Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน19 เมษายน 2553
แคมเปญชิงตั๋วบอลโลกเดือด ทัพสินค้าแห่มัดใจลูกค้าทุกกลุ่ม             
 


   
search resources

ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ
Marketing




จับตาทัพสินค้าโหนกระแสบอลโลก อัดกลยุทธ์สปอนเซอร์ชิพ มาร์เก็ตติง -การตลาดแบบแฝงตัว มัดใจฐานลูกค้าคอบอลวัยรุ่นยันผู้ใหญ่ ผู้ชายและผู้หญิง แห่จัดแคมเปญชิงรางวัลตั๋วเครื่องบินชมบอลแอฟริกาบูม หวังสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ ชิงภาพลักษณ์พร้อมโกยยอดขายไตรมาสสอง รับมือเศรษฐกิจผกผันตามสถานการณ์การเมืองไทยป่วน

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ โล่ห์ทองคำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ธรู เดอะไลน์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด และนักสื่อสารการตลาด เปิดเผยว่า จากการสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เมษายน ที่ผ่านมานี้ ส่งผลให้สินค้าหลายแบรนด์ยกเลิกการจัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ทำให้สินค้าต่างๆต้องสูญเสียโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้บริโภค

“ปกติไตรมาสสอง ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะเป็นฤดูกาลจำหน่ายสินค้าแทบทุกชนิด เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคออกมาจับจ่ายใช้สอย แต่จากการเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุม และการปะทะกันอย่างรุนแรง กระทบต่อจิตวิทยาของผู้บริโภค ทำให้อารมณ์การจับจ่ายใช้สอยชะลอตัวลงช่วงเวลาดังกล่าว”

อย่างไรก็ตามเมื่อเทศกาลสงกรานต์ผ่านไป ก็จะเข้าสู่ช่วงโลว์ซีซัน แต่ปีนี้การตลาดยังได้รับอานิสงส์จากการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2553 จึงคาดว่าสินค้าจะฉกฉวยในช่วงเวลา 1 เดือน ดำเนินการตลาดเชิงรุก เพื่อกระตุ้นยอดขาย

สำหรับการทำตลาดในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก ทัพสินค้านำกลยุทธ์สปอนเซอร์ชิพ มาร์เก็ตติง หรือการได้รับสิทธิ์ใช้เหตุการณ์ของการแข่งขัน ทั้งรูป สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่างๆของการแข่งขัน ผสมผสานกับการทำเซลล์โปรโมชัน ด้วยการจัดแคมเปญชิงตั๋วเครื่องบินชมการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่ แอฟริกาใต้ ซึ่งจะกลยุทธ์ที่มาแรง เพราะทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าไปมีประสบการณ์จริงร่วมกับแบรนด์ และเกิดความภักดีต่อแบรนด์ รวมถึงผลพลอยได้ทางด้านยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับแคมเปญชาเขียวโออิชิ “ไปแต่ตัวทัวร์ยกแก๊งค์” ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จากการทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสกับความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งเป็นดีเอ็นเอของแบรนด์

อย่างไรก็ตาม การใช้กลยุทธ์สปอนเซอร์ชิพ มาร์เก็ตติง ต้องเป็นสินค้าที่ซื้อลิขสิทธิ์การเป็นสปอนเซอร์เท่านั้น ถึงได้สิทธิ์ได้ใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆของการแข่งขัน ซึ่งปกติการเป็นสปอนเซอร์จะให้รายเดียวสำหรับธุรกิจ ดังนั้นสินค้าที่ไม่ต้องการเสียโอกาสเพื่อช่วงชิงยอดขาย จึงงัดกลยุทธ์การตลาดแบบแฝงตัว (Ambush Marketing) เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าแบรนด์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันฟุตบอลโลก ยกตัวอย่าง โมเดลการทำตลาดของเป๊ปซี่ ซึ่งนำดารานักเตะระดับโลกมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ในช่วงการแข่งขันบอลโลก

โอกาสการทำตลาดในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก มาจากการมีกลุ่มผู้ชมบอลเป็นฐานลูกค้าค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ หรือกระทั่งกลุ่มเป้าหมายผู้ชายและผู้หญิง เนื่องจากการชมฟุตบอลจัดเป็นเอนเตอร์เทนเมนต์อย่างหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นแฟชั่น อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์สลายม็อบที่ผ่านมา การตอบรับแคมเปญชิงโชคมองได้ 2 แง่มุม คือ ผู้บริโภคหดหู่ใจและต้องการความบันเทิงเพิ่มขึ้น จึงอยากเข้าร่วมกิจกรรมและต้องการชิงโชคเพื่อลุ้นไปชมบอลโลก หรืออีกกรณี เกิดความหดหู่และระมัดระวังการจับจ่าย เนื่องจากเกิดความไม่เชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้พบว่าที่ผ่านมา มีสินค้าร่วมกว่า 10 แบรนด์ เป็นสปอนเซอร์การแข่งขันฟุตบอลโลก ได้แก่ โค้ก แชมพูเคลียร์ สิงห์คอปอเรชั่น ไทยเบฟ เครื่องดื่มชูกำลังกระทิงแดง ไวตามิ้ลค์ นีเวีย สยามพารากอน โซนี่ และจักรยานแอลเอ เป็นต้น ซึ่งล่าสุดพบว่า มีสินค้าหลายตัวที่เป็นสปอนเซอร์อย่างเป็นทางการรุกจัดแคมเปญ อาทิ โค้กจัดแคมเปญ “ตะลุยบอลโลก ยกแก๊งค์กับโค้ก” มอบโอกาสไปเชียร์บอลโลก ที่ แอฟริกาใต้ ขณะที่แชมพูเคลียร์ เมน จัดกิจกรรมเชียร์บอลระดับโลกตะลุยแอฟริกาใต้ เป็นต้น

ขณะที่สินค้าดำเนินกลยุทธ์การตลาดแบบแฝงตัว ได้แก่ เป๊ปซี่จัดโปรโมชัน “ตะลุยแอฟริกากับตอร์เรส” ด้านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จัดแคมเปญชิงโชค Fashionista Hits Big Match เชียร์บอลนัดหยุดโลก เพื่อลุ้นชมบอลโลก รอบ 8 ทีมสุดท้ายที่แอฟริกาใต้ และคาดว่าจะมีสินค้าหลายแบรนด์ ดำเนินการตลาดแบบแฝงตัว ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา ต่างอัดกิจกรรมอิงกระแสบอลโลก ซึ่งการใช้กลยุทธ์การตลาดแบบแฝงตัว โดยมากสินค้าหรือแบรนด์นั้นๆ จะได้ในแง่ยอดขายมากกว่าภาพลักษณ์ เว้นก็แต่สินค้าที่มีแพลตฟอร์มสปอร์ต ซึ่งจะได้ภาพลักษณ์ของสินค้าด้วย เช่น เป๊ปซี่

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ กล่าวว่า การแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่ง 4 ปีจะมี 1 ครั้ง และท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซามากว่า 2 ปีในประเทศไทย และปีนี้เศรษฐกิจในประเทศก็ยังผกผันตามสถานการณ์การเมืองไทย เป็นปัจจัยผลักดันทัพสินค้าแข่งขันงัดกลยุทธ์เพื่อช่วงชิงยอดขาย ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่าแต่ละแบรนด์จะใช้แคมเปญใดดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายได้มากกว่ากัน เช่น ได้ไปดูบอลโลกรอบชิงชนะเลิศหรือการได้สัมผัสกับดารานักเตะระดับโลก และแพกเกจเที่ยวแอฟริกาเพิ่มเติม พร้อมมอบเงินสำหรับไปทริปในครั้งนี้ เป็นต้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us