Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533
บูรพา อัตถากร MATCH MAKER โทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย             
 


   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
Telephone
บูรพา อัตถากร




เป็นที่ทราบกันดีว่ากลุ่มเจริญโภคภัณฑ์หรือ "ซีพี" หาญอาสากระโดดเข้าพลิกโฉมระบบสื่อสาร-โทรคมนาคมของไทยโดยลงทุนขยายเลขหมายโทรศัพท์ทั่วประเทศ 3 ล้านเลขหมายมูลค่าการลงทุน 150,000 ล้านบาท นับเป็นปรากฏการณ์ดานการบริการการเงินที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์การลงุทนด้านโครงสร้างพื้นฐาน (INFRASTRUCTURE) ของประเทศไทย

นอกจากกลุ่ม ซีพี.แล้วเจ้าอขงโครกงารขยายเลขหมายโทรศัพท์ตัวจริงควรยกให้แก่บริษัทบริติชเทเลคอม (บีที) จากประเทศอังกฤษซึ่งเข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทน เพื่อวิจัยตลาดและหาลู่ทางการลงทุนหรือร่วมทุนในกิจการโทรคมนาคมของไทย ทั้งนี้มี มร.มาร์แชนท์ นั่งเป็นเป็นผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังการปฏิสนธิโครงการขยายโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย แท้จริงแล้วบูรพา อัตถากร เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังครงการมูลค่าแสนล้านบาทนี้มาตั้งแต่ยังเป็นอณูของความคิด แต่เก็บตัวเงียบ ๆ มาโดยตลอดและไม่เคยมีใครเคยกล่าวถึง หากจะเรียกหรือกล่าวถึงบูรพา หากจะเรียกหรือกล่าวถึงบูรพา อัตถากรจากบทบาทในกรณีขยายหมายเลขโทรศัพท์ ควรที่จะเรียกเขาว่า "MATCH-MAKER" น่าจะเหมาะสมที่สุด

ทำไมต้องเรียกขานกันเช่นนั้น แน่นอนคงต้องมีที่มาและที่ไป แต่ควรจะทำความรู้จักกันก่อนว่าบุคคลผู้นี้คือใครและมีความสามารถอย่างไรต่อการทำหน้าที่เนพ่อสื่อโครกงารมูลค่ามหาศาลดังกล่าว

จากประวัติของ บูรพา อัตถากร เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเทพศิรินทร์และวิชิราวุธวิทยาลัยจากนั้นก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ HAILEYBURY AND IMPERIAL SERVICE COLLEGE ประเทศอังกฤษและปริญญาโททางปรัชญาการเมือง แต่เลือกเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเอก

ส่วนประวัติการทำงานถูกบันทึกไว้ยาวเหยียด แต่สรุปได้ว่าอดีตเคยรับราชการมาก่อนซึ่งผ่านงานด้านส่วนกฎหมายกรมการค้าภายในปี 2510-2511 เลขาการกรมการขนส่งทางบกกระทรวงคมนาคม ปี 2512-2514 ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปี 2517 และกลับไปเป็นผู้ตรวจการประจำกระทรวงคมนาคมในปีถัดไป นอกจากนั้นยังเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายทางด้านภาษีอากรและการคลังทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แต่ประวัติสำคัญที่ถูกบันทึกไว้ ส่วนหนึ่งที่มีความหมายต่อการซุ่มให้กำเนิดโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายคือ ครั้งหนึ่งบูรพาเคยอยู่ในคระกรรมการพิจารณาการปรับโครงสร้างองค์กร องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยในปี 2525 ซึ่งวิเคราะห์กันแล้วประสบการณ์ดังที่กล่วามาตอนต้นล้วนเป็นความได้เปรียบทั้งในเชิงรับและเชิงรุกต่อกรณีการต่อสายผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการขยายโทรศัพท์มูลค่ามหาศาลดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

"โครงการนี้ไม่มีอะไรมากบังเอิญผมกับมร.มาร์แชนท์เป็นเพื่อนกันมาก่อน และผมเป็นที่ปรึกษาบริษัทบริติชเทเลคอมในประเทศไทยอยู่ด้วย เราก็มาร่มกันคิดว่าควรจะสร้างสรรค์โครองการอะไรดี ๆ ทางด้านการสื่อสารขึ้นมาให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย"

"ความคิดโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายก็มาเกิดขึ้นในสนามกอล์ฟ เพราะเรามีความเห็ร่วมกันว่าความต้องการใช้โทรศัพท์กับการตอบสนองตามกันไม่ทัน น่าที่จะมีองค์กรที่พร้อมด้าเนงินทุนและเทคโนโลยีเสนอตัวเข้ามาดำเนินการต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ "บูรพาอัตถากรเล่าถึงที่มาโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมายที่เกิดขึ้นบนแฟร์เวย์

บทบาทของการเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษํทบริติช เทเลคอม จำกัดประจำประเทศไทยนับว่าเป็นงานประจำของบูรพาเนื่องจากภายหลังได้เดินออกมาจากวงราชการ เขาได้จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาขึ้นมาแห่งหนึ่งชื่อ บริษัทกวินธรคอนซัลแตนซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยตัวเขานั่งเป็นประธานบริษัท ส่วนพนักงานทั้งบริษัทนับจำนวนกันหลายรอบมีไม่ถึง 6 คน สำนักงานแห่งนี้ตั้งอยู่บนอาคารสาธรธานี 2

บูรพาให้เหตุผลถึงการมีพนักงานจำนวนน้อยดังกล่าวว่า "งานที่ปรึกษาของเราไม่ได้ทำใหญ่โตเน้นการประชาสัมพันธ์อย่างใด แต่เราจะรับงานที่คิดว่าพอจะช่วย ๆ กันได้ โดยอาศัยประสบการณ์ของตัวเองเป็นหลักและคอนเนคชั่นด้วยเพราะถ้าเราเข้าไม่ถึงที่จะไปอธิบายให้แก่ผู้ตัดสินใจหรือคนที่มีอำนาจฟัง มันก็ไม่มีประโยชน์ แต่ก่อนอื่นผมต้องทำให้เกิดความเชื่อถือเสียก่อน ไม่เช่นนั้นเราไม่สามารถขายความคิดให้ใครได้ ผมก็ยังติดในระบบราชการอยู่ จึงพอจะรูว่าถ้าเป็นรัฐบาลต้องการอะไร งานโดยทั่วไปจะอยู่ที่ผม จำนวนคนจึงมีค่อนข้างน้อย"

กระนั้นก็ตาม บริษัทที่จ้างกวินธรเป็นที่ปรึกษาล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ อาทิเช่น เชลล์ รอยเตอร์ คลอไรด์ แอสเทิร์น และบีเอชพี.เอ็นจิเนียริ่ง เป็นต้น ซึ่งบทบาทอันสำคัญของ กวินธร ก็สามารถฉายแงจากโครงการรังสรรค์การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 150,000 ล้านบาท ร่วมกับสำนักงานตัวแทนบริษัทบริติช เทเลคอมดังกล่า

ภายหลังบทสรุปโครงการขยายเลขหมายโทรศัพท์ของบริษัท บริติช เทเลคอมลงตัวแล้ว บูรพาเผยว่า มีกาแนะนำให้บริติช เทเลคอมหาผู้ร่วมทุนฝ่ายไทย เพื่อให้เกิดความเชื่อถือแก่รัฐบาล ในฐานะยังเป็นโครงการของบริษัทคนไทยถือหุ้นอยู่ด้วยซึ่งทางมร.มาร์แชนท์ก็เห็นด้วย จึงมองหากลุ่มธุรกิจของไทยที่คิดวา มีศักยภาพสามารถดำเนินการโครงการดังกล่าวได้ ผลสรุปจึงออกมาเป็นกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์

"กลุ่มนี้ทำธุรกิจข้ามชาติและยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านตลาดทุนทำงานร่วมอยู่ด้วยคือเฉลียง สุวรรณกิตติ ผมจึงเป็นผู้อาสาติดต่อผ่านเพื่อเสนอโครงการให้แก่คุณธนินนท์ประธานของซีพีซึ่งเฉลียวสนใจพิจารณากันในรายละเอียดร่วมกันระยะเวลาหนึ่ง จึงส่งเรื่องเสนอแจ้งให้คุณธนินท์ใช้เวลาตัดสินใจเพียง 24 ชั่วโมงเท่านั้น" บูรพาพูดถึงเบื้องหลังการเข้ามาของซีพี

หลังจากกระบวนการตัดสินใจผ่านพ้นไป บูรพาต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำโครงการดังกล่าวเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกส่วน ตั้งแต่องค์การโทรศัพท์ฯ กระทรวงคมนาคม แม้แต่นายรัฐมนตรี บูรพาอยู่ในฐานะผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาให้แก่เจ้าของโครงการและเป็นพื่อสื่อติดต่อกลุ่มซีพี.ให้แก่บริติช เทเลคอมได้มีโอกาสสังฆกรรมทางธุรกิจการสื่อสารต่อกัน

นอกจากบทบามทการเป็นพ่อสื่อแล้ว บูรพายอมรับว่าต้องทำหน้าที่นักล็อบบี้เพิ่มเติมจากบทบาทแรก "ใช่เป็นการล็อบบี้กว่าครึ่ง แต่ไม่อยากให้ใช้คำนี้เพราะเมืองไทยยังเข้าใจคำนี้ผิดพลาดกันอยู่ ในเมื่อการล็อบบี้มันไม่มีอะไรเพียงแต่เราต้องเข้าถึงบุคคลที่สามารถนำเสนอโครงการนี้ให้พิจารณาได้ส่วนเรื่องการจ่ายใต้โต๊ะนั้นไม่มีต้องทำอย่างตรงไปตรงมา การเข้าถึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด" บูรพาเปรย

ซีพี.เป็นกลุ่มธุรกิจที่ถูกกล่าวถึงในวงสังคมธุรกิจคอ่นข้างมากต่อกรณีโครงการขยายหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวทั้ง ๆ ที่เจ้าของโครงการแท้จริงเป็นบริษัท บริติช เทเลคอม แต่ภายหลังบริษัทท้องถิ่งและต่างชาติสามารถตกลงร่วมสังฆกรรมทางธุรกิจต่อกันได้ การณ์กลับเปลี่ยนไปเมื่อผลสรุปออกมา บริษัท บริติช เทเลคอม เสมือนกับเป็นผู้สร้างสรรค์โครงการขึ้นมาและขายโครงการให้แก่กลุ่มพีซีไป โดยมีข้อตกลงวาหากโครงการได้รับการอนุมติจากรัฐบาล และดำเนินการต่อเนื่องจนกระทั่งถึงขั้นตอนการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบริษัท บริติช เทเลคอมต้องเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นในราคาอันเดอร์ไรด์ เพราะถือว่าได้คิดค่าธรรมเนียมจากการขายโครงการให้ซีพี.ในขั้นต้นแล้ว

เหตุผลเหล่านั้น ซีพี.จึงถูกกล่าวถึงมากกว่า บริติช เทเลคอม ทั้งนี้คงจะไม่เกินเลยไปนัก หากจะเรียกบูรพา อัตถากรว่า "พ่อสื่อแสนล้าน" เพราะเป็นผู้นำพาให้โครงการแสนล้านตกอยู่ในอุ้มมือของคนขายไก่อย่างธนินนท์ เจียรวนนท์ ผู้เป็นหัวหอกดำเนินการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐษนที่มีมูลค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ผลงานของบูรพาผู้อยู่หลังฉาก ซึ่งยอมรับว่าโครงการนี้ต้องล็อบบี้กันกว่าครึ่ง คนในวงการต่างตั้งข้อสังเกตกันไปต่าง ๆ นานาว่าเขาทำได้อย่างไร และบูรพาก็ให้ข้อเท็จจริงผ่านมาว่า "คนที่ทำอย่างผมได้ ต้องมีประสบการณ์ค่อนข้างมาก และต้องเป็นจุดที่มีประโยชน์ แต่คนที่สามารถทำได้เขาก็จะไม่ทำ เพราะคิดว่างานมันต่ำ เป็นขี้ข้าเขา แต่การเป็นขี้ข้างานเช่นนี้เราก็ต้องมีความสามารถเจรจากับระดับสูงได้ด้วย ความสำเร็จจึงมีโอกาสสัมผัส"

โครงการขยายหมายเลขโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย ผลสรุปเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยไปแล้ว เบื้องหลังก็ทราบกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร แต่ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ บูรพา อัตถากร MATCH-MAKER แสนลานไม่ยอมเผยก็คือ ดีลนี้คิดค่าเหนื่อยเขาไปเท่าไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us