Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2533








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2533
แจ๊ค ฮู เขากำลังลงมาที่ MASS MARKET             
 


   
search resources

สหวิริยาโอเอ
Computer
แจ๊ค มิน ชุน ฮู




ชื่อของแจ๊ค มิน ชุนฮู ในวงการค้าคอมพิวเตอร์ไทย ต่างเป็นที่รู้กจักกันดีว่าชายรางเล็กชาวไต้หวันผู้มีอิริยาบถกระฉับกระเฉง และพูดไทยได้คล่องแคล่วคนนี้ร้ายกาจมกาแค่ไหนแจ็คได้เขย่าวงการค้าคอมพิวเตอร์ด้วยการวางคอนเซปต์ของการทำธุรกิจแบบครบวงจร SYSTEM INTREGRATION หรือ "SI" ให้เกิดขึ้นในลักษณะการประสานงานระหว่างฮาร์ดแวรื ซอฟท์แวรืและพีเพิลแวร์เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

หลังจาก แจ็คได้ประสบความสำเร็จด้านการตลาดที่บุกเบิกช่องทางการจัดจำหน่ายจากดีลเลอร์สู่ลักษณะเซนสโตร์ ภายใต้ชื่อว่า "สหวิริยา โอเอ เซ็นเตอร์" ที่เน้นบริการความสะดวกซื้อแบบ ONE STOP SHOPPING จนเป็นที่รู้จักแพร่หลายขณะนี้

"ผมเป็นคนแรกที่ตั้งโอเอเซ็นเตอร์ในภูมิภาคเอเชียนี้ คุณไปดูที่สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซียไม่มีใครทำ แต่ที่ประเทศไทยนี้ เรามีเชนสโตร์แบบที่รู้จักในญี่ปุ่นและสหรัฐ และคนไทยก็เข้าใจคุณค่าอยู่แล้ว ผมถึงบอกว่าโอกาสเป็นของเราที่จะโตได้สบายมาก" แจ็ค มิน ชุน ฮู กรรมการบริการของสหวิริยากรุ๊ปเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันสหวิริยา โอเอเซ็นเตอร์มี DISTRIBUTION WORK ที่แข็งแกร่งและครอบคุลมไปทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัดในลักษณะแฟรนไชส์ 22 แห่งที่ทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท แต่แผนการที่ผู้บริหารเคยคุยไว้ตั้งแต่ต้นปีว่าจะขยายโอเอ เซ็นเตอร์ให้ได้ครบ 40 แห่งภายในปี 2533 นี้ก็มีทีท่าว่าจะชะงักไปเนื่องจากความผันผวนของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

"การคัดเลือกคนที่จะมาร่วมกับเราต้องพิถีพิถันว่เขาพร้อมเรื่องคน ทำเลที่ตั้งหรือมั่นคงแค่ไหน จากนั้นเราก็จะฝึกอบรมแนวคิดด้านบริหารธุรกิจ บริหารคนและการเงินว่าจะทำอย่างไรให้ได้กำไร นอกจากนี้เรายังมีการอบรมด้านการตลาดที่จะให้เขารู้ว่ามีกี่วิธีที่จะขายในตลาดให้มีประโยชน์สูงสุด ใครที่ทำธุรกิจกับเราแล้วเราจะไม่มีความลับต่อเขา เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จของลูกค้าคือความสำเร็จของเรา" แจ็ค มิน ชุน ฮูเน้นถึงหลักการร่วมทำธุรกิจกับสหวิริยากรุ๊ปให้ฟัง

ทุกวันนี้แจ็คบริหารงานบริษัทที่มียอดขายรวมไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท ภายใต้สหวิริยากรุ๊ปที่เติบโตแตกเป็นบริษัทการค้าในเครืออีก บริษัทสหวิริยาโอเอกรุ๊ป บริษัทสหวิริยา อินเตอร์เนชั่นแนล คอมพิวเตอร์บริษัทสหวิริยา อินฟอร์เทคคอมพิวเตอร์ บริษัทสหวิริยาซิสเต็ม บริษัทสหวิริยา เทเลคอมบริษัทสหวิริยา แอดวานซ์โปรดักส์

ความเป็นผู้ค้าที่เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า ตลอดจนการสรรหาสินค้าหลากหลายคุณภาพและยี่ห้อให้ลูกค้าได้เลือกซื้อได้เหมาะสมกับขนาดของงานหรือธุรกิจ ทำให้สหวิริยากรุ๊ปเป็นแหล่งซื้อขายใหญ่ด้านคอมพิวเตอร์ตลอดจนซอฟท์แวร์และอุปกรณ์สำนักงานที่ครบครัน รวมทั้งมี CUSTOMER SUPPORT ด้านฝึกอบรมจากโรงเรียนไทยสารสนเทศเทคโนโลยี ซึ่งทางสหวิริยาฯร่วมลงทุนกับบริษัทแอดวานซ์ รีเสิร์ช่ของดร.ครรชิต มาลัยวงศ์

"ปีหนึ่ง ๆ เราเติบโตไม่ต่ำกว่า 80-100%" นี่คือความภูมิใจที่แจ็ง มิน ชุน ฮูกล่าวอย่างเต็มปากเต็มคำถึงการเติบโตของสหวิริยากรุ๊ปภายในระยะเวลา 8 ปีกว่า เขาพรอ้มทีมงานำงานกันอย่างเอาจริงเอาจังเรียกว่าขายสินค้าโอเอทุกอย่างที่ขวางหน้าจนสามารถทำยอดขายจากปีแรกใน พ.ศ. 2525 คือ 1.6 ล้านบาทขึ้นมาเป็น 34 ล้านบาท, 79 ล้านบาท, 135 ล้านบาท, 220 ล้านบาท, 427 ล้านบาท, 683 ล้านบาท, 1,000 ล้านบาทและทะยานสู่หลัก 1,500 ล้านบาทในปีนี้

จุดนี้เองที่แจ็ค มิน ชุน ฮูได้รับการยอมรับจากคู่ค้าต่างประเทศเช่น โอกิ ฮิตาชิ เด็ดแม้ระทั่งแอปเปิ้ลเองว่าเขามีความสามารถทำยอดขายทะลุเป้าด้วยอัตราการเติบโตของยอดขายดังกล่าว

"ในปีหน้าผมคาดการณ์ว่าตลาดของเราจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกเป็น 25-30% โดยเฉพาะเราสบายใจมากสำหรับเป้าหมายที่บริษัทแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์เขาตั้งให้เราโตใน VOLUME 60-70% และด้านเม็ดเงินคุยกันที่ 30-40% จากปัจจุบันที่เราทำได้ 150 ล้านบาทเป็น 200-300 กวาล้านบาท" แจ็คคุยให้ฟังราวกับว่าการเติบโตปีละ 80-90%สำหรับเขาเป็นเรื่องธรรมดาในช่วง 5 ปีที่เขาเป็นดิสทริบิวเตอร์ให้กับแอปเปิ้ล

ในตลาดไมโครคอมพิวเตอร์ที่แข่งขันกันรุนแรงนี้ สหวิริยานับว่าเป็นผู้ค้าที่โดดเด่นมากเมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเข้ามาทำตลาดในไทยแต่เพียงผู้เดียวเมื่อ 5ปีที่แล้ว และเมื่อปีนี้เองนโยบายทั่วโลกของแอปเปิ้ลทีเน้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ราคาถูกลง เพื่อสู้กับคู่แข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศก็ทำให้คู่ค้าอย่างสหวิริยาวาดฝันจะวางตำแหน่งทางตลาดให้แมคอินทอชกลายเป็นสินค้าประเภท MASS PRODUCT เจาะทุกเซคเม้นท์ของตลาด

"ตลาดเราจะมีสองส่วนคือคอมพิวเตอร์แบบ CONSUMERR PRODUCTS กับ PROFESSIONAL PRODUCTS กับ PROFESSIONAL PRODUCT ที่ตอ้งการ VALUE ADDED เพราะฉะนั้นแอปเปิ้ลอยู่ตรงจุดที่มีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและมีโปรดักส์ที่จะเล่น MASS MARKET ได้ ดังนั้นผมเชื่อมั่นวาเมื่อเขาให้เราเป็น FIRST TARGET ในกลุ่มประเทศเอเชีย 20 ประเทศเขาก็จะสนับสนุนส่งเสริมการขายในไทยนี้มาก ๆ" แจ็คเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันสหวิริยา ซิสเต็มมีดีลเลอร์จำนวน 5 รายที่จัดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช และเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางบริษัทแม่ก็ได้ให้งบประมาณนับแสนบาทจัดงาน "แอปเปิ้ลเวิร์ล" เป็นเวลาสองวัน โดยทุกอย่างในงานได้ถูกกำหนดมารฐานตั้งแต่บัตรเชิญ โปรแกรมการสัมมนา รวมถึงบูทแสดงการทำงานของเครื่องแมคอินทอชรุ่มต่าง ๆ ด้วย

"ตลาดเรามีสองส่วนคือตลาดปัจจุบันและตลาดอนาคตหรือตลาดธุรกิจอุตสหากรรมและตลาดการศึกษา ซึ่งเราตั้งเป้าไว้ว่าจะบุเข้าตลาดการศึกษาแบบ REALL AGRESSIVE เพราะลงทุนไปแล้วได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต ตอนนี้เรากำลังทำงานกับแอปเปิ้ลอย่างใกล้ชิดที่จะออกโปรแกรมซอฟท์แวร์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ" นี่คือเป้าหมายใหญ่ที่แจ็คบอกวามูลค่ามันมหาศาลในภาคหน่วยราชการและการศึกษา

แต่นโยบายภาษีในความเห็นของนักการค้าอย่างแจ็ค มินชุน ฮูกลับเป็นอุปสรคหนึ่งที่จะพัฒนาตลาดราชการและการศึกษาให้โตเต็มที่เพื่อก้าวสู่ความเป็นนิคส์ ปัจจุบันภาษีนำเข้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะต้องเสียไม่ต่ำกว่า 30%

"ผมคิดว่าดีที่สุดคือลดภาษีให้ถูกลงเพื่อให้ใช้กันได้แพร่หลาย แต่ถ้าไมได้ผมว่าน่าจะให้ PRIORITY กับหน่วยราชการและการศึกษา" แจ็คเสนอแนะ

ทุกครั้งที่แจ็คพูดถึงนโยบายด้านเทคโนโลยีแห่งชาติ แจ็คได้แสดงความเห็นว่า NCC หรอื NATIONAL COMPUTER COMMITTEE ควรจะกำหนดมาตรฐานเพื่อป้องกันซ้ำซ้อนการลงทุนเช่นการพัฒนาโปรแกรมภาษาไทย

"นโยบายของประเทศไทยในเรื่องเทคโนโลยีน่าจะเป็นเรื่องของ NCC ที่ต้องกำหนดว่าอนาคตเราจะไปทางไหนเพราะผมคิดว่าการทำธุรกิจที่น่ากลัวที่สุดคือไม่มี OBJECTIVE ทางรัฐบาลน่าจะแสดงบทบาท้านนี้มากกว่าเรื่องอนุมัติให้ซื้อหรือไม่ซื้อ" แจ็คย้ำอีกครั้งหนึ่งกับบทบาทของรัฐที่น่าจะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้

ทางด้านซอฟท์แวร์ แจ็คไดวางแผนที่จะมุ่งเข้าสู่ความเป็น MASS MARKET โดยได้เป็นตัวแทนจำหน่ายกับสามบริษัทซอฟท์แวร์ชื่อดัง คือ บริษัทแอชตัน-เทจเจ้าของซอฟท์แวร์ "ดีเบส" บริษัทไมโครซอฟท์แห่งสหรัฐอมเริกาและบริษัทออโต้แคด

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการถูกลอกเลียนแบบแล้วขายในราคาต่ำกว่า ทำให้แจ็คเป็นเดือดเนื้อร้อนใจมาก เพราะปีหนึ่ง ๆเขาได้วางงบประมาณเพื่อพัฒนาซอฟท์แวร์ไว้ประมาณ 5-6% ของยอดขาย และหวังถึงการทำตลาดเป็นแบบ MASS MARKET

"ถ้าเราไม่มีการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ใครจะไปคิดแล้วเราก็ต้องสั่งซื้อคนอื่นเขาตลอดชาติแต่ถ้าคนได้รับการคุ้มครอง ก็ทำให้ทุกคนอยากขยันคิดและร่ำรวยขึ้น" แจ็คระบายความอึดอัดใจต่อปัญหาการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่ยังไม่มีทีท่ายุติขณะนี้

ในปีนี้ เป้าหมายของสหวิริยากรุ๊ปเกี่ยวกับ "SYSTEM INTREGRATION" ที่วางฐานธุรกิจด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์และพีเพิลแวร์ได้สำเร็จลุล่วงไปได้ก้าวหนึ่งแล้ว

ต่อไปแผนการที่จะร่วมลงทุนกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศเพื่อตั้งโรงงานประกอบคอมพิวเตอร์ในไทย รวมทั้งแผนการระดมทุนมหาชนด้วยการนำบริษัทในเครือสหวิริยากรุ๊ปเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะทำให้สหวิริยากรุ๊ปก้าวล้ำหน้าคู่แข่งไปหลายช่วงตัว

ถึงเวลาแล้วสำหรับแจ็ค มิน ชุน ฮู นักบริการการค้าผู้เขย่าวงการค้าคอมพิวเตอร์ผู้นี้จะสร้างตำนานความสำเร็จระดับโลกได้หรือไม่ภายในระยะเวลาอีก 4 ปีข้างหน้าเป็นเรื่องทีเขาบอกว่าไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนที่เอาจริงเอาจังเฉกเช่นแจ็คคนนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us