Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2530
ดร. เจริญ คันธวงศ์ แบบอย่างของการพัฒนาตนเอง             
 


   
www resources

โฮมเพจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

   
search resources

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
เจริญ คันธวงศ์




เจริญ คันธวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ เขตยานนาวา และนายจ้างดีเด่นคนล่าสุดนี้ เป็นผู้ที่คนในแวดวงการศึกษาและชาวบ้านเขตยานนาวารู้ดีว่า มีมนุษยสัมพันธ์ดี อ่อนน้อมถ่อมตน หมั่นพัฒนาตนเองและรู้จักใช้คน

ถ้าจะกล่าวถึงการพัฒนาตนเองของเจริญแล้วคงต้องดูที่บทบาทอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเริ่มแรกที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ที่มีความรู้และอาจารย์ซึ่งส่วนใหญ่มีความรู้ระดับปริญญาโทขึ้นไป ทั้งที่ขณะนั้นเจริญยังเป็นมือใหม่ทั้งด้านบริหารการศึกษาและริหารงานเชิงธุรกิจ แต่เจริญก็สามารถพัฒนาตนเองไปพร้อม ๆ กับการพัฒนามหาวิทยาลัยกรุงเทพให้เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้

เจริญขณะนี้อายุ 54 ปี เป็นคนจังหวัดลำปาง เรียนหนังสือชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นเข้ากรุงเทพฯ มาเรียนมัธยมปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก และเจริญก็เป็นนักเรียนเก่าอัสสัมชัญคนหนึ่งที่โรงเรียนภาคภูมิใจ ถึงกับได้รับเกียรติเป็น 1 ใน 64 V.I.P. ที่มีประวัติอยู่ในหนังสืออัสสัมชัญ อุโฆษสมัยครบรอบ 100 ปีของโรงเรียนฯ

เมื่อจบการศึกษาปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาฯ เจริญก็เข้ารับราชการเป็นนายทหารม้าประจำอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ได้ประมาณ 1 ปีครึ่ง แล้วจึงไปเรียนต่อปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหวิทยาลัย SYRACUSB สหรัฐอเมริกา จบแล้วกลับมาเป็นอาจารย์ประจำที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อีกประมาณ 1 ปี

เจริญบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า เมื่อเรียนจบใหม่ ๆ นั้นทำงานไม่เป็น ยิ่งงานบริหารยิ่งไม่รู้เรื่อง แม้งานร่างหนังสือก็ยังเป็นปัญหา

"…เมื่อครั้งเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ จำได้ว่าเคยทำหนังสือถึงคณบดีเองหนึ่งขึ้นต้นลงท้ายก็ไม่เป็น พรรณาเรื่องราวลำดับความไม่รู้เรื่อง ทำหนังสือไปแล้วยังนึกในใจว่า คณบดีจะเข้าใจในเรื่องที่เสนอไปหรือไม่" เจริญย้อนอดีตเมื่อเริ่มทำงานใหม่ ๆ"

แม้ในการร่างหนังสือครั้งสำคัญเพื่อเสนอต่อกระทรวงศึกษาที่จะขอยกฐานะโรงเรียนไทยเทคนิคให้เป็นวิทยาลัยกรุงเทพ เจริญยังต้องให้ผู้ช่วยร่างหนังสือให้

สำหรับเจริญแล้วเขายอมรับว่างานหลายอย่างเขาเรียนรู้จากผู้ใต้บังคับบัญชาที่เก่งกว่า ไม่ว่าจะเป็นงานในระดับบริหาร หรือแม้แต่งานร่างหนังสือ

เจริญไม่ใช่คนเรียนเก่งแต่เป็นผู้มีความมานะ และหมั่นพัฒนาตนเอง เมื่อ ร.ต.อ. สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ชักชวนมาเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนไทยเทคนิคในปี 2505 เจริญได้เรียนรู้การทำงานหลายอย่างจาก ร.ต.อ. สุรัตน์ โดยเฉพาะในช่วงที่โรงเรียนไทยเทคนิคได้ยกระดับเป็นวิทยาลัยกรุงเทพ เจริญได้รับตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งมีงานบริหารและจัดการที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น

"ผมตอนั้นจบปริญญาโท ไม่มีความรู้ด้านบริหารโดยตรงเลย และยังต้องทำงานกับผู้มีความรู้ พวกเก่ง ๆ ระดับดอกเตอร์ ผมก็สงสัยตัวเองเหมือนกันว่า จะใช้พวกเขาทำงานได้อย่างไรกัน" เจริญพูดถึงการบริหารงานที่วิทยาลัยกรุงเทพในช่วงแรก ๆ

เจริญพยายามแก้ไขปัญหาด้วยการพัฒนาตนเอง เข้าอบรมสัมมนาในทุก ๆ งานที่เกี่ยวข้องกับกรบริหาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพูดคุยกับผู้มีความรู้เพื่อนำความรู้ใหม่มาเสริมแต่งประสบการณ์ของตน

แต่มี 2 สิ่งที่เจริญยอมรับนับถืออย่างที่สุดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เขาเรียนรู้การบริหารงานและการพัฒนาตนเองคือ

หนึ่ง ร.ต.อ. สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ "คุณสุรัตน์บอกว่านักบริหารที่ดีต้องใช้คนเป็น ถ้าไม่เก่งต้องคุยกับคนที่เก่งกว่า ฉลาดกว่า แล้วเลือกเอาสิ่งที่ดีมาใช้ เราจะมีความรู้มากขึ้นและจะสามารถใช้คนที่เก่งกว่าได้" เจริญกล่าวถึงหลักการพัฒนาตนเองของ ร.ต.อ. สุรัตน์อย่างชื่นชมและเป็นที่รู้กันว่าความสัมพันธ์ระหว่างเจริญกับ ร.ต.อ. สุรัตน์นั้นสนิทแนบจนแทบจะเป็นเนื้อเดียว และอาจเป็นเพราะสายสัมพันธ์อันแนบแน่นนี้เอง ที่ทำให้ครั้งหนึ่งเจริญได้เข้าเป็นที่ปรึกษาฝ่ายจัดการให้โอสถสภา ในแต่ละปีก็มีโควต้ารับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วย

สอง หนังสือ "วิธีชนะมิตร และจูงใจคน" ของ เดล คาร์นีกี้" หนังสือเล่มนี้สอนให้ผมรู้จักการสั่งงานที่ดี ทำให้ผมรู้วิธีการที่ทำให้ผู้ใต้บังคับัญชาพอใจเมื่อได้รับมอบหมายงานไปทำ" เจริญกล่าวเสริม

เจริญไม่หยุดการพัฒนาตนเองเพียงแค่การเรียนรู้จากชีวิตการทำงานเท่านั้น

ปี 2513 เจริญเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเองให้เหมาะสมกับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยด้วยการไปเรียนปริญญาเอก ด้านบริหารการศึกษาที่มหาวิทยาลัย SYRACUSB อีกรั้ง กลับมาคราวนี้เาได้แนวคิดการบริหารงานแบบให้ทุกคนมีส่วนร่วมมาใช้ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทั้งกับนักศึกษาและผู้ใต้บังคับบัญชา

"…ให้เขามีส่วนร่วมในการทำงาน ให้แสดงความคิดเห็น ให้ความสำคัญ ให้เขามีความสุขในการทำงาน" เจริญกล่าวถึงหลักการทำงานของเขา ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุนี้ก็ได้ที่เจริญได้รับเลือกเป็นนายจ้างดีเด่นประจำปี 2530 เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ โดยการเลือกจากสมาคมเลขานุการสตรีแห่งประเทศไทย

กล่าวได้ว่า เจริญเป็นนายจ้างดีเด่นคนแรกที่เป็นนักบริหารด้านการศึกษา ต่างจากนายจ้างดีเด่นคนก่อน ๆ ที่เป็นนักบริหารในธุรกิจการค้าโดยตรง

"อาจเป็นเพราะใช้เป็นมั้ง คนที่ถูกท่านใช้ต่างพอใจเมื่อถูกใช้ จึงคิดว่าท่านควรได้รับตำแหน่งนี้ถึงได้มีการเสนอชื่อท่าน และได้รับตำแหน่งในที่สุด" คนใกล้ชิดเจริญให้เหตุผลหนึ่งต่อการที่เจริญได้รับตำแหน่งนายจ้างดีเด่น

ทุกวันนี้เจริญทำงานหนักทั้งในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทนายความประจำสำนักงาน TILLEKE & GIBBINS ของเดวิด ไลแมน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตยานนาวา

ใคร ๆ ก็ว่า เจริญ คันธวงศ์เก่งในการพัฒนาตนเอง เก่งที่ใช้คนที่เก่งกว่าได้ แต่เจริญที่ว่าเก่งก็ถูกคนที่อาจจะไม่เก่งใช้ได้เหมือนกัน พวกเขาเหล่านั้นคือชาวบ้านเขตยานนาวา ที่เจริญต้องออกไปเยี่ยมเยียนทุกวันอาทิตย์นั่นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us