กล่าวกันว่าพฤติกรรมการบริโภคปลาทูน่า ขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาของประชากรดูได้ง่ายๆ
ประเทศที่บริโภคปลาทูน่าสูง ประชากรจะมีการศึกษาดี คำกล่าวนี้เป็นจริง เมื่อ
TUF ซื้อกิจการปลาทูน่าในอเมริกา
การดำเนินงานของผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งรายใหญ่ของไทย "ไทยยูเนี่ยน
โฟรเซ่น โปรดักส์" หรือ TUF ภายใต้การนำของธีรพงศ์ จันศิริ ชายวัย 37 ปี
ดูจะสยายปีกออกไปอย่างกว้างขวาง
ทว่า การขยายตัวแต่ละครั้งเป็นไปด้วยความระมัดระวังและใช้เวลายาว นานมาก
สาเหตุหนึ่งเกิดจากธุรกิจของเขาเป็นระบบครอบครัว การใช้เงินทุกบาททุกสตางค์จึงค่อนข้างพิถีพิถันเป็นพิเศษ
อย่างเช่น การลงทุนในไทร-ยูเนี่ยน ซีฟูดส์ ผู้ผลิตและจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องและอาหารทะเลอื่นๆ
เจ้าของแบรนด์เนม "Chicken of the Sea" ในอเมริกา ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการตัดสินใจซื้อกิจการ
"จะรุกหรือรับ เรา conserva-tive มากโดยเฉพาะเรื่องการวิเคราะห์ การพิจารณาการลงทุนแต่เมื่อไรที่ตัด
สินใจไปแล้ว เวลานั้นจะ aggressive มาก นโยบายการลงทุนของเรา คือ ต้อง เป็นธุรกิจที่เราเข้าใจและขนาดการลง
ทุนไม่ใหญ่จนเกินไป" ธีรพงศ์บอกกับ "ผู้จัดการ"
ความจริงการที่ TUF เข้าไปลงทุนในไทร-ยูเนี่ยน ซีฟูดส์ครั้งนี้เป็น การเข้าไปถือหุ้นเต็ม
100% จากเดิมที่ถือ หุ้นอยู่แล้ว 50% เมื่อปี 2540 ร่วมกับพันธมิตร Tri-Marine
International และ The Gann Family Trust ที่ถือหุ้นฝ่ายละ 25%
โดยทั้งสามฝ่ายตั้งไทร-ยูเนี่ยน ซีฟูดส์ขึ้นมา เพื่อเข้าไปซื้อกิจการของบริษัท
Van Camp Seafoods ที่อยู่ใน ภาวะล้มละลาย โดยครั้งนั้น TUF ลงทุน ไปประมาณ
40 ล้านเหรียญสหรัฐ
การลงทุนใหม่ในบริษัทเก่าครั้งนี้ ของ TUF คือ การซื้อหุ้นจากพันธมิตรทั้งสอง
มูลค่า 38.5 ล้านเหรียญสหรัฐ "พาร์ตเนอร์ทั้งสองตัดสินใจขายหุ้นให้เราเพราะมองว่า
Chicken of the Sea เหมาะกับเรามากที่สุดเพราะทำธุรกิจปลาทูน่าอยู่แล้ว ขณะที่พวกเขาจะกลับไปสู่ธุรกิจเดิม"
ธีรพงศ์กล่าว
เนื่องจากเขามองเห็นว่าหาก Chicken of the Sea มีสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ไม่ชัดเจนอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
การบริหารงานก็จะไม่ชัดเจนตามไปด้วย "เราเข้าไปลงทุนก็เพื่อความคล่องตัวในการจัดการธุรกิจให้เป็นไปตามนโยบายของกลุ่ม
TUF"
ผลจากการลงทุนครั้งนี้ ส่งผลให้ TUF เป็นเจ้าของแบรนด์เนม Chicken of the
Sea โดยสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการ เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้กว้างขวาง
และแข็งแกร่งในตลาดโลก
"การลงทุนใน Chicken of the Sea เราลงทุนใน distribution ในตลาด และลงทุนในแบรนด์เนมของเขาเพื่อให้มีความแข็งแกร่งออกไป
นอกจากนั้นยังได้ประโยชน์จากแบรนด์เนมไปสู่ ตลาดโลกอื่นๆ นอกเหนือจากตลาดในอเมริกา"
ธีรพงศ์บอก
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์หลายคน เป็นห่วงว่าการลงทุนครั้งนี้ของกลุ่ม TUF
จะส่งผลลบมากกว่าผลดี เนื่องจากคาดกันว่าเศรษฐกิจอเมริกาอยู่ในช่วงหดตัว
"เราไม่ได้ห่วงตัวเลขเศรษฐอเมริกา เพราะปลาทูน่าเป็นอาหารพื้นฐานไม่ใช่อาหารฟุ่มเฟือย
เชื่อว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจจะไม่เป็นผลลบต่ออุตสาหกรรมนี้เท่าไร" ธีรพงศ์อธิบาย
ด้วยปรัชญาการทำงานแบบเรียบ ง่ายเพียงแต่ผสมผสานวัฒนธรรมการทำงานแบบครอบครัวกับแนวคิดทฤษฎีสมัยใหม่เข้าด้วยกัน
ส่งผลให้การทำธุรกิจของกลุ่มธุรกิจ TUF ไม่เจ็บปวดเท่าไร
"กลุ่มบริษัทของเราจะมุ่งทำธุรกิจที่เข้าใจ จะเห็นว่ากว่า 20 ปีที่ผ่านมา
ถึงแม้ว่าจะขยายตัวมาก แต่ขยายเฉพาะธุรกิจอาหารทะเล เพราะเชื่อในเรื่องธุรกิจและวงจรสินค้า"
หากกลุ่มธุรกิจ TUF ต้องการรักษาการเติบโตเอาไว้ ธีรพงศ์จะมีกลยุทธ์ 3
อย่าง คือ ต้องเพิ่มสินค้าให้มากขึ้น ขยายตลาดให้กว้างขึ้นและทำธุรกิจใหม่ๆ
แต่อยู่ในภาคอาหารทะเลแช่แข็งเท่านั้น ซึ่งแนวคิดนี้ทุกย่างก้าวเขาจะยังคงไว้ซึ่งวิธีการ
slow but sure
ทางด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์คาดกันว่าหลังจาก TUF ซื้อ Chicken of the
Sea จะกลายเป็นผลบวกต่อธุรกิจ เนื่องจากผู้บริหารมีฐานในการบริหารอยู่แข็งแกร่ง
"ดีลนี้จะไม่หายนะเหมือนกับยูนิคอร์ด บับเบิลบีแน่" พงศ์พันธ์ อภิญญากุล
นักวิเคราะห์แห่งบล.หยวนต้าบอก
สาเหตุที่เขามองเช่นนี้ เนื่องจาก TUF จะสามารถเจาะตลาดอเมริกาได้ดีขึ้น
และจะรวมเอากำไรของ Chicken of the Sea เอาไว้ด้วย และการซื้อสินค้าของ Chiken
of the Sea ก็จะมีศักยภาพมากขึ้น
"ยอดขายที่จะรวมเข้ามาประมาณ 11-12 พันล้านบาท และกำไรราว 170-200 ล้านบาท
ดังนั้นในปีนี้พวก เขาจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 77% และกำไรเพิ่มขึ้น 23%" อย่างไรก็ดีกำไรพื้นฐานจะยังคงที่ทั้งส่วนกำไรขั้นต้นและการประกอบการ
เนื่องจาก Chicken of the Sea ทำกำไรน้อยกว่า TUF โดยภาพรวม
สำหรับจำนวนเงินลงทุนใน Chicken of the Sea นั้น นักวิเคราะห์ จากบล.เอกธำรง
เคจีไอ บอกว่าเป็นราคา ที่เหมาะสม และหนี้สินต่อทุน (D/E) เพิ่ม ขึ้นเพียง
0.3 เท่า "เราจึงมองไม่เห็นความ เสี่ยงทางการเงินของ TUF"
อีกทั้งจากการฟื้นตัวเล็กน้อยของราคาปลาทูน่าและกุ้งจากจุดต่ำสุดใน ไตรมาส
3 ปีที่ผ่านมา และค่าเงินบาทอ่อนตัว ส่งผลให้กำไรในไตรมาส 4 ฟื้นตัวต่อปีและต่อไตรมาสสูง
"การซื้อ Chicken of the Sea จะทำให้กำไร TUF เพิ่มทันทีและทำให้ผลของการฟื้นตัวของปลาทูน่ากับบริษัท
มีความทวีคูณ" นักวิเคราะห์จากบล. หยวนต้ากล่าว
ทางด้านธีรพงศ์มองว่าธุรกิจปลาทูน่าจะไม่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงคาดการณ์ว่าการเติบโตของธุรกิจดังกล่าวจะเติบโตขึ้นปีละ
2.5% เท่านั้น และผลกำไรก็จะเติบโตขึ้นอย่างเหมาะสม
"เชื่อว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ที่ระดับ 15% ซึ่งเป็นที่น่าพอใจสำหรับเรา"
ธีรพงศ์บอก
ราคาปลาทูน่าได้ฟื้นตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจาก 400-420 เหรียญสหรัฐต่อตันไปสู่ระดับ
450-470 เหรียญ สหรัฐต่อตัน ซึ่งธีรพงศ์มองโลกในแง่ดีว่า ราคาปลาทูน่าจะค่อยๆ
ไต่ระดับไปอยู่ที่ 500 เหรียญสหรัฐต่อตันในปีนี้ เรามีความเชื่อในเรื่องอนาคตปลาทูน่าและจะสามารถไปได้ดี
แต่อย่าเชื่อคำพยากรณ์นี้มากนัก"
ถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมปลาทูน่าในตลาดโลกในปัจจุบันซบเซา แต่ธีรพงศ์ ก็ยังมองโลกที่สดใส
นั่นเกิดจากบริษัทมีฐานการตลาดที่แข็งแกร่ง "นี่คือปัจจัยหลักที่จะอยู่ในธุรกิจนี้ได้
และเราก็พอใจ ในผลการดำเนินงานในอดีตที่ผ่านมา"
Chicken of the Sea เป็นเครื่องหมายการค้าอาหารทะเลเจ้าของโลโก "เมอร์เมด"
เจ้าของคือ Van Camp Seafoods บริษัทอันเก่าแก่ของอเมริกา ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ
87 ปีที่ผ่านมา โดย Frank Van Camp และลูกชายของเขา ด้วยการซื้อกิจการ California
Tunny Canning มาเป็นของตนเอง ต่อมากลายเป็น บริษัทผลิตอาหารทะเลกระป๋องแห่งแรก
Van Camp Seafoods เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงทศวรรษที่ 1980 บริษัทเริ่มมีปัญหาด้านสภาพคล่องทาง
การเงินจนถึงขั้นภาวะล้มละลาย และเมื่อปี 2540 ไทร-ยูเนี่ยน ซีฟูดส์จึงร่วมกับพันธมิตรเข้าซื้อกิจการเพื่อทำธุรกิจจำหน่ายปลาทูน่ากระป๋องภายใต้แบรนด์
เนม Chicken of the Sea