Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2530
อาจารย์มหาวิทยาลัย ควรมีประสบการณ์จากธุรกิจจริง ๆ             
 


   
search resources

Education




การที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจำนวนมากต้องออกไปทำธุรกิจนั้น ในทัศนะของผม พอจะแยกแยะสาเหตุได้ 3 ประการคือ

หนึ่ง-ปัญหาทางด้านรายได้

สอง-ปัญหาจากการที่ต้องการหาประสบการณ์

สาม-ปัญหาจากความคาดหวังในชีวิตความเป็นอยู่ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

เงินเดือนของข้าราชการนั้นก็เป็นที่ทราบกันอยู่ว่า มันน้อย แต่เมื่อมันน้อยเราก็ไม่ว่าอะไร สิ่งสำคัญที่อาจารย์ควรจะมีก็คือประสบการณ์ เราลองมานั่งคิดดูเถอะว่า หากนักศึกษาได้เรียนวิชาภาพยนตร์ โดยที่มีอาจารย์บรรจง โกศัลวัฒน์ ของเราซึ่งได้นอมินี่ (NOMINEE) ได้เป็นผู้กำกับยอดเยี่ยมรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำมาหยก ๆ ยืนสอนวิชากำกับภาพยนตร์อยู่ นักศึกษาที่นั่งเรียนเหล่านั้น จะมีความรู้สึกอย่างไร แตกต่างกันหรือไม่กับการที่นั่งเรียนกับอาจารย์ที่ไม่เคยมีประสบการณ์กำกับภาพยนตร์เลย แต่สอนวิชากำกับภาพยนตร์ให้นักศึกษาฟัง นักศึกษาก็คงจะนั่งทนเรียน ๆ อย่างงั้นแหละ จะเอา 3 หน่วยกิต เขาบังคับให้เรียนก็ต้องทนเรียนเอา

และสำหรับตัวผมเองนั้น ผมก็เชื่อว่าที่ตัวเองสอนหนังสือได้อย่างนี้ ก็เนื่องจากว่าได้มีโอกาสได้ทำงาน ถ้าไม่ได้ทำงานก็จะสอนหนังสือไม่ได้เช่นนี้ เพราะว่าวิชาที่สอนนั้นเป็นวิชาโฆษณา เป็นวิชาที่จะต้องก้าวหน้าทันสมัย จะต้องทันกาลและจะต้องเอาประสบการณ์ของชีวิตจริงเข้ามาด้วย ในขณะที่ตำราเรียนที่เรียนกันอยู่นั้น เป็นตำราของฝรั่ง แล้วพอนำมาใช้จริง ๆ เอได้แค่ไหนว่า ใช้ได้?

และถ้าหากว่าไม่ได้ทำงาน จะขอเข้าไปศึกษาโดยเฉพาะเรื่องโฆษณานี้ ก็ค่อนข้างที่จะเป็นความลับ ซึ่งถ้าหากเราจะขอเข้าไปศึกษานั้น ก็คงจะไม่มีใครยอมให้เราเข้าไปศึกษา การที่เราได้ทำงานอยู่นั้น ทำให้เราได้ศึกษาและตัวเราเองกต้องฉลาดพอที่จะปรับสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเอามาเล่าให้นักศึกษาฟัง เป็นหลักการเป็นทฤษฎี เมื่อเราทำสินค้าแต่ละตัว มันจะทำให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับว่าการบุกทำอย่างไร การรับทำอย่างไร แล้วเราก็นำความรู้เหล่านี้มาสอนนักศึกษาว่าถ้าหากคุณเป็นสินค้าผู้นำคุณจะต้องทำอะไรบ้าง ถ้าหากคุณเป็นสินค้าผู้ตามคุณจะต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งจากการที่เราได้ทำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะทำให้ความคิดเห็นของเราเป็นไปในลักษณะที่ค่อนข้างที่จะเป็นไปตามสภาพของความเป็นไปได้ในสังคมไทย ไม่ใช่ตามตำราฝรั่ง

อาจารย์ที่สอนวิชาอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน เขาควรที่จะมีประสบการณ์บ้าง อย่างเช่นอาจารย์ที่สอนเขียนข่าว อย่างน้อยที่สุดก็ควรที่จะได้มีโอกาสเขียนข่าวบ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะถูกสื่อมวลชนด่าเอาได้ว่า อาจารย์สอนเขียนข่าวแต่ไม่เคยได้เขียนข่าวเลย หรือเหล่าอาจารย์ที่สอนวิชาภาพยนตร์อย่างน้อยที่สุดก็ควรที่จะได้คลุกคลีอยู่กับวงการภาพยนตร์ที่เป็นจริงบ้าง อาจารย์สอนวิชานิติศาสตร์ก็ควรที่จะได้เป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับริษัทใดบริษัทหนึ่งหรือควรได้มีโอกาสว่าความกับเขาบ้าง ไม่ใช่ว่าสอนให้คนไปเป็นทนายแต่ตัวเองไม่เคยว่าความเลย อาจารย์ที่สอนวิชาบัญชี อย่างน้อยที่สุดก็ควรได้ทำบัญชีที่แท้จริงของบริษัท หรืออาจารย์ที่สอนทางด้านการตลาด ก็ควรจะได้เป็นที่ปรึกษาทางด้านการตลาดช่วยผู้อื่นทางด้านการตลาด ชนิดที่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองพูดไปอะไรนั้นมันเข้าเค้าหรือเป็นไปได้แค่ไหนในสังคมของเรา

สิ่งเหล่านี้ที่เห็นกันอยู่ในบ้านเรา ถ้าเรานำไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศแล้วเราจะเห็นว่าแตกต่างกันมาก มหาวิทยาลัยในต่างประเทศโดยส่วนใหญ่นั้น เขาจะรับอาจารย์โดยจ้างในอัตราเงินเดือนที่สูง แต่เขาจะรับอาจารย์ที่มีประสบการณ์มาก่อนแล้ว โดยที่อาจารย์เหล่านี้จะไม่ติดอยู่กับระบบราชการ หมายความว่า อาจารย์จะไม่อยู่ภายใต้กฎของ ก.พ. เหมือนข้าราชการอื่น ๆ ในเมืองไทย ซึ่งไม่ว่าอาจารย์นั้นจะมีประสบการณ์มาแค่ไหนก็ตาม เงินเดือนก็จะสตาร์ทตามวุฒิที่เขาจบนั้น แต่ในมหาวิทยาลัยเมืองนอกมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เขาจะดูที่ประสบการณ์เป็นหลัก สมมติว่า นายคนนี้จบปริญญาเอกมาแต่ไม่มาเป็นอาจารย์สอนคนในทันที แต่ไปทำงานอยู่ในบริษัทโฆษณาอยู่สิบปี พอมาสมัครเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เขาก็จะพิจารณาว่าในสิบปีที่ผ่านมานั้น นายคนนี้สร้างชื่อเสียงไว้แค่ไหนอย่างไร ต่อรองกันซิปีละเท่าไหร่ ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนี้ เมื่อเขาเป็นอาจารย์แล้วเขาย่อมอุทิศตัวเองได้อย่างเต็มที่ เขาไม่ต้องออกไปทำงานข้างนอกอีกเนื่องจากเงินเดือนเขาก็สูง ในขณะเดียวกันประสบการณ์เขาก็มีแล้ว เขาได้ไปทำงานมาถึงสิบปีแล้ว

แต่อย่างในเมืองไทยเรานี้ ถ้าจบปริญญาเอก แล้วไปทำงานข้างนอกมาสิบห้าปี กลับเข้ามาสอนในมหาวิทยาลัย สตาร์ทของเงินเดือนเท่ากับระดับปริญญาเอกเมื่อสิบปีที่แล้ว สมมติว่าเงินเดือนปริญญาเอก 4,500 บาท เราก็ต้องมาสตาร์ทที่เงินเดือน 4,500 บาท เมื่ออายุเราปาเข้าไป 35 หรือ 40 ปีเข้าไปแล้ว อย่างนี้มันจะไหวหรือ? ด้วยระบบอย่างนี้ในเมืองไทยมันจึงทำให้เราต้องขี่ซ้ำซ้อนกันอยู่เช่นนี้

อีกประการหนึ่งซึ่งได้กล่าวถึงไว้ในประการที่ 3 คือ ความคาดหวังในชีวิตความเป็นอยู่ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สังคมนั่นแหละเป็นสาเหตุ คนทั่ว ๆ ไปต่างก็มอง Expect ให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทำตัวระดับหนึ่ง แต่งตัวระดับหนึ่ง กินอยู่ระดับหนึ่งใช่ไหม สมมติเช่นอาจารย์คนหนึ่งสอนวิชาการตลาด ซึ่งเป็นวิชาที่สอนให้คนไปรวย แต่อาจารย์คนนั้นเองก็ยังไม่รวยเสียที อาจารย์คนนั้นก็ยังขึ้นรถเมล์ให้คนเห็น คนทั่ว ๆ ไปที่เห็นอาจจะไม่รู้สึกอะไรตรง ๆ คนที่เห็นอาจจะไม่พูดอะไร แต่ในส่วนที่ลึก ๆ จริง ๆ ของหัวใจของคนที่พบเห็นล่ะ เขาอาจจะคิดว่าถ้าแน่จริง ทำไมยังทำอะไรให้มันเลอเลิศไม่ได้ คือถ้าเราเป็นอาจารย์ระดับชั้นมัธยมหรือประถมนั้น ความคาดคะเนของผู้คนอาจจะไม่สูงเท่านี้ แต่การเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น เรากลายเป็นเหมือนผู้นำทางวิชาการ เรากลายเป็นเหมือน Expert ในสาขาวิชานั้นแล้ว ถ้าหากเราสอนวิชาภาพยนตร์ อย่างน้อยที่สุดเขาควรจะได้ตัดต่อภาพยนตร์จนถึงขนาดได้รับเป็นนอมินี่ และจากความที่เขาได้เป็นผู้นำด้านวิชาการ เขาก็น่าที่จะมีรายได้ระดับหนึ่งซึ่งเขาน่าจะได้ อย่างน้อยก็ชีวิตความเป็นอยู่ ระดับชนชั้นกลางค่อนข้างสูงไปแล้ว สิ่งเหล่านี้มันมีอยู่ในความคาดหวังของมนุษย์ มันย่อมมี

อย่างไรก็ดี เรื่องเหล่านี้มันก็อยู่ที่การตีความของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ตีความว่า การเป็นข้าราชการอาจารย์ที่ดี ก็คือการที่ต้องอยู่ในมหาวิทยาลัยตลอดเวลาตั้งแต่ 8.00-16.00 น. อาจารย์อย่างเราที่ Expert ในสาขาวิชาต่าง ๆ และไปสร้างชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย ก็เป็นข้าราชการที่ไม่ดี แต่ถ้ามนุษย์เขาตีความว่า การเป็นอาจารย์หรือการเป็นครูที่ดีคือคนที่เพียบพร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ เราก็อาจจะเป็นครูที่ดีได้ เพราะการทำงานของเราที่มันตรงกับ FIELD มันก็เท่ากับว่าเราเข้าไปห้องสมุดหรือเข้าห้องแลป

เราไม่ได้เอาเวลาเหล่านั้นไปทำนากุ้ง ไปดูแลกุ้ง หรือไปนั่งด่าคนงานให้ดูแลกุ้งดี ๆ สักหน่อย และอย่างเสรี วงษ์มณฑา ซึ่งเป็นคนแม่สอด ก็ไม่ได้เอาเวลาเหล่านั้น ไปนั่งขายทับทิม เที่ยวไปเร่ขายทับทิมตามออฟฟิศโน้นออฟฟิศนี้ กับคุณหญิงคุณนายต่าง ๆ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็เรียกได้ว่า มันเป็นการทำงานข้างนอกที่เลว โดยไม่มีคำถาม

แต่สำหรับเราที่ทำอยู่นี้ มันเป็นสิ่งที่มีคำถามกันอยู่ได้ตลอดเวลา ออกไปข้างนอกอย่างนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือ เมื่อเป็นข้าราชการอยู่ เพราะถ้าหากว่าเรากล่าวไปเช่นนี้ เดี๋ยวทุกคนก็จะออกไปทำงานข้างนอกที่ไม่เกี่ยวกันหมด ไปทำนากุ้งกันหมด ไปขายทับทิมกันหมด ซึ่งมันไม่เกี่ยวกัน

สิ่งสำคัญคือ อาจารย์ต้องไม่ทิ้งงานสอน ต้องเอางานสอนเป็นหลัก ต้องไม่แย่งเวลาของนักศึกษาไป เพราะมีอาจารย์บางคนที่ทำงานอยู่ข้างนอก แต่เขาไม่มีอำนาจการต่อรองกับบริษัท เขาถูกบริษัทบังคับว่าต้องทำงานเท่านั้นเท่านี้ และในที่สุดเขาก็มาเปลี่ยนแปลงตารางสอนของนักศึกษา ให้นักศึกษามาเรียนตามวันเวลาที่อาจารย์สะดวก เช่น ต้องมาเรียนตอนเที่ยงวันบ้าง มาเรียนตอนวันเสาร์บ้าง มาเรียนสี่โมงเย็นบ้าง ซึ่งในกรณีอย่างนี้ ก็ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่งเช่นเดียวกัน

กล่าวโดยสรุป และสุดท้ายที่อยากจะกล่าวก็คือว่า คนเรานั้น หากรับราชการควรจะเป็นสิ่งที่เสริมศักยภาพในตัวเรา และเมื่อไหร่ก็ตามที่การรับราชการมันกดศักยภาพของเรา มันก็ไม่น่าอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us