Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2529
ปารีบาส์ VS. มาบุญครอง แบงก์ไทย-เทศแฮปปี้ แต่ไทยพาณิชย์ซึม             
 


   
search resources

Banking and Finance
Pierre-Yves Legeune
ธนาคารปารีบาส์
มาบุญครองอบพืชและไซโล




ธนาคารปารีบาส์ เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ ใกล้ประเทศไทยที่สุดอยู่ที่สิงคโปร์ โดยมีเพียรีฟ-เลอเจิน (Pierre-Yves Legeune) และเทียวคิ้มเม้ง (Teow Kim Meng) เป็นผู้มีอำนาจเต็ม

มาบุญครองฯมาเกี่ยวข้องกับปารีบาส์เพราะการชักนำของทวีป ชาติ ธำรงผู้คร่ำหวอดวงการธนาคารต่างประเทศ และเคยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของมาบุญครอง

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2526 มาบุญครองอบพืชและไซโลได้ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารปารีบาส์สาขาสิงคโปร์ในวงเงิน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ กำหนดจ่ายคืนภายใน 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7/8 หรือ 0.875 ต่อปี (ในกรณีล่วงเลยกำหนดเวลาชำระคืนให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.75 บวกด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เสนอระหว่างธนาคารในสิงคโปร์ที่เรียกว่า SIBOR)

สัญญาเงินกู้ฉบับนี้ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพียงแต่ห้ามมาบุญครองฯก่อภาวะหนี้สินใดๆ (Negative Pledge) เช่นการจำนอง จำนำ ค้ำประกันทรัพย์สินหรือสินทรัพย์ รายได้หรือสิทธิใดๆ เพื่อประกันหนี้วงเงินกู้ใดๆ โดยมิได้รับความยินยอมจากธนาคารปารีบาส์

หลังจากทำสัญญาเพียง 6 วันมาบุญครองฯก็รีบเบิกเงินก้อนดังกล่าวทั้งหมดเพียงครั้งเดียว โดยส่งเงินเข้าบัญชีของตนที่ธนาคารเชสแมนฮัตตันสาขากรุงเทพผ่านธนาคารเชสแมนฮัตตัน นครนิวยอร์ค สหรัฐ

เมื่อมาบุญครองฯเริ่มมีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียนสำหรับโครงการมาบุญครองคอมเพล็กซ์ เดือนธันวาคม 2528 จึงได้มีการเจรจาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการชำระครั้งเดียวมาเป็นชำระคืน 3 งวดๆ ละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (รวมดอกเบี้ย) โดยกำหนดว่างวดที่ 1 ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529 งวดที่ 2 ในวันที่ 21 เมษายน 2529 และงวดที่ 3 ในวันที่ 23 มิถุนายน 2529

ครั้งถึงกำหนดมาบุญครองฯชำระเพียงเงินต้นจำนวน 5 แสนเหรียญสหรัฐสำหรับงวดแรกเท่านั้น

ส่วนดอกเบี้ยไม่ต้องพูดถึง

ปารีบาส์ได้เทเล็กซ์ทวงถาม แต่มาบุญครองฯเฉย

ประกอบกับมาบุญครองฯโดนกระหน่ำด้วยข่าวร้ายในช่วงนั้น ปารีบาส์ประเมินสถานการณ์ว่าท่าทางจะไม่ค่อยดี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2529 จึงส่งเทเล็กซ์ขอให้มาบุญครองฯชำระเงินกู้ทั้งต้นทั้งดอกเบี้ยที่เหลือทั้งหมดก่อนกำหนดภายใน 14 วัน (ตามสัญญา) ในฐานผิดสัญญากู้เงิน

ระหว่างรอปฏิกิริยาจากมาบุญครองฯอยู่นั้น ปารีบาส์สืบทราบว่า มาบุญครองฯได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนจำนองทรัพย์สินอันได้แก่อาคารศูนย์การค้ามาบุญครองฯ จำนวน 33 ชั้น ซึ่งอยู่เลขที่ 444 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตปทุมวันเพื่อประกันหนี้สินของมาบุญครองฯที่มีต่อธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทยรวมเป็นเงิน 730 ล้านบาท (ตามแผน RESTRUCTURE) ซึ่งอยู่ในระหว่างการประกาศให้มีการคัดค้าน (ตามระเบียบ) และจะครบกำหนดในวันที่ 13 มิถุนายน 2529

เมื่อเจอเข้ารูปนี้ปารีบาส์จึงร้อนใจอย่างยิ่ง

ปารีบาส์ตัดสินใจดำเนินคดีฟ้องร้องมาบุญครองฯทันที

"การที่มาบุญครองฯได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจำนองดังกล่าวนั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีเจตนากระทำผิดสัญญา และยังตั้งใจจะทำการฉ้อฉลเพื่อให้ธนาคารไทยพาณิชย์และธนาคารกสิกรไทยได้เปรียบปารีบาส์ในอันที่จะชำระหนี้เป็นพิเศษกว่าปารีบาส์ เพราะก่อนฟ้องคดีนี้ ธนาคารทั้งสองดังกล่าวต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกัน" ปารีบาส์ได้อ้างต่อศาล

ธนาคารปารีบาส์ยื่นฟ้องมาบุญครองฯเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2529 ในฐานผิดสัญญาเงินกู้ ขอให้ศาลบังคับมาบุญครองฯชำระเงินกู้ หนึ่ง-เงินต้น 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ สอง-ดอกเบี้ย 77,635.46 เหรียญสหรัฐ ทั้งสองรายการคิดเป็นเงินไทย 68,152,618.56 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันฟ้อง 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 26.44 บาท) เมื่อรวมค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 72,052,680.30 บาท

ขณะเดียวกันปารีบาส์ได้ขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้มาบุญครองฯจดทะเบียนจำนองศูนย์การค้าให้แก่บุคคลอื่น ทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินที่จำเลยจะได้รับจากผู้เช่าร้านในศูนย์การค้ามาบุญครองฯทั้งหมดด้วย

ในวันเดียวกัน เวลา 16.00 น. ศาลได้ขึ้นบัลลังก์พิจารณาตามคำร้อง

"ตามสัญญากู้เงินกับธนาคารปารีบาส์ได้ระบุว่า มาบุญครองฯจะไม่นำทรัพย์สินไปจดจำนองกับเจ้าหนี้รายอื่น และปารีบาส์นำสืบได้ว่ามาบุญครองฯกำลังจะนำศูนย์การค้าไปจดทะเบียนจำนองไว้กับธนาคาร 2 แห่ง และเจ้าหน้าที่ได้ประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบ ซึ่งจะครบกำหนดประกาศวันที่ 14 มิถุนายน 2529 หากมาบุญครองฯจดทะเบียนจำนองทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นเหตุให้ปารีบาส์เสียเปรียบในการที่จะบังคับชำระหนี้จากมาบุญครองฯ คำร้องของปารีบาส์จึงมีเหตุผลสมควรเพียงพอ" ผู้เข้ารับฟังการพิจารณาคดีวันนี้แปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย ถึงเหตุผลที่ศาสสั่งห้ามมาบุญครองฯทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองอาคารศูนย์การค้าไว้ชั่วคราว

แต่อย่างไรก็ตามศาลฯเห็นว่ามาบุญครองฯเป็นหนี้ปารีบาส์อยู่เพียง 72 ล้าน ส่วนตึกศูนย์การค้าที่จะจำนองนั้นมีมูลค่าประมาณ 730 ล้านบาทดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะห้ามมิให้มาบุญครองฯเพิ่มภาระการจำนองทรัพย์สินอื่น คือไซโลอบพืชซึ่งติดจำนองไว้กับเจ้าหนี้อื่นอีก 6 รายในวงเงินประมาณ 100 ล้านบาท และไม่มีความจำเป็นต้องห้ามมาบุญครองฯโอนสิทธิการเช่าร้านต่างๆ ในศูนย์การค้าและไม่จำเป็นต้องสั่งอายัดเงินค่าเช่าซึ่งผู้เช่าจะต้องชำระให้แก่จำเลย

ต่อมามาบุญครองอบพืชและไซโลได้ยื่นคำให้การสู้คดีขณะที่เขียนต้นฉบับ (23 กรกฎาคม 2529) ศาลยังมิได้นัดไต่สวนแต่อย่างใด

เป็นที่ทราบกันว่าไม่ว่าก่อนหน้านี้แบงก์ไทยแบงก์เทศต่างก็อยู่ในฐานะเดียวกันคือ ปล่อยกู้ให้มาบุญครองแบบ CLEAN LOAN ด้วยกันทั้งนั้น เพียงแต่ว่ายังรู้สึกเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งว่าสัญญาเช่าที่ดิน 30 ปีระหว่างมาบุญครองฯกับจุฬาฯค้ำประกันไว้กับธนาคารไทยพาณิชย์หรือไม่ดังนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้จึงชี้ชัดว่าไม่มี!

ถึงวันนี้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเฉพาะรายค่อนข้างใหญ่ จึง HAPPY เป็นที่สุด เพราะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันอีกแล้ว ไม่ว่าธนาคารต่างประเทศ เช่น ปารีบาส์ เชสแมนฮัตตัน หรือแบงก์อเมริกา ธนาคารไทยก็กสิกรไทย กรุงไทย เป็นต้น "เมื่อมีปัญหาจริงๆ ทุกแบงก์ก็มีสิทธิ์จะได้ส่วนแบ่งทรัพย์สินเหมือนๆกัน" ผู้อยู่ธนาคารต่างประเทศชี้

แต่ทว่างานนี้คนที่เจ็บปวดมากที่สุดคือธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่เข้าทำนอง "หมู่เขาจะหามดันเอาคานเข้ามาสอด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us