Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553
เจนนิสา คูวินิชกุล เครือข่ายและสายสัมพันธ์คือทางรอดของธุรกิจ             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอ็มที อลูเม็ท จำกัด

   
search resources

Metal and Steel
เอ็ม ที อลูเม็ท, บจก.
เจนนิสา คูวินิชกุล




เจนนิสา คูวินิชกุล ตัดสินใจออกไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์หลังจากจบการศึกษา โดยยังไม่เริ่มทำงานกับครอบครัวตั้งแต่แรก ผลจากการเรียนรู้โลกธุรกิจภายนอกสามารถนำมาเชื่อมโยงกับธุรกิจให้กับครอบครัวในท้ายที่สุด

แม้ว่ามุมมองของเจนนิสา วัย 31 ปีบอกกับผู้จัดการ 360 ํ ว่า ธุรกิจอะลูมิเนียมของครอบครัวที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เป็นธุรกิจที่ไม่เซ็กซี่ เพราะชีวิตการทำงาน ต้องคลุกอยู่แต่ในโรงงานตลอดทั้งวัน จนเธอบอกอย่างอารมณ์ดีว่าได้กลายเป็นสาวโรงงานไปเรียบร้อยแล้ว

เจนนิสาเป็นลูกสาวคนโตในจำนวน 3 พี่น้องของบิดา-ธเนศ และมารดา-อัญชัญ ส่วนน้องอีก 2 คนอยู่ระหว่างการศึกษา แต่เป้าหมายของทั้งสามพี่น้องคือกลับมาสืบทอดธุรกิจให้ครอบครัว

ประสบการณ์การทำงานของเจนนิสาในช่วงระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมาในการแสวงหาความรู้จากภายนอก เกิดจากการผลักดันของครอบครัว และความปรารถนาของเธอเองที่ต้องการเรียนรู้โลกธุรกิจภายนอก

ทำให้เธอตัดสินใจเลือกเรียนคณะบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจที่ Harvard Business School ในบอสตัน สหรัฐอเมริกา

การเลือกเรียนที่ Harvard ของเจนนิสา เป็นเป้าหมายของเธอที่ต้องการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน เพราะเธอมองว่านักเรียนที่นี่มาจากหลายธุรกิจและเป็นธุรกิจชั้นนำของโลก

ดังนั้น การมีเครือข่ายย่อมสร้างโอกาสให้เธอได้เรียนรู้ธุรกิจหรือขอคำแนะนำ และในอนาคตสามารถต่อยอดให้กับธุรกิจของครอบครัว และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ขณะนี้น้องของเจนนิสากำลังเรียนอยู่ในสถาบันนี้เช่นเดียวกัน

มีหลายคนที่จบจาก Harvard เช่น บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการบริหาร และประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย

ส่วนเพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนไทยของเจนนิสา ก็มีฐาปนี สิริวัฒนภักดี บุตรสาวของเจริญ สิริวัฒนภักดี กลุ่มธุรกิจเบียร์ช้าง หรือณัฐธีรา บุญศรี หนึ่งในทายาทตระกูลเซ็นทรัล

แม้ว่าเจนนิสาจะจบจาก Harvard แล้วก็ตาม แต่เธอยังมีบทบาทเป็นกรรมการของสมาคมศิษย์เก่า (Harvard Club of Thailand) อยู่ในปัจจุบัน

การเรียน Harvard เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง และศิษย์เก่าที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในประเทศไทย

เจนนิสาเริ่มศึกษาตลาดอะลูมิเนียมในต่างประเทศอย่างจริงจัง ด้วยการเข้าไปทำงานในบริษัทเกล็นคอร์ ฮ่องกง ที่ดำเนินธุรกิจเป็นซัปพลายเออร์ด้านวัตถุดิบและสินค้าต่างๆ เจนนิสาทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ด้านการบริหารธุรกิจและผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการด้านสัญญาธุรกิจ

ด้วยประสบการณ์การทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เจนนิสาตัดสินใจก่อตั้ง บริษัทพรอสต้า จำกัด ในฮ่องกงและนั่งในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เพื่อจำหน่ายสินค้าอะลูมิเนียมให้กับประเทศจีน และปัจจุบันบริษัทพรอสต้าเป็นบริษัทในเครือของบริษัทเอ็ม ที อลูเม็ทฯ

นอกเหนือจากการเรียนรู้ทางด้านธุรกิจอะลูมิเนียม เจนนิสายังศึกษาธุรกิจทางด้านการเงิน เพราะในช่วงที่เธอเรียนใน Harvard เธอได้เข้าไปฝึกงานที่ซิตี้กรุ๊ปในฮ่องกง แม้ว่าจะเป็นช่วงระยะสั้นๆ แต่ก็ ทำให้เธอตัดสินใจเข้าไปทำงานในบริษัท แมคคินซี แอนด์ คอมพานีในประเทศสิงคโปร์ เพื่อเรียนรู้ธุรกิจด้านการเงินเพิ่มเติม

ประสบการณ์การทำงานในโลกธุรกิจภายนอกของเจนนิสาเกิดขึ้นจากความสนใจของเธอ และเป็นการปูพื้นฐานธุรกิจจากภายนอก ก่อนที่จะเข้ามาทำงานอย่างเต็มที่เมื่อปีที่ผ่านมา

บิดาและมารดาของเธอมองว่า หลังจากที่เจนนิสาเข้ามาบริหารงาน จะเป็นช่วงเวลาก้าวกระโดดของบริษัท เพราะเป็นช่วงเวลาสร้างธุรกิจในมิติต่างๆ ให้แข็งแกร่งขึ้น ทั้งด้านการตลาด เทคโนโลยีและเงินทุน และสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาเติมเต็มให้ธุรกิจเดินหน้าไปข้างหน้า นั่นก็คือการสร้างเครือข่ายของเจนนิสาจะช่วยทำให้ธุรกิจเกิดการต่อยอดได้มากขึ้น

สิ่งที่สร้างขวัญและกำลังใจให้กับเจนนิสา นอกจากพ่อแม่ของเธอแล้วการนิมนต์ เจ้าอาวาสวัดยานนาวาไปทำบุญที่โรงงานถนนบางนา-ตราด 42 จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อปลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่า จะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ไม่น้อย เพราะมีการทายทักว่า เจนนิสาจะเป็นคนที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จ

มารดาของเจนนิสาบอกว่า เธอเป็นคนทำงานเร็วเหมือนติดจรวด จนบางครั้งคิดตามไม่ทัน แต่ในหน้าที่ของพ่อแม่คือการสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง เพื่อประคับประคองให้ธุรกิจผ่านปัญหาและอุปสรรค ดังนั้น การทำงานในช่วงระยะเวลานี้ จึงเป็นการประสานการทำงานระหว่างรุ่นบิดามารดารุ่นที่ 1 และรุ่นลูก ซึ่งเป็นรุ่นที่ 2

ที่ผ่านมาบริษัทพบอุปสรรคในการบริหารงานค่อนข้างหนัก จากทั้งวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ธเนศและอัญชัญก็หวังว่าธุรกิจในอนาคตจะดำเนินไปด้วยดี

"เราจะเริ่มรีไทร์ตัวเอง หลังจากที่ลูกๆ เข้ามาช่วยงานกันจนครบแล้ว" เป็นคำกล่าวทิ้งท้ายของบิดาและมารดาของเจนนิสา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us