Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2529
"แซงโตรเป" อีกตำนานของการขายพื้นที่เซ็นทรัลพลาซ่า             
 


   
search resources

Shopping Centers and Department store




หลังจากทางกลุ่มเซ็นทรัลประมูลเช่าที่จากการรถไฟได้และสร้างเซ็นทรัลพลาซ่าจนสำเร็จแล้ว ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือ การขายพื้นที่ร้านค้าในพลาซ่า การที่คาดว่าจะขายพื้นที่ได้ก็ไม่เป็นไปตามที่คาด… และจากวันนั้นจนถึงวันนี้พื้นที่ร้านค้าในเซ็นทรัลพลาซ่าก็ยังขายหรือให้เช่าได้ไม่หมดเต็มตามเป้า

แหล่งข่าวในวงการห้างสรรพสินค้าเคยให้ข้อสังเกตว่า "เซ็นทรัลพลาซ่าจัดห้องสำหรับขายให้มีเนื้อที่ 200 ตารางเมตรต่อ 1 ยูนิต นั้นมากเกินไปเมื่อเปรียบเทียบกับตึกแถวทั่วไปซึ่งมีเนื้อที่เพียงห้องละ 50 ตารางเมตร นอกจากนี้ยังจัดให้มีเนื้อที่เปิดไว้กว้างขวางต้นทุนต่อตารางเมตร จึงสูงมาก ตก 30,000 - 60,000 บาทต่อตารางเมตร ทำให้ค่าเซ้งต่อยูนิตสูงตามไปด้วยและจากการที่พื้นที่ร้านค้าต่อยูนิตมาก ทำให้ผู้เข้าไปเซ้งต้องเสียค่าตกแต่งมากมายและสินค้าก็ต้องใส่เข้าไปในร้านมากตามไปด้วย"

แหล่งข่าวคนเดิมยังยืนยันว่า "การจะลงทุนเปิดร้านสักร้านในเซ็นทรัลพลาซ่า ต้องมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้คนลงทุนคิดสะระตะแล้วเอาเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ยสบายใจกว่า"

แต่ถึงจะมีเงินเป็นฟ่อนก็ใช่ว่าจะเปิดร้านในเซ็นทรัลพลาซ่าได้ง่ายๆ เพราะทางเซ็นทรัลเองก็มีข้อกำหนดไว้หลายอย่างเหมือนกัน

"ของเราไม่เหมือนที่อื่นเพราะเราเลือกลูกค้าด้วย คือไม่ใช่มีสตางค์แล้วมาเช่าเปิดได้เลยเรื่องการตกแต่งร้านเราก็ขอดูแบบ มันต้องเข้ากับข้างในด้วยไม่ใช่ว่าห้องนี้เขาแต่งอย่างนี้คุณมากั้นเขา เขาก็เสียประโยชน์…ของเราเป็นศูนย์ระยะยาวไม่ใช่เห็นแก่เงิน ได้เงินหมดแล้วปัดภาระไป เราต้องรับผิดชอบ" วันชัย จิราธิวัฒน์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" เมื่อเร็วๆ นี้

เมื่อการขายพื้นที่ในเซ็นทรัลพลาซ่าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัลจะยอมอยู่เฉยได้อย่างไร…กิจกรรมทุกรูปแบบที่จะเรียกคนเข้ามาเดินในพลาซ่าจึงเกิดขึ้น เริ่มจากการให้เช่าพื้นที่บริเวณทางเดินชั้นล่างเพื่อจัดนิทรรศการ หรือจัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในราคาถูกหรือบางงานก็ให้จัดฟรี เป็นการสร้างบรรยากาศให้คึกคักและเป็นการล่อใจผู้ลงทุนให้มาซื้อพื้นที่ร้านค้าที่เหลือด้วย

และแล้วก็ถึงกำหนด "แซงโตรเป"

ห้างสรรพสินค้าแซงโตรเปอยู่บนชั้นสองเซ็นทรัลพลาซ่าคนละฟากกับห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ ชื่อจริงในการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทคือ บริษัทเซอเรนดิพิตี้ จำกัด จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2525 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท เป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มบริษัทเซ็นทรัลกับกลุ่มพนักงานเก่าแก่ของบริษัทฯ โดยบริษัทห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ถือหุ้น 50% และอีก 50% เป็นของพนักงานห้างเซ็นทรัลที่ทำงานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป รวมแล้วมีผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น 76 ราย

กรรมการบริษัท เซอเรนดิพิตี้จำกัด หรือห้างแซงโตรเปที่เป็นคนของกลุ่มเซ็นทรัลประกอบด้วย สุทธิพร จิราธิวัฒน์, เกรียงศักดิ์ จิราธิวัฒน์, วัฒน์ จิราธิวัฒน์, สิริเกศ จิราธิวัฒน์ กรรมการที่มาจากฝ่ายพนักงานได้แก่ ประหยัด บุญสินสุข เป็นผู้บริหาร

ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มเซ็นทรัลกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงกำเนิดแซงโตรเปว่า "จุดมุ่งหมายของเราอยากให้พนักงานมีกิจกรรม มีรายได้พิเศษ…สถานที่เราก็คิดถูกเป็นพิเศษด้วย"

จากจุดประสงค์ที่ทางผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัลต้องการให้พนักงานมีกิจกรรมและรายได้พิเศษ และเปิดโอกาสให้พนักงานบริหารห้างแซงโตรเปกันเองโดยทางผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัลไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ในการบริหารงานให้แก่พนักงาน แต่โดยนัยลึกๆ แล้ว ทางกลุ่มเซ็นทรัลคงต้องการให้พนักงานได้ซาบซึ้งกับปัญหาต่างๆ ในการบริหารงานห้างสรรพสินค้าด้วย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การได้ใช้พื้นที่เพื่อสร้างความคึกคักให้แก่พลาซ่านั่นเอง

ก็เรียกว่าจะยิงปืนนัดเดียวเอานกหลายๆ ตัว

แหล่งข่าวในเซ็นทรัลพลาซ่ายังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "ความจริงห้างในลักษณะเดียวกับแซงโตรเป คือกลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเป็นผู้ลงทุนให้ยังมีเปิดอยู่ในเซ็นทรัลพลาซ่าอีกหลายห้างกระจายอยู่ตั้งแต่ชั้น 1-3 โดยผู้บริหารส่วนใหญ่เป็น "จิราธิวัฒน์" เช่น 20 PLUS, BY DESIGN, COTTON & SILK, BIG SHAMP, BROADWAY, KIDDY LAND, COTTON CANDY

"อันนี้ทางห้างเป็นผู้ถือหุ้นแต่ให้ลูกหลานไปบริหาร เป็นการสร้างงาน คือพวกเขาไม่อยากอยู่ในดีพาร์ทเม้นท์สโตร์…ก็เหมือนกัน คือออกทุนให้" วันชัย จิราธิวัฒน์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความพยายามของกลุ่มผู้บริหารเซ็นทรัลในการผลักดันให้มีการเปิดร้านค้าในเซ็นทรัลพลาซ่า โดยการที่ห้างเซ็นทรัลจะเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือร่วมลงทุนให้ร้านค้าต่างๆ ได้เปิดดำเนินการเพื่อทำให้บริเวณพลาซ่าคึกคักประสบความสำเร็จพอสมควร และทำให้มีผู้มาลงทุนซื้อพื้นที่เปิดร้านมากขึ้น จนถึงขณะนี้พื้นที่ขายได้เกือบหมดแล้ว

แต่แซงโตรเปกลับมีปัญหาเพราะสินค้าที่ขายคล้ายคลึงกับสินค้าที่ขายในห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ การทำ Promotion สู้ทางเซ็นทรัลไม่ได้ทั้งที่ทางผู้บริหารเซ็นทรัลพยายามช่วยให้คนมาเดินทางฝั่งแซงโตรเปมากขึ้น ด้วยการย้ายซุปเปอร์มาร์เก็ตจากชั้นล่างสุดของห้างเซ็นทรัลมาอยู่ที่ชั้น 1 ทางฝั่งห้างแซงโตรเป เพื่อให้คนไปเดินบริเวณนั้น แต่คนก็ยังไม่เข้าแซงโตรเปเหมือนเดิม

คนของห้างแซงโตรเปเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "แรกๆ เราเน้นจุดขายเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายลักษณะบูติคราคาค่อนข้างสูงแต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นพวก COMSUMER PRODUCT ที่เราชำนาญอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ดีเพราะเรามีสินค้าและกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกับทางห้างเซ็นทรัลมี Power มากกว่าในการจัดรายการ ลด แลก แจก แถม ซึ่งทางเราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ จึงประสบปัญหาขาดทุน

และแล้วก็ถึงจุดจบ "แซงโตรเป"

แซงโตรเปประสบปัญหาขาดทุนสะสมมาตลอด ตั้งแต่เริ่มกิจการจนสิ้นปี 2527 ขาดทุนสะสมทั้งสิ้นเกือบ 7 ล้านบาททางผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัล ก็เริ่มซื้อหุ้นคืนจากพนักงาน จากจำนวนหุ้นที่เคยถือ 50% เมื่อเริ่มกิจการก็เพิ่มมาเป็นเกือบ 60% เมื่อต้นปี 2528 และได้ให้สุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์ เข้ามาบริหารงานแทนพนักงาน …และในที่สุดก็ตกลงใจเลิกกิจการไป

ถึงห้างแซงโตรเปจะต้องเลิกกิจการไปแล้ว แต่การเกิดของแซงโตรเปก็ให้อะไรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกิจกรรมและบทเรียนการบริหารงานห้างสรรพสินค้าให้แก่พนักงานเซ็นทรัลพลาซ่าให้ร้านค้าอื่นๆ มาเปิดจนเกือบเต็มพื้นที่ทั้งหมดแล้ว แซงโตรเปเป็นกรณีที่น่าศึกษาถึงแม้จะขาดทุน แต่ทางผู้บริหารเซ็นทรัลก็ยินดีที่จะซื้อหุ้นจากพนักงานคืนในราคาเดิมเรื่องขาดทุนดูเหมือนจะไม่ใช่สิ่งสำคัญอะไรนัก

"…เห็นทีจะต้องหยุด เราคิดอยากให้เขาทำจนสำเร็จ และเราก็ได้พยายามช่วยพนักงานเต็มที่แล้ว… เงินค่าหุ้นก็ต้องคืนให้พนักงาน คืนทั้งหมดในราคาเต็ม ที่ขาดทุนแล้วก็แล้วกันไป" วันชัย จิราธิวัฒน์ ยืนยัน

หลังจากห้างแซงโตรเปตัดสินใจเลิกกิจการเคยมีข่าวว่าจะใช้พื้นที่ส่วนนั้นเปิดซุปเปอร์มาร์เก็ต แต่ทางกลุ่มผู้บริหารเซ็นทรัลคงพิจารณาแล้วว่าสู้ซุปเปอร์มาร์เก็ตของห้างเซ็นทรัลดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ไม่ได้ จึงยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทำอะไร(ขณะนี้กำลังเลหลังสินค้าของห้างแซงโตรเป)

"กำลังคิดว่าจะใช้ทำเป็นศูนย์อุปกรณ์รถยนต์ ศูนย์เครื่องเสียง เครื่องไฟฟ้า หรือไม่ก็ทำเป็น DISCOUNT STORE… จริงๆ แล้วอยากขายพื้นที่มากกว่า" วันชัย จิราธิวัฒน์ บอก "ผู้จัดการ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us