|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ทหารไทย"เดินหน้าล้างขาดทุนสะสม เสนอแนวทางลดพาร์ให้ คลัง-ธปท.-พาณิชย์พิจารณาแล้ว ระบุเป็นวิธีที่ดีกว่าลดจำนวนหุ้น ลั่นหากขั้นตอนแปลงหุ้นบุริมสิทธิ์-ลดพาร์เสร็จ พร้อมจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทันที
นางเสาวนีย์ กมลบุตร รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธนาคารทหารไทย(TMB) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการดำเนินล้างขาดทุนสะสมของธนาคารว่า ธนาคารได้เสนอแนวทางการลดมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)ให้กับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์พิจารณาแล้ว รวมถึงประเด็นการหารือข้อกฎหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรออนุมัติจากหน่วยงานดังกล่าว
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า คณะกรรมการธนาคารได้ประสานงานกับกระทรวงการคลังเกี่ยวกับแนวทางการลดพาร์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 แล้ว ซึ่งมองว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นมากกว่าการลดจำนวนหุ้น ทั้งนี้ หากได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนต่อไปก็จะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อกำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น รวมทั้งขออนุมัติจากธปท.และจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดน่าจะใช้เวลาประมาณ 45-75 วัน
"กระบวนการทั้งหมดจะดำเนินการภายหลังจากที่กระทรวงการคลังจะแปลงหุ้นบุริมสิทธิที่จะครบกำหนดใน พ.ค.53 ซึ่งยืนยันว่าแนวทางการลดพาร์จะไม่กระทบกับธนาคาร เนื่องจากปัจจุบันธนาคารมีฐานะการเงินมั่นคง และ มีกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ในระดับ 17.41% มากกว่าเกณฑ์ที่ธปท.กำหนด โดยเพียงพอรองรับการขยายตัวของสินเชื่อได้"นายบุญทักษ์กล่าว
ทั้งนี้ หากขั้นตอนการแปลงหุ้นบุริมสิทธิ์และลดพาร์เพื่อล้างขาดทุนสะสมเสร็จสิ้น ก็คาดว่าธนาคารจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่คณะกรรมการและผู้บริหารมีความตั้งใจที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอยู้แล้ว
สำหรับในปี 2553 ธนาคารตั้งเป้าลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 10% จากระดับ 12.7% ณ สิ้นปี 2552 โดยธนาคารมีแนวทางที่จะเสนอขายเอ็นพีแอล ซึ่งในเดือน เม.ย. จะมีการเซ็นสัญญาขายเอ็นพีแอลจำนวน 6 กอง มูลค่ารวม 9 พันล้านบาท ให้แก่ บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) รวมทั้งธนาคารก็ยังมีแนวทางที่จะบริหารจัดการหนี้เอ็นพีแอลบางส่วนเองด้วย
อนึ่ง ผลการดำเนินงานของธนาคารในไตรมาส 1 ปี 53 ธนาคาร และ บริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 707 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7% เทียบกับไตรมาส 4 ปี 52 ที่มีกำไรสุทธิจำนวน 688 ล้านบาท และ กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิจำนวน 436 ล้านบาท ซึ่งนอกจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของความสามารถในการทำกำไร ธนาคารยังคงปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดำรงสภาพคล่องในระดับสูง มีสัดส่วนเงินฝากที่ดี และ มีเงินกองทุนตามกฎหมายในระดับสูง
ขณะที่เอ็นพีแอลและสินทรัพย์รอการขายปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ ช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงเหลือ 52,727 ล้านบาทจาก 54,095 ล้านบาท ในไตรมาส 4 ปี 52 และ จาก 73,957 ล้านบาทในไตรมาส 1/52 จากการจัดการสินเชื่อด้อยคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ทำให้สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพลดลงเหลือ 12.1% จากไตรมาส 4/52 อยู่ที่ 12.7% ในส่วนสินทรัพย์รอการขาย (NPA) ลดลงเหลือเพียง 9,887 ล้านบาท จากไตรมาส 4/52 อยู่ที่ 11,132 ล้านบาท และ ทำให้สัดส่วนสินทรัพย์รอการขายต่อสินทรัพย์ลดลงเหลือเพียง 1.8%
ทั้งนี้ ธนาคารยังดำรงเงินกองทุนตามกฎหมายในระดับสูง โดยมีเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงในไตรมาส 1/53 อยู่ที่ 16.4% จากไตรมาส 4/52 ที่อยู่ 17.1% ซึ่งสูงกว่าอัตราขั้นต่ำ 8.50% ที่ธปท.กำหนด และในไตรมาส 1 ปี 53
|
|
|
|
|