Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2530
มาบุญครอง ท่ามกลางความทุลักทุเล             
 


   
search resources

มาบุญครอง
ศิริชัย บูลกุล
Financing




ช่วงเดือนที่ผ่านมาเป็นอีกช่วงหนึ่งที่เรียกได้ว่า เป็นช่วงแห่งความทุลักทุเลและเป็นช่วงแห่งหัวเลี้ยวหัวต่อของมาบุญครอง แม้ว่า ศิริชัย บูลกุล จะขายหุ้นที่มีอยู่ไปเกือบทั้งหมดแล้วก็ตาม แต่ปัญหาระหว่างเจ้าหนี้และกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมก็ยังมีให้เห็นอยู่เป็นระลอก ๆ ให้เจ้าหนี้และศิริชัยได้ปวดหัวกันเล่น

ภายหลังจากที่มีการทะเลาะกันมานานระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้กับบริษัทมาบุญครองอบพืชและไซโล จำกัด ระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้ด้วยกันเอง และระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นอื่น ๆ กับผู้ถือหุ้นใหญ่คือ ศิริชัย บูลกุล แล้วในที่สุด ช่วงเดือนที่ผ่านมานี้ ทางศิริชัยผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ต้องโดนบีบให้ขายหุ้นที่ตัวเองมีอยู่ให้กับผู้อื่นไปเกือบ 50% ของหุ้นทั้งหมดแล้วนั้น บัดนี้ แทนที่ทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความราบรื่น ก็ปรากฏว่ามันไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด ๆ กัน

การเซ็นสัญญาการยืดอายุการชำระหนี้กับธนาคารเจ้าหนี้ก็ยังต้องยืดออกไปอีกครั้งแล้วครั้งเล่า เนื่องจากศิริชัย บูลกุลประธานกรรมการบริหารเครือมาบุญครองได้อ้างว่า การเซ็นสัญญายืดอายุการชำระหนี้นั้นต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นทราบก่อน

และการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ในวันที่ 2 เมษายน นั้น ซึ่งมีหมายกำหนดการว่าจะเป็นการประชุมเพื่อแจ้งต่อผู้ถือหุ้นว่าการแก้ไขหนี้สินเหล่านี้จะทำอย่างไร ก็ต้องฟาวล์เองจากไม่ครบองค์ประชุม แล้วก็ในที่สุดก็ต้องเลื่อนไปประชุมเอาวันที่ 16 เมษายน

การประชุมเมื่อวันที่ 16 เมษายนนั้น ศิริชัย บูลกุลต้องแพ้โหวตในที่ประชุมอย่างหลุดลุ่ย ในการประชุมวันนั้นผู้เข้าร่วมประชุมมากันไม่ถึงครึ่งของหุ้นทั้งหมด ซึ่งไม่ครบองค์ประชุม แต่เนื่องจากเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่สอง จึงสามารถดำเนินการประชุมได้

ในการประชุมครั้งนั้นกลุ่มของศิริชัย บูลกุล โดยสมภพ พูนศิริ รองประธานคณะกรรมการและที่ปรึกษากฎหมายได้ชี้แจงว่า ร่างสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้สินนั้น ธนาคารกลุ่มเจ้าหนี้ได้จัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษและส่งมาให้บริษัทเมื่อวันที่ 5 มีนาคมี่ผ่านมา แต่หลังจากที่ได้ทำการศึกษาแล้วเห็นว่า เป็นสัญญาที่บริษัทเสียเปรียบ จึงได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นขึ้น คณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นว่า ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขสัญญารวม 10 จุด ซึ่งเป็นการแก้ไขข้อความเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและภาระต่าง ๆ ที่บริษัทจำเป็นจะต้องรับ นอกจากนั้น ศิริชัย บูลกุล ยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ได้มีการเสนอให้มีการตรวจสอบภาระหนี้สินที่แน่นอนใหม่อีกครั้งร่วมกันและขอให้มีการแก้ไขในเรื่องที่จะให้ตน และ มา ชาน ลี ค้ำประกันเป็นการส่วนตัวให้กับบริษัท ซึ่งกลุ่มธนาคารเจ้าหนี้ได้รับหลักการดังกล่าว

เห็นได้ชัดว่า ข้อเสนอต่าง ๆ ที่ทำให้มีการแก้ไขข้อสัญญาต่าง ๆ ถึง 10 จุดนั้นเป็นการยืดอายุการชำระหนี้ นั่นเอง การยืดอายุการเซ็นสัญญาการปรับปรุงหนี้สิน จะทำให้เรื่องต่าง ๆ จบช้าลง

กลุ่มเจ้าหนี้ที่มาจากสถาบันการเงิน โดยเฉพาะบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติในฐานะผู้ถือหุ้นก็มองเกมนี้ของศิริชัย บูลกุลออก และคงได้เตรียมมาอย่างดีแล้ว และคงรู้แล้วว่า วันนี้ทางศิริชัยจะทำอะไรบ้าง

บันเทิง ตันติวิทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ จึงได้ลุกขึ้นโต้แย้งข้อเสนอดังกล่าว และเสนอว่าคณะกรรมการบริษัทควรเร่งเซ็นสัญญาการปรับปรุงหนี้สินโดยเร็วเพื่อไม่ให้เสียหายมากกว่านี้ พร้อมทั้งเสนอว่าควรแก้ไขข้อสัญญาใน 4 จุดเท่านั้นคือ 1. ให้ยกเลิกข้อความที่เกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท 2. เพิ่มข้อความว่าการที่นายศิริชัย บูลกุล และนายมา ชาน ลี เซ็นสัญญาในหนังสือดังกล่าวในฐานะของตัวแทนบริษัทไม่ใช่เป็นการค้ำประกันหรือรับผิดชอบโดยส่วนตัว 3. ให้ตรวจสอบภาระหนี้ของบริษัทกับเจ้าหนี้ทุกรายภายใน 15-30 วัน 4. ขอให้ธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้อนุมัติให้บริษัททำสัญญากับบริษัทคาร์กิลเพื่อเช่าไซโลต่อไปได้

เมื่อคนโน้นกลุ่มโน้นเสนออย่างนี้คนนี้กลุ่มนี้ก็เสนออย่างโน้น ในที่สุดก็ต้องลงมติกัน ผลการลงมติ ฝ่ายเจ้าหนี้นะไป

อย่างไรก็ดี สำหรับศิริชัย บูลกุล แล้วล่าสุดมีข่าวดีสำหรับตัวเขามาจากรัฐสภา เมื่อศิริชัย บูลกุล ได้รับเลือกเป็นวุฒิสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีได้เซ็นอนุมัติแล้วเอวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา นับเป็นข่าวที่ดีที่สุดของศิริชัยในรอบเดือนที่ผ่านมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us