|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
กู๊ดเยียร์ ค่ายเบอร์3ตลาดยางรถยนต์ไทย กางแผนงานปีเสือดุด้วยการพุ่งเป้าไปที่ตลาดโออีเอ็ม เล็งค่ายรถที่ผลิตอีโคคาร์ พร้อมเดิมหน้าพัฒนาเครือข่ายศูนย์บริการ “กู๊ดเยียร์ ออโต้แคร์”หลังสำรวจพบว่าการปรับเปลี่ยนจากร้านเครือข่ายธรรมดามาเป็นรูปโฉม ใหม่ทำให้รายได้เติบโตสองเท่า ขณะเดียวกันไม่ทิ้งกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต ที่จะช่วยยกระดับแบรนด์ในกลุ่มยางรถยนต์สมรรถนะสูง
ตลาดยางเริ่มส่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังจากอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มเติบโตอีกครั้ง ส่งผลให้ค่ายยางหลายค่ายผลักกลยุทธ์ที่หลายหลายออกมาสู้ ล่าสุดค่ายเบอร์ 3 ของตลาดอย่างกู๊ดเยียร์ก็ได้ออกมาประกาศแผนงานรุกตลาดในปีนี้ โดยยุทธศาสตร์ที่กู๊ดเยียร์วางเอาไว้ในปีนี้คือ การรุกตลาดโออีเอ็ม ที่เริ่มส่งสัญญาณในทางบวก โดยมีการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ในบางรุ่น รวมไปถึงการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด ผ่านโครงการอีโคคาร์ แนวโน้มที่เกิดขึ้นทำให้กู๊ดเยียร์มองว่ายังมีช่องทางที่จะเจาะตลาด เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มลูกค้าที่กู๊ดเยียร์ผลิตยางและป้อนให้นั้นก็ได้แก่ โตโยต้า ,อีซูซุ,ฮอนด้า มาสด้า เมอร์เซเดส – เบนซ์ และล่าสุดกับฟอร์ด เฟียสต้า
ปัจจัยที่ทำให้กู๊ดเยียร์มั่นใจว่าจะเข้ามาเจาะตลาดอีโคคาร์ได้นั้น เนื่องจากมีการพัฒนายางสำหรับรถยนต์ขนาดเล็ก โดยมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาพัฒนา รวมไปถึงการผลิตยาง อีโคไทร์ ที่มีจุดเด่นในเรื่องของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดน้ำมัน ขณะที่ระบบการผลิตก็จะมีการรีไซเคิล นำของเสียกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ออกมาในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำ กู๊ดเยียร์เชื่อมั่นว่าจะเป็นตัวเลือกในโครงการอีโคคาร์
“กู๊ดเยียร์มองว่าโรงงานในประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกที่สำคัญ รองจากจีน และอินเดีย ประกอบกับปัจจุบันโครงการอีโคคาร์รวมไปถึงโปรเจคต่างๆของค่ายรถยนต์ก็มีแนว โน้มที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้กู๊ดเยียร์มองว่าตลาดโออีเอ็มน่าจะเติบโต ซึ่งบริษัทได้มีการเข้าหาค่ายรถยนต์ต่างๆเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้ กับค่ายรถต่างๆ”ก้องเกียรติ ทีฆมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กู๊ดเยียร์ (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าว
นอกเหนือจากตลาดโออีเอ็มที่กู๊ดเยียร์เริ่มหันกลับมารุกแบบจริงจังอีกครั้ง ในส่วนของตลาดอาร์อีเอ็มหรือตลาดทดแทนนั้นก็มีการวางแผนรุกต่อเนื่องจากปี ที่แล้ว โดยจะเน้นไปที่การพัฒนาเครือข่ายการให้บริการผ่าน “กู๊ดเยียร์ ออโต้แคร์”ที่มีการเปิดให้บริการไปแล้ว 5 สาขาในปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการตอบรับจากผู้บริโภคหลังจากที่เปิดให้บริการรูปแบบใหม่พบว่ายอดขาย ของบางสาขาเติบโต5-10% เช่นเดียวกับความพึงพอใจของผู้บริโภคที่พบว่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเข้ามาใช้ บริการ
การเข้ามารุกตลาดบริการหลังการขายแบบเต็มตัวในครั้งนี้ของกู๊ดเยียร์ นอกจากจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครือข่ายศูนย์ให้บริการแล้ว ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่ารูปโฉมใหม่มีผลต่อการดึงดูดผู้บริโภคในการเข้ามาใช้ บริการ และจะช่วยผลักดันยอดขายของกู๊ดเยียร์ให้เติบโตได้ในอนาคต ขณะเดียวกันรูปแบบของศูนย์บริการในแบบใหม่นี้ก็จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะ เข้ามาต่อกรกับคู่แข่งในตลาด อย่างบริดจสโตนที่มี ค็อกพิท,ออโต้บอย และแอค ขณะที่มิชลินก็มีไทร์พลัส
ดังนั้นการที่กู๊ดเยียร์ปรับโฉมจากอีเกิ้ลสโตร์มาเป็นรูปแบบมาตรฐานทั่วโลก อย่าง กู๊ดเยียร์ ออโต้แคร์ ก็จะถือเป็นการปรับตัวเพื่อรับกับการแข่งขันกับคู่แข่งขันนั่นเอง โดยกู๊ดเยียร์ ออโต้แคร์จะทำการขยายสาขาเพิ่มอีก 20 สาขา จากเดิมในปีที่ผ่านมาที่มี 5 สาขา โดยบริษัทฯจะมีการลงทุนช่วยเหลือตัวแทนจำหน่ายที่สนใจจะเปิดศูนย์บริการดัง กล่าวในงบประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป
“การขยายตัวของกู๊ดเยียร์ ออโต้แคร์ จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป จากปีที่ผ่านมามี 5 แห่งปีนี้คาดว่าจะเพิ่มอีก 20 สาขา ปัจจัยที่ทำให้กู๊ดเยียร์ไม่เร่งขยายตัวแทนให้มากเพื่อจะแข่งขันกับคู่แข่ง ที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ก็เนื่องมาจากไม่ต้องการให้ลูกค้าของบริษัทต้องมาแข่งขันกันเอง ดังนั้นการเลือกว่าสาขาไหนจะเปิดให้บริการในรูปแบบใหม่หรือไม่อย่างไร ก็ต้องดูศักยภาพและพื้นที่ที่จะเข้าไปเปิดบริการด้วย เรามองว่าไม่ต้องการที่ฆ่าลูกค้าของเรา ”ก้องเกียรติ กล่าว
ขณะที่แผนงานด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้น กู๊ดเยียร์ยังคงเลือกใช้ กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ มอเตอร์สปอร์ต โดยมีการวางเป้าหมายที่จะสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับการแข่งขันรถ,การด ริฟท์รถ,รวมไปถึงการส่งทีมเข้าไปแข่งในนานาชาติ ทีมแดร็ก คาดว่าทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับแบรนด์ของกู๊ดเยียร์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยผลักดันให้ชื่อเสียงของกู๊ดเยียร์เป็นที่รู้จักใน กลุ่มผู้ใช้ยางรถยนต์แบบสมรรถนะสูง
เรียกได้ว่าทุกแนวทางของกู๊ดเยียร์ที่วางไว้ ตั้งแต่การรุกเข้าไปในกลุ่มอีโคคาร์ ในตลาดโออีเอ็ม ,การขยายเครือข่าย กู๊ดเยียร์ ออโต้แคร์ และการสนับสนุนมอเตอร์สปอร์ต ทั้งหมดทั้งมวลจะเป็นตัวขับเคลื่อนยอดขายของกู๊ดเยียร์ให้เติบโตได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสามารถกวาดโครงการอีโคคาร์มาได้ทั้งหมด จะทำให้ตำแหน่งที่เคยอยู่ในเบอร์ 3 ในปัจจุบันอาจจะมีการขยับเข้าไปใกล้ชิดกับเบอร์ 2 ของตลาดก็เป็นได้
ค่ายยางงัดทุกกลยุทธ์สู้
ภาพรวมของตลาดยางในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการผลิตประมาณ14-15 ล้านเส้นต่อปี แบ่งออกเป็นตลาดโออีเอ็มประมาณ7-8ล้านเส้นต่อปี ส่วนยางอาร์อีเอ็มประมาณ 6-7 ล้านเส้นต่อปี โดยเบอร์ 1 ที่ครองตลาดยางทั้งหมดเป็นของค่ายบริดจสโตน ตามมาด้วยค่ายมิชลิน และ กู๊ดเยียร์
เหตุผลหลักที่ทำบริดจสโตนครองความเป็นเบอร์1นั้น ส่วนหนึ่งมาจากชื่อเสียงและแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และส่วนสนับสนุนที่สำคัญที่สุดคือ เครือข่ายศูนย์บริการอย่าง ค็อกพิท,ออโต้บอย และแอค ที่เปิดบริการทั่วประเทศ และยังมีแผนงานที่จะขยายอีกต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายการให้บริการ เรียกได้ว่าปัจจัยดังกล่าวส่งให้ยอดขายของยางรถยนต์แบรนด์นี้สามารถเข้าถึง กลุ่มเป้าหมายที่เป็นแมสได้เหนือกว่าแบรนด์อื่นๆ
ขณะที่ค่ายเบอร์รองอย่าง มิชลิน มีการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มยางพรีเมียม รวมไปถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่มีการสื่อสารมาโดยตลอดว่าเป็นยางประหยัด น้ำมันและเป็นยางที่ตอบสนองด้านอารมณ์ให้กับผู้บริโภค กล่าวคือเป็นยางที่นุ่มนวล เงียบ ตรงจุดนี้ถือเป็นจุดเด่นที่มิชลินมักจะเลือกมาสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเสมอ ขณะเดียวกันกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านโปรโมชั่นแรงๆก็เป็นสิ่งที่มิชลินมีการ เน้นหนักในช่วงหลัง
โดยในปีที่ผ่านมามีการแจกรางวัลสำหรับผู้ที่เลือกซื้อยางมิชลิน ด้วยการให้ร่วมชิงรางวัลรถเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซี-คลาส มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท มาถึงปีนี้ก็ยังคงใช้แคมเปญนี้ต่อเนื่อง และเลือกที่จะแจกเมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส มูลค่าเกือบ 4 ล้านบาท ซึ่งมิชลินมองว่ากลยุทธ์ดังกล่าวนอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อ-ขายแล้ว การเลือกแจกรถหรูยังเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นภาพลักษณ์ของแบรนด์ มิชลิน ที่มักจะจับกลุ่มผู้บริโภคในระดับเอ หรือ บี
ถือเป็นแนวรุกของค่ายเบอร์ 1 และ 2 ที่แม้จะมีแนวทางที่แตกต่างกัน แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป้าหมายของทั้งคู่เหมือนกัน นั่นคือยอดขายและส่วนแบ่งทางการตลาด ประกอบกับการที่หลายฝ่ายออกมาคาดการณ์กันว่าตลาดยางในปีนี้จะเติบโตตามจีดี พีที่รัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายไว้ โดยคาดว่าจะมีการผลิตรวม 17 ล้านเส้น แบ่งสัดส่วนออกเป็นตลาดโออีเอ็ม 10 ล้านเส้น และตลาดอาร์อีเอ็ม 7 ล้านเส้น สัญญาณที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้การแข่งขันของตลาดยางในปีนี้ดุเดือดไม่แพ้ปี อื่นๆอย่างแน่นอน
|
|
 |
|
|