Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน12 เมษายน 2553
เตือน!ระวังทุนนอกไหลออก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุชาดา กิระกุล
Investment




ธปท.เผยนักลงทุนไทยแห่ซื้อ อสังหาริมทรัพย์ในต่างแดนเพิ่มขึ้น หลังเจอพิษวิกฤตเศรษฐกิจฉุดให้ราคาอสังหาฯ ถูกลง ประกอบกับค่าเงินประเทศเหล่านั้นอ่อนลง ล่าสุด 3 เดือนแรกของปีนี้มีการลงทุนส่วนนี้ไปแล้ว 3,200 ล้านบาท เช่นเดียวกับบางภาคอุตสาหกรรมที่ติดข้อจำกัดวัตถุดิบหรือแรงงานที่ไม่สามารถ สู้ตลาดการผลิตในประเทศได้หันมาย้ายการผลิตในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อหาต้นทุนการผลิตที่ต่ำก็ยังมีต่อเนื่อง ระบุปีที่ผ่านมา มีเงินทุนไทยออกไปลงทุนนอก 1.3 แสนล้านบาท

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้พยายามผ่อนคลายกฎเกณฑ์การนำเงินทุนไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เพื่อให้นักลงทุนและภาคธุรกิจไทยออกไปหาประโยชน์และลดข้อจำกัดในบาง อุตสาหกรรมที่ไม่สามารถแข่งขันภายในประเทศได้ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง ทำให้ขณะนี้เริ่มเห็นแนวโน้มนักลงทุนและภาคธุรกิจไทยหันไปลงทุนในต่างประเทศ เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนที่เห็นได้ชัดเจนและเริ่มมีการขอธปท.มากขึ้น คือ การลงทุนเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ อาทิ บ้าน ที่ดิน อาคารสำนักงาน โรงแรม เป็นต้น เพราะนักลงทุนไทยส่วนใหญ่มองว่าหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดลง ซึ่งเชื่อว่าจะไม่ตกต่ำกว่านี้แล้ว ประกอบกับประเทศที่ต้องเผชิญวิกฤตโดยตรงต่างมีอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงจึง ส่งผลให้มีคนหันไปลงทุนในลักษณะนี้มากขึ้น โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มียอดการลงทุนส่วนนี้กว่า 100 ล้านบาท หรือประมาณ 3,200 ล้านบาท (ค่าเงินบาทที่ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ)

เช่นเดียวกับการลงทุนในลักษณะอุตสาหกรรม เพื่อย้ายฐานการผลิตในต่างประเทศ โดยเฉพาะกิจการด้านอาหาร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์เริ่มมีมากขึ้น โดยในปี 52 มียอดการลงทุนในอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 1,749.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 55,984 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้เฉลี่ยประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 28,800 ล้านบาท

ซึ่งการลงทุนในรูปแบบนี้ นอกจากการหาช่องทางหาผลประโยชน์ในต่างประเทศ ในกรณีที่การผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขันได้แล้ว อีกทั้งอาศัยประโยชน์จากการเชื่อมโยงสิทธิต่างๆ ไทยทำไว้กับกลุ่มประเทศอื่นๆ แม้จะเป็นแค่ฐานผลิตเพื่อการส่งออก แต่ยังสามารถนำกำไรกลับเข้ามายังไทยได้ ขณะเดียวกันก็ยกระดับการผลิตในประเทศไทยขึ้นเป็นการผลิตที่ใช้แรงงานที่มี ทักษะมีความเชี่ยวชาญพิเศษมากขึ้น เพื่อใด้ประเทศไทยกลายเป็นตลาดสินค้าที่มีคุณภาพและมีราคาที่ดีขึ้น

สำหรับกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) นั้นขณะนี้เริ่มมีบางกองทุนที่ครบอายุก็นำเงินทุนเข้ามายังไทย ซึ่งบางส่วนก็เตรียมนำเงินทุนส่วนนี้ไปลงทุนในต่างประเทศต่อไปอีก เพื่อหาผลตอบแทน โดยล่าสุดวงเงินที่ธปท.อนุมัติให้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) จัดสรรแก่ผู้ลงทุนเหลือเพียง 2.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากวงเงินที่ธปท.เพิ่งขยายเป็น 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ จากก่อนหน้านี้อยู่ที่ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

นางสุชาดา กล่าวว่า ตลอดทั้งปี 52 ที่ผ่านมาเฉพาะในส่วนที่นักลงทุนไทยนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศทั้งสิ้น ทั้ง 4,055.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 129,788.8 ล้านบาท โดยการลงทุนที่สำคัญ อาทิ ลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ 122.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 3,926.4 ล้านบาท ลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ในต่างประเทศ 424.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 13,574.4 ล้านบาท และเป็นการลงทุนในสถาบันการเงินต่างประเทศ 535.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 17,129.6 ล้านบาท เป็นต้น

“ธปท.ต้องการเห็นการไหลเข้าและออกที่มีความสมดุลกัน เพราะขณะนี้มีเงินทุนไหลเข้ามามากกว่าเงินทุนไหลออกอยู่มากเห็นได้จากการ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังคงเกินดุลต่อเนื่อง ทำให้เกิดแรงกดดันต่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลอยู่ แต่เชื่อว่าตลอดทั้งปี 53 ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลน้อยลง หากเหตุการณ์บ้านเมืองสงบลง ทำให้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นตามมาด้วย ขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสที่ดุลบัญชีสะพัดจะขาดดุลเช่นกัน ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันและการฟื้นตัวเศรษฐกิจ”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us