|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

ตลอดระยะเวลา 17 ปี ที่บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นมา ดูเหมือนว่าธุรกิจจะดำเนินไปอย่างราบรื่นแต่การทำงานช่วง 2-3 ปีนี้ การทำธุรกิจของไมโครซอฟท์ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
แม้ว่าตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์แทบจะครองส่วนแบ่งการตลาดเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ตาม เพราะทุกบ้านและองค์กรเกือบทุกแห่งใช้ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์
หากพิจารณาการใช้ซอฟต์แวร์จำนวนมากในประเทศไทย ก็น่าจะทำให้บริษัทแห่งนี้มีรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ทว่าในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ใช้ซอฟต์แวร์บางส่วนยังใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ถึงร้อยละ 76
จึงไม่น่าแปลกใจว่า บริษัทไมโครซอฟท์ก่อตั้งในเมืองไทยมาถึง 17 ปี แต่มีรายได้เทียบเท่ากับธุรกิจเอสเอ็มอีบางรายเท่านั้น อย่างเช่นล่าสุด ผลประกอบการปี 2552 (สิ้นสุดเดือนมิถุนายน) มีรายได้ 1,212,111,821 บาท มีกำไร 71,313,262 บาท
ดังนั้น กลยุทธ์ในการรณรงค์ให้ผู้ใช้หันมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ก็ยังดำเนินต่อไป ในขณะที่โจทย์ใหม่ในการใช้เทคโนโลยีของลูกค้าก็เริ่มเปลี่ยนไป โดยเฉพาะลูกค้าในระดับองค์กรที่ไม่ต้องการเพียงซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์มาสนับสนุนการทำงานเท่านั้น
"ลูกค้าไม่ได้ต้องการวินโดวส์ออฟฟิศ เพียงอย่างเดียว ลูกค้าต้องการบิซิเนส แอพพลิเคชั่น ถ้าเป็นลูกค้าองค์กรต้องการเทคโน โลยีมาช่วยบริหารจัดการ เรียกว่าบิซิเนส อิเทลลิเจนท์ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล การทำตลาดในยุคนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย" เป็นคำกล่าวของปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด
จึงเป็นสาเหตุทำให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องแข่งขันกับคู่แข่งที่มีประสบการณ์แข็งแกร่งอยู่ในตลาด ไม่ว่าจะเป็นไอบีเอ็ม ออราเคิล เดลล์ เป็นต้น
ปฐมาเริ่มปรับโมเดลธุรกิจ รับพนักงานเพิ่มกว่า 1 เท่าตัวจาก 100 กว่าคนเป็น 300 คน เพื่อจัดโครงสร้างการให้บริการกับลูกค้าและร่วมงานกับพันธมิตรที่มีกว่า 1 พัน รายให้ใกล้ชิดมากขึ้น เพราะการเสนอขายสินค้าในรูปแบบของบริการโซลูชั่นนั้นต้องมีองค์ประกอบหลายส่วน ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮารด์แวร์ การวิจัยและพัฒนาบริการให้สอด คล้องกับธุรกิจ รวมไปถึงบริการหลังการขาย
คู่แข่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไมโครซอฟท์ต้องปรับตัว แต่ยังมีส่วนอื่นๆ ที่ผลักดันทำให้บริษัทต้องปรับตัวอีกก็คือพฤติกรรมของผู้บริโภค และการพัฒนาเทคโนโลยี
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะสังคมการติดต่อสื่อสารข้อมูลกลายเป็นสังคมที่เรียกว่า social network ผู้คนเริ่มติดต่อสื่อสารและมีสังคมเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น เหมือนดั่งเช่นการมี Facebook Twitter Yahoo Google หรือ MSN
ส่วนการพัฒนาเทคโนโลยีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 10 ปี ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในยุคที่ 5 ของเทคโนโลยีที่เรียกว่า the fifth generation of the computing
เทคโนโลยียุคที่ 5 จะเริ่มมีการพูดถึง คราวด์ คอมพิวติ้ง (cloud computing) มากขึ้นและเริ่มเห็นเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะ ในฝั่งของผู้ขายเทคโนโลยี อย่างเช่นไมโครซอฟท์ ไอบีเอ็ม เอชพี และออราเคิล
คราวด์ คอมพิวติ้ง เป็นระบบประมวลผลข้อมูล ที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องรู้ว่าระบบการทำงานของเทคโนโลยีอยู่ที่ไหน บนโลกแห่งนี้ คราวด์ คอมพิวติ้ง จึงเปรียบเปรยว่าเป็นระบบประมวลผลบนเมฆ (cloud computing)
เหมือนดั่งเช่น บริการในรูปแบบของคราวด์ คอมพิวติ้ง คือ Utube facebook Hi-5 หรือ IE 8 โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปแสดง ความคิดเห็น เล่นเกม หรือนำรูปขึ้นไปเก็บไว้บนเว็บไซต์ต่างๆ
แต่การให้บริการคราวด์ คอมพิวติ้ง จะมี 2 รูปแบบคือ พับบลิก คราวด์ (Public cloud) และไพรเวท คราวด์ (Private cloud)
บริการของยูทูป เฟสบุ๊ก หรือไฮไฟ เป็นบริการในส่วนของพับบลิก คราวด์ ส่วน ไพรเวท คราวด์ ยังอยู่ระหว่างเริ่มต้น
ประโยชน์ของคราวด์ คอมพิวติ้งในส่วนของไพรเวท คราวด์จะเข้าไปช่วยประมวลผลข้อมูล เช่น บริการซีอาร์เอ็ม (Customer Relation Management: CRM) บริการคอลล์ เซ็นเตอร์ โดยที่องค์กรไม่ต้อง ลงทุนซื้อเทคโนโลยีทั้งหมดแต่บริษัทสามารถ จ่ายในรูปแบบค่าเช่าใช้บริการ
จุดเด่นของคราวด์ คอมพิวติ้ง จึงเหมือนช่วยประหยัดต้นทุนด้านเทคโนโลยีที่เจ้าของไม่ต้องลงทุนด้วยเงินจำนวนสูง ดูแลบำรุงรักษา และสิ่งสำคัญระบบความปลอดภัยของข้อมูลจะได้รับการดูแลจากผู้ให้บริการ
ส่วนผู้ให้บริการคราวด์ คอมพิวติ้ง มีหลายระดับที่เกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่ผู้ให้บริการติดตั้งเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย ดูแลฐานข้อมูล และผู้ให้บริการโปรแกรมต่างๆ เช่นโปรแกรมการขนส่งสินค้า, โปรแกรมการดูแลลูกค้าหลังการขาย
แนวคิดของคราวด์ คอมพิวติ้ง ทำให้ บริษัทไมโครซอฟท์ในประเทศไทย มีแผนที่จะให้บริการนี้เช่นกัน เพราะมีประสบการณ์ ให้บริการการจัดการความปลอดภัย และบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริการมอนิเตอร์ด้านสุขภาพ หรือสร้างชุมชนออนไลน์แบบเรียลไทม์
ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นมาของไมโครซอฟท์สามารถรองรับคราวด์ คอมพิวติ้ง เช่น ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซอฟต์แวร์ ซีอาร์เอ็ม และเซิร์ฟเวอร์
แม้ว่าจะเริ่มมีการกล่าวถึงคราวด์ คอมพิวติ้งเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่การให้บริการมีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน ทำให้ไมโครซอฟท์อยู่ในช่วงเวลาจัดเก็บข้อมูล เพราะบริการดังกล่าวจะมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล ส่วนตัว และระดับองค์กร
รวมไปจนถึงความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้วยกันที่จะทำหน้าที่อยู่เบื้องหลัง จะแบ่งบทบาทหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบอย่างไร
แต่ไมโครซอฟท์เชื่อว่าคราวด์ คอมพิวติ้ง เป็นแนวโน้มบริการเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้น แต่ปีนี้เป็นปีแรกในเมืองไทย ที่ผู้ให้บริการคราวด์ คอมพิวติ้งเริ่มกล่าวถึงอย่างจริงจัง
ในขณะที่ไมโครซอฟท์ตามติดเทคโน โลยีคราว์ คอมพิวติ้ง แต่ในส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ที่บริษัทเร่งผลักดันให้เกิดการใช้งานมากขึ้น ก็คือซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ได้เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
และในช่วงระยะเวลา 3-4 เดือน กรรมการผู้จัดการบริษัทไมโครซอฟท์ กล่าวว่าวินโดวส์ 7 ได้รับการตอบรับจากลูกค้าบุคคลทั่วไปค่อนข้างมาก
สิ่งที่จูงใจทำให้วินโดวส์ 7 ได้รับการตอบรับ อาจเป็นเพราะว่าไมโครซอฟท์นำกลยุทธ์ราคามาขายราคาเพียง 2,777 บาทในวันเปิดตัวครั้งแรก และมีช่องทางการจำหน่ายให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น โดยซื้อผ่านอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบริการผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสเซเว่นอีเลฟเว่น
และอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้วินโดวส์ 7 ได้รับการยอมรับเพราะโปรแกรมเป็นภาษาไทย จึงทำให้เกิดความเข้าใจง่ายและไม่ซับซ้อน
ในส่วนของวินโดวส์ ออฟฟิศ เพื่อเจาะกลู่มลูกค้าองค์กร อยู่ระหว่างการทำตลาด แต่ไมโครซอฟท์ก็เชื่อว่าลูกค้าจะหันมาใช้เพิ่มขึ้น หลังจากเปิดตัววินโดวส์ เอ็กซ์พี ห่างวินโดวส์ 7 กว่า 10 ปี โดยไม่รวมซอฟต์ แวร์วิสต้าที่มีปัญหาด้านการใช้งานจนทำให้ลูกค้าไม่ตอบรับ
การใช้วินโดวส์ 7 เริ่มแพร่หลายมาก ขึ้น แต่ไมโครซอฟท์ก็ไม่ละเลยรณรงค์ให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย เพราะการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมายในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชีย
ปฐมายังได้ย้ำว่าผลกระทบการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ประเทศไทย ติดไวรัสเป็นอันดับที่สองในเอเชีย รองจากประเทศเกาหลีใต้
แม้ว่าไมโครซอฟท์จะพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมาโดยตลอด ด้วยการร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร บีเอสเอ บริษัทยังได้เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าทั่วไปหันมาใช้สินค้าถูกต้องมากขึ้น ด้วยการเปิด Microsoft Experience Gallery เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่ไอทีมอลล์ ชั้น 3 ฟอร์จูนทาวน์ บนถนนรัชดาภิเษก เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
แกลเลอรีแห่งนี้มีเป้าหมายรณรงค์ให้ลูกค้าหันมาใช้ซอฟต์แวร์แท้ และเป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์และพันธมิตร โดยไม่มีเป้าหมายขายสินค้าแต่อย่างใด
แต่เป้าหมายหลักของการเปิดแกลเลอรีของไมโครซอฟท์ ก็เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า รีเทล หรือบุคคลทั่วไปมากขึ้น เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการขายให้กับพันธมิตร ซึ่งทำหน้าที่เป็นช่องทางการขายหนึ่งของไมโครซอฟท์
แม้ว่าสิ่งที่ไมโครซอฟท์ทำอยู่ทุกวันนี้ มองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาปลายทางก็ตามที แต่ไมโครซอฟท์ก็ใช้ช่องทางอื่นๆ ควบคู่กันไปคือการเข้าถึง เยาวชน นักเรียน นักศึกษา จึงทำให้แต่ละปีไมโครซอฟท์ใช้งบ ทางด้านการศึกษาและช่วยเหลือ นักพัฒนาปีละ 30 ล้านบาท
ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ให้มีการนำเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์เข้าไปช่วยด้านการเรียน ทางอ้อมก็เป็นการช่วยให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้เรียนรู้เพื่อจะใช้ซอฟต์แวร์ของแท้ด้วย
การส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ เริ่มมาเห็นโดดเด่นในยุคของปฐมา หลังจากที่เธอเข้ามารับตำแหน่งในปี 2550
ปฐมาได้ริเริ่มโครงการใหม่ๆ เช่น Microsoft Executive Trainee ให้นักศึกษา เข้ามาร่วมทำงานกับบริษัทเป็นเวลา 1 ปี หมุนเวียนไปตามแผนกต่างๆ เพื่อเรียนรู้งานและยังมีโครงการ Microsoft Windows Multipoint เป็นโครงการให้เข้าถึงเทคโนโลยี ที่มีอย่างจำกัด นักเรียนสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันได้และมีเมาส์หลายๆ ตัวช่วยในการเรียน ปัจจุบันเริ่มให้บริการกับ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนสวนลุมพินี โรงเรียนปิยชาติพัฒนา
ส่วนโครงการ Partner in Learning ได้ทำต่อเนื่องมาเป็นเวลา 5 ปี ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการคัดเลือกครู และนักเรียนจากจังหวัดต่างๆ นำมาแข่งระดับภูมิภาค และไปแข่งระดับโลก ครูที่ได้รับการคัดเลือกจะกลับมาเผยแพร่ประสบการณ์ที่ได้รับมา
การสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ไมโครซอฟท์ทำมาโดย ตลอด เช่น Microsoft BizSpark ผลักดันให้ ผู้ประกอบการพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหม่ให้ใช้ซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์และหาพันธมิตรให้กู้เงินเพื่อลงทุนธุรกิจ
แม้ว่าจะมีโครงการที่ทำต่อเนื่องกันมาแต่ก็มีบางโครงการต้องหยุดชะงักไป เช่น Microsoft Student Innovation Suite ขายซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาในราคา 3 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 100 บาท) โครงการนี้ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะรัฐบาล จะต้องสนับสนุนด้านเงินทุน และที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ได้ร่วมมือกับรัฐบาลมา 4 สมัย แต่โครงการก็ยังไปไม่ถึงไหน
กลยุทธ์การทำงานของไมโครซอฟท์ในประเทศไทยจะสังเกตได้ว่าบริษัทจะเข้า ไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ใช้เกือบทุกช่วงอายุ เริ่มตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ประกอบการรายใหม่ นักพัฒนา ไปจนถึงความร่วมมือกับองค์กรรายใหญ่
ปฐมาให้เหตุผลว่าหน้าที่หลักส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์ในเมืองไทย คือสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นในประเทศ ถ้าพาร์ตเนอร์โต ย่อมแสดงว่าไมโครซอฟท์ก็ต้องโตเช่นกัน
|
|
 |
|
|