Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑ์แห่ง “ราก” ที่ (กำลัง) หายไป             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
โฮมเพจ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
โฮมเพจ บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด

   
search resources

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
Museum
เผ่าทอง ทองเจือ
ไร้ท์แมน, บจก.




หากถามถึงสิ่งที่ทำให้คนไทย (ส่วนใหญ่) ภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย คำตอบแรกคงไม่พ้นการได้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย อันดับรองมาคือ ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมไทย โดยมีความภูมิใจในเอกราชของชาติไทย ที่ไล่ตามมาติดๆ ...แต่ความภาคภูมิใจที่ไร้ซึ่ง "ราก" หยั่งด้วยสำนึกอย่างเข้าใจ ก็ไม่ต่างจากลัทธิ "ชาตินิยมไร้สติ" ที่ไม่เคยช่วยให้ประเทศชาติก้าวพ้นวิกฤติได้เลยสักครั้ง

แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ สอนให้เด็กนักเรียนไทยทุกยุคสมัยท่องจำจนขึ้นใจว่าประเทศไทยเริ่มก่อตัวเมื่อสมัยสุโขทัย จนมาถึงยุคอยุธยา ก่อนจะก้าวเข้า สู่สมัยรัตนโกสินทร์ ทว่า เชื่อว่าหลายคนคงหลงลืมไปแล้วว่า ยุคสมัยที่พวกเรากำลัง ดำเนินชีวิตกันอยู่ในวันนี้ ยังคงเป็นแผ่นดิน แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อลืมว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของรัตนโกสินทร์สมัย ก็คงยากที่จะถามถึงความภาคภูมิใจในความเป็น "ชาวรัตนโกสินทร์" จากคนกรุงเทพฯ ยุคปัจจุบัน

คำตอบของชาวกรุงเทพฯ เมื่อถูกตั้งคำถามว่านึกถึงอะไรหากพูดถึง "กรุงรัตนโกสินทร์" มีตั้งแต่วัดวาอาราม กรุงเก่า ความย้อนยุค ถนนราชดำเนิน ไปจนถึงห้องอาหารหรู และละครจักรๆ วงศ์ๆ

ขณะที่เมื่อถามถึง "กรุงเทพมหา นคร" อันเป็นราชธานีของยุครัตนโกสินทร์ คำตอบก็มีหลากหลาย เช่น เมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ บางคนนึกถึงประเทศไทย ผู้คนที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ เมืองที่คนเยอะรถแยะ ศูนย์กลางท่องเที่ยวและความเจริญ บ้างก็คิดถึงภาพวัดพระแก้ว อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หรือสนามหลวง เป็นต้น

เพื่อให้ "ชาวรัตนโกสินทร์" ได้ตระหนัก และรู้จักตัวตนหรือรากเหง้าของตัวเองมากขึ้น ตลอดจนเพื่อสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะ ตลอดจนภูมิปัญญาและปรัชญา ความเชื่ออันงดงามของผู้คนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในอดีตไม่ให้สาบสูญตามกาลเวลา พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงถึงคุณค่าแห่งรัตนโกสินทร์ สมัยจึงถือกำเนิดขึ้น ภายใต้ชื่อ "นิทรรศน์รัตนโกสินทร์"

บนถนนราชดำเนินกลาง เรียงรายไปด้วย อาคารพาณิชย์สไตล์ฝรั่งเศส เลียนแบบมาจากลักษณะอาคารบนถนน Champs-Elysees แห่งกรุงปารีส ออกแบบและก่อสร้างภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ไม่นานนัก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ดู "โดด" จากสถาปัตยกรรมบนถนนราชดำเนินในและราชดำเนินนอก อันเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวังบนถนนราชดำเนินใน และ "วัง" บนถนนราชดำเนินนอก

อาคารพาณิชย์ที่เคยเก่าและโทรมบนถนนราชดำเนินกลางหลายห้องถูกปิดปรับปรุง เพื่อการปรับทัศนียภาพของถนนราชดำเนินกลางให้ดูดีขึ้น รวมถึงอาคารแรกที่อยู่ติดกับลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์

หลังจากเวลาปีกว่าที่ถูกปิดล้อมด้วย ป้ายขนาดใหญ่ มีข้อความเรียกร้องความสนใจได้เป็นอย่างดีว่า "เตรียมพบกับปรากฏการณ์ใหม่ ที่จะเปลี่ยนมุมมองของคุณ บนถนนประวัติศาสตร์สายนี้" อาคาร หลังนี้ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมาในรูปแบบของ "อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์"

ด้วยทำเลที่เป็นราวกับประตูสู่ราชธานีในอดีต ประกอบกับนัยสำคัญทางประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจของถนนราชดำเนินกลาง รวมถึงการมีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของสถานที่ ก่อนการเปิดตัวนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ อาคารหลังนี้จึงถูกจับตาและคาดเดาไปต่างๆ ว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ จะให้ใครเช่าต่อ หรือจะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนมุมมองของถนนสายนี้

"นิทรรศน์รัตนโกสินทร์คืออาคารรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของยุคสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่เริ่มสถาปนาจนปัจจุบัน รวบรวมพัฒนาการตลอด ยุคสมัย รวบรวมกิจกรรมตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งกิจกรรมของกษัตริย์ไปยันสามัญชน เพียงแต่ผู้ชมต้องเปิดใจถึงจะเข้าใจความหมายตรงนี้" คำนิยามแบบรวบยอดจากเผ่าทอง ทองเจือ หนึ่งในที่ปรึกษาอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

นับตั้งแต่การบูรณะและรื้อถอนโครงสร้างภายในอาคาร ตลอดจนการวางระบบ และการออกแบบจัดแสดง สำนักงานทรัพย์สินฯ ต้องทุ่มงบไปทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท ในการเนรมิตอาคารแห่งนี้ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์อันเกี่ยวกับกรุงรัตนโกสินทร์ ภายใต้การออกแบบ ดูแลโดย "ไร้ท์แมน" บริษัทผู้รับออกแบบและก่อสร้างนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง

และจากความสำเร็จในการออกแบบ "พิพิธภัณฑ์ลูกหลานมังกร" ที่จังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทไรท์แมนจึงได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานทรัพย์สินฯ ให้เป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบ และก่อสร้าง รวมถึงการบริหารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ตัวอาคาร จอแอลซีดีอินเตอร์แอคทีฟขนาดยักษ์กลางโถงรับรอง ค่อยๆ ทำให้ภาพเดิมของพิพิธภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมในใจใครหลายคนเริ่มเลือนหายไป และเชื่อว่าเมื่อออกจากอาคารแห่งนี้ไป ความน่าเบื่อของภาพจำแบบเดิมคงหมดไปที่สุด

เพราะไม่เพียงเทคนิคอินเตอร์แอคทีฟที่ล็อบบี้ในห้องจัดแสดงของอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ยังมีเทคโนโลยีการนำเสนอที่ทันสมัยหลากหลายรูปแบบ ซึ่งถูกนำมาใช้จัดแสดง อย่างไม่ซ้ำกันในแต่ละห้อง โดยมีทั้งเทคนิคโรงภาพยนตร์ 4 มิติ, หุ่นจำลอง, เมจิกวิชั่น, ทัชสกรีน, จอฉายหนัง 360 องศา, เกมอินเตอร์แอคทีฟ, โทรทัศน์ถ่ายทอดสด และแอนนิเมชั่น เป็นต้น

นี่ยังไม่นับรวมลูกเล่นที่เพิ่มความตื่นตาตื่นใจ ผ่านการออกแบบและตกแต่งสถานที่ที่จำลองเอาพื้นวัด พื้นบ้าน พื้นในพระบรมมหาราชวัง และหน้าต่างวัง หรือระเบียงเรือนไทยโบราณ ตลอดจนจำลองเอาพระแก้วมรกต ยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้ง มาจัดแสดงไว้ที่นี่

เริ่มด้วยการเดินอ่านข้อมูลบนผนังแห่งประวัติศาสตร์ที่ไล่เรื่องเหตุการณ์สำคัญในยุครัตนโกสินทร์ ทั้งเหตุการณ์ในเมืองไทยเทียบกับเหตุการณ์โลกที่เกิด ณ เวลาเดียวกัน โดยเริ่ม นับจากวันแรกจนถึงปีที่ 228 ก่อนที่ผู้ชมจะถูกพาย้อนเวลากลับไปสู่ปีวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 อันเป็นวันสถาปนากรุงเทพฯ ในห้องจัดแสดงถัดไป

การจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็นทั้งหมด 9 ห้อง (อีก 2 ห้องสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า) เปรียบได้กับ "นพรัตน์" หรือแก้วมิ่งมงคล 9 ประการ ซึ่งแต่ละห้องถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ของอัญมณีแต่ละอย่าง และถูกตั้งชื่อให้คล้องจองกัน เช่นเดียวกับประตูพระบรมมหาราชวังที่ล้วนมีชื่อคล้องจองกันทั้ง 12 ประตู   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us