|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บิ๊กคลังเผยล้ม พ.ร.บ.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ช่วยลดหนี้สาธารณะ 1% แจงยังเหลือวงเงินกู้นอกอีกกว่า 5 หมื่นล้านบาท หนุนแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งหากงบปี 54 ไม่เพียงพอ
จากรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง มีแผนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยกเลิกการกู้เงินตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 4 แสนล้านบาท ในโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า จะส่งผลให้การก่อหนี้ภาครัฐลดลงประมาณ 1 % ของจีดีพี
ปัจจุบันสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ 44% เริ่มปรับเพิ่มขึ้นจากการกู้เงินตาม พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ 4 แสนล้านบาท โดยสัดส่วนหนี้คงจะไม่เพิ่มมากขึ้นจากที่เคยประเมินก่อนหน้านี้ว่าอาจถึง 60% หากรัฐบาลยังจัดทำงบประมาณขาดดุลต่อเนื่องไปถึงปีงบประมาณ 2558 หรือ 2560 เนื่องจากการจัดเก็บรายได้เริ่มขยายตัวสูงขึ้น การทำงบสมดุลจะเร็วแค่ไหนจึงขึ้นอยู่กับฐานรายได้ที่จะโตตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีวงเงินกู้จาก พ.ร.บ.มาใช้ในโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งที่จะโยกมาใช้เงินงบประมาณเป็นส่วนใหญ่แล้วนั้น บางส่วนจะหันไปใช้เงินกู้จากต่างประเทศที่สำรองไว้แล้วขณะนี้ 1.6 พัน ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท จากที่เคยขอสภาอนุมัติไว้แล้ว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการปรับลดลงจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) แห่งละ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมเคยขอวงเงินไว้แห่งละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐที่เหลือมาจากธนาคารโลก(เวิลด์แบงก์)อีก 1 พันล้านหรียญ โดยส่วนนี้เจรจารายละเอียดไว้เรียบร้อยแล้วเหลือเพียงรอความต้องการใช้เงินซึ่งจะใช้ในโครงการที่ต้องใช้เงินตราต่างประเทศจัดซื้อสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ
สำหรับการดึงโครงการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งบางส่วนที่จะเริ่มใช้เงินในปี 2454 มาไว้ในงบประมาณรายจ่ายปี 2554 นั้น เบื้องต้นมองว่าไม่สามารถเพิ่มกรอบรายจ่ายที่ครม.อนุมติไว้แล้ว 2.07 ล้านล้านบาท แต่อาจเป็นการปรับในส่วนของรายละเอียดของงบลงทุนมากกว่าที่จะดึงโครงการไม่จำเป็นออกและใส่โครงการที่มีความจำเป็นมากกว่าทดแทน หรือเป็นการปรับภายในกระทรวงต่างๆ แทนมากกว่า
ส่วนหนึ่งก็จะนำมาทดแทนโครงการที่ไม่มีความพร้อมใช้เงินจากพ.ร.ก. ซึ่งน่าจะมีประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท เช่น โครงการของำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการที่ขอใช้เงินเข้ามาไม่ทัน 5-6 พันล้านบาท และยังมีของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์อีกบางส่วน
ทางด้านรายได้ที่คาดว่าจะเก็บได้เพิ่มจากที่ประเมินไว้ 1.65 ล้านล้านบาทนั้น น่าจะไปช่วยลดการขาดดุลงบประมาณลงมากกว่า จากที่กำหนดไว้ 4.2 แสนล้านบาทมากกว่า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มกรอบวงเงินรายจ่ายปี 2554 นั้นก็เป็นแนวทางหนึ่งและต้องขออนุมัติจากครม.ต่อไป
"มองว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องเพิ่มกรอบวงเงินรายจ่าย แม้ว่าจะดึงโครงการไทยเข้มแข็งมาใส่ในงบประมาณแต่ปีแรกนั้นตามปกติจะใช้เงินไม่มากนัก อาจจะอนุมัติไว้เป็นเงินก้อนเล็กเพื่อเป็นโครงการผูกพันไว้ใช้ในปีต่อๆ ไปมากกว่า ซึ่งการจัดทำงบปี 2555 - 2556 ก็สามารถเพิ่มกรอบรายจ่ายได้มากขึ้นและเพิ่มสัดส่วนงบลงทุนได้มากกว่าปี 2554 ที่กำหนดไว้เพียง 11% เท่านั้น" นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
สำหรับแผนการระดมทุนโดยการออกพันธบัตรไทยเข้มแข็ง วงเงิน 1 แสนล้านบาทที่เป็นการกู้เงินตามพ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทนั้น ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่จะขายพันธบัตรวันที่ 17 -21 พ.ค.นี้แม้สถานการณ์การเมืองจะยังไม่สงบ เนื่องจากพบว่าขณะนี้ความต้องการลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลเข้ามามาก จึงน่าจะขายได้หมดในช่วง 2 วันแรกที่เปิดขายให้ผู้สูงอายุ
ขณะนี้ สบน.อยู่ระหว่างกำหนดอัตราดอกเบี้ยซึ่งจะประกาศใกล้ระยะเวลาที่เปิดขาย เบื้องต้นจะกำหนดขั้นต่ำให้อยู่ในระดับ 4% แม้ว่าอัตราที่แท้จริงในรุ่นอายุ 5-6 ปี ขณะนี้จะลงไปเหลือ 3%กว่าก็ตามเพื่อเป็นการจูงใจและช่วยเหลือผู้ออมเงินโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องใช้เงินในการดำรงชีวิตจากดอกเบี้ยและกลุ่มนักลงทุนที่หาตราสารทางการเงินที่มีความมั่นคงสูงสุดในช่วงการเมืองไม่สงบเช่นนี้ ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นไปตามระยะเวลาสูงสุดที่ 6%หากถือครบ 6 ปี.
|
|
|
|
|