Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553
สมรภูมิใหม่             
 

 
Charts & Figures

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน


   
search resources

International




หลังกำแพงเบอร์ลินถูกทลาย สหภาพโซเวียตล่มสลาย อเมริกากลายเป็นมหาอำนาจเดี่ยวของโลก แต่ผ่านมาเพียงหนึ่งทศวรรษ สายตาทุกคู่จับจ้องไปที่จีน

โดยเฉพาะในเอเชีย วันนี้...คงไม่มีใครฉงนกับบทบาท-อิทธิพลของ สป.จีน ที่มีต่อภูมิภาคนี้อีกต่อไป เพราะด้วยพลังอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง มิหนำซ้ำ จีนยังกำลังทวีบทบาททาบทับอิทธิพลของอเมริกาที่มีต่อภูมิภาคนี้มาอย่างยาว นานด้วย

นักสังเกตการณ์การเมืองระหว่างประเทศหลายคน กำลังเฝ้ามองปรากฏการณ์นี้อย่างจดจ่อ เพราะเริ่มปรากฏสิ่งบอกเหตุหลายอย่างว่า เอเชียกำลังกลายเป็นเวทีแห่งสงครามแย่งชิง-ขยายอิทธิพลครั้งใหม่ของมหาอำนาจ เป็นสมรภูมิใหม่แห่งศตวรรษที่ 21

ห้วง 20 ปีมานี้กล่าวได้ว่า จีนผงาดขึ้นมามีอำนาจและบทบาทสำคัญในเวทีการเมือง เศรษฐกิจของเอเชียอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็วยิ่ง จนกลายเป็นขาใหญ่ในเอเชีย ภายใต้ปัจจัยเกื้อหนุนทางการเมืองที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตลาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ด้วยผู้บริโภคกว่า 1,300 ล้านคน จนกลายเป็นเป้าหมายทุกข้ามชาติทุกมุมโลก แซงหน้าญี่ปุ่นที่เคยรุกเข้ามาในเอเชีย ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สอดคล้องกับรายงานการศึกษาของศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ภัทร ที่นำเสนอไว้ว่า เศรษฐกิจของจีนขยายตัวจริง (Real GDP.) ประมาณ 3 เท่า ภายในเวลา 20 ปี แต่เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับจำนวนประชากรจีนที่มีจำนวนมากถึง 1,334 ล้านคน ก็ทำให้จีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจแซงหน้าญี่ปุ่นขึ้นมาทันที

อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้ว จีนกับญี่ปุ่นมีความขัดแย้งกันอยู่ เช่น ปัญหาข้อพิพาทเรื่องดินแดนในทะเลตะวันออกของจีน รวมถึงบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฯลฯ เพียงแต่จีนเลือกที่จะใช้นโยบายทางการทูตมาแก้ปัญหา ขีดกรอบประเด็นข้อขัดแย้งให้อยู่บนโต๊ะเจรจาเท่านั้น พร้อมกับชูผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจขึ้นมาแทนที่

ทั้งนี้หากดูกันที่ข้อเท็จจริงแล้ว คู่แข่งของจีนในสนามเอเชียที่ทัดเทียมกันมากที่สุด ทั้งเรื่องพลังอำนาจของชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง (ด้วยความเป็นมหาอำนาจที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์) แล้ว ก็ต้องยอมรับว่าอินเดียคือคู่ต่อกรที่ทรงพลังยิ่งของจีน ด้วยอินเดียที่อยู่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย เส้นทางคมนาคมหลักเส้นทางหนึ่งของโลก และเป็นเส้นทางขนส่งพลังงานที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ อินเดียยังมีประชากรที่ใกล้เคียงกับจีนอีกด้วย

ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้เศรษฐกิจอินเดียมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมากมาย

และที่ต้องพิจารณาประกอบอีกประเด็น ก็คือบทบาทของสหรัฐอเมริกาใน "อินเดีย" ที่ตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 911 อเมริกาพยายามดึงอินเดียกับปากีสถานเป็นพันธมิตรต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายในเอเชียกลาง-เอเชียใต้

นั่นทำให้จีนที่รับรู้กันว่า เป็นคู่ขัดแย้งกับอินเดียมานาน ต้องกลับมาใช้ชั้นเชิงทางการทูตอย่างแยบคาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคง-เส้นทางขนส่งพลังงาน จนมีการลงนามในข้อตกลงร่วมจีน-อินเดีย เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2548 เป็นผลทำให้บรรยากาศแห่งมิตรภาพจีน-อินเดียดีขึ้น ส่งผลให้การค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็วหลายเท่าตัว

ขณะเดียวกัน จีนยังได้เชื่อมประตูหลังบ้านไว้กับเอเชียกลางและรัสเซียอีกทาง

เป็นเอเชียกลางที่มีประเทศเกิดใหม่ เช่น ทาจิกิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีสถาน และอุซเบกิสถาน ซึ่งแยกตัวออกมา จากสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายไปเมื่อต้นทศวรรษ 1990 (2533)

เสน่ห์เย้ายวนของสี่ประเทศเกิดใหม่อยู่ที่บริเวณทะเลสาบแคสเปียน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญแหล่งใหม่ของโลก (ปริมาณก๊าซมากกว่าน้ำมัน) ดึงดูดให้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่จากทั่วทุกมุมโลก เข้ามาแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อเข้าไปมีส่วนในกรุสมบัติแห่งใหม่นี้

รวมถึงบริษัทพลังงานแห่งชาติของจีน

ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงทางพลังงาน ทำให้จีนต้องวางยุทธศาสตร์ด้านพลังงานสำรองอย่างรอบคอบ จีนไม่อาจพึ่งพาการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในตะวันออกกลางได้เพียงอย่างเดียว เพราะเสี่ยงต่อการถูกปิดล้อมทางพลังงาน สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจของ "ยุทธศาสตร์มุ่งสู่ตะวันออก" ของจีนก็คือการมุ่งมาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากทะเลสาบแคสเปียนนี่เอง

บริษัทพลังงานแห่งชาติจีน (Petro China Co.ltd) ได้ทุ่มเทงบประมาณจำนวนมหาศาล เพื่อวางท่อขนส่งก๊าซจากทะเลสาบแคสเปียนเข้าสู่เขตเศรษฐกิจพิเศษทางภาคตะวันตกของจีน ท่อก๊าซดังกล่าวเป็นการวางท่อบนบก เริ่มจากเติร์กมินิสถาน ผ่านอุสเบกิสถาน และคาซัคสถาน เข้าสู่มณฑลซินเกียง ระยะทางกว่า 1,000 ไมล์ ปัจจุบันการวางท่อเสร็จไปแล้ว อยู่ระหว่างการทดลองส่งก๊าซ และปรับปรุงแก้ไขปัญหาในรายละเอียดต่างๆ อีกเพียงเล็กน้อย

สำหรับรัสเซีย มิตรจากค่ายคอมมิวนิสต์ที่เป็นเพื่อนรักเพื่อนแค้นกันมายาวนาน ถึงวันนี้กลายเป็นผู้ป้อนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดให้แก่จีน โดยที่ผ่านมาใช้การขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติผ่านทางรถไฟเป็นหลัก เฉลี่ยปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตัน ต่อมาทั้งคู่ได้เจรจาเพื่อสร้างท่อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากแหล่งคอฟวีกต้า (Kovykta) เขตไซบีเรีย ผ่านไปยังมณฑลซินเจียง และเฮยหลาเจียว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งสู่กรุงปักกิ่ง

นอกจากนี้ Petro China ยังเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท Udmurtneft ของรัสเซีย มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2006 เป็นต้นมา และปัจจุบันยังมีการซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

ประเด็นสำคัญที่สุด นอกจากเอเชียกลางและรัสเซียจะเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของจีนแล้ว บรรดาประเทศทั้งหลายเหล่านี้ ยังเป็นฐานความร่วมมือด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงใหม่ของภูมิภาคอีกด้วย

โดยในปี ค.ศ.1996 จีนได้ดึงประเทศเหล่านี้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กร "ความร่วมมือเซี่ยงไฮ้" (Shanghai Cooperation Organization-SCO) หรือที่รู้จักกันในวงการความมั่นคงโลกว่า "นาโต้แห่งเอเชีย" ปัจจุบันองค์กรแห่งนี้ได้รับประเทศสมาชิก (ผู้สังเกตการณ์) เข้าร่วมอีก 5 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน อัฟกานิสถาน และมองโกเลีย

เท่ากับว่า บัดนี้เครือข่ายด้านความมั่นคงของจีนในภูมิภาค ครอบคลุมและมั่นคงจนสามารถถ่วงดุลกับโลกตะวันตกได้อย่างมั่นใจอย่างมิเคยมี มาก่อน

โลกในวันนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้วอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง...

สงครามเย็นครั้งใหม่ในเอเชีย
การเดินทางไปเยือนจีนของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 ถือเป็นการเปิดศักราชความสัมพันธ์ครั้งใหม่ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ

การประกาศ "ความร่วมมือแบบปฏิบัตินิยม" (Pragmatic Cooperation) ได้ช่วยจุดประกายความหวังให้นักสังเกตการณ์สายสันติกันทั่วหน้า

แต่มิทันข้ามคืนทุกอย่างก็พังครืนลง เมื่อสหรัฐฯตัดสินใจลงนามขายอาวุธมูลค่ากว่า 6,400 ล้านดอลลาร์ให้กับไต้หวัน (มกราคม 2553) อันเป็นการจี้แผลเก่าของจีนโดยตรง สร้างความเจ็บปวดและแค้นเคืองให้กับจีนอย่างมาก จนถึงกับมีการประกาศระงับความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ลงทันที ตามมาด้วยการรื้อฟื้นข้อบาดหมางในอดีตกลับขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐฯ อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องโลกร้อน ปัญหาการแทรกแซงค่าเงินหยวน ข้อพิพาทและการกีดกันทางการค้า รวมทั้งการแฮ็กข้อมูลในระบบของกูเกิ้ล เป็นต้น

ตามติดมาด้วยบารัค โอบามา เข้าพบกับองค์ทะไลลามะ ผู้นำด้านจิตวิญญาณสูงสุดของทิเบต (กุมภาพันธ์ 2553)

เหล่านี้ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ กลับมาเขม็งเกลียวขึ้นอีกครั้ง

จีนถือว่าไต้หวันและทิเบตคือส่วนหนึ่งของจีนมาตลอด โดยเฉพาะไต้หวัน ซึ่งจีนถือว่าเป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียว กัน แต่กลับแอบปันใจไปใกล้ชิดสหรัฐฯ มากกว่า และทำตัวเป็นเด็กเกเรไม่เคารพเชื่อฟังญาติผู้ใหญ่ แม้ว่าต้องการจะสั่งสอนอย่างไร ก็ไม่ถึงขั้นฆ่าให้ตาย รัฐบาลจีนทุกยุคที่ผ่านมา ใช้ความทุ่มเทพยายามอย่างมากที่จะหาทางดึงไต้หวันกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนเช่นเดิม ทั้งกำหนดและวางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีสารพัด เช่น "หนึ่งประเทศสองระบบ" เป็นต้น

จีนก็รู้ว่าสหรัฐฯ คิดจะถ่วงดุลอำนาจจีนด้วยการใช้ไต้หวันเป็นเครื่องมือ แม้แต่การออกกฎหมาย "ไต้หวันแอ็ค 1979" ก็เพื่อปูทางให้สหรัฐฯ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการในไต้หวันได้อย่างชอบธรรมเท่านั้นเอง

สำหรับจีนแล้ว คงมองสหรัฐฯ ว่าทำตัวเป็นแม่นกอินทรีในนิทานอีสป ที่ไม่รักษากติกาของการอยู่ร่วมกัน แอบมาขโมยลูกสุนัขจิ้งจอกไปให้ลูกนกกินทีละตัว ทุกครั้งที่แม่สุนัขเผลอจนในที่สุด แม่สุนัขจิ้งจอกก็อาจจะทนไม่ไหว ใช้ไฟเผาต้นไม้ที่มีรังของลูกนกอินทรีตัวนั้นอยู่ จนทำให้ลูกนกสำลักควันไฟตายยกรังเพื่อแก้แค้น

หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ พยายามหาทางลดอิทธิพลของจีนที่มีบทบาทในภูมิภาคต่างๆ ของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่การเดินทางมาเยือนประเทศต่างๆ ในเอเชียเมื่อเร็วๆ นี้

รวมถึงการเปลี่ยนนโยบายต่อพม่าอย่างไม่เคยมีมาก่อนการพลิกบทบาทของสหรัฐฯ ในพม่า ภายหลังจากการทบทวนนโยบายต่างประเทศที่มีต่อพม่าใหม่ ด้วยการหันไปสานสัมพันธ์กับรัฐบาลทหารพม่ามากขึ้น ภายใต้ข้ออ้างเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยบังหน้า

การรุกคืบครั้งใหม่ของสหรัฐฯ ครั้งนี้ ปรากฏความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว เช่นสามารถกดดันให้มีการปล่อยตัวทินอู รองเลขาธิการพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) และคนสนิทของออง ซาน ซูจี (15 กุมภาพันธ์ 2553)

ซึ่งเบื้องหลังฉากอันเลิศหรู ก็คือการพยายามเปิดแนวรุก เพื่อสกัดกั้นและลดทอนอิทธิพลของจีนในพม่านั่นเอง ด้วยเป็นที่รับรู้กันดีว่า จีนมีอิทธิพลและผลประโยชน์ในพม่ามาอย่างยาวนาน

ไม่ผิดกับที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายฟันธงไว้ว่า พม่าคือเวทีแห่งสงครามเย็นครั้งใหม่ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะถูกเลือกเป็นเวทีประลองกำลังและแข่งขัน เพื่อสร้างอิทธิพลในเวทีเอเชียกันมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us