Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553
แล้วก็ถึงคราว...ธนาคารนครหลวงไทย             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

เปรียบเทียบสถานะของธนาคารธนชาตและธนาคารนครหลวงไทย ณ 31 ธันวาคม 2552


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย
โฮมเพจ ธนาคารธนชาต
โฮมเพจ ธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
ธนาคารธนชาต, บมจ.
Banking
ธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย




"ปิดตำนานธนาคารนครหลวงไทย" กลายเป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์รายวันในหน้าเศรษฐกิจแทบทุกฉบับ หลังจากที่ธนาคารธนชาตได้รับสิทธิ์ในการซื้อกิจการธนาคารที่มีอายุยาวนานถึง 69 ปี

ข่าวคราวการซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยในช่วงระยะกว่า 2 ปีผ่านมาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากธนาคารต่างชาติที่มีเงินทุนหนา

งานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 เวลา 16.00 น. ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมีผู้ร่วมแถลง 3 รายคือ อุไร ลิ้มปิติ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายจัดการกองทุน ธปท. ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารนครหลวงไทยจำนวนร้อยละ 47.58 อยู่ในฝั่งของผู้ขาย

คนที่สอง บันเทิง ตันติวิท ประธาน กรรมการธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และมิเชล ควอค รองประธานบริหารอาวุโส ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง สโกเทียแบงก์ ในฐานะผู้ซื้อ

แม้ว่าในสัญญาการซื้อขายเป็นการร่วมลงนามระหว่างผู้บริหาร 3 รายคือ อุไร ลิ้มปิติ มิเชล คว๊อค และศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ธนชาต

แต่งานแถลงข่าวในฝั่งของธนชาต ได้เปิดทางให้บันเทิง ตันติวิทเป็นผู้แถลงหลัก ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวต่อสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในรอบกว่า 10 ปี

ธนาคารธนชาตเป็นธนาคารที่มีผู้ถือหุ้นหลักอยู่ 2 กลุ่มคือ บมจ.ทุนธนชาต ที่มีกลุ่มบริษัทเอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารศูนย์การค้ามาบุญครอง เป็นผู้ถือหุ้นหลัก ส่วนสโกเทียแบงก์ถือหุ้นในธนาคาร ธนชาตร้อยละ 48.99 โดยเริ่มเข้ามาถือหุ้น ตั้งแต่ปี 2550

สโกเทียแบงก์เป็นสถาบันการเงินจากประเทศแคนาดาที่มีอายุ 176 ปี เป็นธนาคารอันดับ 10 ในทวีปอเมริกาเหนือ

สโกเทียแบงก์ไม่ได้เป็นหน้าใหม่ในแวดวงสถาบันการเงินไทย แต่เป็นธนาคาร ที่มีความผูกพันกับธนชาตมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ยังใช้ชื่อว่าธนาคารโนวาสโกเทีย และธนชาตยังมีสถานะเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาติ

สโกเทียแบงก์เป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ร่วมในการปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทมาบุญ ครองอบพืชและไซโล เพื่อมาก่อสร้างศูนย์ การค้ามาบุญครองที่มีธนาคารไทยพาณิชย์ และบงล.ธนชาติเป็นแกนนำ ซึ่งถือเป็นตำนานแห่งการติดตามหนี้ เป็นกรณีศึกษา ที่น่าสนใจมากที่สุดเมื่อ 20 กว่าปีก่อน

(รายละเอียดอ่านเรื่อง "อนุสรณ์แห่ง โชคชะตามาบุญครอง" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2529 หรือใน www. gotomanager.com)

จนถึงปัจจุบันสโกเทียแบงก์ถือหุ้น อยู่ในธนาคารธนชาต และเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนหลักอยู่เบื้องหลังของธนาคารธนชาต มาโดยตลอด

และสิ่งที่ยืนยันสถานภาพการเงินที่มั่นคงของสโกเทียแบงก์ เห็นได้จากวิกฤติ การเงินเมื่อปี 2550-2552 ที่ผ่านมา แทบจะไม่ได้รับผลกระทบ

สโกเทียแบงก์มีสินทรัพย์รวม 462 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นธนาคารที่มีรายได้ ติด 1 ใน 5 ของโลก และมีลูกค้าประมาณ 12.5 ล้านคนใน 50 ประเทศทั่วโลก และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งโทรอนโต และตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารธนชาตได้รับเลือกเป็นผู้ซื้อหุ้นในธนาคารนครหลวง ไทย และเบียดคู่แข่งยักษ์ใหญ่ด้านการเงินอีก 4 รายตกไป ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) จากประเทศอังกฤษ หรือธนาคาร ICBC จากประเทศจีน

ธนาคารนครหลวงไทยมีอายุ 69 ปี ในปีนี้ ก่อตั้งโดยคณะบุคคลของรัฐบาลและ สมาชิกในราชวงศ์ จึงทำให้ธนาคารแห่งนี้ใช้สัญลักษณ์ตราชฎา และใช้สีแดงเป็นเครื่องหมายของธนาคาร

เมื่อปี 2545 ธนาคารนครหลวงไทย ได้ควบรวมกิจการกับธนาคารศรีนคร กลาย เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีสินทรัพย์สูงเป็นอันดับที่ 7 หรือ 4.24 แสนล้านบาท และธนาคารมีกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ร้อยละ 47.58 ส่วนที่เหลือเป็นผู้ถือหุ้น รายย่อยในตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกร้อยละ 52.42

ธนาคารธนชาตใช้เงินราว 68,000 ล้านบาท ซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทย แบ่งซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูทั้งหมดในราคา หุ้นละ 32.50 บาท จากหุ้นที่ครอบครอง 1,005,330,950 หุ้น หรือเป็นเงินราว 32,000 ล้านบาท ส่วนหุ้นรายย่อยธนาคารจะซื้อใน ราคาเดียวกัน

ว่ากันว่า งานนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ได้กำไร 2 หมื่นล้านบาท เพราะราคาตามบัญชีอยู่ที่ 19 บาทต่อหุ้น

สำหรับเงินทุนที่นำมาซื้อมาจาก 2 ส่วน ส่วนแรกจากการเพิ่มทุนและออกหุ้นกู้ 42,000 ล้านบาท ส่วนกว่าอีก 20,000 ล้านบาท เป็นเงินสดของธนาคารที่ได้เตรียมการล่วงหน้าไว้แล้ว

กระบวนการซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทยรวมไปถึงการรวมทรัพย์สินและหนี้สินจะใช้เวลา 2 ปี หรือสิ้นสุดในสิ้นปี 2554

ซึ่งหมายความว่าตั้งแต่ต้นปี 2555 ชื่อธนาคารนครหลวงไทยก็จะไม่มีอีกต่อไป!! และจะถูกแทนที่โดยแบรนด์ธนาคารธนชาต

การเข้าซื้อกิจการของธนาคารธนชาตในครั้งนี้ ทำให้ธนาคารกระโดดไปเป็นธนาคารที่มีสินทรัพย์สูงเป็นอันดับ 5 โดยมีสินทรัพย์รวม 8 แสนล้านบาท มีสาขา 677 แห่ง มีตู้เอทีเอ็ม 2,101 เครื่อง และมีลูกค้าประมาณ 4 ล้านราย

ไม่เพียงสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า แต่ด้วยจำนวนสาขาและเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารนครหลวงไทยที่มีมากกว่าธนาคารธนชาต 2-3 เท่าตัว ทำให้ยุทธศาสตร์ของธนาคารธนชาตชัดเจนขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะเป้าหมายของธนชาต คือการเป็นธนาคารที่ให้บริการครบวงจร (Universal Banking) โดยเฉพาะการให้บริการลูกค้ารายย่อย

แต่สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ธนาคารธนชาตได้จากการซื้อกิจการในครั้งนี้ คือบุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหาร

เพราะบันเทิงบอกว่า ที่ผ่านมาธนาคารธนชาตขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ ขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะระดับผู้บริหาร จึงเป็นเรื่องดีที่จะคัดสรรผู้บริหารเข้ามาร่วมทำงาน

ปัจจุบันประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารธนชาตคือ ศุภเดช พูนพิพัฒน์ ส่วนธนาคารนครหลวงไทย มีชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่

สำหรับพนักงานระดับกลางและล่าง หลังจากรวมกันแล้วจะมีประมาณ 14,521 คน แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยว่าจะมีการปลดพนักงานหรือไม่นั้น เพราะต้องรอ กระบวนการขั้นตอนต่อไป แต่พื้นที่ตั้งสาขา บางแห่งมีจุดทับซ้อนกันอยู่ 60-70 แห่ง

ธนาคารธนชาตเป็นธนาคารขนาดเล็ก ส่วนธนาคารนครหลวงไทยเป็นธนาคาร ขนาดกลางทั้งสองแห่งมีบริษัทลูกที่อยู่ภาย ใต้การดูแลเหมือนกันทุกอย่าง คือบริษัทหลักทรัพย์, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน, บริษัทประกันภัย, บริษัทประกันชีวิต และบริษัทลิสซิ่ง ดำเนินธุรกิจเช่าซื้อ (ดูตารางประกอบ)

แต่ทั้งสองธนาคารก็มีจุดแข็งที่ต่างกัน ธนาคารธนชาตมีจุดแข็งด้านให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ ส่วนนครหลวงไทยมีจุดเด่น ให้บริการสินเชื่อธุรกิจและจำนวนสาขา

การเข้าซื้อกิจการธนาคารไทยของสถาบันการเงินในต่างประเทศ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธวิถีของทุนนิยมไปได้

เหมือนดั่งเช่นกลุ่มไอเอ็นจีจากประเทศเนเธอร์แลนด์เข้าซื้อกิจการธนาคาร ทหารไทย และตอนนี้ชื่อของธนาคารก็ถูกเรียกสั้นๆ จนคุ้นเคยว่าทีเอ็มบี (TMB) หรือ ไทยธนาคารที่กลุ่มซีไอเอ็มบีจากมาเลเซียเข้ามาถือหุ้นใหญ่และเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

แม้แต่ธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็มีกลุ่ม จีอีจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในปัจจุบัน ส่วนธนาคารสินเอเซีย ธนาคารขนาดเล็กอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อหุ้นจากกลุ่มไอซีบีซี ประเทศจีน

ยุคการเปิดเสรีทางด้านการเงิน กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าสถาบันการเงินประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง หลังจากเคยถูกเขย่าครั้งใหญ่จากวิกฤติ ปี 2540

คำว่าธนาคารลูกครึ่งน่าจะเริ่มกลับ มาได้ยินกันคุ้นหูอีกครั้งอย่างมากขึ้นและมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us