Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553
“แม่สอด” กำลังเปลี่ยนแปลง             
 


   
search resources

International
East-West Economic Corridor
บรรพต ก่อเกียรติเจริญ




กว่า 1 ปีที่ผ่านมา ผู้จัดการ 360 ํ ได้เขียนถึงพื้นที่ชายแดนตะวันตกของไทย ทั้งแม่สอด-เมียวดี ที่อดีตเป็นแนวรบสำคัญในมิติความมั่นคงแห่งรัฐ อย่างมีนัยสำคัญมาแล้วถึง 2 ครั้ง

(รายละเอียดอ่านเรื่อง "East-West Corridor ประตูฝั่งตะวันตกที่รอการเปิด" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2551 และเรื่อง "มิงกลาบา: เมียวดี" นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552 หรือใน www.gotomanager.com)

แต่นับจากนี้ไป "แม่สอด-เมียวดี" กำลังทวีบทบาทมากขึ้นไปอีก ในฐานะพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญของเส้นทางการค้าทั้งของภูมิภาคนี้และของโลกใน อนาคต

บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก บอกว่าเมื่อปลายปี 2552 ในรายการสินค้านำเข้าจากพม่าผ่านด่านศุลกากรแม่สอด ปรากฏรายการนำเข้าสินค้าที่น่าสนใจเกิดขึ้น 2 รายการ ได้แก่ การนำเข้าเสื้อเชิ้ตชายในเดือนกันยายน และการนำเข้าสูทสุภาพบุรุษในเดือนตุลาคม

จากเดิม สินค้าที่นำเข้าจากพม่าผ่านด่านศุลกากรแม่สอด จะเป็นทรัพยากรภายในประเทศพม่าเป็นหลัก รวมถึงอาหารทะเล

ที่สำคัญ สินค้าทั้ง 2 รายการติด 1-10 รายการนำเข้าสูงสุด

สินค้าทั้งหมดถูกขนส่งมาจากโรงงานของผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นที่เข้าไปลงทุนในกรุงร่างกุ้งของพม่า นำเข้าไทยผ่านทางเมียวดี ก่อนจะส่งไปลงเรือที่ท่าเรือแหลมฉบัง หรือดานัง เพื่อส่งต่อไปยังเมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้ สินค้าญี่ปุ่นที่ผลิตในพม่า จะถูกขนส่งจากท่าเรือของพม่าไปยังนาโกยาโดยผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 3 สัปดาห์ แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นขนส่งทางบกผ่านทางเมียวดี-แม่สอด เพื่อไปลงเรือที่แหลมฉบัง หรือดานัง สามารถใช้เวลาลดลงถึง 1 ใน 3 หรือเหลือเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น

"การนำเข้าสินค้าจากพม่าที่ไม่เคยโผล่ให้เห็น 2 รายการนี้ น่าจับตา" บรรพตย้ำ

ยังมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกในราวปลายเดือนมกราคม 2553 ประธาน JETRO ของญี่ปุ่น มาพบกับบรรพตและเข้าสัมภาษณ์ มะ ติน ติน หรือติน ติน เมี๊ยะ ประธานหอการค้าเมียวดี เกี่ยวกับแนวโน้มการค้าการลงทุนในพื้นที่ชายแดนตะวันตกของไทยแถบนี้

เขาเชื่อว่าผู้ลงทุนญี่ปุ่นสนใจเส้นทางสายนี้มาก เพราะถ้าถนนได้รับการพัฒนา กอรปกับข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน ที่เริ่มมีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ญี่ปุ่นสามารถใช้พม่าเป็นฐานการผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม แล้วขนส่งผ่านเส้นทาง EWEC ไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง หรือดานังของเวียดนาม

ในทางกลับกัน ผู้ผลิตสินค้าจากญี่ปุ่นสามารถใช้เส้นทางนี้ ขนส่งสินค้าผ่านเข้ามายังทะเลอันดามัน ทางอ่าวเบงกอลส่งออกสู่ตลาดโลก โดยไม่ต้องอ้อมไปทางช่องแคบมะละกา และความเคลื่อนไหวของผู้ลงทุนญี่ปุ่นในชายแดนไทย-พม่าด้านนี้ ย่อมเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับทิศทางของ ADB ที่ญี่ปุ่นผลักดันให้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1966 โดยมีอเมริกาหนุนหลังอยู่ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการรุกเข้าสู่ภูมิภาคนี้

นั่นหมายถึงอนาคต "แม่สอด" จะไม่ได้เป็นแค่ช่องทางการค้าชายแดนไทย-พม่าเท่านั้น...

บรรพตมองว่า 30 กว่าปีที่ผ่านมา พื้นที่ชายแดนตะวันตก ถูกมองในมิติความมั่นคงเป็นด้านหลัก

"ถามว่าแล้วมีอะไรดีขึ้นไหม"

ด้วยภูมิรัฐศาสตร์ แม่สอดจะเป็นประตูสำคัญเชื่อมระหว่างอันดามันกับอินโดจีน เป็นศูนย์กลางอาเซียน เชื่อมอาเซียน-ยุโรป และอาจกลายเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างโลกตะวันตกกับโลกตะวันออกอีกด้วย

อีก 5-10 ปีต่อจากนี้พม่าต้องเปลี่ยน ดังนั้นแม่สอดก็ต้องเปลี่ยน!!!

นั่นนำมาซึ่งมติ ครม.ในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 อนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่า แห่งที่ 2 เนื่องจากสะพานแห่งแรกมีปัญหาเนื่องจากตอม่อถูกกระแสน้ำพัด และได้รับผลกระทบจากการหักเหของรถบรรทุก เพื่อเปลี่ยนเลนกลางสะพาน ทำให้คอสะพานเคลื่อน ไม่สามารถรองรับรถบรรทุกหนักได้

มติ ครม.ในวันเดียวกัน ยังอนุมัติการกันพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อสร้างเป็นคลังสินค้า-ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service; OSS)

กลางเดือนธันวาคม 2552 อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมคณะเดินทางเยือนพม่าและหารือความร่วมมือในเรื่องการก่อสร้างสะพาน มิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2, การพัฒนาเส้นทางคมนาคม-การขนส่ง-โลจิสติกส์ และการส่งเสริมการลงทุน กับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องของพม่า ประกอบด้วย พลจัตวา ตินไน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, พลจัตวา อองตุน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์, อูโซทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนแห่งชาติและพัฒนาเศรษฐกิจ, พ.อ.เงียง ตันอ่อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงขนส่ง, พล.ต.อ่องมิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรถไฟ, พล.ต.คิน หม่องมิ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้าง และ พล.จัตวาลุ่นตี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

รวมถึงแนวทางการพัฒนาเส้นทาง New Trade Lane 4 สายแม่สอด-เมียวดี-กอกาเรก-เมาะละแหม่ง เชื่อมต่อ EWEC ตามมาด้วยการชี้ขาดจุดก่อสร้างสะพาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ที่กำหนดจุดก่อสร้างที่ท้ายบ้านวังตะเคียน ต.ท่าสายลวด อ.แม่สอด พร้อมกับกันพื้นที่อีกกว่า 5,000 ไร่ ขึ้นไปทางเหนือที่เป็นป่าเสื่อมโทรม รองรับโครงการต่อเนื่อง ทั้งคลังสินค้า และ OSS ตลอดจนรองรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

จากพื้นที่ท้ายบ้านวังตะเคียน ฝั่งไทย ก็จะมีโครงการตัดถนน 4 เลนเชื่อมเข้ากับถนนตาก-แม่สอด และทางหลวงพิเศษหมายเลข 12 ต่อไป

ส่วนฝั่งพม่า ก็จะมีถนนอ้อมตัวเมืองเมียวดี ตรงเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดี (Myawadi Trade Zone) ที่อยู่ห่างไปประมาณ 11 กม.

เป็นโฉมใหม่ของแม่สอดที่กำลังถูกแต่งแต้มอยู่อย่างในขณะนี้

ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ถูกตอกย้ำอีกครั้ง ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวผ่านรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์" เป็นครั้งที่ 2 ว่า จะเร่งผลักดันและพัฒนาพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า อ.แม่สอด จ.ตาก ให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รูปแบบพิเศษนครแม่สอด ลักษณะเดียวกับกรุงเทพมหานคร และพัทยา

หลังจากก่อนหน้านี้ได้ประกาศต่อที่ประชุมสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ต่อหน้านายกเทศมนตรี ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดเทศบาลทั่วประเทศกว่า 3,000 คนที่เมืองทองธานีมาแล้วครั้งหนึ่ง ตอกย้ำถึงนโยบายรัฐบาล ที่จะปลุกปั้นพื้นที่ชายแดนตะวันตกในทุกๆ มิติ

หลังจากกระทรวงมหาดไทยเพิ่งยกฐานะเทศบาลเมืองแม่สอด เป็นเทศบาลนครแม่สอด เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง

การขับเคลื่อนของฝ่ายการเมืองระดับนโยบายย่อมมีผลต่อ "แม่สอด" ทั้งในมิติการเมือง, งบประมาณ, ทิศทางการพัฒนาพื้นที่ รองรับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เทอดเกียรติ ชินสรนันท์ นายกเทศมนตรีนครแม่สอด บอกว่า การผลักดันให้แม่สอดเป็น อปท.รูปแบบพิเศษ มีมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2550 กระทั่งรัฐบาล โดยนายกฯ อภิสิทธิ์ แต่งตั้งอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะอนุกรรมการการพัฒนารูปแบบการให้บริการสาธารณะของ อปท. ในลักษณะเครือข่าย หรือกลุ่มพื้นที่ และรูปแบบการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ เพื่อพิจารณาเมืองหลักสำคัญต่างๆเป็นท้องถิ่นพิเศษ

ทางรัฐบาลเห็นควรให้ยกเมืองแม่สอดเป็นท้องถิ่นพิเศษ ในลักษณะเมืองชายแดน และให้เกาะสมุยเป็นเมืองลักษณะพิเศษทางการท่องเที่ยว

ที่ผ่านมาคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ดำเนินการจัดทำข้อมูลและศึกษาเพื่อจัดตั้งท้องถิ่นพิเศษทั้ง 2 แห่ง โดยให้สภาพัฒน์เป็นคณะทำงานในคณะอนุกรรมการชุดที่มีอภิรักษ์เป็นประธาน ซึ่งที่ผ่านมาคณะทำงานได้เดินทางมาศึกษาพื้นที่แล้วทั้งในเขตเมืองแม่สอดและ แนวชายแดนหลายครั้ง

จากการทำประชามติประชาชนในพื้นที่กว่า 80% เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ขณะที่แม่สอดก็มีศักยภาพเต็มที่ ทั้งเป็นเมืองที่มีมูลค่าการค้าชายแดนมากกว่าปีละ 20,000-24,000 ล้านบาทขึ้นไป เป็นส่วนสำคัญของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ EWEC

พงษ์เทพ บัวทรัพย์ นายด่านศุลกากรแม่สอดย้ำว่าแม่สอดมีศักยภาพทางการค้าสูงมาก มูลค่าการค้าไทย-พม่าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดการค้าล่าสุดในปี 2552 สูงถึง 24,000 ล้านบาท

บรรพตกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาภาครัฐ-เอกชนในพื้นที่ได้พยายามผลักดันโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคขนาดใหญ่หลายโครงการ ทั้งก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2, โครงการขยายรันเวย์ของสนามบินแม่สอดเพิ่มประมาณ 600 เมตร เพื่อให้เครื่องบินขนาดใหญ่ลงจอดได้

นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาเส้นทางแม่สอด-เมียวดี-ร่างกุ้ง โดยจุดแรกก่อสร้างแล้วจากเมียวดีไปเชิงเขาตะนาวศรี 18 กม. งบประมาณ 120 ล้านบาท ส่วนช่วงที่ 2 จากเชิงเขาตะนาวศรี-กอกาเรก ระยะทาง 40 กม. รัฐบาลไทยอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือ วงเงิน 827 ล้านบาท และโครงการพัฒนาถนน 4 เลนตาก-แม่สอด ตลอดสาย เป็นต้น

ล่าสุดขณะนี้อยู่ระหว่างการร่าง พ.ร.บ.อปท.พิเศษนครแม่สอด อันจะทำให้ทิศทางพัฒนา "แม่สอด" ชัดเจนขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us