Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา พฤษภาคม 2553
ฤดูที่ร้อนแรงของเครื่องปรับอากาศ             
 


   
search resources

Electric




ภาวะตลาดเครื่องปรับอากาศนับได้ว่ามีการแข่งขันที่รุนแรงไม่แพ้สภาพอากาศที่กำลังร้อนระอุอยู่ในขณะนี้ ผู้ผลิตต่างขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้น เพื่อแย่งชิงกันเป็นผู้นำตลาด โดยต่างชูนวัตกรรมใหม่ๆ ในผลิตภัณฑ์สินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งมาเป็นจุดขาย

เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น ระบบปรับอากาศ ที่สามารถปรับปริมาณและควบคุมสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ได้อัตโนมัติ ประสิทธิภาพระบบฟอกอากาศที่สามารถขจัดกลิ่น และยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อโรค ไวรัส เชื้อรา การชูนวัตกรรมความเงียบ และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการออกแบบรูปลักษณ์ให้เข้ากลับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น กลายเป็นข้อความยอดนิยมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโหมประชาสัมพันธ์

ฤดูของการขายเครื่องปรับอากาศในช่วงที่ผ่านมานี้

ผู้ผลิตและผู้ประกอบการตัวแทนจำหน่ายมีการนำสินค้าที่เหลือค้างสต๊อกจากปีก่อน มาจัดโปรโมชั่นพิเศษลดราคา เพื่อเร่งระบายสินค้า รวมถึงการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดกันอย่างคึกคัก จากรายงานของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์พบว่า ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ปริมาณการจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศมีอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 44.7 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจากสภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าวอย่างมากในปีนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการเติบโตของตลาดเครื่องปรับอากาศแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ตลาดเครื่องปรับอากาศยังได้รับปัจจัยบวกจากภาวะรายได้และการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลต่ออำนาจซื้อของผู้บริโภคและเอื้ออำนวยต่ออารมณ์การจับจ่ายของผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลต่อดีต่อตลาดเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะตลาดสินค้าทดแทน (Replacement Market) ให้ปรับตัวดีขึ้น ภายหลังจากที่ชะลอตัวลงในปีที่ผ่านมา

ขณะเดียวกันแนวโน้มการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์เป็นปัจจัยหนุนต่อตลาด เครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะช่องทางการจำหน่ายผ่านโครงการอสังหาริมทรัพย์ทั้งโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด ซึ่งผู้ประกอบการโครงการอสังหาริมทรัพย์บางราย มีการจัดโปรโมชั่นแคมเปญแจกของสมนาคุณเครื่องปรับอากาศให้แก่ลูกค้าของ โครงการ โดยคาดว่า ในปี 2553 นี้จะมีจำนวนที่อยู่อาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 76,500 หน่วย

อย่างไรก็ดี ภาวะการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงมีผลต่อราคา เครื่องปรับอากาศ โดยผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างโหมแคมเปญกระตุ้นตลาด เพื่อเร่งยอดขายให้เป็นไปตามเป้า โดยผู้ผลิตต่างพยายามนำจุดเด่นของสินค้ามาเป็นจุดขายในการจูงใจ ให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้ารวมถึงการใช้กลยุทธ์ด้านราคา เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันผู้บริโภคสามารถซื้อเครื่องปรับอากาศขนาด 9,000 บีทียู ในราคาที่ต่ำกว่า 10,000 บาทได้

ซึ่งจากการแข่งขันที่รุนแรงในตลาด คาดว่าจะส่งผลให้แนวโน้มราคาเครื่องปรับอากาศในปี 2553 นี้ ลดลงจากปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับเครื่องปรับอากาศที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งการปรับลดราคาลงมาจะช่วยให้ฐานลูกค้าของผู้ผลิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

สำหรับราคาเครื่องปรับอากาศที่ปรับลดลงในปีนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีมติยกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง (ชนิดที่ใช้กับอาคารสำนักงานและบ้านพักอาศัย แต่ไม่รวมถึงเครื่องปรับอากาศชนิดที่ใช้กับรถยนต์) ลงเหลือร้อยละ 0.0 จากเดิมที่จัดเก็บภาษีตามมูลค่าที่ร้อยละ 15.0 ด้วย

กระนั้นก็ดีแนวโน้มตลาดเครื่องปรับอากาศในปี 2553 นี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการเติบโตของตลาด โดยเฉพาะปัจจัยการเมืองในประเทศ ซึ่งหากการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ยังคงยืดเยื้อก็อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์การจับจ่าย ใช้สอยของผู้บริโภคที่มีความต้องการจะเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ในช่วงนี้ ทำให้ผู้ผลิตอาจต้องปรับกลยุทธ์การตลาด

นอกจากนี้เสถียรภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม แม้ว่าตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และในยุโรปบางประเทศ เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นก็ตาม แต่ปัญหาด้านการคลังของประเทศสมาชิกยูโรโซนบางประเทศที่ยังคงกดดันการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงอาจกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้เช่นกัน

จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในประเทศในปี 2553 จะมีประมาณ 1,090,000-1,150,000 เครื่อง ขยายตัวประมาณร้อยละ 10.0-15.0 จากที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 9.3 ในปี 2552 ในขณะที่มูลค่าตลาดเครื่องปรับอากาศในปี 2553 น่าจะมีประมาณ 16,500-17,250 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 10.0-15.0 จากที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 7.8 ในปี 2552

การแข่งขันที่กำลังขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้นในตลาดเครื่องปรับอากาศ ทำให้มีการปรับกลยุทธ์การตลาดในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งผู้ผลิตส่วนหนึ่งคงจะเน้นกลยุทธ์ทางด้านราคาจำหน่ายมาช่วงชิงส่วนแบ่ง การตลาด โดยบางรายมีการปรับลดราคาลงให้ใกล้เคียงกับคู่แข่ง การจัดรายการส่งเสริมการขายร่วมกับพันธมิตรตัวแทนจำหน่ายด้วยการนำระบบเงิน ผ่อนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อเร่งการตัดสินใจของลูกค้า

ขณะที่ผู้ผลิตบางรายเลือกที่จะไม่ใช้กลยุทธ์ด้านราคาเข้ามาสู้ในตลาด แต่จะใช้การชูจุดเด่นและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า โดยเฉพาะเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน การชูเครื่องปรับอากาศเพื่อสุขภาพ โดยการเพิ่มเทคโนโลยีระบบฟอกอากาศที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ โรคประเภทต่างๆ ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างกัน รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เน้นคุณสมบัติในตัวเครื่องมากกว่าปัจจัยด้านราคา สำหรับตลาดแอร์ที่คาดว่าจะมีการเติบโตมากในปีนี้คือ เครื่องปรับอากาศในครัวเรือนขนาด 9,000-13,000 บีทียู เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงนัก

นอกจากนี้ภาวะการแข่งขันในตลาดผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ในประเทศยังต้องเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่าเครื่องปรับอากาศที่ผลิตในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตในประเทศบางรายจำต้องปรับกลยุทธ์ โดยมีการเพิ่มไลน์สินค้าให้ครอบคลุมกับทุกตลาดมากขึ้น เช่น การผลิตสินค้ารุ่นใหม่โดยมีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติให้เหมาะสมกับราคา หรือ Fighting product ที่มีราคาไม่สูงนัก และคาดว่าจะมีการเติบโตมากในปีนี้

สภาพแวดล้อมที่มีการเปิดนำเข้าสินค้าภายใต้กรอบการค้าเสรีมากขึ้นนี้ ภาครัฐอาจมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าที่จะคุ้มครองผู้บริโภคและป้องกันการนำเข้ามาของสินค้าด้อยคุณภาพ จากต่างประเทศควบคู่ด้วยเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us