Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553
“บัณฑูร ล่ำซำ” ฟื้นรากเหง้าสู่อนาคตใหม่             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัณฑูร ล่ำซำ
Banking




ธนาคารกสิกรไทย (เคแบงก์) มีงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับบริการของธนาคารเฉลี่ยแล้วเกือบทุกอาทิตย์ บางอาทิตย์มีมากกว่า 1 งานจากหลายฝ่ายหลายผลิตภัณฑ์ของธนาคาร เฉลี่ยแล้วกสิกรไทยจึงเป็นธนาคารที่มีกิจกรรมมากกว่า 52 งานในหนึ่งปี หรือจะพูดให้ใกล้เคียงกว่านั้นก็ต้องบอกว่า มีงานนับร้อยงานต่อปี

แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานที่จะได้เห็นบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไปปรากฏตัว

เพราะแพลตฟอร์มของเคแบงก์ที่มีอยู่ ทั้งรูปแบบการดำเนินงานและผู้บริหาร มีผู้รับผิดชอบแต่ละงานชัดเจน แต่ถ้าเป็นงานที่เกี่ยวกับจีน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของเคแบงก์ยามนี้ ย่อมไม่พลาดที่จะได้เห็นการปรากฏตัวของบัณฑูร เช่นเดียวกับงานสัมมนา The Gateway to China: Insight, Strategy and Action เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2553 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม A-C โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว นักธุรกิจ ลูกค้าเคแบงก์ที่สนใจการลงทุนในจีนไม่ต่ำกว่า 500 คน จึงมีโอกาสฟังสัมมนาไปพร้อมๆ กับบัณฑูร ตลอดครึ่งวันแรกของการสัมมนา

(อ่านเรื่อง "ชีวิตที่เหลือของผมคือเมืองจีน" นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนมกราคม 2553 หรือใน www. gotomanager.com ประกอบ)

งานนี้เป็นงานแรกเกี่ยวกับความต่อเนื่องของการลงทุนในจีนที่เคแบงก์เริ่มไว้อย่างจริงจังเมื่อปี 2005 หรือ 5 ปีก่อนหน้านี้

เป็นการเดินเครื่องที่รวดเร็ว เพราะหลังจากเคแบงก์เซ็นเอ็มโอยูร่วมเป็น Operating Joint Venture กับหมินเซิงแบงก์ของจีนเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาก็จัดงานนี้ขึ้นภายในเดือนเดียว ขนาดที่ ฯพณฯ กว่าน มู่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ถึงกับเอ่ยปากว่า "เร็ว" เพราะที่ผ่านมาเห็นแต่คนไทยชอบเซ็นเอ็มโอยูแล้วเงียบ

ความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นเมื่อ 7 ปีก่อนหน้านี้

"วันหนึ่งก็ตื่นมาคิดดูว่า เอ๊ะ...เราขาดอะไรไปอย่างในชีวิต ประเทศที่อยู่ทางเหนือของประเทศไทยผมยังไม่รู้จักเลยว่าเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่า มีโอกาสหรือความน่าสนใจอะไรอย่างไร ทั้งที่เมื่อก่อนนี้คนจีนอพยพมาไทยเสื่อผืนหมอนใบ แล้วคนไทยส่วนมากรวมทั้งผมเองก็มีเลือดจีนด้วยกันทั้งนั้น"

บัณฑูร ล่ำซำ เล่าถึงจุดที่ทำให้เขาเริ่มสนใจจีนอย่างจริงจังครั้งแรกเมื่อ 7 ปีก่อน เมื่อคิดอย่างนั้นเขาก็เริ่มลุกไปจีนทันทีด้วยความรู้สึกว่า

"โดยนัยก็ไม่ต่างอะไรกับเสื่อผืนหมอนใบ ไม่รู้จักใครสักคนเดียว ภาษาจีนก็พูดไม่ได้สักคำ ไม่รู้ด้วยว่าจะไปทำอะไร แต่ขอไปหน่อยเถิด ไปแล้วก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของส่วนสำคัญของทั้งชีวิต ทั้งธุรกิจและทั้งส่วนตัวและทั้งเครือธนาคารกสิกรไทย"

คำพูดนี้สะท้อนถึงเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของเครือกสิกรไทยที่มองจีนเป็นสถานที่เติบโตของธนาคารในอนาคต แต่ก้าวใหญ่นี้ต้องเริ่มต้นด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง

การเริ่มต้นเข้าไปจับโจทย์การทำธุรกิจกับประเทศจีน เป็นเรื่องที่บัณฑูรรู้สึกตื่นเต้น และรู้สึกเป็นโชคดี ทั้งในเชิงของวิชาชีพและเรื่องส่วนตัว รวมทั้งเป็นเรื่องโชคดีสำหรับการมีสายเลือดจีนในตัว และความที่ประเทศไทยสามารถประสานกลมเกลียวเชื้อชาติจีนและไทยไว้ได้ดีได้โดยไม่มีการแตกแยก ทำให้แม้ว่าเขาจะเติบโตมาภายใต้อิทธิพลของโลกตะวันตก แต่เมื่อต้องการสร้างสัมพันธ์เพื่อทำธุรกิจกับรากเหง้าดั้งเดิมของตัวเองอย่างจีน ก็มีต้นทุนที่ทำให้ต่อติดได้เร็ว เพราะคนจีนตอบรับคนที่มีเชื้อสายจีน และไม่ได้มองความสัมพันธ์ในเชิงการค้าอย่างเดียว แต่ให้ความรู้สึกเป็นเหมือนเพื่อนและญาติ

"อันสายสัมพันธ์ในวงการธุรกิจนั้น ถ้าสาวกันไปสาวกันมาแล้ว มันก็จะวนเวียนกันอยู่ไม่กี่คนนี่เองแหละ!

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มตระกูลธุรกิจที่เป็นเชื้อสายจีน แต่เป็นคนจีนที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยปู่ทวด หรือสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 เป็นต้นมา

สายของสกุล "ล่ำซำ" ซึ่งเป็นฉายาจีน มีความหมายว่า "คนใส่เสื้อสีฟ้า" นั้น เป็นสายที่เกี่ยวกันกับหลายตระกูล ซึ่งเอ่ยมาแล้ว ก็คงไม่มีใครนึกถึง เช่นเกี่ยวกันกับตระกูลอึ๊งภากรณ์/หวั่งหลี/เทวกุล/ณ ป้อมเพชร/โพธิวิหค/ชวกุล/สุวรรณสุข/โมกขเวส/สีบุญเรือง/ตันสกุล/จูตระกูล/รัตนิน/สิมะเสถียร ฯลฯ" (เนื้อหาบางส่วนจากเรื่อง "ตระกูลล่ำซำ คนใส่เสื้อสีฟ้า" ตีพิมพ์ในนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนมีนาคม 2529 อ่านรายละเอียดได้ใน www.gotomanager.com)

บัณฑูรเริ่มเรียนภาษาจีนพร้อมกับที่เริ่มคิดถึงจีน และยังเรียนต่อเนื่องไม่เว้นแม้แต่ในวันสัมมนาที่เขาก็ใช้โอกาสในการเรียนภาษาจีนไปในตัว

ถ้าเป็นเสียงภาษาจีนเขายินดีฟังโดยไม่ผ่านหูฟังแปลภาษา แต่เมื่อไรที่เป็นเสียงภาษาไทยเขาจะเสียบหูฟังทันทีเพราะอยากรู้ว่าภาษาจีนพูดอย่างไร

ปี 2546 บัณฑูรพิมพ์นามบัตรใหม่ที่มี 3 ภาษา รวมทั้งชื่อจีนของเขา "หวู่ วั่น ทง" ก็ถูกพิมพ์ในนามบัตรใหม่ด้วยเช่นกัน พร้อมกับดึงบรรดาผู้บริหารที่รู้เรื่องและมีความสามารถเกี่ยวกับจีนมาร่วมงาน และประกาศนโยบาย 3 ภาษาในเคแบงก์ เอกสารทุกอย่างจะต้องมีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และจีน เหมือนเมื่อครั้งหนึ่งเขาก็เคยดำเนินนโยบาย 2 ภาษามาก่อน ในยุคที่พาธนาคารสู่สากล

(อ่านเรื่อง "เบื้องลึกความคิดบัณฑูร ล่ำซำ 'ธนาคารเป็นเรื่องสากล'" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2543 และ "บัณฑูร ล่ำซำ Role Model" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2546 หรือใน www.gotomanager.com)

อย่างไรก็ดี เคแบงก์ถือได้ว่าเพิ่งเริ่มต้นก้าวแรกในจีน แต่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ว่า จาก 1 สาขากับอีก 3 สำนักงานในวันนี้ ในอนาคต เมื่อสามารถขอใบอนุญาตเป็นธนาคารกสิกรไทย (ประเทศจีน) ได้เมื่อไร จีนจะเป็นสถานที่เติบโตของธนาคาร และวันหนึ่งอาจจะเติบโตและใหญ่กว่าธนาคารกสิกรไทยในประเทศไทย ซึ่งเป็นต้นกำเนิด

ดูเหมือนบัณฑูรจะมั่นใจไม่น้อยว่า อนาคตที่ว่านั้น จะมาถึงในวันหนึ่งข้างหน้าแน่นอนด้วยทีมงานที่ทำงานกันอย่างจริงจัง และเพราะความเชื่อลึกๆ ที่ว่า

"การทำธุรกิจในจีนไม่ใช่ทำง่ายๆ ไม่มีดวงก็ทำไม่ได้ ผมโชคดีที่ฟ้าเปิดให้สามารถไปจีนได้ แถมมีอาจารย์ทักว่ามีดวงทำได้ เลยมีกำลังใจ ไปมันทุกเดือน ไปเปิดหลายๆ ประตู เปิดแล้วตันอย่างน้อยก็ยังได้รู้ แต่ถ้าไม่เปิดก็จะไม่รู้เลยว่าประตูไหนมันตัน ประตูไหนเปิดแล้วมีทางให้เดินต่อไป กินเหล้าไปหลายร้อยจอก แต่ก็มีความก้าวหน้า รู้จักคน รู้จักระบบ รู้จักวัฒนธรรมคนจีนมากขึ้น แล้วก็โชคดีที่สามารถทำงานแล้วมีความสุขและรู้จักว่าโอกาสมีมหาศาล"

ทิ้งท้ายนิดหนึ่ง ถ้าใครคิดจะเช็กความนิยมของเคแบงก์ในจีน ขอให้เริ่มที่เซินเจิ้นและกรุณาเรียกให้ถูกว่า "ไท้หัวหนงหมินอิ๋นหัง" มิฉะนั้นเดี๋ยวจะหาว่าไม่เป็นที่รู้จัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us