|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
มีคำอยู่หลายคำที่ใช้ขนานนามหรือสื่อความหมายแทน "ประเทศญี่ปุ่น" ซึ่งหนึ่งในชื่อเรียกขานเหล่านั้น "แดนปลาดิบ" เป็นคำที่บ่งบอกเอกลักษณ์ อีกทั้งยังนัยถึงรากฐานวัฒนธรรมการบริโภคปลาดิบที่หยั่งลึกในสังคมญี่ปุ่นมาเป็นเวลาช้านาน
แม้ว่าการบริโภคปลาโดยไม่ผ่านกระบวนการปรุงให้สุกด้วยความร้อนนั้นดูเหมือนเป็นอนารยธรรม ที่อยู่นอกกรอบของบรรทัดฐานการบริโภคของผู้คนที่เจริญแล้วทั่วโลกก็ตามแต่การบริโภคปลาแบบดิบๆ นี้สืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งระหว่างภูมิศาสตร์ทำเลที่ตั้งของหมู่เกาะของญี่ปุ่นกับวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณ
กระแสน้ำอุ่น Kuroshio จากทางใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกที่ไหลเวียนมาบรรจบกับกระแสน้ำเย็น Oyashio จากขั้วโลกเหนือทางฝั่งตะวันออกของประเทศ ส่วนอีกด้านหนึ่งก็มีกระแสน้ำอุ่น Tsushima* กับกระแสน้ำเย็น Liman ที่ไหลมารวมกันทางฝั่ง Japan Sea กระแสน้ำทั้งหมดนั้นได้พัดพาเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำนานาชนิดที่เอื้ออำนวยให้เกิดระบบห่วงโซ่อาหาร อันอุดมสมบูรณ์ในนิเวศวิทยาทางทะเลที่โอบล้อมรอบญี่ปุ่นทั้ง 4 ด้าน
ด้วยเหตุนี้อาหารทะเลจึงกลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญของชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะเมนูปลาดิบทั้ง Sashimi (ปลาทะเลที่แร่เนื้อออกเป็นชิ้นแล้วรับประทานสดๆ) และ Sushi (ข้าวหน้าปลาดิบ) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งแห่งศาสตร์และศิลป์ของอาหารญี่ปุ่น
ในบรรดาชนิดของปลาดิบที่มีให้เลือกมาก มายนั้น Bluefin Tuna หรือที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า Kuro-Maguro เป็นปลาชนิดหลักที่ขาดเสียมิได้ในการเสิร์ฟเมนูปลาดิบ
จวบกระทั่งเกิดกระแสนิยมของอาหารญี่ปุ่นในยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีแคลอรีต่ำ ซึ่งผู้คนจำนวนไม่น้อยตามเมืองใหญ่หลายแห่งทั่วโลกที่เคยลิ้มลองปลาดิบต่างติดใจหลงใหลในรสชาติของเนื้อปลาโดยเฉพาะ Kuro-Maguro ที่เสมือนเป็นการเพิ่มอุปสงค์การบริโภคอีกทางและส่งผลให้ Bluefin Tuna ในธรรมชาติมีจำนวนลดลงจนน่าเป็นห่วง
เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีการประชุมวาระที่ 15 ของประเทศภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าขายระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์หรือ CITES (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน Washington Convention) จัดขึ้นที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
หนึ่งในหัวข้อประชุมที่กลายเป็นข่าวใหญ่ในญี่ปุ่นซึ่งประท้วงมติที่ Monaco เสนอให้จัด Bluefin Tuna ที่จับจากมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นเข้าสู่ชนิดพันธุ์ในบัญชีอนุรักษ์หมายเลข 1 ซึ่งห้ามค้าขายระหว่างประเทศโดยเด็ดขาดเนื่องจากใกล้สูญพันธุ์
ผลโหวตคะแนนเสียงรอบสุดท้ายของการประชุม CITES ครั้งนี้มีประเทศที่สนับสนุนอยู่ 20 เสียง ประเทศที่ลงคะแนนไม่เห็นด้วย 68 เสียง ซึ่งนำโดย ประเทศญี่ปุ่นผู้นำเข้า Bluefin Tuna ในสัดส่วนราว ร้อยละ 80 ที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากประเทศแคนาดาและหลายประเทศในแถบแอฟริกา ขณะที่มีประเทศที่งดออกเสียงมากถึง 30 ประเทศส่งผลให้ Monaco Proposal ไม่มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติและถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางโดย เฉพาะประเด็นการล็อบบี้ของผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่น
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งคือสาระสำคัญของ Monaco Proposal อยู่ที่การนำเสนอมาตรการป้องกันการสูญพันธุ์ของ Bluefin Tuna แต่การออกเสียงลงคะแนนรับรองกลับมุ่งไปที่ประเด็นบริบทที่ข้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจมากกว่า
กล่าวคือประเทศที่ออกเสียงคัดค้านส่วนใหญ่เป็นผู้ส่งออก Bluefin Tuna ซึ่งมีสนนราคาสูงถึงตัวละหลายแสนถึงล้าน บาท โดยให้เหตุผลว่าการห้ามการส่งออก Bluefin Tuna ที่จำกัดการจับอยู่เพียงในเขตมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ Monaco Proposal ได้ หากไม่ห้ามการค้าขาย Bluefin Tuna ที่จับได้จากทะเลส่วนอื่นของโลกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในเขตมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นต้น
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นในฐานะผู้นำเข้าราย ใหญ่ก็สำทับว่า Bluefin Tuna จะไม่สูญพันธุ์ไปจากโลกเนื่องเพราะเมื่อเร็วๆ นี้ด้วยเทคโนโลยีของญี่ปุ่นสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ Bluefin Tuna สำเร็จแล้ว
แนวคิดในการเพาะเลี้ยงปลาทะเลริเริ่ม ขึ้นเมื่อปี 1948 โดย Koichi Seko ซึ่งเป็นอธิการบดีคนแรกของ Kinki University ในจังหวัด Wakayama ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่ามหาสมุทรคือตู้ปลาทะเลตามธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สามารถ เพาะพันธุ์ให้เกิดเป็นผลผลิตหล่อเลี้ยงประชากรญี่ปุ่นในห้วงเวลาที่ไม่สามารถพึ่งพาการประมงได้ในอนาคต
แม้ในระยะแรกแนวคิดดังกล่าวอาจฟังดูน่าขบขันและประสบผลล้มเหลวมาเป็นเวลานานต่อเนื่องหลายสิบปีด้วยเหตุผลที่ว่าการเพาะเลี้ยงปลาน้ำเค็มมีปัจจัยที่ต้องควบคุมมากมาย ซึ่งไม่ง่ายเหมือนการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดประกอบกับองค์ความรู้ในห้วงเวลานั้นยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร
กระนั้นก็ตาม ความสำเร็จก้าวแรกเกิดขึ้นใน ปี 1954 จากไอเดียของ Teruo Harada** ที่สามารถ เลี้ยงดูลูกปลาจากธรรมชาติให้เติบโตภายในตาข่ายที่ขึงอยู่ในทะเลแทนการเลี้ยงในแท็งก์ปลาขนาดใหญ่ ซึ่งต่อมาใช้เป็นแม่แบบเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดสำหรับเพาะเลี้ยงปลาหลายพันธุ์ในระดับอุตสาหกรรม
ตั้งแต่ปี 1965-ปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงและผสมพันธุ์ปลาทะเลที่มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจสำเร็จแล้ว 18 ชนิดซึ่งนอกจากช่วยป้องกันการสูญพันธุ์ของปลาได้แล้วยังทำให้ชาวญี่ปุ่นบริโภคปลาได้ในราคาถูกลง
ในปี 2002 ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยง Bluefin Tuna ได้ครบวงจรชีวิตเป็นครั้งแรกของโลก ตั้งแต่เริ่มผสมพันธุ์, วางไข่, อนุบาลเพาะเลี้ยงจนกระทั่งได้เป็นตัวเต็มวัยและวางไข่ให้ลูกปลา ในรุ่นถัดไปซึ่งผลงานวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลาในการสะสมองค์ความรู้ ค้นคว้าและวิจัยอย่างต่อเนื่องนานถึง 32 ปี เนื่องเพราะมนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของ Bluefin Tuna น้อยมากเมื่อเทียบกับความชำนาญในการประมงจับปลา
ในศูนย์ทดลองของ Kinki University สามารถ เพาะเลี้ยง Bluefin Tuna ตัวเต็มวัยมีความยาวถึง 3 เมตร น้ำหนักราว 500 กิโลกรัม ซึ่งใช้เวลาเติบโต นานกว่า 5 ปีและส่งป้อนตลาดภายในประเทศได้
ความสำเร็จของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง Bluefin Tuna ได้แสดงบทบาทปฏิวัติจาก Fishing พลิกผันให้เป็น Farming ซึ่งเป็นหลักประกันให้กับอนาคตของ Bluefin Tuna ทั้งในแง่การอนุรักษ์, การบริโภครวมถึงการประมงในระดับอุตสาหกรรม
หมายเหตุ
* กระแสน้ำอุ่น Tsushima ไหลแยกสายมาจากกระแสน้ำอุ่น Kuroshio ในบริเวณเกาะ Kyushu
** ในเวลาต่อมา Teruo Harada ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนที่ 5 ของ Kinki University
|
|
|
|
|