Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน19 เมษายน 2553
"ไทยคม"เอี่ยวทีวีเสื้อแดง 2 ปีซ้อน ลูกน้องเก่าทักษิณนั่งบริหารเพียบ             
 


   
search resources

Telecommunications
ไทยคม, บมจ.




ทีวีเสื้อแดงออกอากาศยั่วยุ ปลุกระดม จนต้องถูกสั่งปิด 2 ปีซ้อน "ไทยคม"เจ้าเก่าให้บริการเช่าช่องสัญญาณ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือชินคอร์ป แถมลูกน้องเก่าทักษิณยังนั่งบริหารเพียบ หากแดงมีชัยเลือกตั้งใหม่ ฟอกทักษิณพ้นผิดไทยคมรับอานิสงส์ด้วยเรื่องไอพีสตาร์

การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในช่วงที่ผ่านมา ที่เริ่มตั้งแต่ 12 มีนาคม 2553 เป็นต้นมาหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 4.6 หมื่นล้านบาท จากเดิมได้กำหนดการชุมนุมเพียง 3 วัน โดยปักหลักอยู่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนิน แต่กลับกลายเป็นการชุมนุมที่ยืดเยื้อยาวนานนับเดือน ที่เรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยโดยให้รัฐบาลยุบสภาโดยวิธีการสันติ อหิงสาไม่ใช้ความรุนแรงนั้น แกนนำได้ยกระดับการชุมนุมด้วยการเคลื่อนย้ายผู้เข้าร่วมชุมนุมไปยังพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงการไปปิดพื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นแหล่งช็อปปิ้งแหล่งใหญ่ที่สุดของกรุงเทพ

แม้ในช่วงการชุมนุมจะมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับแกนนำถึง 2 รอบ แต่ก็ไร้ข้อสรุป กลุ่ม เนื่องจากแกนนำเสื้อแดงได้ยื่นคำขาดให้ยุบสภาภายใน 15 วัน ขณะที่รัฐบาลขอเวลา 9 เดือน จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมจึงเพิ่มการกดดันรัฐบาลด้วยการตระเวนไปกดดันหน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมถึงการบุกเข้าไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและที่รัฐสภา

จนรัฐบาลต้องประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมทั้งให้บริษัท ไทยคม จำกัด(มหาชน) หรือ THCOM ตัดสัญญาณของสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชลแนลในระบบ C-Band ที่ถ่ายทอดสดการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยมีการบิดเบือนข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชน

ปิดปีละครั้ง

คำสั่งให้มีการตัดสัญญาณการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ของกลุ่มคนเสื้อแดง นับว่าไม่แตกต่างไปจากสถานการณ์ในปี 2552 ที่ครั้งนั้นมีการชุมนุมของคนเสื้อแดงไปล้มการประชุมอาเซียนที่พัทยา รวมถึงการทุบรถนายกรัฐมนตรีที่กระทรวงมหาดไทย จนมีการออกพรก.ฉุกเฉิน และสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่นของคนเสื้อแดงเมื่อสงกรานต์ปีที่แล้ว

ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงได้ออกมาปฏิบัติการป่วนกรุง ทั้งจากการนำรถแก๊สของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด(มหาชน) ที่มีพลเอกชัยสิทธิ ชินวัตร เป็นประธานของบริษัทนี้ ไปจอดไว้ที่ต่าง ๆ เพื่อเตรียมก่อวินาศกรรม รวมถึงการยึดรถ ขสมก.ไปเผา โดยที่มีกำลังทหารออกมาทำการควบคุมสถานการณ์

แม้ว่าครั้งนั้นจะมีการตัดสัญญาณสถานีโทรทัศน์ดีสเตชั่น แต่ทางบริษัทไทยคมได้ขึ้นข้อความว่าต้องทำการตัดสัญญาณตามคำสั่งรัฐบาลตลอดเวลา เท่ากับเป็นการฟ้องและประจานรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไปในตัว

การออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ 7 เมษายน พร้อมทั้งการตัดสัญญาณของสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชลแนลในระบบ C-Band นั้น ไม่แตกต่างจากช่วงเมษายนปีที่แล้ว หลังจากนั้นจึงได้ปิดสัญญาณในระบบ KU-Band

ก่อนหน้าที่จะมีการตัดสัญญาณทางกลุ่มคนเสื้อแดงได้เดินทางไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม โดยผู้บริหารของไทยคมได้แจ้งว่าการที่จะตัดสัญญาณของพีเพิลแชลแนลต้องใช้เวลา 2-3 วัน แต่หลังจากที่มีการประกาศพรก.ฉุกเฉินจึงได้ดำเนินการตัดสัญญาณในช่วงค่ำของวันประกาศ

ทักษิณรอด-ไทยคมรอด

บริษัทไทยคมถือว่าเป็นบริษัทลูกของบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ขายหุ้นออกไปให้กับเทมาเส็กของสิงคโปร์จนเกิดปัญหานำไปสู่การยึดอำนาจเมื่อ 19 กันยายน 2549 โดยชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ 41.14% และต่างชาติถือในนามบริษัทไทยเอ็นวีดีอาร์ ที่เหลือเป็นการถือในนามคนไทย หนึ่งในนั้นมีทวีฉัตร จุฬางกูร หลานชายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ถือหุ้นอยู่ 11.8 ล้านหุ้นหรือ 1.08% ขณะที่กรรมการที่บริหารส่วนใหญ่ยังคงเป็นชุดเดิมของทักษิณ ชินวัตร

อีกทั้งไทยคมยังเป็นส่วนหนึ่งของคดียึดทรัพย์ที่มีการกระทำผิดสัญญาในเรื่องของการสร้างดาวเทียมสำรองของไทยคม 3 โดยแทนที่จะเป็นไทยคม 4 กลับเป็นการสร้างดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งตีความว่าเป็นดาวเทียมดวงใหม่ไม่ใช่ดาวเทียมสำรอง

แม้ว่าเมื่อพิจารณาจากรายชื่อการถือหุ้นจะไม่พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับตระกูลชินวัตร แต่ในระดับฝ่ายบริหารของบริษัทนั้นยังเป็นผู้บริหารที่มีความสัมพันธ์กับอดีตเจ้าของบริษัทมาโดยตลอด

เมื่อปี 2552 ที่มีการสั่งตัดสัญญาณทีวีเสื้อแดง กว่าจะตัดสัญญาณได้ก็ปล่อยให้แกนนำผู้ชุมนุมประกาศผ่านทีวีก่อนที่จะมีการตัดสัญญาณเพื่อระดมพลให้มากขึ้นราวครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นก็หยุดออกอากาศและกลับมาออกอากาศได้อีกระยะหนึ่งจนกระทั่งรัฐส่งทหารเข้าไปควบคุม

แม้ว่าครั้งนี้ภาครัฐจะดำเนินการได้อย่างรวดเร็วที่ตัดสัญญาณการออกอากาศในระบบ C-Band ที่ออกอากาศได้ครอบคลุมทั่วประเทศในค่ำของวันที่ประกาศพรก.ฉุกเฉิน และตัดสัญญาณในระบบ KU-Band ในวันรุ่งขึ้น

การให้การสนับสนุนการชุมนุมในทางอ้อมของภาคธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับอดีตนายกทักษิณ ภายใต้อำนาจของรัฐบาลปัจจุบัน การทำตามที่รัฐบาลสั่งด้วยการยืดดึงเวลาออกไปให้ได้นานที่สุดหรือทำเพียงแค่บางส่วนนั้นย่อมเป็นวิธีช่วยที่ดีที่สุดของภาคเอกชน ถือว่าไม่เป็นการเปิดศึกกับอำนาจรัฐ

อย่าลืมว่าการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดง ด้วยข้อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ด้วยความมั่นใจว่าพรรคเพื่อไทยจะกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จากนั้นจะมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับทักษิณ ชินวัตร นั่นหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับไทยคมในเรื่องการผิดสัญญาในเรื่องดาวเทียมสำรองก็ต้องพ้นผิดไปด้วย จึงเป็นประโยชน์ร่วมกันของฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลประชาธิปัตย์

การต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อฟอกความผิดให้กับทักษิณ ชินวัตร นายใหญ่ที่มีเม็ดเงินว่าจ้างจำนวนมาก การเดินเครื่องจากการชุมนุมเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถดำเนินการได้ราบรื่น การมีภาคธุรกิจในเครือข่ายเดิมคอยให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก ด้วยผลประโยชน์ร่วมกันจึงเป็นสิ่งที่เข้ามาเสริมให้การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นไปอย่างสะดวก ภาครัฐจะต้องเข้ามาดำเนินการตรวจสอบและหาทางป้องกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งของผู้คนในสังคม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us