|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หลังพยายามมา 5 ปี แผนการใหญ่ของแอร์เอเชีย สายการบินต้นทุนต่ำใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ใกล้ความจริงอีกขั้นหนึ่ง เมื่อรัฐบาลเวียดนามยอมเปิดไฟเขียว ให้เข้าร่วมทุนกับสายการบินเอกชนแห่งใหม่ โดยไม่ฟังเสียงค้านของสายการบินแห่งชาติ
แต่คนวงในอุตสาหกรรมนี้กล่าวว่า แอร์เอเชียจะไม่หยุดอยู่แค่ในเวียดนาม แต่กำลังรุกคืบครั้งใหญ่เข้าสู่ตลาดจีนและอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงทั้งหมด
แอร์เอเชียจากมาเลเซียประกาศในเดือน มี.ค.ว่า กำลังเจรจาซื้อหุ้น 30% ในเวียดเจ็ตแอร์ (VietJet Air) สายการบินที่เอกชนถือหุ้น 100% แห่งที่ 2 ในเวียดนาม และจะเริ่มบินให้บริการเดือน พ.ค.นี้ ท่ามกลางการคัดค้านจากเวียดนามแอร์ไลนส์เจ้าถิ่น
กระทรวงขนส่งเวียดนามแถลงในสัปดาห์ต้นเดือน เม.ย.ว่า ไม่มีข้อกฎหมายใดห้ามสายการบินต่างชาติเข้าถือหุ้นสายการบินในเวียดนาม โดยยกตัวอย่างแควนตัส (Qantas) จากออสเตรเลียที่ถือหุ้น 27% ในเจ็ตสตาร์แปซิฟิก และกำลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 30% เช่นกัน
ถ้าหากทุกอย่างดำเนินไปตามนี้ เวียดนามก็จะมีสายการบินต้นทุนต่ำใหม่ที่ชื่อ "เวียดเจ็ตแอร์เอเชีย" (VietJet AirAsia) ซึ่งจะได้ขึ้นบินเสียที หลังจากล่าช้ามาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
การรุกคืบของแอร์เอเชียทำให้แผนการแปรรูปสายการบินวาสโก (Vietnam Air service Co) ของเวียดนามแอร์ไลนส์ ยุ่งยากซับซ้อนยิ่งขึ้น
เวียดนามแอร์ไลนส์ประกาศก่อนหน้านี้ จะนำ VASCO เข้าตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ จำหน่ายหุ้นประมาณ 20% และรีแบรนด์ให้เป็นสายการบินต้นทุนต่ำอีกแห่งหนึ่ง จากที่ให้บริการบินแบบเช่าหมาลำในขณะนี้
เวียดนามแอร์ไลนส์ทำหนังสือถึงรัฐบาลในปลายเดือน มี.ค. ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ แต่อ้างถึงแผนการตลาดกับเจ็ตสตาร์แปซิฟิก โดยระบุว่า ".. ด้วยแผนการที่จะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเจ็ตสตาร์เพื่อจัดตั้งเป็นพันธมิตร บนพื้นฐานความร่วมมือด้านต้นทุน... การเข้าลงทุนในเวียดเจ็ตแอร์ของแอร์เอเชียเป็นความกังวลอันใหญ่หลวง สำหรับตลาดการบินเวียดนาม"
แต่นายฝั่มกวีเตียว (Pham Quy Tieu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงขนส่ง รายงานต่อคณะรัฐมนตรีว่า ไม่มีข้อกฎหมายใดห้าม และ แอร์เอเชียสามารถเข้าลงทุนในสายการบินต้นทุนต่ำของเวียดนามได้ไม่เกิน 30% เช่นเดียวกับนักลงทุนเอกชนรายอื่น ตามเพดานที่ระบุไว้ในกฎหมายการบินพลเรือนปี 2549
เวียดนามที่มีประชากรเกือบ 87 ล้านคน เป็นตลาดการบินที่เย้ายวนเอาการสำหรับอุตสาหกรรมนี้ ผู้บริหารอินโดไชน่าแอร์ไลนส์สายการบินต้นทุนต่ำของเอกชนแห่งแรกที่พับฐานไปแล้วเคยกล่าวว่า ขอเพียงชาวเวียดนามเดินทางด้วยเครื่องบินเพียง 1 ล้านคนต่อปีเท่านั้น "ทุกฝ่ายก็จะแฮ็ปปี้"
สำหรับแอร์เอเชีย ถ้าหากแผนการร่วมทุนก่อตั้งสายการบินในเวียดนามประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่
นับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในเดือน ม.ค.2550 เวียดนามได้ทยอยเปิดตลาดเป็นลำดับ เริ่มออกใบอนุญาตให้สายการบินเอกชนในปี 2550 โดยอินโดไชน่าแอร์เป็นแห่งแรก เวียดเจ็ตแอร์เป็นแห่งที่ 2 กับ แม่โขงแอร์ไลนส์ (Mekong Airlines) ซึ่งมีกำหนดจะต้องเปิดบินในปีนี้เช่นเดียวกัน เป็นอันดับ 3
รัฐบาลเวียดนามถูกวิพากษ์วิจารณ์ตลอดมา เรื่องตั๋วเครื่องบินราคาแพงเกินเหตุ เนื่องจากปล่อยให้สายการบินแห่งชาติผูกขาดตลาดในประเทศ
ปี 2550 รัฐบาลเปิดทางให้สายการบินจากออสเตรเลียเข้าช่วยฟื้นฟูสายการบินแปซิฟิกแอร์ไลนส์ที่มีฐานะย่ำแย่ โดยให้ถือหุ้น 27% และ รัฐวิสาหกิจเพื่อการร่วมทุนของกระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่อยู่เช่นเดิม ซึ่งได้ทำให้เกิดสายการต้นทุนต่ำขึ้นมาแห่งแรกและใช้ชื่อ “เจ็ตสตาร์” นำหน้า ตามชื่อสายการบินต้นทุนต่ำของแควนตัส
ในช่วงปีดังกล่าว แอร์เอเชียก็เช่นเดียวกันกับสายการบินโลว์คอสท์อื่นๆ ที่บินเข้าสู่เวียดนามด้วยความประสงค์จะเข้าเจาะตลาดใหญ่นครโฮจิมินห์ให้ได้ และ แอร์เอเชียได้เพียรพยายามในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2548 เมื่อเริ่มเปิดบินเข้าฮานอย
ในเดือน ก.ย.2550 ดาโต๊ะโทนี เฟอร์นันเดซ (Tony Fernandez) ซีอีโอของของแอร์เอเชียแถลงในกัวลาลัมเปอร์ว่า ได้เซ็นบันทึกช่วยจำฉบับหนึ่งกับกลุ่มบริษัทต่อเรือใหญ่ที่สุดของเวียดนามคือ วินาชิน (Vinashin) เพื่อจัดตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ "วินาแอร์เชียร์" (VinaAsia) ขึ้นมาโดยฝ่ายเวียดนามถือหุ้นใหญ่ 70% และ แอร์เอเชียจะลงทุนประมาณ 30 ล้านดอลลาร์ในสายการบินใหม่นี้
ในเดือน ต.ค.สื่อของทางการเวียดนามรายงานว่า สายการบินวินาแอร์เชียไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ไม่มีการแถลงเหตุผลที่ชัดเจน แต่เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า เวียดนามแอร์ไลนส์อยู่เบื้อหลัง
โฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางธุรกิจและการลงทุนใหญ่ที่สุด เป็นศูนย์การบินใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ซึ่งจะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ ที่เวียดนามกล่าวว่าเทียบชั้นสนามบินสุวรรณภูมิของไทย หรือชางงีในสิงคโปร์ และ จะให้ท่าอากาศยานเติ่นเซินเญิต (Tan Son Nhat) ในปัจจุบันเป็นฮับการบินในประเทศ
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ถ้าหากการแผนการเวียตเจ็ตแอร์เอเชียประสบความสำเร็จ เวียดนามก็จะกลายเป็นฐานการบินต้นทุนต่ำใหญ่ที่สุด ในการกคืบเข้าสู่ตลาดใหญ่จีนและทั่วอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง.ฃ
|
|
|
|
|