Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน27 เมษายน 2553
ดัชนีอุตฯมี.ค.พุ่งสุดรอบ10ปี ต่างชาติยื่นลงทุน4.4หมื่นลบ.             
 


   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
Economics




“สศอ.”เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมี.ค. 53 แตะ 211.73 พุ่งสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 10 ปีดันอัตราการใช้กำลังผลิตสูงสุดรอบ 24 เดือนที่ 67.9% หลังศก.โลกฟื้นดันส่งออกพุ่งโดยเฉพาะยอดส่งออกอาหารไตรมาสแรกทะลุ 2 แสนลบ.ทุบสถิติสูงสุด ขณะที่บีโอไอเผยต่างชาติยื่นขอลงทุนไตรมาสแรก 4.4 หมื่นล้านบาท

นายสมชาย หาญหิรัญ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือนมี.ค. 53 อยู่ที่ 211.73 หรือมีอัตราการขยายตัว 32.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่จัดทำดัชนีฯในปี 2543 ส่งผลให้ MPI ไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 31% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนและมีอัตราการใช้กำลังผลิตอยู่ที่ 67.9% ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดรอบ 24 เดือนนับแต่มี.ค. 51 และเริ่มใกล้เคียงกับอัตราการใช้ผลิตสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นมี.ค. 50 ซึ่งอยู่ที่ 68.7%

ทั้งนี้เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้รับปัจจัยหนุนจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยถึง 30% เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์การส่งออกขยายตัวถึง 70% ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 40% อุตสาหกรรมอาหารไตรมาสแรกที่มียอดส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยขยายตัว 25% มีมูลค่าสูงถึง 2.06 แสนล้านบาท,สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้น 12.6% ฯลฯ

สำหรับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงสศอ.ได้ประเมินผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม(จีดีพีอุตสาหกรรม) หากไม่มีความรุนแรงและยืดเยื้อ 3 เดือน(มี.ค.-พ.ค.) ไว้ 2 กรณีคือ กรณีกระทบเฉพาะการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมจะมีผลต่อจีดีพีภาคอุตสาหกรรมที่ 0.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท กรณีรวมการชะลอการลงทุนและการบริโภคจะกระทบ 1% หรือคิดเป็นมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท

“การชุมนุมจะมีผลกระทบการบริโภคไม่มากนักเพราะสินค้าอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยคนอาจชะลอซื้อไปบ้าง แต่ในแง่ท่องเที่ยวการซื้อสินค้าอุตสาหกรรมก็จะมีประเภทเสื้อผ้าแต่ก็ไม่มากนัก ซึ่งหากการชุมนุมยืดเยื้อเกินพ.ค.คงจะต้องมาประเมินปัจจัยอื่นประกอบเช่นการชะลอการลงทุนภาครัฐ”นายสมชายกล่าว

***Q1ต่างชาติยื่นลงทุนมูลค่า4.4หมื่นลบ.

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวว่า การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ไตรมาสแรกปี 2553 (ม.ค. – มี.ค. 53) ว่า นักลงทุนต่างชาติยังคงแสดงความสนใจเข้ามาลงทุน ในประเทศไทยเป็นอย่างดี โดยมีโครงการลงทุนจากต่างประเทศยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 184 โครงการ เพิ่มขึ้น 30.5 %เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2552 ซึ่งมีจำนวน 141 โครงการ ส่วนมูลค่าเงินลงทุนของโครงการจากต่างประเทศก็ขยายตัวถึง 137% โดยในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 44,399 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามีมูลค่า 18,737 ล้านบาท

“สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความเชื่อมั่นในศักยภาพการเป็นแหล่งน่าลงทุนของประเทศไทย “นางสาวอัจฉรินทร์กล่าว

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด มีจำนวนโครงการที่ขอรับส่งเสริม 66 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 21,565 ล้านบาท ซึ่งขยายตัวถึง 145% เมื่อเทียบกับมูลค่าเงินลงทุนของญี่ปุ่นในช่วงเดียวกันปี 2552 โดยโครงการขนาดใหญ่จากญี่ปุ่นที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนได้แก่ กิจการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ด ดิสก์ ไดรฟ์ และกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

รองลงมาคือการลงทุนจากจีน มีโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมรวม 8 โครงการ ปริมาณเงินลงทุน 6,441 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 6 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า เพราะมีโครงการขนาดใหญ่ผลิตพลังงานไฟฟ้า อันดับสามคือสิงคโปร์ จำนวน 21 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 6,147 ล้านบาท โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในกิจการผลิตสิ่งปรุงแต่งจากอาหาร และโครงการร่วมทุนระหว่างไทยสิงคโปร์ในการผลิตเคมีภัณฑ์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us