Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2529








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2529
เมื่อผู้สมัครสวมบทบาทเป็นเซลส์แมน ใช้ระบบขายตรงมาช่วยหาเสียงกันถ้วนหน้า             
 


   
search resources

Advertising and Public Relations




เมื่อพูดถึงการเลือกตั้งหลายครั้งที่ผ่านมานั้น แต่ละคนคงจะลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันได้ว่าไม่มีการเลือกตั้งครั้งไหนจะสนุกตื่นเต้นเท่ากับการเลือกตั้ง กทม. ที่ผ่านมา

เพราะนอกจากคนกรุงเทพฯ จะมีสิทธิเลือกผู้บริหารได้เองแล้ว ยังปรากฏว่ามีชาวกรุงเทพฯ ให้ความสนใจไปใช้สิทธิกันมากเป็นประวัติการณ์ที่มีการเลือกตั้งมาอีกด้วย

และก็ยังเป็นการพิสูจน์สัจธรรมที่ว่าน้ำเงินนั้นไม่สามารถจะซื้อคนกรุงเทพฯ ได้เสมอไป

ในขณะที่ผู้สมัครคนอื่นๆ ทุ่มเงินในการหาเสียงอย่างไม่อั้น ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ยักษ์และไม่ยักษ์ที่เกลื่อนกรุงเทพฯ ไปหมด

แต่ พล.ต. จำลอง ศรีเมือง กลับใช้สองเท้าเป็นพาหนะย่ำเข้าตามซอกตามซอย ใช้ปิยวาจาเป็นเครื่องมือในการหาเสียง ใช้รอยิ้มที่กว้างขวางเพื่อผูกมิตรกับชาวบ้าน และสองมือที่ประนมไหว้ไปทั่วสารทิศที่แสดงถึงความนอบน้อมเป็นอาวุธกวาดคะแนนนิยม

และนี่คือกลยุทธ์อันเฉียบขาดที่ทำให้ พล.ต. จำลองสามารถเข้ามานั่งในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ได้อย่างสง่าผ่าเผย

จากการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในสมัย พล.ต. จำลองนั้นกลับกลายมาเป็นบทเรียนสำหรับผู้สมัครในครั้งนี้ ผู้สังเกตการณ์หลายคนบอกว่าในขณะที่ต่างจังหวัดหาเสียงด้วยการทุ่มเงินกันสุดเหวี่ยง ลงทุนเรื่องป้ายโปสเตอร์กันอย่างมโหฬาร บรรยากาศทั่วไปดูคึกคักมาก แต่บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับหงอยๆ ไป

ติดโปสเตอร์ก็น้อยแถมยังเป็นรูปสองสีเสียอีก จะหาดูป้ายคัตเอาต์ยักษ์อย่างมงคล สิมะโรจน์สมัยเลือกตั้ง กทม. ก็ไม่มี

นักสังเกตการณ์ทั้งหลายจึงลงความเห็นว่าผู้สมัครฯ ในกรุงเทพฯ ทั้งหลายต่างหันมาใช้กลยุทธ์แกล้งจนกันเป็นแถว

ทำป้ายโปสเตอร์ออกมามีทั้งสี่สีและสองสี แต่กลับต้องเอาสองสีออกมาติดเพราะคู่แข่งคนอื่นๆ ก็ใช้แค่สองสีทั้งนั้นทั้งๆ ที่อยากจะออกป้ายโปสเตอร์สี่สีแต่ก็ต้องหักห้ามใจ เพราะกลัวภาพพจน์จะกลายเป็นเจ้าบุญทุ่มไป อาจจะไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ก็ได้

และกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่นำมาใช้กันก็คือ การ “จรยุทธ์” หรือก็คือการเดินพบประชาชนนั่นเอง

ถ้าดูกันในเรื่องการตลาดแล้วก็คือระบบ DOOR TO DOOR หรือระบบขายตรงที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในการตลาดปัจจุบันนี้นั่นเอง

ก็นับว่าผู้สมัครฯ แต่ละท่านก็ทันสมัยไม่เบาเหมือนกัน

งานหลักนอกจากจะเข้าร่วมปราศรัยตามที่ชุมชนต่างๆ แล้ว ในแต่ละวันผู้สมัครจะมีตารางเดินติดตัวว่าวันไหนจะไปพบพูดคุยกับชาวบ้านแถวไหนบ้าง

ยิ่งถ้ามีผู้สื่อข่าวตามไปทำข่าวด้วยก็ยิ่งดีใหญ่จะได้เป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วย

ก็คงเป็นเพราะผู้สมัครมัวแต่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการหาเสียงไปกับการเดิน จึงทำให้บรรดาเจ้าของโรงพิมพ์ต่างๆ บ่นกันอุบว่าไม่คึกคักเท่าที่คาดไว้

อย่างนี้ที่นักวิชาการคาดกันว่าจะมีเงินประมาณไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท เข้ามาสะพัดในวงการธุรกิจในช่วงเลือกตั้งเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นนั้น ถ้าผู้สมัครมัวแต่ใช้ยุทธวิธีจรยุทธ์กันอยู่ ไม่มีการขนเงินออกมาหาเสียงกันบ้างจะเป็นการทำลายเศรษฐกิจของชาติทางอ้อมก็ได้นะ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us