Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
การปรับตัวกับวิกฤติของธนาคารลูกครึ่ง             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

Banking




ธนาคารพาณิชย์ไทย 4 แห่งยอมให้ธนาคารต่างชาติเข้าซื้อกิจการและถือหุ้นข้างมาก ส่งผลให้กลายเป็นธนาคารลูกครึ่งอย่างสมบูรณ์ การปฏิวัติองค์กรครั้งใหญ่จึงเกิดขึ้น

ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ เป็นธนาคารที่ปรับตัวมากที่สุดของธนาคารลูกครึ่งทั้งด้านโครงสร้างจัดการที่มีรูปแบบใหม่ โดยแบ่งตามกลุ่มธุรกรรมทาง การเงินอย่างชัดเจน นับเป็นการปรับตัวในลักษณะ "ปฏิวัติ" ที่อำนาจในการบริหารมาจากธนาคารดีบีเอสแห่งสิงคโปร์

ด้านธุรกรรมการเงิน ได้หันมาทำธุรกิจธนาคารเพื่อการบริโภค แทนการปล่อยกู้เพื่อการลงทุนขนาดใหญ่ และการปล่อยสินเชื่อเพื่อการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เหมือนช่วงเศรษฐกิจบูม

ที่สำคัญ มีการแต่งตั้งมืออาชีพจากสิงคโปร์เข้ามาดูแลบริหารโครงสร้าง หลักๆ 6 คนจาก 13 คน ซึ่งผู้บริหารเหล่านี้มีประสบการณ์การบริหารตลาดเงินที่ก้าวหน้าอย่างมาก

ธนาคารเอเชีย หลังจากธนาคารเอบีเอ็น แอมโรยักษ์ใหญ่จากเนเธอร์ แลนด์เข้ามาถือหุ้นใหญ่ก็ได้มีการปรับตัวหลายด้าน ทั้งการนำผู้เชี่ยวชาญและความก้าวหน้าทางธุรกรรมการเงินเข้ามา

ช่วงเศรษฐกิจกำลังป่วยไข้ธนาคารเอเชียได้เน้นการเป็นธนาคารเพื่อผู้บริโภค ส่วนโครงสร้างการจัดการ อำนาจการบริหารถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่จากเอบีเอ็น แอมโร เมื่อปี 2542 ผู้บริหารจากเอบีเอ็น แอมโร 10 คนเข้ามาดูแลการทำงานในธนาคารเอเชีย นับว่าธนาคารแห่งนี้ได้รับผลประโยชน์เด่นชัดที่สุดหลังจากเป็นธนาคารลูกครึ่ง

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน การที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น มาจากการซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ เป็น การปิดตำนานธนาคารเก่าแก่อันดับ 2 ของไทยและสิ้นสุดความเป็นธนาคารของครอบครัว "หวั่งหลี"

เมื่อเข้ามาถือหุ้นเกือบทั้งหมด สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้เข้ามากุมอำนาจ ไว้แทบทุกส่วน โดยปลายปี 2542 กรรมการชุดใหม่ 8 คน มาจากสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด 4 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ชุดใหม่ อีก 8 คน จาก 15 คน ล้วนมีประสบ การณ์ทางธุรกรรมการเงินจากต่างประเทศทั้งสิ้น

ปฏิบัติการแรก คือ ทุ่มเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและระบบใหม่ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและธุรกรรมการเงินใหม่ๆ ให้ ทันสมัย

ธนาคารยูโอบีรัตนสิน เกิดจากการควบกิจการระหว่างธนาคารแหลม ทองและธนาคารรัตนสิน แล้วกลายเป็นธนาคารลูกครึ่ง เมื่อธนาคารยูโอบีแห่งสิงคโปร์เข้ามาถือหุ้น 75.02% ภายใต้มาตรการ 14 สิงหาฯ

เป็นการปิดตำนานธนาคารครอบครัวอีกแห่ง พร้อมกับการจบสิ้นนั้นการเข้ามาของธนาคารต่างชาติมากประสบการณ์ต่างๆ โดยยูโอบีแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ 9 ตำแหน่ง ในจำนวนนี้ 5 ตำแหน่งเป็นคนของยูโอบี ปัจจุบัน ธนาคารลูกครึ่งแห่งนี้ยังไม่ค่อยชัดเจนในด้านการดำเนินงานมากนัก

ความเปลี่ยนแปลงของธนาคารลูกครึ่ง ที่เกิดขึ้นพร้อมกันในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยนับเป็นการปฏิวัติระบบธนาคาร โดยการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างเทคโนโลยีและธุรกรรมการเงินใหม่ๆ นอกจากนี้สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับธนาคารไทยก็มีให้เห็น คือ การปรับขนาดองค์กร ลดพนักงาน และ จะมีให้เห็นอีกหากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามความคาดหมายของผู้ถือหุ้นใหญ่

นอกจากธนาคารลูกครึ่งจะต้องแข่งขันกันเอง และแข่งขันกับธนาคารท้องถิ่นแล้ว ยังต้องเผชิญกับบรรษัทข้ามชาติที่ไม่ใช่ธนาคาร แต่สามารถทำธุรกรรมให้กู้ยืมเงินต่อธุรกิจโดยตรงได้ เช่น จีอี แคปปิตอล, ฟอร์ด, จีเอ็ม, ไม โครซอฟท์ และอินเทล

ข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us