Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553
“หมินเซิง” เพื่อนรักฟ้าประทานของ “หนงหมิน”             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย
โฮมเพจ ธนาคารไชน่า หมินเซิง

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
Banking
ธนาคารไชน่า หมินเซิง




เพิ่งผ่านไปไม่ถึงทศวรรษ ก่อนหน้านี้ที่ธนาคารกสิกรไทย หรือเคแบงก์ ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ตัวเองเป็นแบงก์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันด้วยภาพลักษณ์ที่เป็นสากล โดยเฉพาะเมื่อได้พูดคุยกับฝรั่งแล้วให้เข้าใจได้ว่านี่คือแบงก์ที่เป็นสากล ไม่ใช่ธนาคารของชาวนา จนถึงกับต้องเปลี่ยนชื่อเรียกจาก Thai Farmer Bank หรือ TFB มาสร้างเป็น K Brand เพื่อให้ลูกค้าเรียกได้คล่องกว่าชื่อเดิม

(อ่าน "ที่มาของชื่อ K Group" นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2548 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

แต่เมื่อวันหนึ่งที่เคแบงก์ตัดสินใจไปจีน จากชื่อจีนของธนาคาร "ไท้หัวหนงหมินอิ๋นหัง" คำว่า "หนงหมิน" ที่มีความหมายว่า "ชาวนา" กลับทำให้เคแบงก์เริ่มต้นเป็นที่รู้จักของคนจีนได้มากกว่า

"ผมไปหูหนานมีคนจีนที่นั่นบอกผมว่า เขาจำได้ว่ามีแบงก์ไทยที่เคยไปที่โน้นชื่อว่า "ไท้หัวหนงหมินอิ๋นหัง" พิษณุ เหรียญมหาสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับเชิญในฐานะผู้เชี่ยวชาญจีน ที่เคแบงก์เชิญมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับจีนให้ลูกค้า กล่าวถึงชื่อเสียงของเคแบงก์ในจีน

คนจีนในหูหนานอาจจะประทับใจกับเคแบงก์เป็นพิเศษ เพราะมีความหมายของชาวนาอยู่ในชื่อแบงก์ เนื่องจากหูหนานเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญของคนจีน ชื่อที่เคยคิดจะเปลี่ยนเพราะสับสนกับการทำธุรกรรมแบงก์ที่เป็นสากล จึงถูกนำกลับมาแนะนำตัวอีกครั้งสำหรับเคแบงก์ในเมืองจีน จนกระทั่งได้มารู้จักและร่วมทำธุรกิจกับหมินเซิงแบงก์ หรือธนาคารไชน่า หมินเซิง

หมินเซิงเป็นแบงก์อันดับ 8 ของจีน เป็นธนาคารเอกชน มีส่วนแบ่ง 3% ในตลาดจีน มี 400 กว่าสาขา ขณะที่ 4-5 อันดับแรกของแบงก์ที่ใหญ่สุดในจีน เป็นธนาคารของรัฐทั้งหมด

หมินเซิงรู้จักกับเคแบงก์ในแบบที่บัณฑูร ล่ำซำ เรียกว่า "วันดีคืนดีเหมือนฟ้าประทานให้มาเจอกัน" และพัฒนาความสัมพันธ์จนกระทั่ง "สามารถเริ่มโครงการมีความหมาย ความหมายในการที่จะไปปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีในจีน"

ในขณะที่ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายบริหารและพัฒนาธุรกิจสำนักงานต่างประเทศ สายงานบริหารยุทธศาสตร์องค์การ เล่ารายละเอียดว่าความสัมพันธ์ระหว่างเคแบงก์กับหมินเซินเกิดขึ้นได้เพราะมีแนวคิดการบริหารจัดการที่ใกล้เคียงกัน

"หมินเซินเพิ่งตั้งเมื่อปี 1996 อายุ 14 ปี เพิ่งเริ่มความสัมพันธ์กันปี 2005 ตอนนั้นสินทรัพย์เรากับเขาใกล้เคียงกันมาก แต่ 3 ปีให้หลัง ตอนปี 2009 เขาโตกว่าเราเกือบ 4 เท่า เฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2009 Portfolio ที่ปล่อยกู้ให้ลูกค้าในจีนเท่ากับสินทรัพย์ของเคแบงก์ ทำให้เราเห็นว่าในจีนมีโอกาสในการทำธุรกิจสูงมาก"

แบงก์อันดับ 8 อย่างหมินเซิงต้องการสร้างจุดต่างจากแบงก์ยักษ์ใหญ่ของจีน จึงมองว่าการจะเข้าหาลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ต้องเจอกับคู่แข่งยักษ์ จึงเลือกกลยุทธ์ในการเป็นเอสเอ็มอีแบงก์

"เคยมีหนังสือพิมพ์ในจีนเขียนถึงเคแบงก์ว่าเราเป็นผู้ประสบความสำเร็จเรื่องเอสเอ็มอีในไทย เขาไม่รู้จักเรา เราก็ไม่รู้จักเขา แต่เขียนถึงเราแบบนี้" นี่คงจะเป็นเหตุผลที่ลงตัวว่าทำไมหมินเซิงกับเคแบงก์จึงเป็นพันธมิตรที่ลงตัวของกันและกัน

หมินเซิงเป็นธนาคารเอกชนที่เป็นที่รู้จักว่ามีความก้าวหน้าในเรื่องของ Process reengineering กำหนดวิสัยทัศน์ให้คำว่า Process คือต้นทุน เป็นแบงก์ที่มีการระดมทุน IPO เข้าตลาดหุ้นในฮ่องกง ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ได้รับการยอมรับในแง่ของการเป็นธนาคารที่มีมาตรฐานการทำงานระดับโลก "เขาตอบนักลงทุนที่ถามว่าจะระดมทุนเอาเงินไปใช้ทำอะไรว่า จะไปเป็นพันธมิตรกับเคแบงก์เพื่อทำตลาดเอสเอ็มอี เพราะเป็นตลาดที่มีอยู่ในจีนถึง 10.3 ล้านราย นี่คือสถิติเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งต้องรู้ว่าการเติบโตในจีนทุกอย่างอยู่ที่ระดับ 10% ทั้งหมด เถ้าแก่ใหม่ในตลาดเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ล้านรายทุกปี" ภัทรพงศ์กล่าวถึงการให้เครดิตเคแบงก์ของหมินเซิง

เอสเอ็มอีจีนที่ได้รับไฟแนนซ์จากธนาคารมีไม่ถึง 2 ล้านราย โอกาสของเคแบงก์ที่จะเดินไปกับหมินเซิงจึงอยู่ในข่ายมหาศาล เพียงแต่รอว่าเมื่อไรจะพัฒนาเครื่องมือจับปลาที่ดีให้สำเร็จและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปชัดๆ เหตุผลทางธุรกิจที่หมินเซิงเลือกเคแบงก์ก็คือ เป็นแบงก์ที่เดิมเคยมีขนาดใกล้เคียงกัน มีปรัชญาในการธุรกิจคล้ายกันในเรื่องของการบริหารและดำเนินงาน เป็นธนาคารเอกชนที่เติบโตด้วยเทคโนโลยี และมองกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกัน

แต่ถ้าในมุมมองของภัทรพงศ์อาจจะมีเหตุผลที่มากกว่านั้น

"เขาเลือกเราเพราะลักษณะคนจีน มาถึงปุ๊บถามก่อนเลยว่าเป็นคนจีนหรือเปล่า ไม่มีเชื้อจีนไม่คุยด้วย คนไทยเกือบ 100% ในเมืองไทยมีเชื้อจีน อย่างผมหน้า (ผิวเข้ม) อย่างนี้ ก็ยังมี เขาไม่คบฝรั่ง เพราะฝรั่งไม่มีเชื้อจีน"

หมินเซิงซึ่งเดิมก็เคยมีแบงก์ฝรั่งรวมทั้งแบงก์สิงคโปร์มาจีบมากมาย จึงลงเอยเป็น Operational Joint Venture กับเคแบงก์ เพื่อศึกษาหาสูตรในการทำตลาดร่วมกันในการเป็นเอสเอ็มอีแบงก์ในจีนในตอนนี้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า "หมินเซิง" และ "หนงหมิน" จะคบกันถูกคอเพียงไร แต่การทำธุรกิจในจีนในท้ายที่สุด ทุกคนต้องมีสูตรและความสำเร็จที่สร้างเอง เพราะไม่มีใครหยิบยื่นความสำเร็จให้ใครได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us