5 ปีเต็ม ๆ ที่ วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ เก็บตัวเงียบแก้ไขปัญหาที่ทับตัวเขาอยู่กับอง
หนี้ 5,250 ล้านบาทที่เขาก่อขึ้น เพื่อสร้างอาณาจักรกลุ่มโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง
ซึ่งโด่งดังในอดีตภายใต้ความช่วยเหลือ จากบรรดาแบงก์เจ้าหนี้ จนปัจจุบัน
เหลือยอดหนี้คงค้างเพียง 2,500 ล้านบาท มันได้กลายเป็นหนี้ปรกติทางธุรกิจ
เพราะแบงก์ชาตอนุญาตให้แบงก็พาณิชย์ไม่ต้องจัดเป็นหนี้ที่จะต้องตั้งสำรองอีกต่อไป
เขากำลังกลับมาใหม่อีกครั้งซึ่งดูจะยิ่งใหญ่กว่าเดิม
"หนี้เดิมจริง ๆ ในวันที่ 3 กันยายน 2528 ที่เกิดปัญหาส่งมอบน้ำตาลลงเรือไม่ได้นั้นมีประมาณ
7,000 ล้านบาท เมื่อตกลงกับบรรดาเจ้าหนี้จนส่งมอบน้ำตาลได้แล้วก็มีการเคลียร์หนี้กันระหว่างเจ้าหนี้และหักมูลค่าน้ำตาลในสต็อกออกไปแล้วก็เหลือยอดหนี้ที่จะต้องมาทำการแก้ไขจริง
ๆ ประมาณ 2,500 ล้านบาท" วิบูลย์ ผาณิตวงศ์กรรมการผู้จัดการกลุ่มโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งกล่าวกับ
"ผู้จัดการ" ด้วยท่าทีที่สดใสมากเมื่อเทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน
แหล่งข่าวในธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่รายหนึ่งบอกว่ายอดหนี้ที่เหลือปัจจุบันได้รับอนุญาตจาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต้องลงบัญชีเป็นหนี้ที่จะต้องสำรองต่อไปอีกแล้ว
ปีนี้ วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ อายุครบ 46 ปี เขาก็คือทายาทของกลุ่มพี่น้องตระกูล
"ว่อง" ที่อพยพมาจากตำบล "เอี้ยเกี้ย" จีนแผ่นดินใหญ่มาลงหลักปักฐานที่บ้านโป่งราชบุรี
เมื่อร่วม 50 ปีก่อน ญาติพี่น้องกลุ่มนี้ก็แตกหน่อออมาเป็นสามสายในปัจจุบันคือ
ว่องกุศลกิจว่องวัฒนะสิน และผาณิตพิเชษฐ์วงศ์ เฉพาะตัววิบูลย์ได้เปลี่ยนนามสกุล
โดยตัดคำว่า "พิเชษฐ์" ออกไปเหลือเพียง "ผาณิตวงศ์"
อย่างเดียว
อาชีพหลักดั้งเดิมของญาติพี่น้องกลุ่มนี้คือทำไร่อ้อย แล้วก็มาทำโรงงานน้ำตาลทรายแดง
ก่อนที่จะรวมตัวกันทางธุรกิจครั้งสำคัญของกลุ่มเพื่อทำโรงงานน้ำตาลทรายขาวภายใต้ชื่อกลุ่มมิตรผลเมื่อ
30 กว่าปีที่ผ่านมา
ต่อมา วิเทศ ว่องวัฒนะสิน ได้แยกตัวออกไปสร้างโรงงานน้ำตาลของตนเองขึ้นมาภายใต้ชื่อกลุ่มมิตรเกษตร
และไม่กี่ปีต่อมาวิบูลย์กับพี่นอ้งสายผาริตพิเชษฐ์วงศ์ก็ได้แยกตัวออกมาเช่นกัน
แต่กลุ่มหลังนี้ได้รับส่วนแบ่งเป็นโรงงานออกมาด้วยคือโรงงานน้ำตาลบ้านโป่ง
และนี่ก็เป็นที่มาขอกงลุ่มโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งภายใต้การดำเนินการของ วิบูลย์
ผาริตวงศ์ ซึ่งแม้เขาจะเป็นน้องชายคนเล็กของตระกูลแต่ก็ได้รับความไว้วางใจในความรู้ความสามารถให้เป็นถึงกรรมการผู้จัดการทุกบริษัทในเครือ
ถ้ารวมโรงงานน้ำตาลขอกลุ่มตระกูลว่องนี้ทั้งหมดเข้าด้วยกันก็ต้องถือว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดมานานแล้วด้วย
ความใหญ่ของกลุ่มนี้เคยแสดงให้เห้นแล้วในการรวบรวมเอาโรงงานน้ำตาลรายเล็กรายย่อย
เข้าทำการปฏิวัติระบบการส่งออกน้ำตาลของประเทศไทยซึ่งเคยถูกผูกขาดโดยบริษัทอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยของบรรเจิด
ชลวิจารณ์ มายาวนานต้องเปลี่ยนไป โดยการตั้งบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลขึ้นมามีบทบาทในการจัดสรรการส่งออกสำหรับลุ่มตนเองจนถึงปัจจุบัน
และในการเคลื่อนไหวสำคัญ ๆ ทุกครั้งของกลุ่มเพื่อให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับการส่งออกน้ำตาลใหม่ในยุคนั้น
ก็มักจะมีชื่อวิบูลย์ติดอยู่ด้วยทุกครั้งไป ในขณะที่ตัวเขาเองเพิ่งจะอายุ
30 ปีเท่านั้นและเมื่อผลักดันเปลี่ยนแปลงระบบสำเร็จ ตัวเขาเองก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองกรรมการผู้จัดการบริษัทค้าผลผลิตเมื่อปี
2518 รองจาก ยงศิลป์ เรืองศุขซึ่งเป็นผู้อาวุโสของวงการเป็นกรรมการผู้จัดการ
ยงศิลป์ เรืองศุข ในขณะดำรงค์ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลนั้น
มักจะเอาวิบูลย์ไปด้วยทุกหนทุกแห่งและก็พูดแนะนำกับใครต่อใครในวงการว่าเด็กคนนี้คือกุนซือของเขาอย่างออกหน้าออกตา
ว่ากันว่าในยุครัฐบาลหลัง 6 ตุลา 19 วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ เป็นคนหนุ่มเพียงคนเดียวที่เข้านอกออกในบ้าน
พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในยุคนั้น
จึงไม่ค่อยมีใครปฏิเสธนักวาทิศทงและนโยบายเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาลของรัฐบาลที่ออกมาในยุคนั้นส่วนใหญ่เกิดมาจากมันสมองของเด็กคนนี้
ในสมัยดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จดัการบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลอยู่นั้น
วิบูลย์ได้ไปเปิดสาขาขึ้นที่ลอนดอนเมืองที่เป็นตลาดซื้อขายน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดของโลก
วิบูลย์บอกว่าเขาต้องการดึงการค้าน้ำตาลของไทยเข้าสู่การค้าในระดับโลกโดยเร็ว
ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความผันอันสูงสุดในชีวิตที่ตัวเขาเองก็มักจะพูดถึงอยู่เสมอ
ๆ ในการพูดคุยกับพรรคพวก
เขาเข้าซื้อขายน้ำตาลในตลาดซื้อขายล่วงหน้าในนามบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาล
ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่รายหนึ่งของประเทศไทยกันอย่างว่าเล่นจนวันหนึ่งก็ทำให้พลาดจนได้เมื่อน้ำตาลที่เขาซื้อไว้นั้น
ราคาลดต่ำลงอย่างมากและเกิดภาวะขาดแคลนน้ำตาลจนไม่มีน้ำตาลจะส่งมอบ
มีการพูดกันในที่ประชุมบริษัทว่า บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลไม่ควรรับผิดชอบการกระทำของวิบูลย์เขาพร้อมกับยงศิลป์จึงต้องลาออกจากตำแหน่งมารับผิดชอบเป็นการส่วนตัว
ซึ่งก็ว่ากันอีกว่า งานนี้วิบูลย์เป็นคนรับเละเพียงคนเดียว
การที่กรรมการบริษัทเห็นว่าบริษัทไม่ควรรับผิดชอบนั้นก็เพราะว่าวิบูลย์เล่นซื้อขายน้ำตาลเป็นการส่วนตัว
แต่พอขาดทุนจะนำมาเป็นภาระของบริษัทนั้นไม่ควร ในขณะที่กรรมการบางคนบอกกับ
"ผู้จัดการ" ว่าบริษัทเองก็รับรู้และเคยได้ประโยชน์จากการกระทำของวิบูลย์มาตลอด
การให้วิบูลย์ลาออกจึงเป็นเพียงเกมอำพรางข้ออ้างกับผู้ซื้อจากต่างประเทศของบริษัทเท่านั้น
นั่นเป็นการพลาดครั้งแรกของวิบูลย์ในธุรกิจนี้
แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงและเป็นอย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของวิบูลย์ที่เป็นคนหนุ่มอายุเพียง
33 ปีในขณะนั้น กระทำการอย่างนั้นมันแสดงไว้อย่างชัดแจ้งอยู่แล้วถึงความคิดที่กว้างไกลของเรา
"เพียงแต่อาจร้อนแรงไปหน่อยเท่านั้นเอง" ประโยคหลังนี้วิบูลย์เป็นคนพูดเอง
วิเทศ ว่องวัฒนะสิน ชายผู้อาวุโสสูงสุดของกลุ่มค้าผลผลิตในปัจจุบันก็ยังชื่นชม่ความคิดที่ก้าวหน้าก้าวไกลของวิบูลย์เสมอ
ๆ จนทุกวันนี้เขาก็ยังเชื่อว่าวิบูลย์จะเป็นคนที่เติบโตยิ่งใหญ่อุตสาหกรรมน้ำตาลไทยในอนาคต
เป็นความโชคดีของวิบูลย์ที่ต่อมาราคาน้ำตาลก็ได้วิ่งขึ้นไปอีกครั้งหนึ่ง
เขาจึงไม่เจ็บมากนักในการรับภาระเองครั้งนั้น คนที่ใกล้ชิดวิบูลย์คนหนึ่งบอกว่าจริง
ๆแล้ววิบูลย์ยังมีเทคนิคแพรวพราวที่จะทำให้เจ็บน้อยที่สุดจนกว่าจะถึงวันส่งมอบน้ำตาล
ซึ่งขณะที่พูดได้ว่าสำหรับเมืองไทยแล้วยังไม่มีใครเรียนรู้กลไกการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศพวกนี้ดีเท่าวิบูลย์
แม้ทุกวันนี้ก็เถอะ
เขาเองบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าถ้าผู้ถือหุ้นเข้าใจภาวะและกลไกการค้าของโลกดีและมองตลาดอยางที่เขาคาดการร์ไว้ก็จะดีและไม่ต้องมีปัญหาเกิดขึ้น
ซึ่งมันกระทบกระเทือนถึงชื่อเสียงการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศของไทยอย่างที่ผ่านมา
"ผมเสียหายจิรง ๆ ไม่กี่ล้านบาท แต่สิ่งที่ผมได้กลับมามันมากมายมหาศาลเพราะความรู้ประสบการณ์และความสัมพันธ์กับผู้ค้าน้ำตาลระหว่างประเทศไม่ใช่เรื่องที่จะสร้างขึ้นมาง่าย
ๆ อย่างขณะนี้ผมพูดได้ว่าผู้ค้าน้ำตาลในโลกเขารู้จักผมดีเกือบทุกราย"
วิบูล์พูดถึงสิ่งที่เขาได้ในสิ่งที่คนอื่นมองว่าเขาพลาดวิบูลย์จบปริญญาโททางการเกษรร
ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะเลือกเข้าทำงานกับบริษัทมิตรผล ซึ่งครอบครัวของเขาถือหุ้นอยู่นั้น
เขาเคยทำฟาร์มวัวนมขึ้นเองที่ราชบุรี เพราะเขาเห็นว่าภูมิศาสตร์ราชบุรีนั้นเหมาะอย่างยิ่ง
ที่จะทำเป็นทุ่งปศุสัตว์อย่างเช่นในต่างประเทศทำกันแต่เขาบอกว่างานนี้พลาดไปเพราะว่ดันไปทำฟาร์มวัวนมขึ้นในขณะที่คนไทยยังไม่รูจักการดื่มนม
จากนั้นก็เข้าปาเพื่อออกสำรวจแหล่งแร่ โดยตั้งใจจะทำเหมืองแร่ เขาท่องเที่ยวไปตามภูเขาลำเนาไพรเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม
ๆ แต่ไม่พบแหล่งแร่แม้แต่แหล่งเดียงจึงล้มเลิกความคิด
"ผมพยายามหลีกเลี่ยงที่จะทำงานเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาลเพราะรู้สึกเบื่อมากที่เกิดมาก็เห็นแต่อ้อยกับน้ำตาลแต่ท้ายที่สุดก็หนีมันไม่พ้น
"วิบูลย์" พูดถึงอดีตก่อนที่จะเข้ามาในวงการน้ำตาลให้ฟัง
เขาบอกว่าเริ่มเข้าทำงานกับบริษัทมิตรผลครั้งแรกเมื่อปี 2514 โดยทำหน้าที่ในการวิ่งเก็บตั๋วน้ำตาลวางบิล
และเก็บเงินจากลูกค้าย่านพลับพลาไชยและสวนมะลิ ทำอยู่ได้ไม่ถึงปี วิเทศ ว่องวัฒนสิน
ซึ่งเป็นกรรมการรองผู้จดัการบริษัทมิตรผลขณะนั้นได้ลาออกไปเปิดโรงงานมิตรเกาตรของตัวเองขึ้นมา
วิบูลย์ก็ได้รับแต่งตั้งให้เข้ารับตำแหน่งแทนวิเทศรับผิดชอบทั้งด้านการเงิน
การตลาด และโรงงานในขณะที่เขาอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น
2519 วิบูลย์และพี่น้องในตระกูลผาณิตพิเชษฐ์วงศ์ ซึ่งประกอบด้วย พี ฮัก
ไพโรจนได้
2520
แยกตัวออกมาจากกลุ่มมิตรผล
ในเวลาเพียงปีเศษวิบูลย์ในนามอาณาจักรใหม่ "กลุ่มบ้านโป่ง" ได้เข้าไปรับซื้อทรัพย์สิน
และหนี้สินของโรงงานน้ำตาลธนบุรี 1 และ 3 จากกลุ่มกว้างลุ้นหลีเมื่อซื้มาแล้ววิบูลย์วิ่งเจรจากับเจ้าหนี้ซึ่งมีถึง
11 ธนาคาร ได้รับการผ่อนผันการขำระหนี้แบบสบาย ๆ
แต่พอซื้อมาได้เพียงปีเดียวราคาน้ำตาลก็วิ่งขึ้นถึง 24 เซนต์ / ปอนด์ ทำให้วิบูลย์ชำระ
หนี้ให้แก่แบงก์เจ้าหนี้ได้หมดภายใน 2 ปีเร็วกว่าที่สัญญากันไว้เสียอีก
จุดนี้นับเป็นจุดสำคัญที่วิบูลย์ได้รับความเชื่อถือจากแบ่งก์พาณิชย์ทั้งหลายในฐานะคน
หนุ่มที่มีความสามารถอย่างยิ่งในวงการอุตสาหกรรมน้ำตาล
วิบูลย์เลยเข้าซื้อโรงงานน้ำตาลกันยกใหญ่ซึ่งมีทั้งวิบูลย์เข้าไปติดต่อซื้อเองและเจ้าของเดิมหรือเจ้าหนี้มาเสนอขายให้ถึงที่
เริ่มจากโรงงานน้ำตาลนครปฐม โรงงานน้ำตาลมหาคุณ ซึ่งต่อมาเป็นโรงงานน้ำตาลเกษตรผลกับเกษตรไทยตามลำดับ
กลุ่มโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งของวิบูลย์ก่อนพบกับวิกฤตจึงมีโรงงานน้ำตาลรวมกันทั้งสิ้น
6 โรงงานดำเนินการโดย 6 บริษัท ประกอบด้วยบริษัทน้ำตาลบ้านโป่ง บริษัทน้ำตาลธนราช
บริษัทน้ำตาลนครปฐม บริษัทน้ำตาลสิงห์บุรี บริษัทน้ำตาลเกษตรผล และบริษัทน้ำตาลเกษตรไทย
เมื่อซื้อแต่ละโรงงานมาแล้ววิบูลย์ได้ทำการปรับปรุงซ่อมแซมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
"เป็นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตหลักการธรรมดา" เขากล่าวหลังจากนั้นก็ส่งคนที่มีความชำนาญเข้าบริหาร
ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากธนาคาร
ตัวอย่างเช่น โรงงานน้ำตาล ร่วมกำลาภ กับกรุงไทย ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นเกษตรผลกับเกษตรไทยนั้น
ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นจากเดิม 1,000 ตัน/วัน เป็น 5,500 ตัน/วัน
ทีเดียวรวมกันสองโรงงานก็เป็นกำลังการผลิตถึง 11,000 ตัน/วัน โรงงานอื่นก็ในทำนองเดียวกัน
ข้อมูลจากผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมน้ำตาลมานานบอกกับ "ผู้จัดการ"
ว่าต้นทุนในการขยายโรงงานขณะนั้นจะตกประมาณ 100,000 บาทต่อกำลังการผลิต 1
ตัน/วัน
ล่าสุดก่อนที่กลุ่มโรงงานบ้านโป่งจะพบกับวิกฤตทั้ง 6 โรงงานปรากฏว่าโรงงานในกลุ่มบ้านโป่งมีกำลังการผลิตรวมกันทั้งสิ้น
52,000 ตัน/วัน เรียกว่าน้อง ๆ กลุ่มโรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ซึ่งมีโรงงาน
9 โรงมีกำลังการผลิตรวมกันทั้งสิ้น 60,000 กว่าตัน / วัน จัดเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนั้น
"แม้จะถอดรหัสออกมาเป็นตัวเลขตรง ๆ ไม่ได้ว่าหนี้มากมายนั้นวิบูลย์กู้ไปทำอะไร
แต่ก็พอมองออกชัดแล้วว่าเงินที่กู้มาทั้งหมดก็ลงไปกับการซื้อและขยายโรงงาน้ำตาลของเขานั่นแหละ
เพียงแต่เขาทำใหญ่เกินไป ในขณะที่เงินลงทุนนั้นส่วนใหญ่กู้มาเกือบทั้งสิ้น
และก็ไม่มีใครคาดว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะดิ่งลงมากและกินเวลายาวนานกันขนาดนั้น"
คนเก่าแก่ในวงการน้ำตาลกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
วิบูลย์พลาดเพราะราคาน้ำตาลในตลาดโลกเริ่มดิ่งหัวลงตั้งแต่ปี 2525 ซึ่งเขาและอีกหลายคนรวมทั้งนายแบงก์ด้วยเชื่อว่าหลังจากนั้น
3 ปีราคาน้ำตาลจะกลับขึ้นติดต่อกันอีก 3 ปี ตามวงจรของราคาน้ำตาลตลาดโลกที่เคยผ่านมา
ราคาที่เคยขึ้นสูงสุดในปี 2522/2523 ประมาณ 24 เซนต์/ปอนด์ ได้ตกลงมายืนพื้นอยู่ที่
7-8 เซนต์/ปอนด์ ซึ่งเป็นราคาที่โรงงาน้ำตาลพอจะพยุงตัวเองไว้ได้ กลับต้องหัวทิ่มจมดิ่งลงไปอีกในปี
2527/2528 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำตาลน่าจะเริ่มโงหัว ขึ้นบ้างแล้ว แต่กลับลดลงเหลือเพียง
2 เซนต์เศษ ๆ ต่อปอนด์เท่านั้นเอง
"ก็ไม่เฉพาะวิบูลย์เท่านั้นที่เจ็บอับเนื่องมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำในปีนั้น
เรียกว่าเจ็บกันทั้งวงการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกันเลยทีเดียวเพียงแต่คนอื่นอาจฐานแน่นหนาดีกว่า
แต่วิบูลย์แกขยายมากและเงินที่เอามาขยายส่วนใหญ่ก็มาจากหนี้หรือที่เขาเรียกว่าสร้างทรัพย์สินจากหนี้
เพราะฉะนั้นเมื่อราคามันเป็นอย่างนี้วิบูลย์จึงเจ็บหนักกว่าเพื่อน รวมทั้งบรรดาแบงก์ทั้งหลายที่ปล่อยกู้ให้แก่เขาด้วย
ซึ่งก็คงไม่มีแบงก์ไหนคิดเหมือนกันว่าราคามันจผิดปรกติขนาดนั้น เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็คงไม่มีใครปล่อยกู้
แต่ถ้ามองในมุมกลับบ้างว่าถ้าเผื่อราคามันไม่พลิกจากการคาดหมายมากป่านนั้นทั้งวิบูลย์และแบงก์ก็ร่ำรวยกันมหาศาล
คงไม้องมานั่งแก้ปัญหากันยาวนานกันอย่างนี้" ผู้บริหารระดับสูงในแบงก์เจ้าหนี้รายหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ให้ความเห็น
วิบูลย์กล่าวว่า ไม่เฉพาะราคาน้ำตาลในตลาดโลกเท่านั้นที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการล่มจมกองหนี้ของเขาในคราวนั้นแต่ในช่วงปี
2527 ต่อ 2528 เขาต้องมาเจอากับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นสูงถึง
19% อย่างเช่นกำลังจะเกิดอยู่ในขณะนี้ และติดตามด้วยมาตรการจำกัดสินเชื่อระบบธนาคาพาณิชย์ของธนาคาแห่งประเทศไทยไม่ให้ขยายตัวเกิกนว่า
18% ทำให้เขาต้องหันไปพึ่งการเงินนอกระบบที่ภาระดอกเบี้ยยิ่งทบทวีคูณมากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตามจากการสืบค้นของ "ผู้จัดการ" วิบูลย์ได้ลงทุนในธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำตาลอยู่บ้าง
เช่น บริษัทประกันภัย โรงแรมและธุรกิจบันเทิงต่าง ๆ แต่วิบูลย์บอกว่ามันเป็นเงินเพียงไม่กี่ล้านบาทเท่านั้นเอง
อย่างเช่นกรณีสร้างโรงแรมที่กำแพงเพชรก็เกิดขึ้นจากความคิดของพี ผาณิตพิเชษฐ์วงศ์
พี่ชายของเขาเห็นว่าทั้งจังหวัดไม่มีโรงแรมดี ๆ ให้พักในขณะที่ความต้องการมีมากขึ้นเรื่อย
ๆ ก็เลยลงทุนสร้างมันขึ้นมา หรือกรณีโรงแรมที่เชียงใหม่ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันแต่ละแห่งก็มีรายได้เพียงพอต่อตัวของมันเองอยู่แล้วแต่ก็ได้
ออกไปบางส่วนเช่นโรงแรมเชียงอินทร์ได้ขายออกไปแล้ว
ก่อนที่จะถึงวิกฤตของกลุ่มบ้านโป่งนั้นจึงมีบริษัทในเครือนอกเหนือจากโรงงานน้ำตาลอยู่อีก
6 บริษัทคือ บริษัทเพชรโฮเต็ล เจ้าของกิจการโรงแรมเพชรโฮเต็ลที่จังหวัดกำแพงเพชร
บริษัทเวียงพิงดิวิลอปเมนต์เจ้าของกิจการโรงแรมเชียงอินทร์ที่เชียงใหม่ บริษัทสินทรัพย์ประกันภัย
บริษทเวนเจอร์เทรดที่วิบูลย์ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นบริษัทจัดจำหน่ายน้ำตาลให้แก่กลุ่ม
บริษัทเจเอฟ วอง กับบริษัทมิตรสยามเป็นบริษัทที่จัดการด้านการส่งเสริมผู้ปลูกอ้อยซึ่งเป็นบริษัทที่ติดมจากการเข้าไปซื้อกิจการโรงงานตา
ๆ ในระยะหลัง
เมื่อสิ้นสุดฤดูการผลิต 2527/2528 ราคาน้ำตาลในตลาดโลกหล่นลงจาก 9 เซนต์ต่อปอนด์
เหลือเพียง 2.7 เซนต์/ปอนด์แต่ในเดือนสิงหาคม 2528 วิบูลย์จะต้องส่งมอบน้ำตาลลงเรือให้บริษัทผู้ส่งออกเพื่อนำไปส่งให้ผู้ซื้อยังต่างประเทศตามพันธสัญญาซื้อขาย
แต่ปรากฏว่า วิบูลย์ ผาณิตวงศ์ ไม่อาจส่งมอบน้ำตาลลงเรือให้แก่ผู้ส่งออกที่จะส่งไปให้ผู้ซื้อในต่างประเทศได้ตามสัญญาเพราะเหตุว่าน้ำตาลกว่า
70,000 กระสอบล้วนแต่จำนำไว้กับธนาคารหลายแห่งไม่ยอมให้ขนย้ายน้ำตาล ถ้าไม่นำเงินชำระหนี้ก่อน
"เอาเป็นว่าแม้จะให้ส่งมอบน้ำตาลในขณะนั้นได้แล้วนำเงินมาชำระแบงก์ผู้รับจำนำทั้งหมดในขณะนั้นก็ไม่คุ้ม
เพราะว่าตอนจำนำได้จำนำไว้ในราคา 800 บาทต่อระบบสอบแต่ในวันส่งมอบนั้นราคาน้ำตาลมันตกลงเหลือเพียงกระสอบละ
400 บาทเท่านั้นเอง นี่ยังไม่ต้องพูดถึงเจ้าหนี้ทางอ้อมที่ไม่มีบุริมสิทธิโดยตรงในน้ำตาลเหล่านั้น
เช่นเจ้าหนี้ที่เป็นบริษัทผู้ส่งออกอย่างบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย
บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลที่เป้นผู้ขอแพ็คกิ้งเครดิตแทนโรงงานผู้ผลิตไปแล้วตั้งแต่ยังไม่มีน้ำตาล
หรือบริษัทออ้ยและน้ำตาลไทยที่เป็นเจ้าหนี้เงินกู้สนับสนุนชาวไร่และโรงงานไปแล้วในแต่ละฤดูการผลิตโดยผ่านโรงงาน
เจ้าหนี้รับจำนอง เครื่องจักรและที่ดินอีกมากมาย ปัญหามันถึงขั้นวิกฤต ซึ่งเจ้าหนี้แต่ละรายก็ต้องป้องกันตัวไว้ให้ดีที่สุดก็เลยต่างไม่มีใคเรผลให้ใคร"
ผู้บริหารระดับสูงของแบงก์เจ้าหนี้รายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"
วิบูลย์บอกว่าเขาได้พยายามดิ้นรนทุกวิถีทางที่จะส่งน้ำตาลลงเรือให้ได้
แต่ก็หมดปัญญาเพราะไม่มีเจ้าหนี้รายใดยอม
สุดท้ายเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 ก็ลงเอยกันด้วยการแก้ปัญหาระดับชาติ
ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้ดำเนินการเรียกบรรดาธนาคารเจ้าหนี้
14 ธนาคารประชุมร่วมกับบริษัทผู้ส่งออกทำข้อตกลงร่วมกันในเรื่องการจัดการหนี้สินและให้มีการส่งน้ำตาลลงเรือให้ได้
เพราะไม่เช่นนั้นประเทศไทยจะไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้ซื้อน้ำตาลในตลาดโลก
อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลไทยโดยส่วนรวม
ในข้อตกลงใช้คำว่า "จะเกิดผลกระทบกระเทือนต่อประโยชน์และชื่อเสียงของประเทศในการค้าระหว่างประเทศอย่างรุนแรง
ถ้าหากว่าไม่สามารถส่งน้ำตาลลงเรือเพื่อส่งออกได้ตามภาระผูกพันที่มีอยู่กับผู้สั่งซื้อในต่างประเทศ"
ข้อตกลงในวันนั้นพอสรุปได้ว่าใหิ้สทธิธนาคารเจ้าหนี้ที่รับจำนำน้ำตาลได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการส่งออกก่อนบริษํทผู้ส่งออก
ส่วนบริษัทผู้ส่งออกจะได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้แก็คกิ้งเครดิตคืนจากธนาคารพาริชย์
โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะผ่อนผันไม่เรียกหนี้แพ็คกิ้งเครดิตคืนจากธนาคารพาณิชย์ที่รับแคกิ้งไว้จนกว่าจะอยู่ในวิสัยที่จะชำระคืนได้อีกช่วงหนึ่ง
พร้อมกันนี้ก็จะลดดอกเบี้ยลงให้ไม่เกิน 7.5% โดยให้กลุ่มโรงงานบ้านโป่งรับผิดชอบภาระดอกเบี้ยนี้ทั้งหมด
มีข้อตกลงเพิ่มเติมอีกว่าเป็นการแก้ปัญหาหนี้ของกลุ่มบรรดาธนาคารพาณิชย์
เจ้าหนี้ทั้งหลายรับจะเข้าบริหารดูแลกิจการของกลุ่มโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งต่อไป
โดยยอมให้บริษัทผู้ส่งออกมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากเงินที่กลุ่มบ้านโป่งจะได้รับจากเงินอุดหนุนจากทางการและเงินชดเชยราคาอ้อย
เพื่อนำไปหักชำระหนี้แพ็คกิ้งจนกว่าจะหมด
ในการส่งออกน้ำตาลของกลุ่มบ้านโป่งให้ส่งออกโดยผ่านบริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลตามสัดส่วนเดิมที่มีอยู่
เมื่อแบงก์พาณิชย์เรียกเก็บหนี้จากบริษัทฯผู้ส่งออกแล้วจึงให้บริษัทผู้ส่งออกเรียกชำระหนี้จากกลุ่มต่อไป
ซึ่งจะมีสิทธิ์ได้รับชำระหนี้ก่อน 20% ของกำไรสุทธิของฤดูการผลิตนั้น ๆ
น้ำตาล 70,000 กระสอบจึงถูกส่งลงเรือได้สำเร็จ
เมื่อส่งน้ำตาลลงเรือแล้วเรียบร้อยก็ถึงคราวที่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายมานั่งตกลงกันต่อว่าจะเคลียหนี้กันอย่างไร
ซึ่งตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 นั้นคือแบงก์เจ้าหนี้รับจะเข้าไปดำเนินการบริหารและดูแลให้ธุรกิจเดินของมันต่อไปได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเปิดหีบให้ทันในฤดูกาลผลิต 2528/2529 อย่างช้าที่สุดในต้นเดือนมกราคม
2529
โครงสร้างหนี้ของกลุ่มกระจัดกระจายอยู่กับเจ้าหนี้ต่าง ๆ ในขณะนั้นก็ประกอบไปด้วยหนี้จำนองที่ดินและโรงงาน
รวมทั้งที่ติดค้างมาจากการเข้าซื้อกิจการโรงงานต่าง ๆ ซึ่งต้องรับเอาหนี้เข้ามาด้วยหนี้เหล่านี้ค่อนข้างมีระยะเวลาชำระระยะยาวสมควรโดยเฉลี่ยประมาณ
5 ปี
อีกส่วนหนึ่งเป็นหนี้ค่าซ่อมแซมปรับปรุงและค่าบำรุงรักษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นเสียส่วนใหญ่
เงินทุนหมุนเวียนส่วนหนึ่งจะได้มาจากเงินอุดหนุนอ้อยและน้ำตาล จากทางการ
โดยจ่ายผ่านโรงงานแล้วให้โรงงานจ่ายให้แก่ชาวไร่อีกต่อหนึ่ง ในอัตรา 70%
ของเงินอุดหนุนให้เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการปลูกอ้อยส่วนอีก 30%
ให้เป็นเงินอุดหนุนในส่วนของโรงงาน
ในวิธีปฏิบัติบริษัทเจ้าของโรงงานเมื่อได้รบเงินอุดหนุนมาแล้วจะเป็นผู้ออกเช็คในนามของตัวเองจ่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยตามโควต้าการปลูกอ้อยที่ได้รับการจัดสรรลงวันที่ล่วงหน้าประมาณ
3-6 เดือน ชาวไร่อ้อยจะนำเช็คนั้นไปขายลดกับธนาคารเพื่อให้ได้เงินสดไปดำเนินการตามเป้าหมาย
เมื่อเช็คถึงกำหนดธนาคารรับซื้อก็จะนำเงินไปขึ้นเงินเอากับบริษัทเป็นขั้นตอนสุดท้าย
เงินหมุนเวียนอีกจำนวนหนึ่งที่บริษัทเจ้าของโรงงานจะต้องจัดไว้ใช้จ่ายในช่วงของการเปิดหีบผลิตน้ำตาล
เช่น ค่าแรง ค่าอ้อย และค่าใช้จ่ายทั่วไปรวมทั้งบางครั้งก็ต้องออกค่าใช้จ่ายช่วยเหลือล่วงหน้าไปก่อนแก่ชาวไร่อ้อย
เพื่อให้มีอ้อยป้อนโรงงานเต็มการผลิต และค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะสูงขึ้นไปด้วยสำหรับโรงงานที่อยู่เขตที่มีการแย่งซื้ออ้อยกันสูง
เงินส่วนนี้โรงงานจะได้มาโดยกู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือโอดีนั่นเอง
ยังมีเงินทุนหมุนเวียนอีกส่วนหนึ่งที่ทางโรงงานจะได้มาจากการขอแพ็คกิ้งเครดิตโดยผ่านบริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลตามสัดส่วนโควตาการส่งออกของตัวเอง
ในทางปฏิบัติบริษัทผู้ส่งออกจะนำโควตาของโรงงานนั้น ๆ ไปขอแพ็คกิ้งเครดิตจากธนาคารพาณิชย์
แล้วธนาคารพาณิชย์จะนำไปขอแพ็คกิ้งกับธนาคารแห่งประเทศไทยอีกต่อหนึ่งสำหรับเงินที่บริษัทผู้ส่งออกได้มาก็จะต้องนำมาให้บริษัทเจ้าของโรงงาน
โดยลงบัญชีเป็นเจ้าหนี้กันเป็นทอด ๆ
หนี้อีกประการหนึ่งเกิดจากการนำน้ำตาลที่ผลิตได้ก่อนส่งออกไปจำนำไว้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งในกรณีนี้แต่ละแบงก็จะให้เงินรับจำนำประมาณตั้งแต่
40-100% ของราคาในวันที่จำนำตามแต่ความเชื่อถือของแต่ละโรงงานและความผันผวนของราคาซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การประเมินราคาหลักทรัพย์ไม่แน่นอน
สินเชื่อประเภทนี้นี่เองที่มีการกล่าวกันว่ามีการทำดับเบิ้ลไฟแนนซ์กันมากในวงการน้ำตาล
กล่าวคือนำน้ำตาลที่จำนำไว้แล้วกับแบงก์หนึ่งไปจำนำไว้กับอีกแบงก์หนึ่ง และธนาคารพาณิชย์เองก็รู้ข้อมูลนี้เป็นอย่างดีแต่ก็รับจำนำช้อนเอาไว้
หนี้อีกประเภทหนึ่งที่พอกพูนตามมาทีหลังคือหนี้อันเกิดจากการขายลดเช็คกับสถาบันการเงินต่าง
ๆ กระทั่งกับแหล่งเงินนอกระบบเพื่อนำมาชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในระบบ อันเนื่องมาจากการขาดสภาพคล่องในระบบ
วิบูลย์บอกว่าหนี้ส่วนที่มันพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ นี้สืบเนื่องมาจากต้องการนำเงินมาชำระดอกเบี้ยในระบบ
จนสุดท้ายก็เกิดเป็นดินพอกหางหมูเพราะเกิดการหมุนเงินมาชำระดอกเบี้ยไปเรือ่กย
ๆ หวังจังหวะจะแก้ตัวได้เมื่อราคาน้ำตาลมันดีขึ้น แต่ปรากฏว่าราคาน้ำตาลในตลาดลกตกต่ำลงติดต่อกันเกินกว่าคาดหมาย
และตกต่ำลงถึง 2 เซนต์ ยิ่งทำให้สภาพคล่องยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ในขณะที่ดอกเบี้ยก็ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยจนถึง
19%
"ผู้จัดการ" ไม่อาจแยกแยะได้ทั้งหมดว่าหนี้ทั้งหมดนั้นเป็นหนี้ประเภทใดจำนวนเท่าใด
แต่คนในวงการเงินวิเคราะห์จากข้อมูลที่มีอยู่ให้ฟังว่า หนี้ที่เกิดขึ้นมาจากข้อผิดพลาดในการบริหารการเงินอย่างหนึ่งของกลุ่มบ้านโป่งก็คือใช้เงินที่น่าจะเป็นเงินทุนหมุนเวียนไปลงทุนในระยะยาว
ซึ่งเข้าใจว่านำไปซื้อกิจการและขยายการผลิต ด้วยเหตุน้จังทำให้ขาดสภาพคล่องทันทีเมื่อราคาน้ำตาลตกต่ำและดอกเบี้ยสูงขึ้น
เจ้าหนี้รายใหญ่ขณะนั้นคือธนาคารกรุงเทพฯ 2,000 กว่าล้านบาท รองลงมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
1,200 กว่าล้านบาท ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 900 กว่าล้านบาท ส่วนที่ต่ำกว่า 500
ล้านบาทลงมาก็มีธนาคารศรีนคร กสิกรไทย ทหารไทย กรุงเทพฯ พาณิชยการ กรุงไทย
มหานคร สหธนาคาร นครธน ไทยทนุควรหลวงไทย เอเชียล้วนแต่เจอกันอย่างถ้วนหน้า
เว้นแต่ธนาคารสยามกับแหลมทอง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยทรัสต์อีก 17 แห่ง บริษัทมิตซุยอิ้ง
ผู้ซื้อน้ำตาลรายใหญ่บริษัทผู้ส่งออกทั้ง 3 รายคือ บริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย
บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาลและบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย รวมเงินที่จะต้องเคลียร์กันทั้งสิ้น
5,250 ล้านบาท
แต่เนื่องจากลักษณะของมูลหนี้ที่มีอยู่กับเจ้าหนี้แต่ละรายแตกต่างกันและกระจัดกระจายอยู่ในทุกบริษัทของกลุ่ม
มากน้อยแตกต่างกันออกไปจึงได้มีการตกลงเบื้องต้นในการแลกเปลี่ยนหนี้ระหว่างเจ้าหนี้ด้วยกันเพื่อจะได้เจ้าหนี้ที่เป็นผู้นำในการเข้าไปฟื้นฟูกิจการของแต่ละโรงงานได้สะดวกขึ้น
ฐานะและศักยภาพของแต่ละโรงงานมีไม่เท่ากันจึงไม่อาจทำการสละสิทธิ์และเข้ารับช่วงสิทธิโดยการแลกเปลี่ยนหนี้เต็มตามจำนวนหนี้ทีเจ้าหนี้แต่ละรายมืออยู่ในแต่ละบริษัท
จึงได้ตกลงแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายหนี้กันในอัตรา 90% ของจำนวนหนี้เต็มสำหรับเจ้าหนี้ที่มีบุริมสิทธิจำนอง
และ 60% สำหรับเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือที่เรียกว่าเจ้าหนี้ลอย
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือเจ้าหนี้อันเกิดจากการรับเช็คและตั๋วเงิน
เพราะฉะนั้นเจ้าหนี้ทุกรายก็ต้องเข้ามาอยู่ในเงื่อนไขนี้ด้วยกันทั้งสิ้น
จากนั้นจึงมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายหนี้กันระหว่างเจ้าหนี้ โดยธนาคารกรุงเทพเป็นผู้นำในการเข้าไปฟื้นฟูโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งและเกษตรผล
กลุ่มมิตซุยเข้าดำเนินการโรงงานน้ำตาลธนราช ซึ่งหลังจากนั้นสองปีก้ได้มีการจเรจาร่วมกับบริหารระหว่างธนาคารกรุงเทพกับกลุ่มมิตซุย
เนื่องจากว่าหนี้บางส่วนยังมีความผูกพันไปมาอยู่ระหว่าง 3 โรงงานกับเจ้าหนี้ทั้งสองโดยเฉพาะกลุ่มมิตซุยเองก็ไม่ค่อยถนัดนักในการบริหารโรงงานน้ำตาล
ทั้งนี้โดยให้ธนาคารกรุงเทพซึ่งนำโดย เดชา ตุลานันท์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เป็นผู้ดูแลและให้มิตซุยหนักทางด้านการขายน้ำตาลในต่างประเทศ
(ปัจจุบันระบบการส่องอกน้ำตาลเปิดให้เจ้าของโรงงานน้ำตาลเป็นผู้ส่งออกเองได้โดยไม่ต้องผ่านบริษัทส่งออกที่ตั้งขึ้นมาเป็นการเฉพาะเช่นที่ผ่านมา)
ซึ่งเป็นงานที่มิตซุยเองก็ถนัดอยู่แล้ว
ทางด้านธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้นำเข้าซื้อหนี้และเข้าดำเนินการบริหารดูแลกิจการโรงงานน้ำตาลสิงห์บุรี
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่เข้าดำเนินการบริหารและดูกิจการโรงงานน้ำตาล
นครปฐม และสุดท้ายรายบริษัทน้ำตาลเกษตรไทยเจ้าของโรงงานน้ำตาลเกษตรไทยได้มีกาตกลงขายทรัพย์สินและหนี้สินให้แก่กลุ่มโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ของประพันธ์
ศิริวิริยะกุล เศรษฐีใหม่แห่งวงการอ้อยน้ำตาลไทยเป็นผู้รับไปดำเนินการ ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทยเป็นเจ้าหนี้
รายใหญ่ยอมแปลงหนี้เป็นทุนให้การสนับสนุนเจ้าของใหม่ต่อไปรวมทั้งแบงก์กรุงเทพซึ่งมีหนี้
อยู่บางส่วน สำหรับพี่น้องในตระกูลผาณิตวงศ์ นั้นได้เข้าถือหุ้นไว้เพียง
20% เท่านั้น
แหล่งข่าวในวงการธนาคารบอกว่าวิบูลย์ยังคงถือหุ้นอยู่เพียง 20% ส่วนใหญ่ขายหุ้นให้แก่กลุ่มโรงงานไทยเอกลักษณ์ซึ่งได้รับความไว้วางใจจากแบงก็เจ้าหนี้ให้เป็นผู้บริหารต่อจากวิบูลย์
ซึ่งปัจจุบันได้ย้ายโรงงานจากกาญจนบุรีไปเปิดที่อำเภอตาคลี นครสวรรค์
"ก็เรียกได้ว่าโรงงานเกษตรไทยในปัจจุบันไม่ถือว่าเป็นโรงงานในเครือของเรา
เพราะทางกลุ่มไทยเอกลักษณ์ได้ซื้อหุ้นไปแล้วซึ่งต้องรับไปทั้งหนี้ด้วย"
วิบูลย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
โรงงานบ้านโป่ง ธนราช เกษตรผลและสิงห์บุรีเจ้าหนี้เข้าไปแก้ปัญหาโดยการแปลงหนี้เป็นทุนพร้อมกับอัดฉีดเงินทุนหมุนเวียนเข้าไปอีก
เพื่อการซ่อมแซม เครื่องจักร โรงงาน และจัดซื้อวัตถุดิบจ่ายค่าแรงโรงงานและหลายร้อยล้านบาทต่อฤดูกาลผลิต
แล้วนำกำไรที่ได้ในแต่ฤดูกาลผลิตกลับมาชำระคืนแก่เจ้าหนี้
จากการควบคุมประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียนและประสิทธิภาพในการผลิตตามสมควร
ประกอบกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ จนขึ้นสูงสุดถึง 14 เซนต์/ปอนด์ในปีการผลิต
2532/2532 ที่ผ่านมา แม้ขณะนี้ราคาจะเริ่มลดลงแต่ก็ทรงตัวอยู่ในระดับ 9-10%
แต่ก็ยังเป็นราคาที่ทำให้มีกำไรอยู่ได้
ผลปรากฏว่าเมื่อสิ้นปีการผลิต 2532/2533 เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทน้ำตาลบ้านโป่งสามารถชำระหนี้คืนได้ถึง
750 ล้านบาท บริษัทธนราชชำระคืนได้ 635 ล้านบาท บริษัทน้ำตาลสิงห์บุรีชำระคืนได้
800 ล้านบา และบริษัทน้ำตาลเกษตรผลชำระคืนได้ 180 ล้านบาท ยังคงเหลือยอดหนี้ค้างชำระในช่วงเดียวกันจำนวน
650 ล้านบาท 400 ล้านบาท และ 320 ล้านบาทตามลำดับ (โปรดพิจารณาตารางแสดงฐานะของบริษัทประกอบ)
ส่วนโรงงานน้ำตาลนครปฐมในช่วงแรกได้ใช้วิธีการเข้าไปแก้ปัญหาโดยตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาแล้วเข้าไปเช่าโรงงาน
โดยธนาคารเจ้าหนี้แต่ละรายจะให้เงินกู้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่เป็นเงินทุนหมุนเวียนตกประมาณปีละ
170 ล้านบาท ส่วนเจ้าหนี้รายใดจะให้กู้เท่าไหร่ให้เป็นไปตามความสมัครใจแต่จะมีธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ยืนพื้นรับผิดชอบอยู่แล้ว
โดยเงินกู้ใหม่นี้ให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี
เมื่อดำเนินไปแล้วในแต่ละรอบปีการผลิตให้นำเงินค่าเช่านั้นกลับมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทุกรายที่ยังค้างอยู่ตามสัดส่วนของเจ้าหนี้แต่ละรายที่มีอยู่
โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนแรกประมาณไม่เกิน 75% ของค่าเช่าทั้งหมดให้นำมาชำระในส่วนของดอกเบี้ย
ส่วนที่สองประมาณ 25% ให้นำมาชำระในส่วนของเงินต้น
กำรที่เหลือจากการดำเนินการในแต่ละปีให้นำมาจัดสรรคืนแก่เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่ตามสัดส่วน
แต่ในช่วงแรกนี้มีปัญหาจากโรงงานน้ำตาลนครปฐมอยู่ในเขตที่มีโรงงานน้ำตาลจำนวนมากมีการแข่งขันในการซื้ออ้อยเข้าโรงงานสูงจึงได้ขอย้ายไปอยู่จังหวัดกำแพงเพชร
ซึ่งเป็นเขตที่มีอ้อยมากพร้อมกับขยายกำลังผลิตขึ้นอีกเป็น 16,000 ตันต่อวัน
วิบูลย์บอกว่า หลังจากย้ายในปีแรก โรงงานนครปฐมที่กำแพงเพชรสามารถหีบอ้อยได้ถึง
750,000 ตันในปีแรกจากที่เคยผลิตได้เพียงปีละ 300,000 กว่าตันเท่านั้นเอง
และในปีที่สองคือในปี 2532/2533 ที่ผ่านมาสามารถหีบได้สูงถึง 900,000 ตัน
ทำให้ฐานะของบริษัทดีขึ้นทันทีของบริษัทดีขึ้นทันที
ล่าสุดเมื่อสิ้นสุดตุลาคม 2533 โรงงานนครปฐมเหลือยอดหนี้ค้างชำระเพียง
470 ล้านบาทจากยอดหนี้เดิม 900 ล้านบาท
เมื่อเจ้าหนี้เริ่มมีความสบายใจ หนี้ที่ยงค้างอยู่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้ถอนออกจากการเป็นหนี้ที่จะต้องสำรองไว้แล้ว
วิบูลย์เริ่มคิดที่จะนำธุรกิจของเขาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะโรงงานน้ำตาลนครปฐม
แผนการณ์ของวิบูลย์เริ่มขึ้นเมื่อเขาตั้งบริษัทน้ำตาลนครเพชรขึ้นมา เพื่อเข้าไปซื้อทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทน้ำตาลนครปฐม
"บริษัทน้ำตาลนครเพชรเข้าซื้อกิจการของนครปฐมมาทุกอย่าง รวมทั้งสิ้นแล้วโดยเจรจากับเจ้าหนี้ขอลดทุนในส่วนของผมลงจาก
100 ล้านเหลือ 50 ล้านบาทจากนั้นจึงทำการเพิ่มทุนแล้วให้แปลงหนี้ของบรรดาเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งหลายให้เป็นทุนในอัตราส่วน
1:1" วิบูลย์กล่าว
ซึ่งส่วนใหญ่ก็เอาด้วยกับข้อเสนอของเขาส่วนเจ้าหนี้ที่ไม่ยอมเขาก็ขอซื้อมาเป็นของส่วนตัว
โดยได้รับการสนับสนุนอยางดีจากธนาคารไทยพาณิชย์ให้สินเชื่อผ่านบริษัทน้ำตาลสิงห์บุรีแล้วให้สิงห์บุรีเข้ามาถือหุ้นในบริษัทน้ำตาลนครเพชร
"เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาในข้อสงสัยต่าง ๆ ผมได้รับคำแนะนำจากตลาดหลักทรัพย์ให้รวมเอาบริษัทหรือโรงงานในเครือเข้ามาอยู่ด้วยกัน
เพราะเขาเห็นว่าน้ำตาลทรายเป็นสินค้าที่ถ่ายเทกันง่าย ผมก็เลยต้องเอาบ้านโป่ง
ธนราช และเกษตรผลเข้ามาอยู่ในกลุ่มนครเพชรด้วย" วิบูลย์กล่าวถึงการรวมตัวกันครั้งใหม่ซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มบ้านโป่งอีกต่อไปแล้วเพราะตามโครงสร้างที่ออกมาจะกลายเป็นว่าบริษัทนครเพชรจะเป็นบริษัทแม่ที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มในปัจจุบัน
(โปรดพิจารณาผังการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทบ้านโป่งในปัจจุบัน)
กล่าวคือบริษัทน้ำตาลนครเพชรได้เข้าไปซื้อทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งมาทั้งหมด
ซึ่งต่อไปบริษัทน้ำตาลบ้านโป่งก็จะเป็นเพียงบริษัทเปล่า ๆ ที่ไม่มีกิจกรรมทางธุรกิจอะไรอีกต่อไป
ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว
จากนั้นบริษัทนครเพชรก็จะเข้าไปซื้อหุ้นทั้งหมดแบบ 100% ของบริษัทน้ำตาลเกษตรผลแล้วให้บริษัทน้ำตาลเกษตรผลเข้าไปซื้อทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทน้ำตาลธนราช
โดยการเพิ่มทุนลงไปในเกษตรผลอีก 180 ล้านบาทเป็น 240 ล้านบาท
ฉะนั้นต่อนี้ไปบริษัทน้ำตาลเกษตรผลซึ่งถือหุ้นโดยบริษัทน้ำตาลนครเพชรก็จะมี
3 โรงงานคือโรงงานน้ำตาลเกษตรผล โรงงานน้ำตาลธนราชเดิมและย้ายเอาโรงงานส่วนหนึ่งของธนราช
(โรงงานน้ำตาลธนราชมีใบอนุญาต 2 ในอันเนื่องมาจากการซื้อโรงงานน้ำตาลธนบุรี
1 และ 3) ย้ายไปอยู่ที่อำเภอกุมภวาปี อุดรธานี พร้อมกับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น
8,000 ตัน/วัน ทั้งนี้ในการขยายกำลังผลิตของธนราชแล้วย้ายไปอุดรธนาคารกรุงเทพจะให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มขึ้นอีก
300 ล้านบาท
สำหรับบริษัทน้ำตาลสิงห์บุรีหรือโรงงานน้ำตาลสิงห์บุรีถ้าวิบูลย์ต้องการก็สามารถจะซื้อคืนได้ในวันนี้ได้เลย
แต่วิบูลย์อยากจะแยกออกไปจากกลุ่มนครเพชรอย่างชัดเจน ซึ่งขณะนี้ถือหุ้นโดยธนาคารไทยพาณิชย์
100% จึงทำได้ง่ายที่จะแยกออกไปจึงยังไม่ซื้อหุ้นคืนมาจนกว่าการดำเนินการเอากลุ่มนครเพชรเข้าตลาดเรียบร้อยแล้วจะมาดำเนินการทางด้านนี้
"ผมขอให้ทางไทยพาณิชย์ช่วยอยู่บริหารต่อไปอีกสักปีสองปี ผมจะซื้อคืน"
วิบูลย์กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ซึ่งสอดคล้องกับที่ วิรัตน์ รัตนาภรณ์
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าแบงก์ยินดีจะคืนอำนาจการบริหารแก่วิบูลย์ทุกเมื่อที่วิบูลย์ต้องการ
เพราะการแก้ไขปัญหาหนี้ของบริษัทที่ผ่านมาให้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว แต่เมื่อวิบูลย์ขอร้องมาก็ยินดีที่จะช่วยบริหารต่อไปอีกจนกว่าวิบูลย์จะพร้อม
ปัจจุบันก็เท่ากับว่าวิบูลย์จะต้องมีโรงงานอยู่ 6 โรงงานแม้จะขายโรงงานเกษตรไทยให้แก่กลุ่มไทยเอกลักษณ์ไปแล้วก็ตาม
พร้อมกันนั้นเขายังมีกำลังการผลิตตามห้าใบอนุญาตเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัวคือประมาณ
67,000 ตัน/วัน ซึ่งเขาบอกว่าถ้มีอ้อยป้อนโรงงานจนสามารถเดินเครื่องได้ตลอดอย่างน้อย
200 วันขึ้นไป โรงงานของเขาจะสามารถผลิตเต็มกำลังได้ถึง 100,000 ตัน/วัน
นั้นหมายความว่าเขาจะกลับมาเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดในประเทศไทย
ซึ่งความใหญ่ของกลุ่มโรงงานน้ำตาลวัดกันตรงนี้ แม้วิบูลย์จะบอกว่าเขาไม่เคยนำไปเทียบกับใครก็ตาม
"มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะผลิตได้ถึง 100,000 ตัน/วัน เพราะในทำเลทำเลที่เราย้ายไปใหม่อย่างอุดรกับกำแพงเพชรมีปริมาณอ้อยเพียงพอที่จะป้อนโรงงานให้เดินเครื่องได้กว่า
200 วันต่อปี" วิบูลย์กล่าวด้วยความมั่นใจ
วิบูลย์ฟื้นตัวแล้วจากปัญหาหนี้สินและกำลังทะเยอทะยานที่จะกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง