Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2529
มาบุญครองหินอ่อนปมเงื่อนศิริชัย บูลกุล             
 


   
search resources

มาบุญครอง
ศิริชัย บูลกุล
Construction
มาบุญครองหินอ่อน




เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 ผู้ถือหุ้นจำนวน 15 ราย ได้ตกลงใจกันตั้งบริษัทมาบุญครองหินอ่อนขึ้นเพื่อจำหน่ายหินอ่อน โดยนำหินอ่อนมาจากประเทศอิตาลี และบางส่วนในประเทศมาแปรรูป

ทุนจดทะเบียนครั้งแรก 25 ล้านบาท โดยชำระครั้งแรกเพียง 25% เพียงเดือนตุลาคม 2524 บริษัทก็เพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้งเป็น 40 ล้านบาท จนถึงเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 (เท่าที่หาหลักฐานได้จากกระทรวงพาณิชย์) ก็ยังรักษาทุนจดทะเบียนไว้เท่าเดิม

ทว่าสรุปข้อสนเทศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2528 บริษัทมาบุญครองหินอ่อนมีทุนจดทะเบียน 60 ล้านบาท? ไม่ทราบว่าใครถูกผิดกันแน่แต่ถ้าจะให้เชื่อ ก็ต้องเชื่อข้อมูลอันแรกจากกระทรวงพาณิชย์ไว้ก่อน

หลังจากบริษัทนี้ตั้งขึ้นไม่นานบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล ซึ่งเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจำนวนประมาณ 23 ไร่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อทำการพัฒนาที่ดินใน "โครงการมาบุญครองเซ็นเตอร์"

ความจริงโครงการนี้มาบุญครองฯ "จ่อคิว" มาตั้งแต่ปี 2521 แต่ติดขัดปัญหากับสำนักงานผังเมือง กทม. อันมีผลให้โครงการล่าช้าออกไปมาก

เมื่อโครงการนี้เปิดตัวออกมาก็ครึกโครมสุดขีด จุดเด่นๆ นอกจากจะตั้งตระหง่านใจกลางเมือง เป็นคอมเพล็กซ์ที่ใหญ่เอามากๆ ที่สำคัญเจ้าของโครงการประกาศว่าเป็น "นครหินอ่อนใจกลางเมือง" อันเป็นที่รู้กันว่าคอมเพล็กซ์ต่างๆ ที่ผุดขึ้นหลายแห่งเวลานั้นสะพรึงกลัว

"ที่จริงบริษัทมาบุญครองหินอ่อนเกิดขึ้นก็เพื่อการนี้โดยเฉพาะ กะกันว่าทั้งโครงการนี้ต้องใช้หินอ่อนมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท" ผู้รู้คนหนึ่งบอก

ทุกคนที่รู้ก็ได้แต่สรรเสริญความชาญฉลาดของศิริชัย บูลกุล ผู้บริหารสูงสุดของทั้งสองบริษัท!!

ลงทุนเอง ขายเอง ซื้อเองอย่างนี้ ต้นทุน "นครหินอ่อน" ก็ควรจะถูกกว่าที่ควรจะเป็น

ใครๆ ก็คิดกันอย่างนั้น

แต่ความจริงกลับตาลปัตรจากที่คาดเอาไว้มาก

ก่อนจะไปไกลกว่านี้ ขอมาเริ่มต้นที่ความแตกต่างระหว่างบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล เจ้าของโครงการมาบุญครองคอมเพล็กซ์ กับมาบุญครองหินอ่อน ผู้นำเข้าหินอ่อนมาแปรรูปจำหน่าย

บริษัทแรกเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ผู้ถือหุ้นกระจายออกไปในลักษณะมหาชน ศิริชัย บูลกุล และบริษัทในเครือของเขาถือหุ้นไม่เกิน 30% ขณะเดียวกันที่บริษัทมาบุญครองหินอ่อนเป็นบริษัทธรรมดา ศิริชัย บูลกุล ถือหุ้นในนามส่วนตัวประมาณ 18% พี่น้อง "บูลกุล" และบริษัทในเครือถือหุ้นอีกไม่น้อยกว่า 60% (โปรดดูตารางประกอบ)

สรุปลงมาให้เข้าใจง่ายๆ ก็ว่า ผลของการประกอบการทั้งสองบริษัทนั้น ศิริชัย บูลกุลล้วนมีแต่ส่วนได้ส่วนเสีย เพียงแต่ว่าบริษัทหลังเขาจะมีส่วนได้ส่วนเสียมากกว่าอย่างมากๆ เท่านั้น

เพื่อให้ดูเป็นเนื้อเดียวกัน มาบุญครองอบพืชและไซโลก็เข้าถือหุ้นบริษัทมาบุญครองหินอ่อน 20%

บางคนบอกว่าการเข้ามาถือหุ้นของมาบุญครองอบพืชฯ ก็เพื่อให้สมเหตุสมผลในการทำสัญญารับซื้อหินอ่อนจากมาบุญครองหินอ่อน

บริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโลมีทุนจดทะเบียน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2528 จำนวน 550.125 ล้านบาท ผลประกอบการเมื่อสิ้นปี 2528 มีกำไร 9.87 ล้านบาท ส่วนบริษัทมาบุญครองหินอ่อน ทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาทกำไรสำหรับสิ้นปีสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2528 เป็นเงิน 82 ล้านบาท

มันช่างเป็นความ "ห่างชั้น" กันเหลือเกิน!

ยิ่งไปกว่านั้น มาบุญครองอบพืชและไซโลยังไม่ได้ชื่นชมกับผลกำไรสิ้นปีเมื่อ 30 มิถุนายน 2528 ก็กลับขายหุ้นไปเสียก่อน โดยทำหลักฐานโอนหุ้น 20% กันเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2528 "เท่าที่ทราบขายกันในราคาพาร์" คนวงในให้ข้อมูล

บริษัทที่รับซื้อหุ้นจากมาบุญครองอบพืชและไซโลพร้อมกับยิ้มรับเงินปันผลอันงดงาม มิใช่ใครที่ไหน คือบริษัทมาบุญครองโฮลดิ้งจำกัด ผู้ถือ 100% (ก็ว่าได้) ก็คือพี่น้อง "บูลกุล" และแน่นอนที่สุดหุ้นใหญ่ที่สุดได้แก่ ศิริชัย บูลกุลนั่นเอง

ปมเงื่อนอันนี้ "ผู้มีอำนาจ" ในตลาดหลักทรัพย์ฯจะต้องแก้กันหรือไม่?

"เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ผมเห็นว่าน่าจะกระทำหรือหามาตรการบางอย่าง แต่หน้าที่ของเราขณะนี้มีเพียงเปิดเผยข้อมูลบริษัทต่างๆ ให้ประชาชนรับรู้มากที่สุด…" ดุษฎีสวัสดิ-ชูโต ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ รักษาการกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ (ในช่วงนั้นดร.มรวยไม่อยู่เดินทางไปต่างประเทศ) ตอบคำถาม "ผู้จัดการ" สั้นๆ

จากข้อมูลที่มีอยู่พบว่าบริษัทในเครือมาบุญครองเกือบๆ 20 บริษัทนี้ มาบุญครองหินอ่อน เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีที่สุด

และที่น่าตกอกตกใจอีกประการหนึ่งก็คือ บริษัทในเครือมาบุญครอง ที่บริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโลถือหุ้นอยู่ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันล้วนขาดทุนกันถ้วนหน้า ดูจากงบดุลจะเห็นว่า ครั้นเมื่อรวมบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซดลกับบริษัทในเครือกำไรจะลดลงจากบริษัทหลัก

และมีโครงการสร้างผู้ถือหุ้นแตกต่างไปจากบริษัทอื่นๆ (ในเครือ) ซึ่งบ่งบอก CONNECTION สำคัญๆ ของ ศิริชัย บูลกุล

พลอากาศเอกเรืองชัย กาญจนะโภคิน ถือหุ้น 1.8% เคยดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหาร สมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ธาตรี ประภาพันธ์ (4%) อดีตเลขารัฐมนตรีอุตสาหกรรม (อบ วสุรัตน์) เป็นลูกเขยคนสำคัญของบรรณสมบูรณ์ มิตรภักดี ซึ่งว่ากันว่าเป็นฐานการเงินรายใหญ่ของพรรคชาติประชาธิปไตยของพลเอกเกรียงศักดิ์ ธาตรีเดิมเป็นพ่อค้าอาวุธจึงมีสายสัมพันธ์กับทหารเป็นอย่างดี

ทวีป ชาติธำรง (0.6%) เคยเป็น VICE PRESIDENT ของธนาคารเชสแมนฮัตตัน แล้วลาออกมาอยู่มาบุญครองทำหน้าที่ปรึกษาด้านการเงิน ต่อมาได้ลาออกไปอยู่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ข่าววงในแจ้งว่ามีความขัดแยังกับมา ชานลีน้องชายของศิริชัย "ผลประกอบการดีอย่างนี้ คุณทวีปรู้ขายหุ้นก็โง่สิ" แหล่งข่าวกล่าว

สมพร บุณยคุปต์ (4%) อดีตรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรีและเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ.) ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2514 ถึง 1 ตุลาคม 2525 ซึ่งเป็นคนเซ็นต์อนุมัติการส่งเสริมสร้างไซโล ของมาบุญครองอบพืชและไซโล ที่ศรีราชา โครงมาบุญครองซีเมนต์ซึ่งเป็นโครงการที่ทำให้หุ้นมาบุญครองทะยานขึ้นไปไม่หยุด (โปรดอ่านเดินเรื่อง) และอีกหลายๆ โครงการ

สำเนา จุลกะรัตน์ (0.6%) รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและอดีตเคยเป็นรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

"ผมว่าบุคคลเหล่านี้คือผู้มีส่วนสนับสนุนและเคยช่วยเหลือคุณศิริชัยในเรื่องการงานมาแล้วทั้งนั้น การมาถือหุ้นบริษัทมีกำไรดีเช่นนี้ ก็ต้องถือว่าคุณศิริชัยเป็นคนไม่ลืมบุญคุณ" อดีตเพื่อนศิริชัย บูลกุล คอมเมนต์กับ "ผู้จัดการ"

เมื่อไม่นานมานี้มีกระแสว่ามาบุญครองหินอ่อนจะปิดตัวเองเนื่องจากโครงการมาบุญครองเซ็นเตอร์กำลังจะเสร็จสิ้น "ผมว่ายังไม่ปิดตอนนี้ เพราะอาคารโรงแรมยังไม่เรียบร้อยต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง หากเมื่อสิ้นโครงการนี้แล้วไม่แน่" คนในบริษัทมาบุญครองหินอ่อนบอก

อย่างไรก็ตาม "ผู้จัดการ"ได้รับการยืนยันว่าขณะนี้บริษัทกำลังดำเนินการต่างๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจ้างงานและมีแนวโน้มจะก่อเป็นข้อพิพาทแรงงาน เนื่องจากกลุ่มกรรมกรได้ล่วงรู้ว่าบริษัททำกำไรจำนวนมากมาโดยตลอด

ลืมบอกไปว่า…บริษัทมาบุญครองหินอ่อน ไม่เพียงขายหินอ่อนสำหรับโครงการมาบุญครองเซ็นเตอร์เท่านั้นบ้านหินอ่อนหลังใหญ่มูลค่านับร้อยล้านบาทในซอยเอกมัยของศิริชัย บูลกุลก็ใช้บริการของบริษัทนี้เหมือนกัน…

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us