Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533
ดอนเมืองโทล์ลเวย์ได้เกิดแล้ว หาเงินเองแบบ NON-RECOURSE             
 


   
search resources

ดอนเมืองโทลล์เวย์
Transportation




15 เดือนหลังจากเซ็นสัญญาสัมปทานกับกรมทางหลวงเมื่อสิงหาคม 2532 บริษัทดอน
เมือง โทล์ลเวย์ จำกัดเพิ่งจะลงนามในสัญญาเงินกู้ในประเทศมูลค่า 3,880 ล้านบาทและเงินกู้ต่างประเทศ 140 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

นับเป็นระยะเวลายาวนานจนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นทั่วว่าโครงการนี้ท่าจะไม่ได้เกิดเป็นแน่

แต่ผู้ที่มาร่วมงานเซ็นสัญญาเงินกู้กว่าร้อยคนต้องยอมรับว่าวงเงินเพียง 7,400 กว่าล้าน

บาทดูจะไม่สลักสำคัญเท่าบารมีของเจ้าของโครงการซึ่งในวันนั้นมากันพร้อมหน้าพร้อมตา ยอมรับว่าวงเงินเพียง 7,400 กว่าล้านบาทดูจะไม่สลักสำคัญเท่าบารมีของเจ้าของโครงการซึ่งในวันนั้นมากันพร้อมหน้าพร้อมตา

อุเทน เตชะไพบูลย์ แห่งกลุ่มศรีนครเกียรติ พานิชชีวะแห่งกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง, โรงแรมแชง-

กรีลาขาดไปก็แต่ผู้แทนจากกลุ่ม ซีพีซึ่งร่วมถือหุ้นอยู่ประมาณ 10% และกลุ่มไทยรุ่งเรืองของกลุ่มอัษฎาธร รวมผู้ลงทุนฝ่ายไทย 5 กลุ่มถือหุ้น 56% ส่วนต่างประเทศอีก 44% นั้นเป็นของบริษัทก่อสร้างเจ้าของเทคโนโลยีคือบริษัทดิคเกอร์ฮอฟฟ์ แอนด์ วิดมานน์แห่งเยอรมนีและบริษัทจีทีเอ็มไอแห่งฝรั่งเศส

เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงสร้างกลุ่มผู้ถือหุ้นและวิธีการกู้เงินในโครงการนี้แตกต่างไปจาก

โครงการอื่น ๆ คือมีผู้ร่วมลงทุนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละกลุ่มืถอหุ้นในอัตราที่ไม่สูงนักซึ่งเท่ากับเป็นการกระจายความเสี่ยงอีกทั้งยังสามารถดึงผู้ก่อสร้างเข้ามาร่วมลงทุนด้วยได้ ยิ่งเป็นหลักประกันการสร้างได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของการกู้เงินนั้นอรดี รุ่งเรืองโรจน์ กรรมการบริษัทวอร์ดเล่ย์ (ประเทศไทย)

จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้เปิดเผย "ผู้จัดการ" ว่า "เมื่อทราบว่ามีโครงการนี้ เราก็ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินร่วมกับทางทิสโก้ที่ทำยอู่ก่อนหน้าแล้ว โดยเราดูทางด้านเงินกู้ต่างประเทศ ส่วนทิศโก้ดูแลเงินกู้ในประเทศ"

ผู้รับประกันเงินกู้สกุลตางประเทศนำโดยธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ฯ ซึ่งรายการนี้ใช้วิธีกู้แบบ TERM LOAN CREDIT จากธนาคารซึ่งส่วนมากจะเป็นธนาคารในยุโรปทั้งสิ้นรวม 15 แห่งระยะเวลากู้ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่า LIBOR ระยะ 3 เดือนโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ 1-1/4% ในระยะก่อสร้างและลดลงเป็น 1% เมื่อกระแสเงินสดเป็นไปตามข้อตกลง หลังจากนั้นจะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็น ?% เหนืออัตรา LIBOR

บรรดาตัวแทนธนาคารผู้ให้กู้รวม 15 แห่ง ต่างมากันพร้อมหน้าพร้อมตาแห่งละ 2-3 คน อันเป็นเหตุให้บรรยากาศงานยิ่งใหญ่และคึกคักอย่างมาก ๆ

อรดีกล่าวว่า "การที่ผู้ให้กู้ต่างประเทศในโครงการนี้เป็น EUROPEAN CONTRACTOR ทั้งนั้นและมีมากแห่งก็เพราะที่ผ่านมามีหลายโครงการเกิดขึ้นก่อนหน้าแล้ว และบรรดาธนาคารใหญ่อื่น ๆ อย่างธนาคารญี่ปุ่นก็ปล่อยกู้ไปในโครงการเหล่านั้นกันหลายแห่ง ทั้ง 15 แบงก์ที่มาในวันนี้ก็ปล่อยกันแห่งละไม่มากมี 10 ล้านดอลลาร์อยู่ 2-3 แบงก์วงเงิน 5 ล้านดอลลาร์ก็มี เพราะธนาคารเหล่านี้จะมีการตั้งเพดานสินเชื่อที่จะปล่อยในแต่ละประเทศ ซึ่งพวกเขาก็จะเลือกให้กู้เฉลี่ยไปในหลายโครงการ มันก็เลยต้องมีหลายธนาคาร แต่ก็เป็นการดีสำหรับตัวโครงการอย่างหนึ่งเหมือนกัน"

ในส่วนของสถาบันการเงินในประเทศมี 10 รายโดยธนาคารกรุงไทยและศรีนครปล่อยกู้มากที่สุดแห่งละ 850 ล้านบาท ส่วนทิสโก้รับไป 400 ล้านบาท นอกนั้นรับไปแห่งละ 100-200 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่า MLR 1% ในช่วงแรกและจะลดลงเป็น 0.5% เมื่อกระแสเงินสดเป็นไปตามข้อตกลง

อรดีเปิดเผยว่า "โครงการนี้มีจุดคุ้มทุนในระยะ 7 ปีและมีอัตราผลตอบแทนทั้งโครงการประมาณ 18-20% ตอนที่ทำโครงการนั้นอัตราดอกเบี้ยสูงไม่เกิน 15% แต่ตอนนี้ขึ้นไป 17% แล้วเราก็เลยตั้งมูลค่าทั้งโครงการไว้ที่ 10,000 ล้านบาท"

สมบัติ พานิชชีวะ หนึ่งในผู้ร่วมทุนและดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯและประธานคณะกรรมการบริหารเปิดเผยด้วยว่า "การจัดเงินกู้ครั้งนี้เป็นแบบ NON-RECOURSE หมายความว่าผู้กู้จะไม่มีสิทธิ์ให้บุคคลที่สามชดใช้หนี้แทนในระหว่างระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ขณะที่โครงการอื่น ๆ ให้รัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันหรือให้รัฐบาลสนับสนุนและแบ่งรายได้จากการดำเนินงาน"

ว่ากันง่าย ๆ คือโครงการนี้เป็นการลงทุนของเอกชนล้วน ๆ โดยไม่ได้รับความสนับสนุนอนุเคราะห์ใด ๆ จากรัฐบาล แม้กระทั่งการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอก็เพิ่งจะได้รับอนุมัติเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ยื่นขอรับการส่งเสริมรวม 3 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายมีเงื่อนไขด้วยว่าบริษัทฯจะไม่ปรับอัตราค่าธรรมเนียมการผ่านทางภายในช่วง 9 ปีแรกของการสัมปทาน

ดอนเมืองโทลเวย์ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางไว้เรียบร้อยแล้ว โดยในระยะ 8 ปีแรกของโครงการฯ คิดอัตราคันละ 20-30 บาทขึ้นอยู่กับประเภทของรถและระยะทาง ปีที่ 9-13 เก็บเพิ่มประเภทละ 5 บาท/คัน และจากปีที่ 14 ถึงสิ้นอายุสัมปทานคือปีที่ 25 (อายุสัมปทานรวมเวลาก่อสร้างด้วย) เก็บเพิ่มอีกประเภทละ 5 บาท/คัน

อัตราดังกล่าว เมื่อเทียบเคียงกับค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บกันอยู่ในปัจจุบันก็นับว่าแพงอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้อรดีเปิดเผยผลการศึกษาเพื่อจัดทำโครงการฯ ว่า "เราคาดหมายว่าจะมีจำนวนรถที่ใช้เส้นทางนี้ประมาณวันละ 80,000 คันโดยคำนวณจากผลการศึกษาของการทางพิเศษฯที่ว่ามีรถผ่านเส้นทางสายวิภาวดีวันละ 150,000 คัน ซึ่งเมื่อมีดอนเมืองโทล์ลเวย์ขึ้นมาจะช่วยแบ่งเบาภาระการจราจรได้มาก"

ทางด้านสมบัติซึ่งตลอดเวลาของการแถลงข่าวได้ให้ความสำคัญในเรื่องภาพพจน์ของโครงการฯ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาการจราจรในระหว่างการก่อสร้างซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าจะยิ่งทำให้การจราจรบนถนนวิภาวดีฯ ติดขัดมากขึ้นนั้น ได้พูดเน้นย้ำถึงเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างครั้งนี้ว่าเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่จะไม่เพิ่มปัญหาการจราจรอย่างแน่นอน

เกียรติ จวนรมณีย์ ผู้จัดการฝ่ายการก่อสร้างดอนเมืองโทล์ลเวย์ซึ่งมาจากบริษัทศรีนครการโยธาของกลุ่มศรีนครกล่าวว่า "เทคนิคการก่อสร้างโดยไม่กีดขวางการจราจรที่ว่านี้ก็คือบริษัทฯจะใช้พื้นที่ตรงเกาะกลางถนนและกินพื้นที่การจราจรด้านข้างเข้าไปอีกเล็กน้อยเป็นพื้นที่ก่อสร้าง แต่จะคงช่องการจราจรข้างละ 3 ช่องเท่าเดิม จะมีการสร้างรั้วกั้นระหว่างพื้นที่ก่อสร้างกับช่องทางจราจรและทำการก่อสร้างเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 500 เมตร"

ในส่วนของสะพานลอยตามแยกต่าง ๆ นั้นเกียรติอธิบายว่า "จะยังไม่มีการก่อสร้างในบริเวณนั้นจนกว่าการก่อสร้างทางด่วนยกระดับในช่วงนั้นจะพร้อมใช้งาน ทางด่วนดอนเมืองโทล์ลเวย์จะมีความสูงจากพื้นดินถึง 14 เมตร ซึ่งจะสูงกว่าสะพานลอยถนนและรถไฟยกระดับในโครงการอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นด้วย"

ประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่มีความสงสัยกันมากและคาดว่า จะยังคงเป็นปริศนาไปอีกนาน จวบจนโครงการดอนเมืองโทล์ลเวย์เสร็จสิ้นคือ โครงการฯนี้เป็นคู่แข่งโดยตรงของโครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ของการทางพิเศษฯ ซึ่งมีบริษัทบางกอกเอ็กซ์เพรสเวย์นำโดยกลุ่มกูมาไกกูมิเป็นผู้ได้รับสัมปทาน

ปัญหาคือทั้งสองโครงการต่างมีเส้นทางทอดคู่ไปกับถนนวิภาวดีฯ ขณะนี้ดอนเมืองโทล์ลเวย์ซึ่งได้รับสัมปทานจากกรมทางฯ ก็ได้รับสิทธิให้สร้างถนนเป็นทางด่วนในแนวระดับพื้นดินต่อจากถนนแจ้งวัฒนะถึงถนนวิภาวดีฯ ช่วงหน้าสนามบินดอนเมืองด้วย

ใครจะเป็นผู้ได้สร้างทางตรงดิ่งเข้าท่าอากาศยานฯ ได้ทางเส้นนั้นก็จะมีผู้ใช้มากขึ้น

คาดว่างานนี้ต้องไปชิงธงกันอีกครั้งเป็นแน่

แม้ทางฝ่ายดอนเมือง โทล์ลเวย์จะประกาศชัดแจ้งว่าจะสร้างทางเข้าท่าอากาศยานฯด้วยก็ตาม

นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งรายที่สองคือโครงการทางรถไฟยกระดับของบริษัทโฮปเวลล์ เส้นทางหัวลำโพง-ยมราช-รังสิต โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฯ เรียบร้อยแล้ว สำหรับโครงการนี้จะมีการสร้างท่างคู่ขนานไปกับทางรถไฟเดิมซึ่งก็ขนานไปกับถนนวิภาวดีฯ อยู่แล้ว

อรดีพยายามอธิบาย ส่วนดีของดอนเมืองโทล์ลเวย์ว่า "การมีโครงการฯของเราขึ้นมาก็จะเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ผู้ที่จะเดินทางไปสนามบินฯ เท่านั้น แต่ผู้ที่จะไปทางภาคกลาง-เหนือ ก็จะสดวกมาก ขึ้นเยอะทีเดียว"

ภาพกรุงเทพมหานคร ด้านทิศเหนือในอนาคต คงจะพิลึกพิลั่นไปด้วยถนนและทางรถไฟคู่ขนาน ที่ปัจจุบันต่างอ้างว่าจะช่วยลดปัญหาความแออัดยัดเหยียดของการจราจรในอนาคตกันทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งที่ต้องคอยดูกันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us