Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2553
“ผันกู่” และ “หนงหมิง” ก้าวรุกของธนาคารไทยที่ต้องจับตา             
 

   
related stories

盤谷銀行 (ผันกู่อิ๋นหาง) จังหวะก้าวที่รอมานานกว่าครึ่งศตวรรษ
泰华农民银行 (ไท้หัวหนงหมิงอิ๋นหาง) โอกาสยิ่งใหญ่ เริ่มจากก้าวเล็กๆ

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Banking




การได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่นในจีนของธนาคารกรุงเทพ และความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีในจีนของธนาคารกสิกรไทยกับธนาคารหมินเซิง

ถือเป็นก้าวรุกอันสำคัญยิ่งอีกก้าวหนึ่งของธนาคารพาณิชย์ ไทย ในการเกาะเกี่ยวการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน ที่ยังมีแนวโน้มว่ายังไม่ถึงจุดสูงสุด

เป็นก้าวรุกที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในไทย ในรอบเกือบ 2 ทศวรรษมานี้

ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ของไทยเคยหลงระเริงกับเศรษฐกิจ ในยุคฟองสบู่ในปี 2537-2538 ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสนเพื่อให้อยู่รอดจากภาวะวิกฤติในประเทศเมื่อปี 2540-2542 และต้องประคองตัวให้ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2551-2552

ทั้งธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย ล้วนมีประสบการณ์จากปรากฏการณ์เหล่านั้น และเริ่มมองไปถึงอนาคตในวันข้างหน้า ทั้ง 2 ธนาคารเริ่มก้าวขาเข้าไปในจีน ในแบบที่มีการวางแผนเอาไว้ อย่างดี และเป็นระบบมิใช่การตามแห่เข้าไปแบบเป็นแฟชั่นเหมือน ธุรกิจอื่นๆ

แรงบันดาลใจและเป้าหมายในการทำธุรกิจในจีนของธนาคารพาณิชย์ไทยทั้ง 2 ธนาคารนั้น ไม่แตกต่างกัน นั่นคือการจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการในจีน ในขนาดธุรกิจที่ไม่ใช่เป็น Big Corporate

เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ทั้ง 2 ธนาคารถนัด และธุรกิจใน จีนทุกวันนี้ยังพอจะมีช่องว่างเหลืออยู่ให้สามารถสอดแทรกเข้าไปได้

ที่มาที่ไปในการรุกเข้าไปในจีนของทั้ง 2 ธนาคารนั้นมีความต่างกันอยู่บ้าง

ธนาคารกรุงเทพมองเรื่องจีนไว้ตั้งแต่ยุคของนายห้างชิน โสภณพนิช มีการวางเครือข่ายธุรกิจเอาไว้อย่างกว้างขวาง ทั้งในฮ่องกง ไต้หวัน และจีนแผ่นดินใหญ่

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย บัณฑูร ล่ำซำยอมรับว่าเริ่มให้ความสนใจจีนเมื่อประมาณ 7 ปีที่ผ่านมานี้เอง

แต่บัณฑูรก็ให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจในจีนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดที่เอ่ยปากออกมาว่า "ชีวิตที่เหลือของผม คือในเมือง จีน"

และเป้าหมายสูงสุดของธนาคารกสิกรไทยในจีน ก็มิได้หยุดไว้เพียงแค่การเปิดเป็นเพียงสาขาของธนาคารไทย

ธนาคารกสิกรไทยก็ต้องการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์ท้องถิ่น เหมือนกับธนาคารกรุงเทพ

ปัจจุบันหากนับจำนวนธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่ในไทย ธนาคารที่เป็นของคนไทยจริงๆ แล้วเหลือเพียง 4 แห่ง

ในจำนวนนี้เป็นธนาคารพาณิชย์ของเอกชนล้วนๆ เพียง 2 แห่ง คือธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย

ส่วนธนาคารกรุงไทยก็เป็นธนาคารรัฐวิสาหกิจ ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ กลุ่มผู้ถือหุ้นหลักเป็นสถาบัน

กลุ่มตระกูลผู้ก่อตั้งทั้งของธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย ล้วนมีเชื้อสายจีน

ความที่มีเชื้อสายจีน ถือเป็นใบเบิกทางสำคัญในการรุกเข้า ไปปักธงในประเทศที่มีผืนแผ่นดินกว้างใหญ่แห่งนี้

ที่สำคัญที่สุด...หากทั้งธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย ประสบความสำเร็จในการรุกธุรกิจเข้าไปในจีน

โอกาสที่ธนาคารในจีนจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่กว่าธนาคาร แม่ในไทยนั้นมีอยู่สูงมาก

เรื่องราวในจีนของทั้งธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย จึงเป็นเรื่องที่มีสีสันที่น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us