปประชุมกับ รมต.พาณิชย์พม่า ที่เนปิดอ ก็เห็นว่าเรื่องนี้มีประโยชน์จึงให้เอกชนคุยกัน นักธุรกิจพม่าแต่ละคนตัวจริงหมด แต่ละคนโทรถึงรัฐบาลได้โดยตรง ทางกระทรวงพาณิชย์ก็ให้กรมเจรจาการค้ามาเป็นโค้ช ทางกระทรวงต่างประเทศก็ส่งผู้แทนมาร่วม ทางทูตพม่าก็มา จนจัดตั้งสภาฯ ขึ้นมาสำเร็จ" ธนิตกล่าว

ขณะที่สภาธุรกิจไทย-พม่า มีที่ตั้งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย แม้กระทั่งบุคลากรก็ยังเหมือนยืมตัวมา เช่นเดียวกับธนิต ซึ่งเขาก็มีตำแหน่งเป็นรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอยู่ด้วยในขณะ นั้น ได้รับเลือกให้มาเป็นประธานสภาธุรกิจไทย-พม่าควบคู่กันไปอีกตำแหน่ง เพราะมีความคุ้นเคยกับการค้าในประเทศนี้เป็นอย่างดี

ในทางกลับกัน สภาธุรกิจพม่า-ไทย ในประเทศพม่า แม้ก่อนจะตั้งได้นั้นยากเย็น แต่เมื่อตั้งแล้วก็เรียกว่าพร้อมทุกด้าน

"ของเขาออฟฟิศเป็นตึก 10 ชั้น หลังเบ้อเริ่ม ใหญ่จริงๆ ตั้งอยู่ในร่างกุ้ง แต่เปลี่ยนจากสภาพเป็นพม่าไทยบิสซิเนส ฟอรั่ม เป็นการตั้งคู่ขนานกันไปนักธุรกิจจะสะท้อนกันง่าย แต่นักธุรกิจกับนักการเมืองต้องไปด้วยกัน"

เพียงปีแรกที่จัดตั้งสภาธุรกิจไทย-พม่า สภาฯ มีสมาชิกร่วมร้อยราย ประกอบด้วยสมาคมใหญ่ๆ อย่างสมาคมอัญมณี สมาคมเครื่องกลเกษตร สมาคมอาหารสำเร็จรูป รวมทั้งธนาคารใหญ่ ทั้งธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM) ปัจจุบันสภาฯ ดำเนินการจัดทำคู่มือผ่านเว็บไซต์ 3 ภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการจับคู่ธุรกิจได้ง่ายขึ้น กำหนดจัดการประชุม ร่วมกันทุกสองเดือน มีโปรแกรมดูงานท่องเที่ยว รวมทั้งดูแลกันในเชิงวัฒนธรรม

ส่วนกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายหลักที่พม่าต้องการ ได้แก่ พวกเครื่องกลเกษตร อาหารสำเร็จรูป โลจิสติกส์ อัญมณี ซึ่งอย่างหลังนี้พม่าถือเป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นดี

"เดี๋ยวนี้ที่เนปิดอ เขาหวังจะจัดงานจิวเวลลี่แฟร์แข่งกับไทยด้วย เราก็จะไปจับคู่ธุรกิจกัน เพราะคาดว่าหลังจากมีสภาธุรกิจไทย-พม่า ก็น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีของนักธุรกิจไทย"

ธนิตตั้งข้อสังเกตให้เห็นว่า จากจุดเล็กๆ อย่างงานจิวเวลลี่แฟร์นี้ เป็นเพียงเรื่องเดียวที่จะเตือนให้นักธุรกิจไทยต้องตื่นตัวมากกว่านี้

"พม่าโตเร็วมาก ตอนนี้ต่างชาติเข้าพม่าหมด เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ดูจากเมืองเนปิดอก็รู้ พม่าเนรมิตผังเมือง วางสัดส่วนชัดเจน ถ้าช้ากว่านี้เราจะเสียเปรียบ และเราก็ต้องคบกับเขาอย่างจริงใจ อะไรที่ช่วยเหลือกันได้ต้องช่วย โดยเฉพาะ การอำนวยความสะดวกด้านการค้า เพราะการค้ากับพม่า สินค้าหลายรายการเป็นของต้องห้ามหมด โค้กก็ไม่ได้ รองเท้าแตะก็เป็นยุทธปัจจัย รถยนต์ก็เป็นของต้องห้าม"

ข้อดีของไทยจากการเติบโตของพม่า จึงไม่เพียงมูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้น แต่ยังได้ประโยชน์จากการเมืองที่จะเชื่อมเข้าสู่พม่า โดยเฉพาะในแง่ของการท่องเที่ยว เมื่อพม่าเปิดเมืองมากกว่านี้ รวมทั้งประโยชน์ด้านการลงทุนของไทยที่สามารถ ใช้พม่าเป็นฐานการผลิต และแหล่งแรงงาน ราคาถูก ที่เป็นปัจจัยสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานจำนวนมาก เพื่อให้สินค้าไทยทำราคาแข่งกับเพื่อนบ้านอย่างจีนและเวียดนามได้

ธนิตยกตัวอย่างความสำเร็จของการค้าชายแดนไทย-พม่า กรณีพื้นที่แม่สอด ซึ่งหลังจากมีสะพานมิตรภาพเกิดขึ้น ทำให้ไทยและพม่าต่างได้ประโยชน์จากพื้นที่การค้า โดยไทยสามารถเข้าไปใช้พื้นที่สร้างคลังสินค้าหลายแห่งแถวแม่สอด เพื่อส่งเป็นคาราวานไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในประเทศพม่า

จากจุดเล็กๆ ของตัวอย่างที่ยกมา สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาเส้นทางการค้าที่จะเป็นจุดเปลี่ยนของระบบ โลจิสติกส์ในภูมิภาคได้อีกเส้นทางหนึ่ง นั่นคือการที่พม่ามีแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวาย โครงการมูลค่าแสนล้านบาท ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานแล้วจาก JICA ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจุดนี้หากไทยไม่เข้าไปร่วม ศึกษา หรือเตรียมการ ก็อาจจะขาดการวาง ระบบที่เชื่อมต่อการค้ากับพม่าและประเทศ อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เส้นทางเชื่อมระหว่างไทยกับพม่าเดิมมีเส้นทาง East West Ecocnomic Corridor (EWEC) ที่เชื่อมตั้งแต่ดงฮาของประเทศเวียดนามผ่านลาว เข้าจังหวัดพิษณุโลกของไทย ทะลุไปอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ออกเมืองเมียวดีของพม่า แม้จะเป็นถนนที่พาดผ่านหลายประเทศแต่ East West Corridor ก็เป็นแค่ Door-to-door ที่มีความสำคัญน้อยกว่าเมืองที่เป็นยุทธศาสตร์ที่จะเป็น land bridge อย่างทวาย

"โลจิสติกส์ด้านล่างที่พม่ามองไว้ เป็น land bridge ที่ไม่ใช่ขนแค่ในอาเซียน แต่สามารถส่งสินค้าออกไปประเทศที่สามได้เลยโดยไม่ต้องผ่านมะละกา"

ท่าเรือน้ำลึกที่ทวายของพม่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาไทย เป็นท่าเรือที่เชื่อกันว่าจะมีความสำคัญอย่างมากในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า เมื่อการใช้งานท่าเรือที่มีอยู่เดิมในละแวกนี้คับคั่งเกินไป เพราะเท่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ท่าเรือแหลมฉบังเองก็ต้องจองคิววิ่งเรือถึงสิบวัน บางลำต้องรอถึง 2 สัปดาห์กว่าจะได้วิ่ง เพราะการจราจรคับคั่ง เพราะสำหรับเรือนั้นแค่เห็นกันห่างแค่ร้อยเมตรก็ถือว่าอันตรายแล้ว

พม่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับ East West Corridor ซึ่งมีปลายทางออกทะเลที่ท่าเรือเมาะละแหม่งเท่าไรนัก เพราะเส้นทางที่แม้พม่าจะเป็นผู้ขีดไว้เอง แต่พื้นที่ปลายทางเมาะละแหม่งก็ไม่เหมาะที่จะพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึก จึงหันไปให้ความสำคัญกับการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ทวาย ซึ่งปัจจุบันแม้จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว แต่ก็ยังไปไม่ได้ไกลเพราะติดทั้งปัญหากองโจรของกลุ่มกะเหรี่ยง และเงินทุนที่สนับสนุนผ่าน ADB ก็ผิดกรอบการปฏิบัติงาน ทำให้โครงการดังกล่าวชะงักไป

หากท่าเรือน้ำลึกทวายเปิดดำเนินงาน เส้นทางการค้านี้จะเชื่อมเข้าไทยทางจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณบ้านน้ำพุร้อน ซึ่งจะทำให้บริเวณนี้มีสภาพคล้ายกับพื้นที่บริเวณแม่สอดของจังหวัดตาก แต่ระยะทาง ขนส่งสินค้าจากพื้นที่ไปแหลมฉบังวิ่งไปกลับจะมีระยะทางไม่เกิน 400 กิโลเมตร ซึ่งได้เปรียบแม่สอดซึ่งวิ่งไปกลับรวมเป็น 1,000 กิโลเมตร

จากกาญจนบุรีข้ามเข้าสู่พม่า ปัจจุบันมีเส้นทางตามแนวต้นสนเก่าสมัยอังกฤษปกครองพม่าที่สามารถพัฒนาและขยายเป็นถนนหลักได้ วิ่งผ่านเมืองตองสา ไปเมืองทวายของพม่า คิดเป็นระยะทางเพียง 160 กิโลเมตร เส้นทางนี้ปัจจุบันยังเป็นเส้นทางการค้าเล็กๆ ของกลุ่มผู้ค้าหินประดับ ต้นไม้ กล้วยไม้ป่า สาหร่าย ในสวนจตุจักร ที่ขี่มอเตอร์ไซค์วิ่งล่องขนสินค้าเข้ามาค้าขายอยู่เป็นประจำ

"พม่าอาจจะพัฒนาทีหลัง แต่เขาโตเร็ว และเรียนลัดได้ จากเราที่ใช้เวลายี่สิบสามสิบปี ผ่านกระบวนการมาเยอะ แต่อย่างพม่าจะข้ามขั้น เพราะเขาจะมีทุนต่างชาติมากมายหลั่งไหลเข้ามาหลังเปิดประเทศ"

แผนงานพม่ายิ่งใหญ่ บางเรื่องอาจ จะติดขัดบ้าง แต่สำหรับการดำเนินงานของ ฝั่งไทย ธนิตเล่าว่า

"ฝั่งไทยเราก็ยังพัฒนาต่อที่เมียวดี มีโครงการจะสร้างสะพานแห่งที่สองกับส่วนที่สร้างไปแล้ว 16 กิโลเมตร ก็จะสร้าง ต่ออีก 36 กิโลเมตรไปจนถึงกอกาเรก ส่วนพม่าก็สร้างเป็น Free Zone เป็นเขตส่งออกขนาดใหญ่ มีศูนย์กระจายสินค้า พื้นที่มีคนเช่าซื้อเต็มแล้ว

ตรงนี้ก็น่าจะเป็นฐานการผลิตมาขายไทยมากกว่าส่งออก ไทยเราเข้าไปพัฒนามากจนเมืองเมียวดีกลายเป็นเมืองใหญ่ ใหญ่กว่าแม่สอดด้วยซ้ำ"

การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการค้าร่วมระหว่างสองประเทศ เทียบกันระหว่างไทยกับพม่า ไทยอาจจะถือเป็นพี่ได้เต็มปากในฐานะประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจมาก่อน ซึ่งการจะเป็นพี่ใหญ่นั้น โดยเฉพาะการเป็นพี่ใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ที่จะเริ่มต้นขึ้นในปี 2020 ด้วยแล้ว ต้องเปิดใจกว้างและพร้อมที่จะตั้งรับและรุกให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us